รายงานผลการสอนทางไกลใน “ห้องสี่เหลี่ยม” ผ่านโทรศัพท์มือถือ


ผมถามต่อว่า “ทำไมชาวบ้านอย่างเราต้องไปทำงานเชิงนโยบาย”

  วันนี้ วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ 

ผมได้ทาบทาม ท่านครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ มาให้ความรู้กับนักศึกษาจำนวนร้อยกว่าคน  

071107+003

ในหัวข้อ การเชื่อมโยงการปฏิบัติที่เป็นจริงสู่นโยบาย ระดับชาติ

 ที่ท่านเป็นกรรมการอยู่ในระดับชาติ เกือบจะทุกสาขา ทั้งการศึกษา การวิจัย และการพัฒนา และกรรมการสภาสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง แบบนับไม่ถ้วน

     เมื่อเริ่มการสอน ผมได้แนะนำให้นักศึกษารู้จักท่านครูบาอย่างกว้าง พอให้รู้ว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำอะไร มีคุณสมบัติอะไร จะมาให้ความรู้ในเรื่องใดบ้าง 

พอดีครูบาก็โทรเข้ามาแจ้งให้ทราบว่าควรโทรหาเบอร์ไหน ผมก็ติดต่อกลับ พร้อมฉายภาพแปลงเกษตรของครูบา ขึ้นหน้าห้องเรียนตลอดเวลาที่คุยกัน

 ให้นักศึกษาได้เห็นบรรยากาศของแปลง วิถีชีวิต ป่าไม้ ต้นสักขนาดยักษ์ที่ครูบาปลูกเอง  

040615+039+%28small%29

พร้อมกับถามครูบาว่าทำอย่างไรจึงได้มาอยู่แนวหน้าระดับนโยบายได้ 

040615+044

ครูบาก็สาธยายว่า เราต้องทำให้สำเร็จเป็นตราสัญลักษณ์ ก็จะได้รับการเชิญตลอด 

040615+007

ตอนนี้เรื่องยูคา ก็ได้รับเชิญจากทางฝ่ายการเมืองให้เข้าเป็นกรรมการพิจารณาแล้ว 

ผมถามต่อว่า ทำไมชาวบ้านอย่างเราต้องไปทำงานเชิงนโยบาย 

040626+019

ครูบาก็ขยายความที่สรุปได้ว่า ถ้าเราไม่ทำ งานก็จะผิดพลาด เพราะไม่มีใครรู้จริง 

ผมถามต่อว่า ทำไมเขาจึงจะเชื่อเรา 

040615+004

ครูบาตอบว่า เขาไม่มีทางออก ยังไงเขาก็ต้องฟังเรา 

และยังมีประเด็นเชิงนโยบายการศึกษา ที่ต้องแก้ไขในทุกระดับ  โดยเฉพาะตัวผู้เรียนเอง ต้องเข้าใจตัวเอง และรักตัวเอง จึงจะมีความสุขกับการเรียน  

เพราะการเรียนจริงเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาตนเองได้ โดยครูบาได้ยกตัวอย่างกระบวนการเรียนของตัวเอง จึงพัฒนามาได้อย่างที่เห็น 

หลังจากผ่านไปประมาณ ๔๐ นาที ผมได้ขอจบการบรรยายแบบคุยกันให้นักศึกษาฟัง  และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม 

มีนักศึกษาให้ความสนใจ ถามถึงวิธีที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนารายได้ และวิธืการทำงานแบบยั่งยืนในระยะยาว 

ที่ครูบาก็ตอบเน้นๆว่า  ความยั่งยืนที่แท้จริง อยู่ที่ความรู้ และการสร้างพันธมิตรทางวิชาการ และเน้นการทำงานแบบอิงระบบ ที่จะต้องพึ่งพากันหลายฝ่าย 

ที่มีรายละเอียดมากมาย จากการคุยกันผ่านมือถือเข้าระบบเสียง ในห้องเรียน

ที่ทำให้นักศึกษาตื่นตัวในการเรียนโดยตรงจากผู้รู้จริง ในแต่ละเรื่อง 

ในวันศุกร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ นี้ ผมก็นัดกับ ครูบาคำเดื่อง ภาษี ไว้ ในฐานะปราชญ์อีกท่านหนึ่งที่เน้นทำวิจัยภาคประชาชน ในชุมชนหลายเรื่องจนนับไม่ถ้วน และอยู่ในชีวิตจริงของทุกคนที่ทำ ทั้งหมด

การคุย คงจะอยู่ในประเด็นการขับเคลื่อนภาคประชาชน เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่ดิน และสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง"

ที่ครูบาคำเดื่อง กับ ครูบาผาย สร้อยสระกลาง ทำเป็นแกนนำในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ครับ

ได้ผลประการใด จะแจ้งให้ทราบเช่นเคยครับ 

หมายเลขบันทึก: 165102เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
โดยเฉพาะตัวผู้เรียนเอง ต้องเข้าใจตัวเอง และรักตัวเอง จึงจะมีความสุขกับการเรียน  เพราะการเรียนจริงเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาตนเองได้ โดยครูบาได้ยกตัวอย่างกระบวนการเรียนของตัวเอง จึงพัฒนามาได้อย่างที่เห็น

ชอบตรงนี้มากครับ บางทีการรับรู้กับเรียนรู้ ต่างกันตรงนี้เอง

ความรู้ที่ไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้ ไม่ได้ต่างอะไรกับการไม่รู้เลยครับ 

ครับ

ปัยหาใหญ่ อยู่ที่เรา "ไม่เรียน" นี่แหละครับ

ผมแวะมาเรียนรู้ครับ

ขอปรบมือดังๆให้ครับ

ดีครับ

ผมก็เรียนอยู่ทุกวันเหมือนกันครับ

ดูทีท่าว่าจะเรียนยังไม่จบสักที

ทุกวันที่ทำงาน มีความรู้ที่ได้ เพิ่มรวดเร็วแบบทวีคูณเลยครับ (ของเก่า ก็ลืมบ้างเหมือนกันแหละ)

ผมก็แปลกใจในสมองคนเรา

ทำไมไม่เต็มสักที

ผมจะได้มีข้ออ้างที่จะเลิกเรียน เหมือนคนบางคนที่ไม่ยอมเรียนบ้างครับ

คงจะสบายดีกว่า (หรือเปล่าครับ????)

ใครที่เรียนพอแล้ว และจะไม่เรียนอีก ช่วยเล่าวิธีการ และแนวคิดให้ฟังหน่อยซิครับ

ว่า

การเรียนพอแล้ว หรือไม่เรียนนั้น มันมีความสุขมากขนาดไหน

ผมคิดไม่ออก และอยากรู้จริงๆ ครับ

(อ้าว... อยากเรียนอีก แล้ว เป็นอย่างนี้ทุกที)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท