ทำบุญตามประเพณีสารทเดือนสิบ 50 ที่นี่ “เมืองนคร”


ถึงตอนนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องชิงเปรฺตด้วย ก็ในเมื่อจะให้เปรตฺกิน ถามใครก็ตอบกันไม่ได้ ….ได้แต่ตอบว่าก็มันเป็นประเพณีทำกันมาอย่างนี้…อย่าสงสัยมากเลยน่า…เป็นงั้นไปค่ะ….แล้วถ้าต่อไปเด็กมาถามอีกหล่ะ….จะตอบว่าอย่างไร….ถ้ายังไงใครทราบช่วยแถลงให้หน่อยค่ะ…เล็กคาดว่ามันจะแฝงปรัชญาอะไรซักอย่างไว้แน่ๆ เลยคะ

เมื่อวาน ( 11 ตุลาคม 2550) ก็ได้มีโอกาสไปร่วมทำบุญตามประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีโบราณของชาวใต้ สัญลักษณ์ก็คือ หมฺรับ=สำรับ และการชิงเปรฺต ซึ่งก็คล้ายๆ กันในหลายๆ จังหวัดค่ะ แต่ที่นี่ เมืองนครจะให้ความสำคัญกับกิจกรรมนี้เป็นพิเศษ คือหลายๆหน่วยงานจะอนุญาตให้พนักงานสามารถหยุดงานได้ในวันนี้โดยไม่ถือว่าเป็นวันหยุดเพื่อไปร่วมงานบุญใหญ่ประจำปี

 

นับว่าหลายปีแล้วค่ะ ที่ไม่ได้โอกาสมาร่วมทำบุญตามประเพณีนี้เพราะต้อง จากบ้านไปเรียนและทำงานที่อื่น แต่ทว่าปีนี้กลับมาอยู่ที่บ้านและก็ได้ร่วมพิธีกรรมที่สำคัญที่แสดงออก ถึงความกตัญญูกตเวที ของบุตรหลานที่มีต่อบรรพบุรุษ ซึ่งก็จะมีกิจกรรมที่ต่างจากวันพระธรรมดาทั่วๆ ไป ทำให้วัดที่ธรรมดาวันพระก็จะมีแต่คนสูงวัย แต่วันนี้ทั้งวัด แน่นขนัดไปทุกพื้นที่เพราะมีลูกหลานที่จากบ้านไปทำงานไกลๆ กลับมาทำบุญกัน

 

สังเกตกันง่ายๆ ว่าจะเป็นวันพิเศษจริงๆ เพราะคุณย่าคุณยายก็จะแต่งตัวกันสวยๆ สดใสใครมีอะไรก็เอาออกมาโชว์กันเต็มที่ มีลูกมีหลานมาห้อมล้อมกันให้หายคิดถึง เพราะไม่ได้เจอกันนาน ต่างก็ยิ้มแย้มแก้มปริกันไปตามๆกัน

 วันนี้ได้มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดใกล้ๆบ้าน รับศีล รับพร อิ่มบุญ(อิ่มข้าววัด)กันไปตามๆกัน ซึ่งวันนี้พระท่านก็เทศน์ว่าด้วยเรื่องความกตัญญูต่อบรรพชน(เปรตชน อ่านว่า เป-ระ-ตะ-ชน หรือ ที่เรียก สั้นๆว่า เปรฺต หมายถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มักจะเรียกกันติดปากว่า ตายาย แทนที่จะรียกกันว่าเปรฺต ซึ่งถ้าพูดกันโดยทั่วไปไม่เกี่ยวกับประเพณีนี้ เปรฺต จะกลายเป็นคำที่หยาบคายมาก )เป็นสำคัญ พระท่านว่า วัดเราค่อนข้างจะแปลกอยู่ซักหน่อยตรงที่ ถ้าเป็นที่อื่นจะมีวันรับตายาย(หมฺรับเล็ก) และวันส่งตายาย(หมฺรับใหญ่) แยกกันคนละวันไปเลย พิธีกรรมก็จะไม่ยาวมากแต่วัดเราต่างไป คือรับวันนี้(กินข้าวกันเสร็จ)ก็ส่งตายายกลับเลย (พระท่านว่า ที่อื่นเขาเชิญท่านให้มาอยู่ได้ 15 วัน แต่ของเราแปลก...ให้ท่านไปเที่ยวที่อื่น นอนรีสอร์ทกันไปก่อน...ฮา...แล้วรอลูกหลานมากันครบแล้วค่อยเชิญ) ซึ่งพิธีกรรมก็จะยาวหน่อย  แต่จะสะดวกกับคนที่เดินทางมาจากที่ไกลๆเพราะเรารวบรัดเสร็จวันเดียว พระท่านยังสอนอีกว่า ตอนกรวดน้ำให้ระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับคือบรรพบุรุษ(กี่ชั่วโคตรก็นับกันไป)พร้อมทั้งทุกชีวิตที่ได้ล่วงเกินไปด้วย พระท่านบอกให้ใช้คำพูดว่า สรรพสัตว์ สรรพยอด(ไม้) สรรพคลอด สรรพไข่ตามคำที่คนโบราณมักจะพูดกันตอนกรวดน้ำ เรียกว่าเอาให้ครบให้หมดกันเลยทีเดียว จากนั้นก็เดินไปตั้ง หมฺรับ กันที่ข้างๆวัด(เพราะเชื่อกันว่า เปรฺต จะไม่สามารถเข้ามาในบริเวณวัดได้ จึงต้องไปตั้งเปรฺต กันนอกเขตวัด แล้วก็ค่อยชิงเปรฺตกันแต่ที่นี่ต่างจากที่อื่นคือไม่ได้มีบรรยากาศการแย่งชิงที่สนุกสนานเหมือนที่อื่น(ที่เคยเห็นมา)  คือตั้งไว้แล้วก็ไม่มีใครมาชิงเปรฺตถึงตอนนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องชิงเปรฺตด้วย ก็ในเมื่อจะให้เปรตฺกิน ถามใครก็ตอบกันไม่ได้ .ได้แต่ตอบว่าก็มันเป็นประเพณีทำกันมาอย่างนี้อย่าสงสัยมากเลยน่าเป็นงั้นไปค่ะ.แล้วถ้าต่อไปเด็กมาถามอีกหล่ะ.จะตอบว่าอย่างไร.ถ้ายังไงใครทราบช่วยแถลงให้หน่อยค่ะเล็กคาดว่ามันจะแฝงปรัชญาอะไรซักอย่างไว้แน่ๆ เลยคะ) น่าเสียดายที่ไม่มีกล้องติดมือมา ก็เลยไม่ได้ภาพมาโชว์(แต่ถ้าอยากชมบรรยากาศกันจริงๆ ก็ตามชมได้ ที่บันทึกนี้ ของ ครูนงเมืองคอน บรรยากาศคล้ายๆกันเลยค่ะ (ขอยืมภาพด้วยนะคะ ครูนง…^_^)
หมายเลขบันทึก: 137697เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท