สรุปสาระสำคัญการนำไปปฏิบัติ Strategic HRD


ทฤษฏี ความรู้ที่อยู่ในหนังสือ หรือแนวคิดของบริษัทชั้นนำ นั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่การที่เราจะนำสิ่งเหล่านี้มาปฏิบัติให้บังเกิดผลที่วัดได้นั้น ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายพอสมควร ที่สำคัญ ผมไม่อยากให้ชาว HRD ลอกเลียนแบบ Model การบริหารและพัฒนาบุคลากร จากบริษัท Best Practice ชั้นนำในเมืองไทย HRD ต้องคิดวางระบบสร้าง Model ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การของเราดีกว่าครับ

แน่นมากครับเนื้อหา แต่หัวใจหลักของการปฏิบัติ ก็คือ

1. HRD ต้องเป็นนักคิดระบบ วางระบบให้ Line manager พร้อมวางแผนการสื่อสารให้เขาคล้อยตาม เห็นด้วย และสนับสนุนระบบการพัฒนาบุคลากรของ HRD

2. กลยุทธ์พัฒนาบุคลากร จำเป็นต้องแปลงมาจากวิสัยทัศน์หลักขององค์การ --> ภารกิจ --> เป้าหมาย ---> กลยุทธ์ย่อยที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาบุคลากร

3. องค์ประกอบของ Human Resource Development ทั้ง 4 คือ IPD, Career Development, PMS, OD (ทุกอย่างต้องนำ Competency เข้ามาจับ เพราะเป็นบ่อเกิดของผลการปฏิบัติงานที่สามารถรู้ Gap ได้)

4. การพัฒนาพนักงานระดับบุคคล (Individual Development) แน่นอนต้องอิงกับ Competency ครับ แต่จะประสบความสำเร็จได้ดี HRD ต้องเตรียมความพร้อมและวางแผนการสื่อสารให้ Line manager รู้และเข้าใจหลักวิธีการกำหนด Competency ในสานงานนั้นๆ และประเมินได้อย่างเป็นธรรม พร้อมมีเทคนิคการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างมีศิลป์แกลูกน้อง

5. การพัฒนาสายอาชีพ (Career Development) อันนี้ เน้นไปที่ Career Path, Talent, Succession

  • Career Path เน้นการวิเคราะห์กลุ่มงานต่างๆ เพื่อจัดทางเลือกให้แก่พนักงานเตรียมการโอนย้ายงาน (เพื่อทักษะที่หลากหลาย มูลค่างานเพิ่ม พนักงานรู้สึกมีมูลค่า) ตรงนี้อิงกับความถนัดและการยอมรับของเจ้าตัวด้วย
  • Talent เน้นรักษาคนเก่ง/คนดี ให้อยู่กับเราไปนานๆ จากผลการวิจัยพบว่า คนเก่งมักเบื่อเร็ว ชอบอะไรที่ท้าทาย ชอบเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมีเป้าหมายหลักของตนเอง ตรงนี้ HRD และ Line manager จำเป็นต้องพูดคุยกันเพื่อหาวิธีจูงใจรักษาคนเก่ง/คนดีเหล่านี้ไม่ให้รู้สึกเบื่อเร็ว ซึ่งก็มีเครื่องมีอการพัฒนาประมาณ 16 ตัว มาช่วย (เลือกเอาตามความเหมาะสมครับ)
  • นอกจากนั้น HRD ต้องมีบทบาทของนักบริหารความเสี่ยงด้วย คือ การใช้หลักการของ KM เข้ามาช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต นั่นคือ การจากไปของคนเก่ง/คนดี คือ ทำอย่างไรก็ได้ ที่เราต้องนำความรู้ ความคิด วิธีการทำงานที่สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานของคนเก่ง เอาออกมาแชร์ให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เช่น Intranet เป็นต้น
  • Succession ต้องเป็นนักคาดการณ์อนาคต รู้จักวางแผน เพื่อเตรียมคนเก่ง/คนดี ขึ้นมารับช่วงแทน โดยใช้หลัก IDP เข้ามาช่วยในการเตรียมความพร้อมของผู้สืบทอดตำแหน่งครับ (แนะว่าไม่ควรบอกเจ้าตัวและเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ครับ)

6. การบริหารผลการดำเนินงาน (Performance Management)

  • ต้องเน้นสร้างระบบ Competency ให้แน่นและชัวร์ก่อน
  • ออกแแบและสอนให้ Line manager เข้าใจ KPIs อย่างถ่องแท้
  • ออกแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสม
  • HRD วางแผนการสื่อสารให้พนักงานทั้งองค์การ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงานอิงตาม Competency และ KPIS
  • ดำเนินการประเมินผล พร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับทันที
  • วางแผนการฝึกอบรมและพัฒนา (เลือกใช้ Tools ให้เหมาะสม)

7. การพัฒนาองค์การ (Organization Development)

  • ในฐานะที่ HRD เป็น Change Agent ต้องเน้นการวางแผนการสื่อสารให้พนักงานทั้งองค์การทราบ เข้าใจ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
  • ต้องค่อยๆ ออกสื่อตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น บอร์ด เสียงตามสาย ป้ายประกาศ Intranet วารสาร ฯ โดยต้องมีช่วงเวลาการออกประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน มีการติดตามวัดผลกับทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจของพนักงานทั้งองค์การด้วย
  • ทำไปเรื่อยๆ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เหมือนน้ำซึมบ่อทราย แล้วฝันที่วาดไว้จะเป็นจริงซักวัน

ท้ายสุด ข้อคิดจากการสัมมนา

  • พนักงานทุกคนมีความหวังที่จะเติบโตในสายอาชีพ แต่ HRD ต้องสื่อสารอย่างไรให้เขาเข้าใจง่าย เห็นภาพชัดเจน คล้อยตาม มีใจอยากปฏิบัติ และไม่คิดว่าเป็นการเพิ่มภาระงานให้เขา 
  • ระบบการสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ถ้า HRD จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • บริษัทใหญ่ บริษัทเล็ก ก็สอนให้เรารู้จักคิด วิเคราะห์เพื่อหาวิธีการช่วยเหลือ พัฒนา ให้ดีขึ้นจากเดิม นั่นคือ คุณค่าที่เราได้จากโจทย์ของบริษัท
  • จิตวิทยา สำคัญมากๆ ถ้าจะให้ผู้บริหารระดับสูง เห็นด้วยกับแนวคิดพัฒนาของเรา

________________ขอจบเพียงเท่านี้ครับ_______________

หมายเลขบันทึก: 149117เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2007 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยสรุปสาระดี ๆ มาแบ่งปันกัน  จะทดลองนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้ในการทำงานต่อไปนะคะ

ขอบคุณมากครับที่สรุปสาระสำคัญให้อ่านกัน และเห็นด้วยที่คุณบอกว่า...จิตวิทยา สำคัญมากๆ ถ้าจะให้ผู้บริหารระดับสูง เห็นด้วยกับแนวคิดพัฒนาของเรา

 

แนวความคิดผม จากประสบการณ์ในการทำงานสายงาน HRD และประกอบกับทฤษฎีต่างๆนั้น Tool ต่างๆเป็นแค่ส่วนประกอบในการทำงานให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย หลายองค์กรที่มีสัญญชาติ อเมริกา เอง ต่างก็มี Tool ในการ develop องค์กรของตนเอง แม้จะมีรากฐานมาจาก Tool ยอดนิยมที่เราต่างเห่อนำไปใช้ แต่ลืมมองว่าแท้ที่จริงแล้วมีความเหมาะสมกับองค์กร กับคนในองค์กรหรือไม่

competency ที่นัก HRD จะขาดไปไม่ได้ก็คือการ communicate หลายคนแม่นในหลักการ ทฤษฎี แต่ไม่สามารถทำให้คนในองค์กรเชื่อว่าแนวคิดนี้เหมาะสม เพราะอาจจะไม่เคยศึกษาในอดีตที่ผ่านมาขององค์กร และไม่ได้คำนึงว่าการสื่อสารทำความเข้าใจนั้นสำคัญยิ่ง HRD คือผู้ที่เปลี่ยนแปลงองค์กร หากผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร การสื่อสารทำความเข้าใจสำคัญยิ่ง

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือตัวผู้บริหารต้องเข้าใจ และ policy ของบริษัทต้องชัดเจน และเราสามารถสอดรับกับนโยบายได้อย่างตรงตามเป้าหมาย เพราะหลายบริษัทไม่ได้บอกความต้องการของตนเองอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น จนทำให้การทำงานบางครั้งนั้นหลงประเด็น นัก HRD ควรศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนทุกครั้งที่เข้ารับหน้าที่ คารศึกษาและวิเคราะห์องค์กรในทุกๆด้าน อาทิเช่น ธุรกิจ บุคลากร พื้นฐานขององค์กร นโยบาย ทัศนคติของคนในองค์กร พฤติกรรมของการเรียนรู้ เป็นต้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท