004: การบันทึกระดับความปวดก็เป็น R2R ได้


การบันทึกความปวดให้เป็นสัญญาณชีพที่ห้านั้น หากบันทึกใน Nurse note จะสื่อสารไปยังทีมงานที่เกี่ยวข้องได้น้อย สู้การบันทึกในฟอร์มปรอทไม่ได้

ครั้งที่แล้วได้พูดถึงการสอนผู้ป่วยประเมินความปวดไปแล้ว คราวนี้มาดูว่า การบันทึกความปวดเป็น R2R ได้อย่างไร

 

ที่ผ่านมา ระดับความปวดของผู้ป่วย จะถูกบันทึกใน Nurse note และแยกเก็บนอกแฟ้มประวัติผู้ป่วย ทำให้ผลการบันทึกไม่ได้รับการสื่อสารไปยังทีมงานที่เกี่ยวข้อง ไม่เหมือนสัญญาณชีพอื่นๆ เช่น ความดัน ชีพจร อัตราการหายใจ และอุณหภูมิกาย ที่บันทึกในฟอร์มปรอท

 

ครั้งแรกได้ลองบันทึกความปวดในฟอร์มปรอทในช่องอุณหภูมิที่สูงๆ (ที่ไม่เคยได้ใช้งานเลย) แต่ก็ไม่สะดวกเพราะช่องเล็กมาก ผมและทีมงานจึงได้ ออกแบบฟอร์มปรอทใหม่ (โดยทันตแพทย์กฤชตินันท์)  ให้มีช่องบันทึกความปวดได้สะดวกขึ้น โดยที่พื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ยังเท่าเดิม

 

งานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในศรีนครินทร์เวชสารปี 2005;20(2)  แต่อัตราการบันทึกยังไม่สูงมาก ต่อมาคุณภาณี (หอผู้ป่วยออร์โธฯ) และทีมงานได้ปรับปรุงระบบการบันทึกในงานประจำให้ดีขึ้น (เรียกว่า pain เป็น สัญญาณชีพที่ห้า: pain is the 5th vital sign) ซึ่งสามารถบันทึกความปวดหลังผ่าตัดได้มากกว่า 98% ของผู้ป่วย ผลงานของคุณภาณี ได้ตีพิมพ์ในศรีนครินทร์เวชสารปี 2006;21(3)

 

ปัจจุบัน ฟอร์มปรอทอันใหม่นี้ได้รับอนุญาตจากทางโรงพยาบาลให้ใช้ทั้งโรงพยาบาล (แทนอันเดิม) แล้ว

 

ทั้งหมดนี้ผมได้เขียนสรุปเพื่อรอตีพิมพ์ในศรีนครินทร์เวชสารในปีหน้า

 จะเห็นว่า R2R ช่วยพัฒนางานประจำให้ดีขึ้นและสามารถเป็นงานวิจัยได้
คำสำคัญ (Tags): #r2r#pain#ความปวด
หมายเลขบันทึก: 56412เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เป็นกำลังใจให้กับคณะแพทย์ที่ทุ่มเทกับการพัฒนาเพื่อผู้ป่วยค่ะ  

 

เป็นอีกหนึ่งกำลังใจที่จะช่วยให้มีบันทึกเกิดขึ้นได้อีกต่อไป

ขอบคุณครับ

อรุณสวัสดิ์คะ...อ.หมอสมบูรณ์...

ขอบคุณมากนะคะสำหรับบันทึกนี้ ... มีประโยชน์มากคะสำหรับผู้ปฏิบัติ...และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดียิ่ง...คะ

ขอบคุณคะ

*^__^* 

กะปุ๋ม

ผมค้นพบว่ามีหลายท่านใน GotoKnow ที่เข้า net ตอนเช้า อาจเป็นเพราะว่าเร็วกว่าตอนกลางวัน หรือเพราะว่าตื่นเช้าก็ไม่ทราบ แต่ก็ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม และจะยินดีมากเลยถ้าจะช่วยเพิ่มบันทึกในเรื่องเล่า(เบาๆ) จากผู้ป่วยให้ด้วยครับ  

เรียนท่านอาจารย์หมอสมบูรณ์

 จากประสบการณ์ หมอดมยามืออาชีพ ท่านเคยใช้ยา "ระงับ ความเจ็บปวด จากการทำงาน" บ้างใหมครับ

 เคยได้ยิน เรื่องเล่า(เหล้า)Pharmacist ว่าให้ใช้ยา ทัมใจ หรือ ต้องทำใจ ซึ่งมีทั้ง ฉีด กิน ละลาย ดม อม จริงใหมครับ

 ท่านใดมีประสบการณ์ ลอง ลปรร ครับ





ยา ทัมใจ เป็นยารุ่นเก่า ผมไม่เคยใช้ครับ แต่ ต้องทำใจ   นั้นรู้สึกว่าเป็นมากกว่ายาสามัญประจำบ้านเสียอีก เพราะยาขนานนี้ใช้ได้ทุกที่ทุกรูปแบบ ผมก็เคยใช้บ่อยๆ ครับ
เรียน ท่านอ.JJ ค่ะ ปํจจุบัน ยาต้องทำใจ อ.สมบูรณ์นำมาใช้เมื่อต้องทำงานในห้องผ่าตัดร่วมกับวิสัญญีพยาบาลแก่ๆ...ที่วิชาการไม่ทันสมัยกับอาจารย์อยู่บ่อยๆไปค่ะ...บางครั้งดิฉันยังแอบขอ อ.สมบูรณ์ทานก่อนเริ่มงานเลย...ยาขนานนี้อาจเป็นอีกวิธีที่ช่วยท่าน อ.JJสอนลูกศิษย์ในการทำคุณภาพให้ยั่งยืนก็ได้นะคะ
  • แวะมาอ่านเรื่องยาทัมใจ สมัยก่อนเรียกทันใจ
  •  เรื่องใน R2R
  • ได้ความรู้ดีครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะไปทักทาย
  • ต่อไปนี้ก็มีเรื่องคุณหมออีกแล้ว

เรียน คุณ เอกชัย

  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาทักทาย
  • เยี่ยม ที่ว่า คือ ยาทัมใจ หรือ การบันทึกความปวด ครับ
เป็นลูกทีม อ.สมบูรณ์มานานพอควรค่ะ ได้เห็นความตั้งใจและมุ่งมั่นของอาจารย์ในการพัฒนาการจัดการความปวดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่เข้ากันได้กับคำพังเพยที่ว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่นแหละ  และขอปรบมือให้กับความสำเร็จเบื้องต้นของอาจารย์กับคำนำหน้าที่เปลี่ยนจาก รศ. มาเป็น ศ.สมบูรณ์นะคะ จะเป็นลูกทีมของอาจารย์ตลอดไปค่ะ แม้ว่าอาจารย์อาจจะต้องพึ่งพายาทัมใจบ้าง เนื่องจากไม่ได้ดั่งใจ 100% คิดว่าความสำเร็จต่อไปของอาจารย์คงจะเป็นการนำความรู้และแนวทางปฏิบัติในการจัดการความปวดลงสู่ ร.พ.อื่นๆในอีสานนะคะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยค่ะ (จะไหวมั๊ยคะ)

your blog looks interesting krab.

Take good care your health krab Ajarn.

Nice to visiting your blog at the first time....

Greeting from Perth krab.

คุณ neeanes ครับ

  • ขอบคุณที่ช่วยให้งานทุกอย่างดำเนินมาได้เป็นอย่างดีมาโดยตลอด
  • คงต้องช่วยภาวนาให้ โครงการถ่ายทอดความรู้เรื่องการระงับปวดสู่ ร.พ. ใน 19 จังหวัดอีสานได้รับทุนด้วย
  • แล้วจะขอความช่วยอีกครั้ง

Ajarn Supalak ครับ

  • อยู่ที่ Perth คงเหงาไม่น้อย ดูแลตัวเองเช่นกัน
  • ผมเคยแวะไปเที่ยวที่ Perth ครั้งหนึ่ง ชอบบรรยากาศที่ Perth เช่นกัน
  • กลับเมืองไทยแล้วคงได้อ่านบันทึกอาจารย์เป็นภาษาไทยนะครับ
รู้สึกดีมากๆเลยค่ะเมื่อไปเยี่ยมเพื่อนหลังผ่าตัดที่ได้รับบริการ APS เพื่อนบอกว่าสบายไม่ค่อยปวดเลย ...ขออนุโมทนาบุญกับบุคลากรทุกท่านที่มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยทั้งหลายได้ทุเลาความปวดจากแผลผ่าตัด...สาธุๆๆๆๆๆ......ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ว่าในรพ.ศรีนครินทร์มี " กองทุนระงับปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัด " โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้ออุปกรณ์ในการระงับปวดหลังผ่าตัดซึ่งจะสามารถให้บริการผู้ป่วยได้มากขึ้น

ขออนุญาติครับ เรียน อ.หมอสมบูรณ์ กรุณาเช็คเมลที่ผมได้ส่งไปเมื่อวานนี้ ขอโทษด้วยครับที่โพสต์ผิดที่เพราะมีความจำเป็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท