นครศรีฯนำวิจัยมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนอยู่ดีมีสุขและชุมชนอินทรีย์


จะให้โครงการอยู่ดีมีสุข โครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กองทุนสวัสดิการชุมชน แผนงานโครงการ อบต. งานฟังชั่นของหน่วยงานต่างๆ โครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มาหนุนเสริมแผนแม่บทชุมชน และแผนแม่บทชุมชนจะส่งเสริมงานภาคส่วนต่างๆได้อย่างไร นี่คือรายละเอียดหัวข้อการพูดคุย

วันที่ 28 มี.ค. ช่วงเช้า เมื่อวานนี้ผมไปร่วมเป็นวิทยากรในการอบรม สัมมนาพหุภาคีเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนและ ้ท้องถิ่นตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เขต 16,18 และ19 ณ โรงแรมแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง รายละเอียดอ่านจากบันทึกนี้

พอตกบ่ายต้องรีบออกรถจากจังหวัดตรังเพื่อเข้าร่วมประชุมพิจารณา โครงการตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและโครงการความร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคมและสุขภาวะจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นประชุมที่ผมเองคาดหวังสูงมาก เพราะผมได้เข้าไปร่วมดับขบวนร่วมกับภาคประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่ต้น

ถึงห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต 1 เอาตอนบ่ายสองโมง ช้าไปหนึ่งชั่วโมง เห็นผู้เข้าร่วมประชุมแล้วรู้สึกว่าแน่นห้องประชุม  มากันแน่นขนัดทั้งหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอ นายก อบต. เครือข่ายภาคประชาชน ภาคประชาสังคม สสส. สกว. ฯลฯ

จุดประสงค์ของการประชุมนี้ก็เพ่ือจะบอกกล่าว บอกหนทาง วิธีการขับเคลื่อนงานจังหวัดอยู่ดีมีสุข โดยใช้การวิจัยเป็นเคร่ืองมือ ทำให้หมู่บ้าน ชุมชน เป็นหมู่บ้าน / ชุมชนอินทรีย์ โดยใช้การวิิจัยเป็นเครื่องมือ เห็นเครื่องมือซ้อนเครื่องมือกันมากมาย มีวิทยากรนำเสนอบนเวทีทั้งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ดร.สิลาภรณ์ บัวสาย คุณณรงค์ สงมาก อ.ภีม ภคเมธาวี  และนายก อบต.ขอนหาด อำเภอชะอวด ร่วมกันทำความเข้าใจกับที่ประชุม

จะให้โครงการอยู่ดีมีสุข โครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กองทุนสวัสดิการชุมชน แผนงานโครงการ อบต. งานฟังชั่นของหน่วยงานต่างๆ โครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มาหนุนเสริมแผนแม่บทชุมชน และแผนแม่บทชุมชนจะส่งเสริมงานภาคส่วนต่างๆได้อย่างไร นี่คือรายละเอียดหัวข้อการพูดคุย

สำหรับโครงการวิจัยตั้งชื่อหัวข้อว่าโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหา ความยากจน การพัฒนาสังคม และสุขภาวะจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชื่อเดียวกับโครงการแม่ ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งใน 20 จังหวัด โครงการนำร่องวิจัยของ สกว. สสส. แต่เท่าที่ฟังดูที่ประชุมได้มีการปรับรายละเอียดการดำเนินการเยอะมาก เพื่อให้้เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดนครศรีีธรรมราช จะทำเต็มพื้นที่ 165 ตำบล เริ่มดำเนินการเมษายน 2550 เป็นต้น (ระยะเวลา 15 เดือน ระหว่างเมษายน 2550 -มิิิถุนายน 2551)

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ คือ เกิดระบบการจัดการบัญชีครัวเรือน ข้อมูลครัวเรือนชุมชน และนำไปสู่การจัดทำแผนครัวเรือน แผนแม่บทชุมชนระดับหมู่บ้าน / ตำบล เพื่อพัฒนาครอบครัว ชุมชน ตำบล สานต่อจากโครงการชุมชนอินทรีย์และแผนแม่บทชุมชนในจังหวัด นครศรีธรรมราช  เกิดกลไกการบูรณาการความร่วมมือในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เพื่อเชื่อมโยงภาคีการพัฒนาทุกระดับ และ อปท.เข้ามาสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนขับเคลื่อนงานพัฒนา สู่สังคมอยู่ดีมีสุขในระดับชชุมชนท้องถิ่นและระดับจังหวัด อย่างต่อเนื่องสอดรับกับนโยบายรัฐบาล เกิดข้อเสนอ/แผนงานและนโยบายสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคม และสุขภาวะ ในระดับชุมชน ตำบล อำเภอและระดับจังหวัด ทั้งในระหว่างกระบวนการดำเนินงานและหลังจากได้แผนแล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากจาก อปท.และภาคีการพัฒนาในการแปลงแผนสู่การปฏิิิบัติ และเกิดการจัดการความรู้และการขยายผลครอบครัวต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ด้านการบริหารจัดการข้อมูล และการทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคม และสุขภาวะ

บันทึกนี้ยาวไปหน่อยเพราะเป็น working group อยู่ด้วยคนหนึ่ง ทำให้มีข้อมูลมากหน่อย

โชคดีที่ได้พบท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์ และได้คุยกับท่านเรื่องที่น้องอุ๊ (อุไรวรรณ เทิดบารมี) จาก สคส. ที่อยากจะนำเรื่องของผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการทำหน้าที่ของคุณเอื้อในโครงการจัดการความรู้สุ่ชุมชน อินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปลงในสารถักทอสายใยจัดการความรู้ของ สคส. ซึ่งผมก็ได้ทำหน้าที่คุณประสาน ประสานให้แล้วครับ และท่านรับปากว่าจะเขียนให้

บันทึกมาเพ่ือการแลกเปลี่ยนครับ 

หมายเลขบันทึก: 87280เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
         ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน

น้องสิงห์ป่าสัก ครับ

             ค่อยๆหาเครื่องมือต่างๆมาใช้ให้งานสำเร็จครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท