39 โลกร้อน นอนเหงื่อใจไหลย้อยโรยริน


 

  "ตอนเด็กๆ ผมแก้ผ้ากระโดดน้ำมูล ตูมๆๆ!!ยังงี้ละครับ สนุกมาก" 

เรื่องร้อนแล้งนี้ เป็นมรดกตกทอดอันแสนหดหู่ที่เกิดจากผลพวงการพัฒนา แม้ทุกวันนี้ฝ่ายหนึ่งจะตั้งหน้าตั้งตาพูดถึงวิกฤตโลกร้อน แต่มอดไม้อีกหลายหมื่นก็กำลังแทะโลมธรรมชาติอย่างเลือดเย็น โครงการปลูกป่ารักษาดูแลธรรมชาติอยู่ในระดับน้ำจิ้มเท่านั้น ยังห่างไกลจากความจริงมากนัก จำเป็นที่จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในทางปฏิบัติระดับกระแสชาติ  เจอหน้าก็ถามกันว่า

..คุณปลูกต้นไม้แล้วหรือยัง

ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ตระหนักว่า นี่คือหน้าที่มนุษย์ทุกคน ในการที่จะช่วยจรรโลงโลกอย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของการบรรเทาหรือชะลอมลภาวะต่างๆ เป็นปัญหาของพลเมืองโลกอยู่แล้ว ที่จะรับมือกับชะตากรรมความร้อนรนทุกมิติด้วยกัน ..และหนนี้ยากจะเล่นตลกได้ มันสะท้อนความวิบัติให้เราเผชิญแบบตาต่อตา คำพูดที่ว่าคนไม่ทำไม่ดีจะตกนรกกระทะทองแดง วันนี้มาถึงแล้ว แต่คนเราก็ยังงุ้มมะง่าหรายี่ยักยี่หย่อนตามจริตมนุษย์ขี้เหม็น

วันที่31 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จัดสัมมนาเชิงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ที่โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม งานนี้จอมยุทธด้านสิ่งแวดล้อมมากันคับคั่ง .ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย รศ.จีระพรรณ สุขศรีงาม คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณกูร ผู้ช่วยกรรมการอาวุโสบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นางอารีวัฒนา ทุมมาเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์มาตรการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

มีหัวข้อหนึ่งน่าสนใจมาก “การรับมือกับภาวะโลกร้อนในภาคอีสาน” โดย ผศ.ดร.วิสิฏส์ เจริญสุดใจ ผู้ช่วยอธิการฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงบ่ายจะเป็นการสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “อันฟ้าหลงทีปแม่นหย้อนว่าโลกฮ้อน” มีรศ.ดร.สมพงษ์ ธรรมถาวร  คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนสุรนารี ผศ.ดร.วรรณวไล อธิวาสพงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นอกนั้นเป็นพวกเราตัวแทนชาวบ้าน ที่จะไปผสมผเสเฮฮาศาสตร์ ดำเนินรายการโดย คุณนิรมล เมธีสุวกุล

การบ้านเฟสนี้ ยังชอบใจหัวข้อ“การรับมือกับภาวะโลกร้อนในภาคอีสาน” เพียงแต่อยากจะมองมุมที่พวกเราชาวบ้านจะริเริ่มทำอะไรกันได้บ้าง การปลูกต้นไม้ ปลูกผักสวนครัว ปลูกพืชน้ำมันพลังงานทดแทน ที่เร็วๆนี้ท่านเล่าฮูส่งรายละเอียดมาให้ดูว่า บริษัทในประเทศอังกฤษสนใจที่จะมาลงทุนปลูกพืชน้ำมันบ้านเรา

โจทย์เรื่องชาวโลกหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่ทำจากพืชแทนน้ำมันหรือพลังงานอื่นเช่นก๊าช หรือถ่านหิน มีความจำเป็นสูงมาก เจ้าพืชเกษตรที่กล่าวถึงนี้มีอะไรบ้างละ ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง สบู่ดำ น้ำมันพืชใช้แล้ว กิจการส่วนนี้กำลังร่างพิมพ์เขียวกันอย่างขะมักเขม่น ขืนชักช้า..วันนี้น้ำมันพืชหายไปจากหิ้ง รัฐฯต้องประกาศขึ้นราคาเป็นการด่วนขวดละ4บาท เริ่มเอาล่อเอาเถิดกันแล้วสิ แม่บ้านมาบอกว่า..รำ และหัวอาหารสัตว์ขึ้นราคาไป20%

ผู้สันทัดกรณีคาดการณ์ว่า เมื่อเราเอาสินค้าพืชน้ำมัน เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม อ้อย มันสำปะหลังมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทางด้านพืชผลการเกษตรจะเป็นที่ต้องการในประมาณมากขึ้น เมื่อต้นปี2550 ราคาข้าวโพดพุ่งกระฉูดเป็นประวัติการณ์ ตันละ175 ดอลล่าร์สหรัฐ ราคาเฉลี่ยแพงกว่าปี2549 ราว50% จากจากนั้นสินค้าพืชน้ำมันตัวอื่นก็เรียงหน้ากระดานขึ้นไล่เลี่ยกัน  ทำให้คิดว่า รึ! วิกฤติน้ำมันประชันกับโลกร้อน จะทำให้มนุษย์ย้อนมาศึกษาธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมามากขึ้นกรณีเหล่านี้เหมาะที่จะฟังหูไว้หู หรือเป็นโจทย์ทำการค้นคว้าวิจัยต่อ ในความเห็นของผม ถ้าชี้ชวนให้คนไทยปลูกต้นไม้ได้คนละ100ต้น ปลูกผักสวนครัวอย่างที่ท่านเกษตรพอเพียงเล่าฟังส่งรูปมาให้ดู สังคมชนบทบ้านเราก็จะเกิดกรณีเกษตรกร3กลุ่ม คือ

1.   กลุ่มดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ทำนา ปลูกต้นไม้ ดำเนินกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ นิยมวิถีชีวิตแบบพึ่งตนเอง สนุกและใส่ใจกับการเรียนรู้

2.   กลุ่มยกธงขาว หนีจากเกษตรกร ไปเป็นกรรมการ หนีไปพึ่งพาภายนอก ถอดใจไม่สู้แล้วงานการเกษตร ไปเป็นมนุษย์เงินเดือนดีกว่าเงินดิน 

3.   กลุ่มชะลอหลังยาว มนุษย์พันธุ์เอื้ออาทร ใครชวนทำอะไรไม่ทั้งนั้น ฉันจะอยู่เฉยๆ แต่อยากจะรวยมากๆ รวยง่ายๆ รวยเร็วๆ ชอบซื้อหวย ค้ายาบ้า เล่นการพะนัน ขายทุกอย่างที่ขวางหน้า เรื่องขายเสียงนั้นจิบจ๊อยเต็มที อะไรที่คนซื้อขายหมด ขายลูกเมียให้ฝรั่ง สายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์อยู่ที่สูงๆยังปีนไปตัดมาขาย  

ผมชื่นชมกลุ่มสมาชิกชาวBlogมาก เท่าที่บอกเล่ากันมา ก็เห็นว่าทุกท่าน ทุกครัวเรือน ชอบและปลูกต้นไม้กันถ้วนหน้า ก็ได้แต่ฝันว่าจะเห็นชุมชนที่มีมนุษย์หัวใจสีเขียว  ช่วยกันตั้งใจที่ปลูกผักสวนครัว เพิ่มสัดส่วนครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น ปีละ10-20%ก็ยังดี เพื่อที่เราจะได้เห็นความต่างระหว่างเกษตรอินทรีย์ กับ เกษตรหลังยาว เกิดผลในทางเปรียบเทียบกันง่ายๆว่า สิ่งไหนดีไม่ดีอย่างไร? พูดมากไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะผมก็ยังมีปัญหาเหมือนกัน ยังไม่รู้ว่า..

จะพัฒนาตัวเองให้มีความรู้พอเพียงได้อย่างไร?

หมายเลขบันทึก: 162028เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

จด ๆ

สิ้นเดือนนี้จะไม่ไปไหนน๊า...ไปฟังพ่อครูบาดีกั่ว

คลายร้อน (ใจ)  อิอิ  จะสอบปลายภาคแล้วค่ะพ่อ  แต่อ่านหนังสือไม่ถึงไหนเลยค่ะ  โครงการร้อยแปดพันเก้า (เกล้า...ด้วยจนจะคอหักแล้ว...)

ขยัน อดทน ตั้งใจเรียน หุ่นจะดีขึ้น อิอิ

  • วิธีปลูกคือไม่ปลูก
  • แค่ไม่ไปต้ดทำลายป่าเป็นการปลูกป่าตามธรรมชาติ
  • เราต้องเคารพธรรมชาติให้ธรรมชาติคัดเลือกต้นไม้เอง
  • ธรรมชาตของไม้ ต้นที่แข็งแรงจะมีชีวิตรอดและขยายพันธุ์ต่อไป
  • เรามีหน้าที่ไม่ไปทำลายซ้ำเติมก็พอแล้ว
  • เรื่องโครงการไฟโตเลียม พืชพลังงาน ของภาคประชาชน พวกเราเริ่มมาสิบกว่าปีแล้ว
  • แต่ผู้รับผิดชอบเรื่องพลังงานชองชาติเปลี่นนตัวตามการเมืองเลยไม่มีอะไรที่ทำอย่างต่อเนื่องและจริงจังผลมันก็เป็นอย่างที่เห็นๆ
  • เมืองไทยมีพืชให้น้ำมันมากมาย ที่ใช้การได้ทันทีก็มะพร้าว ปาล์มถั่วดิน ฯลฯ
  • กระบกเอย พวกเม็ดพืชที่เก็บจากป่ามวางขขายกินแล้วมันๆอร่อยทุกชนิดใช้ทำน้ำมันได้ทั้งนั้นขอให้ชาวอิสานลองทบมวนสำรวจดู
  • ในอเมริกาเขาใช้เทคโนโลยีตัดต่อยีนสาหร่าย ทำเป็นพืชน้ำมันเป็นไบโอดีเซลที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงที่สุด
  • ประเทศไทยมีชัยภูมิดีทีสุดของโลกประเทศหนึ่งเรามีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากๆ แต่เราละเลยไม่เคยพยายามทำความรู้จักตัวตนของตนเองชอบวิ่งตามแฟชั่น เชื่อฝรั่งโดนฝรั่งหรอกมามากต่อมากแล้ว ภาวะโลกร้อนก็เหมือนกันเกรงว่าจะซ้ำรอย Y2K
  • ครูบาฯ ลองจี้ถามเรียงตามรายบุคคลเลยในฐานะที่เป็นคนไทยอย่าถามว่าชาติให้อะไรเราบ้างให้ถามท่านและเธอว่า ให้อะไรแก่ประเทศชาติแล้วหรือยัง?

พวกที่อาจารย์ให้ถาม เขาไม่สามารถคิดแบบอิสระ มีโจทย์อีแอบในใจกันทั้งนั้น ขนาดไม่ถาม เขายังหมั่นไส้ปลับเปลือก

เรื่องสาหร่าย น่าสนใจ เพิ่งเคยได้ยิน พวกนักคิดเขาคงค้นต่อๆไป  ถ้ามีคนลงทุนผลิตแผงโซล่าเซลที่คุณภาพดี ราคาถูก ให้ชาวบ้านใช้เราจะประหยัดพลังงานได้บ้าง ที่เห็นติดกันในชนบท พอเสียแล้วก็เป็นขยะ หาคนซ่อมรับผิดชอบไม่ได้ ควายบริหารงานก็อย่างนี้ละครับ

  • พลังงานในชนบทนั้นนอกจากแสงอาทิตย์แล้ว
  • ยังมีลม  น้ำ ขยะ  พืชผลเสียเน่า แบคทีเรีย ฯลฯ
  • มันต้องรูจักพื้นที่อย่างแท้จริงมีต้นทุนธรรมชาติอะไรบ้างพอที่จะพัฒนาให้เหมาะและพอเพียงต่อพื้นที่ชาวบ้านสมารถเรียนรู้และทำเองได้ไม่ยากและดูแลรักษาได้เอง
  • แสงไฟใช้หลักการง่ายๆแบบไฟฉายจีนแดงที่ไม่ต้องใช้ถ่ายไฟฉาย
  • หรือไฟหน้าจักรยานแบบโบราณ ลองถามท่านผู้รู้ชาเฮฮาดูซิค่ะ
  • ความจริงการคิดอะไรที่ง่ายและไม่ยุ่งยากน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะกับท้องถิ่นนะค่ะ
  • อย่าฝันอย่างนักวิชการ ฝัยกลางฤดูแล้งค่ะ

โอ้โฮ -ข้อมูลมาเป็นตับเลย  ขอบคุณมากครับ จะได้ศึกษา ต่อๆไป

ต้นสำโรง นี่ก็ให้น้ำมันคุณภาพดีมาก ได้ต้น ได้น้ำมัน ได้เปลือกผลไปทำสมุนไพร เห็นมีผู้กำลังวิจัยเหมือนกัน แต่ช้าหน่อย ประมาณ 8 ปี ถึงจะติดผล

  • การศึกษาสำรวจว่าเรามีอะไร
  • คือข้อมูลเบื้องต้นยิ่งมีข้อมูลมาเท่าไร
  • เราก็มีต้นทุนที่เป็นทรัพยากรมากและหลากหลายเท่าไร
  • โอกาสที่จะพัฒนามาใช้ย่อมง่ายขึ้นเพราะมีทางเลือกหรือตัวเลือกมาก ย่อมได้เปรียบกว่าที่ไม่มีตัวเลือก
  • ยือหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามช่วงเวลานั้นๆ เดิทางสายกลางเป็นวิถีทางที่ผู้เจริญทางสติเดินใช่ไหมค่ะ

ขอยกมือสนับสนุนแนวคิดของ ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
มหาชีวาลัยอีสาน

และอาจารย์  Lin Hui ครับ

โดยเฉพาะเรื่องสาหร่าย กระผมเคยสังเกตุบ่อที่มีสาหร่ายขึ้นหนาแน่นจะมีคราบน้ำมันลอยอยู่ที่ผิวน้ำ กระผมเคยให้แนวคิดให้นักเรียนไปสังเกตุและลองทดลองหาวิธีเพิ่มปริมาณน้ำมันจากสาหร่ายว่าจะใช้กระบวนการอะไรมาแทนการรอการเปลี่ยนแปลงจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ พื้นที่ชุ่มน้ำวันนี้อาจกลายเป็นบ่อน้ำมันในเวลาอันใกล้ แต่จะจัดการอย่างไรให้มีผลกระทบน้อยที่สุดเป็นเรื่องสำคัญ กันไว้ก่อนดีกว่ามาแก้ทีหลังจริงหรือเปล่าครับ

ขอบคุณอาจารย์วุฒิชัย ที่ช่วยชวนนักเรียน สนใจเรื่องพลังงานในธรรมชาติอย่างสนุก ลูกศิษย์อาจารย์อาจจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังในอนาคตก็ได้

 

กราบพ่อครูบาครับ

  • ก่อนไปหาพ่อวันนี้  ผมปลูกกระท้อน 1 ต้น
  • เมื่อวานปลูกกล้วย
  • เมื่อวันอาทิตย์  ปลูกยางนา หมาก  มะไฟ  แนบไว้ข้างๆไผ่  หลายสิบต้น
  • นี่ครับหลักฐาน
  • Dsc00167 
  • Dsc001700 
  • Dsc00057 
  • ผมกลับถึงบ้าน เกือบๆ 5 ทุ่ม  กราบขอบคุณพ่อ แม่ และฝากขอบคุณสำหรับน้องๆทุกคนด้วยครับ
  • สวัสดีครับ

Pเรียน ท่านครูบา

  • ขอสนับสนุนท่านครูบาเรื่องวิกฤตโลกร้อนที่พูดกันปาวๆแต่ก็ไม่เห็นทำอะไรให้จริงจังและที่สำคัญขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการปลูกป่าและอยากให้พูดติดปากทักทายกันว่า วันนี้คุณปลูกต้นไม้หรือยัง
  • เห็นด้วยกับอ.Lin Hui กับการพยายามหาพืชน้ำมันที่เป็นพวกPhytoleum จริงๆ มาเป็นพืชพลังงาน แต่ไม่เห็นด้วยที่มาเอาพืชที่เป็นอาหารของมนุษย์ เช่นน้ำมันถั่วเหลือง ถั่งลิสง ปาล์ม มะพร้าว มาใช้เช่นทุกวันนี้  ปัญหาจึงเกิดขึ้นราคาอาหารก็สูงขึ้นแข่งกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง  ความจริงประเทศไทยเรามีพืชน้ำมันที่ไม่ใช้เป็นอาหารแต่มีน้ำมันอีกมาก อย่างเช่นสำโรงอย่างที่ท่านครูบาพูดถึง สบู่ดำ และยังมีอีกหลายชนิดในประเทศไทยเรา ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่จะทำให้สำโรงได้ผลผลิตเร็วกว่านั้น แต่ไม่ได้นำมาประยุกต์ใช้ เนื่องจากขาดทุนวิจัย ได้มีการทดลองในscaleเล็กๆแล้ว ประมาณ 3 ปีก็ได้ผลผลิตแล้ว   สำหรับสำโรงมีประโยชน์มากมายกว่าที่คิด น่าจะได้รับการส่งเสริมให้เร่งปลูก เป็นไม้ใหญ่และโตเร็ว ถ้าปลูกทางอิสาณน่าจะดีมากๆ เดิมทีสำโรงก็เป็นไม้ท้องถิ่นของจ.บุรีรัมย์และเข้าใจว่าอีกหลายๆแห่งในประเทศไทย แต่เรามองข้ามความสำคัญไปตัดทิ้งไปเกือบหมด
  • ขอปรบมือให้ครูวุฒิดังๆนะคะที่ได้พาเด็กๆช่วยกันปลูกต้นไม้ ลองคิดดูถ้าทุกโรงเรียนทำเหมือนครูวุฒิได้ไม่ถึง 10 ปีหรอกอิสาณจะมีแต่ความรื่นรมย์ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีครับทุกท่าน

        เข้ามาเป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับความคิดดีๆ ที่อ่านแล้วรับรู้แล้วสบายใจ อิ่มใจครับ

ขอบพระคุณมากๆ นะครับ 

ป้าจุ๋ม 

มาคราวนี้รวบรวมงานวิจัย สำโรงมา ด้วยดีไหม

จะได้ทำเนื้อหาในการอบรม ด้วย

ครูวุฒิ
ขอบคุณของฝากมหาศาล

  • มะพร้าวไฟ 1 คันรถบรรทุก
  • ปลาช่อนตัวโต กี่กิโลไม่ทราบ แม่ครัวว่ากินครึ่งเดือนก็ไม่หมด
  • เท่าที่ดูครูเล่า จุดที่ปลูกต้นไม้ การออกแบบพื้นที่ปลูก อาจจะต้องมาคุยกัน ต้องมองว่า ในอนาคตเมื่อต้นไม้โตขึ้น หน้าตาจะออกมาอย่างไร จะเบียดกันไหม ต้องตัดอะไรทิ้งไหม
  • โครงการปลูกต้นก้ามปู เพื่อเชื้อเพลิงชุมชน น่าสนใจมาก
  • ผมจะหาทางไปเยี่ยมครูเร็วๆนี้ รอน้าอึ่งว่าง จะพาไปต๊วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท