เครือข่ายการจัดการความรู้ มมส. ปี 2550


แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ ในงานมหกรรมจัดการความรู้ภูมิภาค ครั้งที่ 1
 

  เครือข่ายการจัดการความรู้ มมส. ปี 2550 
โดย รศ. ดร. อรรณพ วราอัศวปติ
( http://gotoknow.org/blog/phyto ) 

      ในช่วงปี 2550 ที่ผมได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม ในการช่วยขับเคลื่อน การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) นั้น เริ่มต้นมาจากการที่ผมเริ่มเข้าไปอ่านเรื่อง ของการจัดการความรู้ใน Blog Gotoknow  และได้ไปร่วมพูดคุยกับ Blogger ชาว มมส. ในงานจิปกาแฟคนเขียนบล็อกครั้งแรก ทำให้ได้รับโอกาสไปร่วมงานการเสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้ระห่างมหาวิทยาลัย (UKM) ครั้งที่ 7 ที่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพในเวลาต่อมา   เราเดินทางไปโดยใช้รถตู้ของมหาวิทยาลัย จึงมีโอกาสพูดคุยกันไปตลอดทาง มีการพูดคุยกันในคืนก่อนถึงวันประชุมที่ห้องพักในโรงแรมถึงเรื่องการที่พวกเราจะเข้าร่วมการเสวนาครั้งนี้กันอย่างไร ? และ กลับไปเราจะไปทำอะไร ? กันต่อ เพื่อให้การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของ มมส. เกิดขึ้นให้มากกว่าที่ผ่าน ๆ  มา  ซึ่งอาจจะเป็นการทบทวนก่อนปฏิบัติงาน หรือ BAR (Before Action Review) ของชาว มมส. เป็นครั้งแรก  
       
หลังจากการเสวนาครั้งนั้นกลุ่มที่ไปร่วมงานก็มีการประชุมร่วมกันวางแผน เพื่อการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของ มมส. โดยในตอนแรกก็เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า คณะทำงาน หรือกลุ่มคนทำงาน
MSU-KM หลังจากมีการประชุมหลายครั้ง ทางมหาวิทยาลัยโดย คุณเอื้อของเรา คือ ผศ. ดร. พิศมัย ศรีอำไพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์  จึงได้ตั้งกลุ่มคนทำงานที่มาด้วยใจจากหลากหลายหน่วยงานเป็น คณะอนุกรรมการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร ปี 2550 ขึ้น เพื่อเป็นแกนในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของ มมส.
          จากการร่วมกันคิดและประชุมร่วมกันหลายครั้ง  เป็นสิ่งที่นำไปสู่การเสนอแนวคิดการดำเนินงานขับเคลื่อน MSU-KM โดยคุณวิชิต ชาวะหา โดยใช้ ABC Model ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการจัดการความรู้โดยมีการเชื่อมโยงและเสริมกัน ระหว่าง หน่วยประกันคุณภาพ (A)  ในแนวใช้ KM เติมเต็ม QA  กับมีทีมอนุกรรมการจัดการความรู้ฯ  เป็นทีมเสริม (B) หรือ Backup team ที่พวกเราเรียกกันสั้น ๆ ว่า team B เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงส่งเสริมให้หน่วยต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือว่าเป็นส่วน ร่วมมือหลัก (C) ได้แก่คณะวิชา สำนัก ศูนย์ สถาบันวิจัย ต่าง ๆ มีการร่วมมือกัน (Collaboration) ได้ใช้การจัดการความรู้ไปในแนวที่สอดคล้องกันและ มีประสิทธิภาพสูงสุด  และ ABC Model เป็นแนวที่คณะอนุกรรมการจัดการความรู้ฯ เราใช้เป็นหลักในการทำงานปี 2550 ที่ผ่านมา

         

  • เชิญพบกับพวกเรา และสอบถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ ในงานมหกรรมจัดการความรู้ภูมิภาค ครั้งที่  1 ที่ห้อง UKM ได้ในวันที่ 28 นี้ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรครับ

 

หมายเลขบันทึก: 131905เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2007 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • การทำงานของ team B มีอะไรบ้าง ในรอบปีที่ผ่านมานั้น พวกเรา team B ได้ช่วยกันบันทึกกันไว้แล้ว ท่านสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดตามช่วงเวลาที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ของ team B เราได้โดยตรงจากใน Blog Gotoknow  ผมขอนำมาเล่าสู่กันฟังย่อ ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้ติดตามข่าวดังนี้
             1. จัด KM workshop เพื่อให้ความรู้ และกระตุ้นให้มีความรู้และมีการใช้ KM ให้มากขึ้น (KM นำไปสู่ LO ที่ยั่งยืนทำอย่างไร ?  , ธรรมาภิบาลกับความพอเพียง)
              2. ประสานงานเพื่อทบทวนและติดตามโครงการ KM ของหน่วยงานต่าง ๆ (สรุปบทเรียนการจัดการความรู้ : กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ณ เขื่อนอุบลรัตน์  เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง คณะอนุกรรมการและผู้ดำเนินโครงการจัดการความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย)
              3. ส่งเสริมและสนับสนุน โดยจัดงาน Show & Share 2007 และ ประกวดโครงการ KM ดีเด่น 2550 
              4. สนับสนุนโดยไป เป็นวิทยากร จัด KM workshop ให้หน่วยงานต่าง ๆ ภายใน มหาวิทยาลัย เช่น กองกิจการนิสิต กองกลาง กองบริการการศึกษา คณะ และสถาบันวิจัย เป็นต้น
              5. สนับสนุนโดยเข้าไปช่วยในการ จับภาพ (Capture) หรือ จับประเด็นสำคัญ ของงานสัมมนาของหน่วยงานต่าง ๆ นำมารายงานเป็น แก่นความรู้ (KA) ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เช่น การสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  งานคาราวานส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น
              6. ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากร ใช้ Blog Gotoknow ในการเขียนบันทึกงาน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดเก็บความรู้ โดยการเป็นวิทยากรอบรมการเขียน Blog และ มีการให้ รางวัล KM มมส. สำหรับคนเขียน Blog เป็นประจำทุกเดือน
              7. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ และกิจกรรม KM  ผ่านทางจดหมายข่าว (MSU-KM News) ทุกสองเดือน และ ผ่านทางเว็บไซต์ ให้บุคคลทั่วไปได้ทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมการจัดการความรู้ต่าง ๆ ของ มมส.
              8. เป็นผู้แทนของ มหาวิทยาลัย ในการเข้าร่วมงานต่าง ๆ ด้านการจัดการความรู้ เช่น เสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM)  มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ (NKM) มหกรรมการจัดการความรู้ภูมิภาค เป็นต้น

Msushow06

  • กลุ่มผู้ที่ถ่ายรูปกับ Poster MSU-KM ABC Model เป็นชุดแรกครับ เพราะเพิ่งนำมาจาาร้าน ติดตั้งเป็น Poster สุดท้ายของงาน MSU-KM Show & Share 2007  ตามเวลาที่ปรากฏในรูปครับ
  • จึงขอเก็บไว้เตือนความทรงจำครับ
  • ตามมาดูบันทึกอาจารย์
  • แล้วไม่ผิดหวัง
  • เริ่มเล่าตั้งแต่แรกเลย
  • แล้วพบกันที่ มน นะครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท