ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการสอนออกเสียง (Pronunciation)(2)


เมื่อวานนี้ ได้นำเสนอข้อคิดไปบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกที่น่าสนใจ โปรดติดตาม บอกแล้วไงว่า ครูอ้อยสอนมาหลายปี มีประสบการณ์ในการมอนมามาก จึงมีข้อคิด ข้อสังเกตมากมายเช่นกัน

ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการสอนออกเสียง (Pronunciation)  จากการปฏิบัติจริง  เป็นเอกสารที่ครูอ้อยได้รวบรวมไว้จากการเรียนการสอนตลอดระยะเวลา 27 ปี 

เมื่อวานได้นำเสนอไปบ้างแล้ว  วันนี้จึงเป็นข้อคิอข้อต่อไป

8.  การสอนภาษาในชั้นเรียน (Classroom Language) ควรสอดคล้องกับสภาพจริง  และคาดเดาว่า  นักเรียนต้องการใช้ถ้อยภาษาใดบ้าง  ในขณะที่ทำการเรียนการสอน  แล้วจัดสถานการร์ให้ฝึกปฏิบัติ  สำหรับเหตุการณ์เฉพาะหน้า  อาจจะสอนให้พูดได้ในเวลานั้นก่อน  แล้วรวบรวมไว้สอนในภายหลัง

9.  พยายามใช้   (Classroom Language)  กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ  เริ่มจากภาษาที่ใช้บ่อยและจำเป็นที่สุด  แล้วค่อยๆให้เพิ่มขึ้น  ควรสอนระดับของภาษาด้วย เช่น  พูดกับเพื่อนอย่างไร  พูดกับผู้ใหญ่อย่างไร

10.   (Classroom Language) ที่นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วที่สุดคือ  คำแนะนำในการทำกิจกรรมที่ชอบ  เช่น  เล่นเกมส์  และภาษาที่ใช้บอกความต้องการจำเป็นส่วนตัว  เช่น  ขออนุญาต

11.  เมื่อสอนออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ  ควรให้เล่นเกมแข่งขันกัน  แยกประเภทอักษรตามเสียงสระในชื่อตัวอักษร  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ  ถ้านักเรียนทำได้รวดเร็ว  สนุกสนานและถูกต้อง  แสดงว่านักเรียนมีความพร้อมที่จะเรียน  phonemic symbols  ครูควรค่อยๆสอนสัญลักษณ์แทนเสียงจนครบ  โดยเริ่มจากเสียงที่ออกเสียงยากก่อน  (เสียงในภาษาไทยไม่มี)

12.  ควรทำ  chart  แสดงสัญลักษณ์แทนเสียง  ติดไว้ให้เห็นเป็นประจำ

13.  ควรทำบัตร  phonemic symbols แยกเป็นเสียงเดี่ยว(เหมือนบัตรตัวอักษร)  ไว้สำหรับเล่นเกมส์ต่างๆ  ที่ช่วยให้นักเรียนจดจำเสียงหรือสัญลักษณ์ต่างๆได้  บัตรเพียงชุดเดียวสามารถนำมาทำกิจกรรมได้หลากหลายแล้วแต่ครูจะออกแบบ (Teachers must be the designer.)

14. ครูควรทำแผนภาพแสดงอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง  ไว้ใช้ในการสอนเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย  ในระยะเริ่มเรียน  ควรนำมาให้ดูทุกครั้ง  ที่นักเรียนต้องออกเสียงเหล่านั้น  และควรติดแสดงไว้ให้นักเรียนเห็นจนคุ้นเคย

15.  ควรมีกิจกรรมฝึกกล้ามเนื้ออวัยวะในการออกเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย  เพื่อให้มีความพร้อม  สามารถออกเสียงยากๆได้คล่องแคล่ว  ควรทำในช่วง  warm-up  ก่อนสอนจนกว่านักเรียนจะจดจำสัญลักษณ์และวิธีการออกเสียงได้

16.  ครูจะต้องทำให้นักเรียนตระหนักถึงกระบวนการเรียนการสอนที่ครูใช้ว่า  เมื่อสอนและฝึกแล้ว  ต้องนำไปใช้ได้  เพราะครูจะวัดผลที่การใช้  ดังนั้น  เมื่อทำกิจกรรมใดๆ   ก็ตามจะต้องมีการนำเสนอและอภิปราย  จึงต้องศึกษาและฝึกออกเสียงให้ถูกต้อง  ควบคู่ไปกับความหมายอยู่เสมอ  เพื่อให้สามารถนำเสนองานและแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้

17.  เมื่อพบข้อผิดพลาด  ในการออกเสียงของนักเรียน  ให้วิเคราะห์ว่าเกิดจากอะไร  เป็นความผิดที่สำคัญ  เล็กๆน้อยๆ  หรือเป็นเพียงความพลั้งพลาด

*  ถ้านักเรียนจำนวนมาก  ทำผิดเหมือนๆกัน  และเป็นความผิดที่สำคัญ  ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนรู้ต่อไป  ให้นำมา  สร้างกิจกรรมใหม่  สอนซ้ำจนกว่าจะทำได้

*  ถ้าเป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ  ไม่มีผลต่อการสื่อสรก็ปล่อยผ่านไปได้

*  ถ้าเป็นความพลั้งพลาด  หลงลืม  ให้ใช้คำถามช่วยให้ระลึกได้

ยังมีอีกค่ะ  ในค่ำคืนนี้ขอเสนอเพียงแค่นี้  ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการสอนออกเสียง  ของครูอ้อย 

หมายเลขบันทึก: 63435เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท