รู้ใจ เปิดใจ ได้ใจ - สานพลังชีวิตเมื่อลูกซึมเศร้า


ขอบคุณพี่หนู รัชนี จากสมาคมสายใยครอบครัวฯ คุณพ่อคุณแม่ที่ปรึกษาปัญหาลูกซึมเศร้าที่เป็นกรณีศึกษาต่อจากบันทึก http://www.gotoknow.org/blog/otpop/455257

เวลา 10.00-12.00 น. บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสานพลังชีวิต

กลุ่มผู้เรียนรู้: คุณพ่อ ช. และคุณแม่ ส. ที่ตั้งโจทย์ (หลังทำสมาธิฟังเสียงระฆังแบบจิตตปัญญาศึกษา) ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มผู้แลกเปลี่ยน (พี่หนู ผู้มีประสบการณ์โรคซึมเศร้าและเป็นจิตอาสาที่เก่งมากๆ กับ ดร.ป๊อป นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม) รอบที่ 1 ดังนี้

กลุ่มผู้เรียนรู้: โจทย์ที่ 1 - แม่อยากรู้ว่าลูกจะมีอนาคตอย่างไร อยากให้ลูกเรียนจนจบ ป.โท

กลุ่มผู้แลกเปลี่ยน: เป็นความหวังที่ดี กรณีศึกษาหลายรายที่ซึมเศร้าแต่เรียนเก่งจนจบปริญญาสูงๆ แต่อยากให้เริ่มต้นกับความหวังที่ว่า "ทำอย่างไรจะเยียวยาสุขภาพจิตของลูกในระยะอันสั้นนี้" สำหรับเรื่องเรียนน่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอนาคต ความพร้อมของลูกเป็นเรื่องที่น่าคิดว่าจะวางแผนอย่างไร

กลุ่มผู้เรียนรู้: พ่อแม่จะไม่ตั้งความหวัง ขอแค่ลูกทำงานและเข้าสังคมได้ อยู่ในปัจจุบันก่อน โจทย์ที่ 2 - ลูกมีอาการหันหน้าเมิน ไม่โต้ตอบ ไม่ชอบให้ใครมายุ่ง ที่แม่แอบไปทำความสะอาดห้องลูก เขียนทิ้งโน้ตให้ลูกอ่านหนังสือดีๆ เป็นการกระทำที่เหมาะสมไหม

กลุ่มผู้แลกเปลี่ยน: ลูกยังคงมีอาการข้างต้นของโรคซึมเศร้า คอยดูแลให้ทานยาอย่างต่อเนื่อง คอยสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดเพื่อรายงานให้จิตแพทย์และทีมสุขภาพจิตวิเคราะห์แนวทางปรับพฤติกรรมได้ชัดเจนขึ้น เน้นความเป็นจริงของการฟื้นตัวแล้วสานพลังชีวิตระหว่างลูกและพ่อแม่ให้มีการสื่อสารกันแบบรู้ใจ เปิดใจ และได้ใจ

กลุ่มผู้เรียนรู้: พ่อเป็นคนพูดน้อย แม่เป็นคนพูดเยอะแบบครู เลยไม่รู้จะใช้วิธีการสื่อสารกับลูกได้อย่างไร (โจทย์ที่ 3)

กลุ่มผู้แลกเปลี่ยน: วิธีการสื่อสารกับลูกนั้นมีสองวิธี ได้แก่ 1) การสื่อสารแบบคำบอกเล่าของฉัน (สถานการณ์เฉพาะเจาะจง-ความรู้สึก-เสนอแนะสั้นกระชับ) เช่น "ลูกไม่พูดกับแม่ เมื่อแม่เข้าบ้านมา แม่รู้สึกน้อยใจ แม่อยากให้ลูกพูดกับแม่บ้างเมื่อแม่เข้าบ้านมา" และ 2) การสะท้อนกลับความรู้สึก (จับความรู้สึกที่แท้จริง) เช่น แม่เล่าเรื่องประทับใจ แล้วให้ผู้ฟังบอกความรู้สึกของแม่ โดยแม่ยืนยันความรู้สึกว่า ใช่ ไม่ใช่ เป็นต้น

กลุ่มผู้เรียนรู้: พ่อเริ่มกล้าที่จะเล่าความจริงของปมที่ทำให้ลูกไม่พูดกับพ่อด้วย ว่า "พ่อตีลูกอย่างรุนแรง และเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านจนทำให้ลูกเข้าใจพ่อผิด" และแม่ก็บังคับลูกและพูดอย่างรุนแรงจนเกินไป ก็น่าจะเป็นอีกปม โจทย์ที่ 4 พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี

กลุ่มผู้แลกเปลี่ยน: พ่อแม่ควรสร้างบรรยากาศในครอบครัวที่ยืดหยุ่น ไม่ตั้งกฎเกณฑ์มากนัก กล้าที่จะสื่อสารข้างต้น เช่น "พ่อไม่สบายใจ เมื่อครั้งที่ตีลูกเมื่อหลายปีก่อน พ่อรู้สึกผิดและอยากขอโทษ ลูกจะยกโทษให้ไหม

จากนั้นจึงสรุปประเด็นทิ้งท้ายได้แก่

  • สะท้อนความรู้สึกให้ลูกเห็นบรรยากาศของการสื่อสารภาษาท่าทาง-การสัมผัส-การสบตา-การแสดงความรู้สึกส่วนลึกระหว่างกัน
  • การติดตามให้ทานยาอย่างสม่ำเสมอ การเรียนรู้วิธีการทางจิตบำบัด-กิจกรรมบำบัด-การฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงาน-การฟื้นตัวสานพลังชีวิตในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  • การฝึกจับสังเกตพฤติกรรมและตั้งใจฟัง
  • การยอมรับความเป็นตัวตนของลูกโดยไม่ลงโทษ ไม่ตำหนิ และอย่าด่วนประนาม
  • การจับความรู้สึกและเสนอแนะทางเลือกในโลกนี้ ว่า มีคนฟังลูกมากเช่น พ่อแม่ไง พร้อมวางแผนสื่อสารด้วยใจอย่างธรรมชาติ
หมายเลขบันทึก: 455487เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากครับพี่ อ.ดร.ขจิต

พ่อแม่ควรสร้างบรรยากาศในครอบครัวที่ยืดหยุ่น ไม่ตั้งกฎเกณฑ์มากนัก

ว่าจะลองทำแบบนี้บ้างนะครับ

ขอบคุณครับคุณ noktalay

ขอบคุณครับ อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์

ขอบคุณครับคุณโสภณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท