คิดเรื่องงาน (21) : 3 ป. : เปิด ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง


การทำงาน มิใช่ย่ำเดินอยู่กับที่เสมอไป

พักหลังหลายเวทีเริ่มคุ้นชินกับ 3 วาทกรรมอันเป็นหลักคิดการทำงานของผมบ่อยครั้งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  นั่นคือ  หลักคิด 3  ป.  ได้แก่   เปิด  ปรับปรุง  เปลี่ยนแปลง ...

    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ระยะหลังนี้ผมพูดถึงหลักคิดเช่นนี้บ่อยครั้งจริง   ทั้งในระดับเวทีของบุคลากร  หรือเวทีของนิสิต  รวมถึงเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไร้รูปแบบของผมกับเจ้าหน้าที่ในสังกัด   ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอยู่ไม่น้อย  เพราะเริ่มมีคนรับรู้รับฟังมากยิ่งขึ้น  ส่วนจะนำไปยึดปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหนนั้น  ยังคงต้องติดตามประเมินผลกันอีกสักระยะ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แนวคิด 3  ป.  (เปิด ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง)  เป็นหลักคิดในการทำงานที่ผมพยายามนำมาใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร นิสิต    ผมเองก็ไม่ใคร่แน่ใจว่าเคยได้ฟังแนวคิดเช่นนี้  หรือประมาณนี้จากที่ไหนหรือเปล่า   แต่เชื่อมั่นว่า  3  ป.  ที่กล่าวถึงนั้น  ถ้าใช้อย่างมุ่งมั่นและให้ถูก   ย่อมเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาตนและพัฒนาองค์กรได้เป็นอย่างดี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">๑. เปิด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เปิด  :  เป็นลักษณะของการ เปิดใจ  รับรู้และรับฟังเรื่องราวจากทัศนะของผู้อื่นบนพื้นฐานที่ปราศจากมายาคติ   เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์มักนิยมที่จะพูดมากกว่าการเป็นผู้ฟัง  ลักษณะเช่นนี้  บางทีก็ดูประหนึ่งว่ามนุษย์ล้วนปรารถนาที่จะอยู่ในสถานะของการผู้กระทำมากกว่าผู้ถูกกระทำ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>การจะพัฒนาตนเอง   หรือองค์กรได้นั้น     ผมถือว่าการ เปิดใจ  เป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญที่สุด   เพราะหากเราติดยึดกับความคิดของตนเอง  โดยปราศจาการรับฟังคนรอบข้าง  ก็ไม่ต่างอะไรจากการมองโลกด้วยดวงตาเพียงดวงเดียว  ส่วนดวงตาอีกดวงหนึ่งนั้นก็ไม่ต่างจากการบอดใบ้เสียสนิท     </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การเปิดใจ  จึงเป็นข้อดีที่จะทำให้ชีวิตของเราได้รับรู้เรื่องราวและข้อมูลอันหลากหลายมิติ   การรับรู้อันหลากหลายย่อมกลายมาเป็น ต้นทุน  ที่ดีของชีวิต   จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีศักยภาพ หรือทักษะชีวิตในการสกัด - สังเคราะห์สิ่งเหล่านั้นได้ในระดับใด </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>      </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">๒.  ปรับปรุง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปรับปรุง  :   เป็นกระบวนการขั้นต่อเนื่องจาก    ตัวแรก  (เปิด)   เมื่อเราเปิดรับบริบทข้อมูลต่าง ๆ จากรายรอบและทำการสังเคราะห์แยกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว    เราต้องกล้าที่จะนำสิ่งอันเป็นประโยชน์มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อการ ต่อยอด  ในจุดเดิม ๆ ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การปรับปรุงที่กล่าวถึงนี้   ผมเน้นย้ำกระบวนคิดของการวิเคราะห์จุดอ่อนด้อยของสิ่งที่เราถือปฏิบัติ  และกล้าที่จะนำเอาสารัตถะที่ได้จากการ เปิดรับ  และ สกัด สังเคราะห์  แล้วมาปรับประยุกต์ใช้กับสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดกระบวนการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป   แต่นั่นก็ต้องหมายถึงว่า   เราต้องมีต้นทุนในเรื่องเดิม ๆ  อยู่บ้าง  มิใช่ทำแล้วก็แล้วกันไป  ต้องมีระบบการจัดเก็บความรู้กับพอสมควร     </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>และสำคัญอีกประการที่ไม่อาจละข้ามไปได้ก็คือ  เราต้องรู้ในสิ่งที่เป็นอยู่  รู้ในสิ่งที่กำลังทำ  ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าว  จึงสะท้อนให้เห็นว่า   การทำงานในองค์กรไม่จำเป็นต้องกลบฝังทุก ๆ เรื่อง    เพื่อสร้างตำนานใหม่ขึ้นมาประดับตนเองเสมอไป    </p><p></p><p>อะไรที่ดีอยู่แล้วก็ควรได้รับการ ต่อยอด  อย่างมีกระบวนการ  และเป็นการ ต่อยอด  ที่ปราศจากมายาคติใด ๆ   เป็นการต่อยอดเพื่อให้สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น   ซึ่งก็น่าจะท้าทายคนเรามาก  เพราะ  ป . ปรับปรุง   ดูจะยากกว่า  ป. เปลี่ยนแปลง  อยู่มากโข      </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">๓.  เปลี่ยนแปลง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>เปลี่ยนแปลง  :   ถือเป็นจุดอ่อนของคนทำงานในระดับองค์กร   เพราะคนส่วนใหญ่มักไม่คุ้นชินต่อการเปลี่ยนแปลงตนเอง   ใครเคยทำอะไรก็ทำซ้ำเดิมอยู่อย่างไม่รู้ร้อน รู้หนาว   งานที่ทำก็คืองานประจำที่ไม่เคยคิดที่จะ ลุก  จากเก้าอี้มาคิดเชิง รุก  ใหม่ ๆ  ที่สอดรับกับปรากฏการณ์ของห้วงเวลาอันเป็นปัจจุบัน     </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และอย่างน้อยเราก็ควรที่มองโลกในแง่ดีไว้บ้างว่า   การเปลี่ยนแปลง  คือ ปรากฏการณ์หนึ่งของการพัฒนา  ….  เพราะโดยกฎแห่งกรรม (ดี)   มนุษย์ย่อมวิวัฒน์ไปสู่สิ่งอันดีงามอยู่เสมอ  ซึ่งผมเองก็คิดเช่นนั้นอยู่อย่างไม่กังขา   อย่างน้อยก็ทำให้ตนเองมีความอดทน  และเมื่ออยู่ในบริบทแห่งความทุกข์ท้นก็ยังกล้าที่จะเรียนรู้ ศาสตร์  แห่งการรอคอย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การเปลี่ยนแปลง  ผมอาจจะพุ่งประเด็นไปสู่วิธีคิดในทำนองว่า อะไรไม่ดีพอ  ก็อย่ารีรอที่จะยกเครื่องใหม่   เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดมิติใหม่ ๆ ในการทำงาน  มิใช่ย่ำเดินอยู่กับที่โดยไม่มีระยะทางของการทำงานอย่างที่ควรจะเป็น   อย่าให้ถึงกับต้องเรียกได้ว่า “10 ปี เหมือน  1  วันที่ไม่มีอะไรสร้างสรรค์ใหม่ ๆ    เพราะเป็นเช่นนั้นก็คงไม่ต่างไปจากภาพชีวิตแบบ เช้าชามเย็นชาม  กระมัง !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แน่นอนครับ   หลายท่านมองว่าการทำใหม่ย่อมง่ายกว่าการลงมือทำในสิ่งเดิม ๆ   เพราะประเด็นหลังคือไม่รู้เลยว่าจะทำได้ดีเท่าของเก่าหรือไม่  …..</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่สำหรับผมแล้ว   นี่ก็ใกล้ครบขวบ 1  ปีใน G2K   และครบขวบปีที่กลับมาเป็น แกนหลัก  ของการบริหารในกลุ่มงานกิจกรรมนิสิต   ซึ่งก็คงได้เวลาแล้วกระมังที่จะกลับมาประมวลและประเมินว่าตนเองและ  สูตร  “3  ป.  ว่าก่อเกิดและสัมฤทธิ์ผลมากน้อยแค่ไหน ? </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เปิดรับอะไรได้บ้าง … ?</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปรับปรุงต่อยอดอย่างไร  ?</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ได้หรือเปล่า !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และหากต้องถอดหัวโขน ..ลงจากเก้าอี้  คืนกลับไปสู่การเป็นคนธรรมดา ๆ  คนหนึ่ง  อย่างน้อยก็จะได้บอกกับคนมารับช่วงต่อได้ว่า  3 ป.ที่ว่านั้น  (โดยเฉพาะ  ป.ปรับปรุง, ป. เปลี่ยนแปลง)  มีอะไรบ้าง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 146555เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2007 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

P

ขอมาเก็บความรู้ด้วยค่ะ

เรื่องที่เขียนดีมากๆค่ะ ยอดๆๆ

ที่พี่มีประสบการณ์นะคะ

สิ่งหนึ่งที่ น่าจะเปลี่ยนบ้าง ในการทำงานทั่วๆไป คือ การประชุม...

Parkinson?s Law หรือกฎของ Parkinson  ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ "เวลาที่ที่ประชุมใช้ในการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักจะเป็นไปในทางกลับกันกับมูลค่าของเงินที่เกี่ยวข้อง"

เวลานั่งประชุมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่ไม่สำคัญมากนัก เช่น การพิจารณาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเงินเพียงไม่กี่แสนบาท ใช้เวลาถกเถียงกันมาก แต่พอเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินหลายๆ ล้าน เรื่องดังกล่าวกลับใช้เวลาในการพิจารณานิดเดียว

ทั้งนี้ เนื่องจากว่าในเรื่องที่เป็นเงินเพียงไม่กี่แสนนั้น ทุกคนในที่ประชุมพอจะมีความรู้ หรือความคิดเห็นที่จะต้องเสนอออกมา แต่พอเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินเยอะๆ แล้ว กลับมีคนเพียงไม่กี่คนในที่ประชุมที่จะสามารถให้ความเห็นได้ 

นี่พูดตามประสบการณ์ของพี่ หรืออย่างเช่น....

เรา สามารถที่จะเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ลดระดับการบริหารที่ไม่จำเป็น รวมถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว (อาจจะใช้เวลาเพียงแค่วันสองวัน)

แต่จะประสบปัญหาและใช้เวลาเป็นวันๆ ในการทำให้พนักงาน ปรับเปลี่ยนความเคยชินของเขาบางอย่าง 

สรุป เรื่องที่ไม่สำคัญนัก อาจใช้เวลาประชุม หรือถกเถียงกันมากกว่าเรื่องใหญ่ๆ ที่มีคนทำได้ไม่กี่คน

ดังนั้น เวลาจะนำเรื่องใดเข้าในวาระการประชุม เรื่องที่อาจมีการถกเถียงกันได้มาก มีความเห็นมากๆ อาจไม่นำเข้าไปทีละหลายๆเรื่อง เพราะจะใช้เวลาประชุมมากไปค่ะ

คุณพนัสแวะไปที่นี่หน่อยค่ะ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • เพราะบันทึกนี้มี
  • ....
  • บันทึกนี้จึงมี
  • .....
  • ขอบคุณค่ะ
  • ตามมาให้กำลังใจคนทำงานอย่างอาจารย์คะ
  • อยากให้ผู้บริหารคิดแบบอาจารย์เยอะๆ
  • เพราะที่เห็นและเป็นอยู่มักเป็นแบบเดิมๆเสมอ

สวัสดีครับ  พี่ศศินันท์

P

ผมมักได้รับคำแนะนำในมุมมองอันเป็นแง่งามของชีวิตจากพี่เสมอ และหลายเรื่อง  ผมเองก็มองไม่ลึกเช่นนั้น   ก้ได้เรียนรู้และถ่วงความคิดตนเองจากทัศนะของพี่เป็นสำคัญ

หลายครั้ง  ผมพยายามเตือนตนเองไว้เสมอว่า  ต้องไม่ตัดสินใจอะไรสักอย่างในห้วงยามที่เรารู้สึก ... หิว.... โกรธ .... หรือท้อแท้.....

.........................

ผมพยายามขยับทีละนิดที่จะทำงานในลักษณะอิงระบบ   แต่บางทีก็ดูเหมือนองค์กรจะยึดติดกับระบบอย่างแน่นหนามาก  ทั้ง ๆ ที่บางเรื่องเห็นได้ชัดว่าการอิงระบบจะก่อให้เกิดประสิทธิผลมากกว่า

ระบบบางอย่างถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา  อาทิ  การประชุม  แต่ส่วนหนึ่งเราก็พบเจอว่าการประชุมเป็นไปอย่างยืดยาว   และสุดท้ายก็ได้ปนะเด็นที่ควรต้องสรุปอย่างไม่ชัดแจ้ง...

เราใช้เวลาเปล่าเปลืองไปกับการประชุมที่ไม่คำนึงถึงจุดเริ่มต้น - ปลายทาง

กระนั้นก็ยังอยากยืนยันเหมือนที่เคยเปรยไปแล้วว่า  ผมยังเชื่อมั่นว่า  การประชุม คือ ต้นทุนของการทำงาน...

............

และข้อสังเกตนี้ผมเองเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลยครับ

เวลานั่งประชุมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่ไม่สำคัญมากนัก เช่น การพิจารณาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเงินเพียงไม่กี่แสนบาท ใช้เวลาถกเถียงกันมาก แต่พอเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินหลายๆ ล้าน เรื่องดังกล่าวกลับใช้เวลาในการพิจารณานิดเดียว

ทั้งนี้ เนื่องจากว่าในเรื่องที่เป็นเงินเพียงไม่กี่แสนนั้น ทุกคนในที่ประชุมพอจะมีความรู้ หรือความคิดเห็นที่จะต้องเสนอออกมา แต่พอเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินเยอะๆ แล้ว กลับมีคนเพียงไม่กี่คนในที่ประชุมที่จะสามารถให้ความเห็นได้

....

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ...P

ดีใจมากที่บันทึกได้มีการต่อยอด..

ขอบคุณจริง ๆ ครับ

สวัสดีครับP

เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้บริหารได้ .. แต่เราก็ต้องไม่สิ้นหวังที่จะเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่ ณ จุดที่ดีกว่าเดิม  และนั่นหมายถึงการพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กร นั่นเอง

..... ขอบคุณครับ.......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท