กรมฯ สั่งลุย KM '50 (3) ประสบการณ์ KM 2549


KM มีจุดมุ่งหมายที่ว่า จะเป็นการ Input เรื่องราวให้คนอื่นได้เรียนรู้ต่อไป

 

เรื่องเล่าประสบการณ์ การนำ KM เข้าไปช่วยใน 5 โครงการ ภายใต้ยุทธศาสตร์ การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ซึ่งได้แก่

  • อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CFGT)
  • ตลาดสดน่าซื้อ
  • ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่
  • โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ
  • ส้วมสาธารณะ

CFGT


 

  •  กิจกรรมมุ่งที่ชมรมฯ และภาคีเครือข่ายของชมรมฯ
  • เริ่มต้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยร่วมไปศึกษาประสบการณ์ของชมรมผู้ประกอบการค้าอาหาร กองฯ
  • กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ได้จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของชมรม 300 กว่าชมรมทั่วประเทศ ภายใต้โจทย์ (หัวปลา) คือ “อยากให้ภาครัฐช่วยอะไรเพื่อให้ชมรมเข้มแข็ง” ผลจากการประชุม ได้ข้อสรุปความต้องการ และชมรมต่างก็ไปทำต่อ เช่น ภาคอีสาน เขากลับไปประสานกันต่อเนื่อง มีการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน และคิดแนวทางพัฒนาเอง มีการต่อรอง เช่น การเลือกแหล่งซื้อผักปลอดสารพิษ มีการปรับปรุงตลาด ตามเรื่องเล่าที่ว่า "จากการที่แผงลอยของตลาดเป็นที่นอนของสุนัข และ run way ของแมลงสาป และหนู พอมีชมรมขึ้นมาก็เปลี่ยนไป เริ่มพัฒนา run way และห้องนอนของสุนัขก็หายไป"
  • มีการพัฒนาให้ชมรมเข้มแข็ง และชมรมแลกเปลี่ยนกันเอง ด้วยการศึกษาดูงาน และนำรูปแบบไปปรับปรุง
  • และส่วนกลางได้จัดการประกวดชมรมระดับจังหวัด และศูนย์ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ
  • ปี 2549 ความสำเร็จของการรวมตัวกัน ทำให้เกิดกิจกรรมหลายๆ อย่างที่ทำด้วยชมรมเอง เช่น การตรวจประเมินร้านอาหารที่เขาควบคุมกันเอง และมีการกระตุ้นกันเอง

ตลาดสดน่าซื้อ


 

  • เรื่องตลาดสดน่าซื้อ เราก็ได้เอาประสบการณ์ของชมรมร้านอาหาร มา ลปรร. กัน โดยจะมีผู้มีประสบการณ์เรื่องตลาด กับชมรมเจ้าของตลาด ได้ผลคือ ชมรมตลาดสดก็จะคอยให้คำแนะนำดูแลแก่ตลาดอื่น
  • หัวปลาของการจัดประชุม คือ ปัญหาซึ่งได้จากการสังเคราะห์ปัญหาของตลาด บอกเล่าปัญหาให้กลุ่มประชุมรับทราบ และบอกเกณฑ์ข้อกำหนดเพื่อให้เขาช่วยพิจารณาร่วมด้วยว่า เขาทำได้ หรือไม่ได้ เพราะอะไร
  • และกำหนดตลาดของแต่ละภาคเป็นที่ศึกษาดูงาน
  • มีการพัฒนาศักยภาพ 2 ระดับ (1) ประธานชมรม ... รู้วิธีการที่จะเขียนโครงการ (2) มีการพัฒนา จนท.เทศบาล และ จว. ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ผลการดำเนินงานนั้นจะมีการติดตามผลต่อไป
    ส่วนนี้ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก ได้เสริมข้อมูลให้ว่า
  • การทำงานเรื่องของตลาดสดน่าซื้อที่ เขตของพิษณุโลก ทำให้มีเครือข่ายของตลาดสดชัดเจนขึ้น มีการดูแลอย่างเข้มแข็ง ... เวลาเจ้าหน้าที่ไป ก็จะมีผู้ดูแลวิ่งเข้ามาประกบทันที ว่าจะไปตรวจอะไร เมื่อตรวจพบสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็จะมีแกไขทันที ... อันนี้ ดูได้ที่พิษณุโลก แน่นอนค่ะ คุณลีลานุช ขอบอก ...
  • ปัจจัยสำเร็จที่ศูนย์ฯ ได้ก็คือ เมื่อศูนย์ฯ เข้าไปทำงานจะรู้ว่า จะไปติดต่อใคร มีการพัฒนาเครือข่ายที่ชัดเจน มีการสนับสนุนกันจากจุดนี้ ... เป็นความเคลื่อนไหวภาคเอกชนที่ค่อนข้างชัด

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ... ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก ได้เล่าถึงประสบการณ์การนำ KM ไปใช้ในงานทันตสาธารณสุข ที่ทำในโรงเรียน


  • เริ่มจากปัญหา ว่า ความต้องการกระบวนการประสานงานทันตฯ เพราะว่ามีกิจกรรมมาก ทั้งเรื่อง โครงการเด็กไทยทำได้ การประกวดโรงเรียนดีเด่นด้านทันตฯ ในโรงเรียน และโครงการฟันเทียมพระราชทาน
  • ทีมจึงมาคุยกัน เพื่อทำ KM ในกลุ่มทันตบุคลากร 5 จังหวัด ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนโดยตรง ให้มานำมาเสนอว่า แต่ละจังหวัดมีงานโรงเรียนดีเด่นด้านทันตสาธารณสุขอย่างไร
  • วันนั้นมีทั้งการเล่า คำถาม และลุยไปดูของจริงกันเลยที่พิษณุโลก และวันรุ่งขึ้น ก็ได้ไปดูงานที่สุโขทัย
  • ผล ทำให้ได้เครือข่ายทันตสาธารณสุข และสามารถเป็นทีมได้ ผลผลิตคือ จะทำในเรื่องการสะสมข้อมูล และมีการ ลปรร. กันต่อเนื่อง

ทพ.วรศักดิ์ เล่ากิจกรรมของศูนย์อนามัยที่ 4 เล่าว่า

  • มีการประชุมจังหวัดเพื่อคุยกันเรื่องเกณฑ์
  • มีการทำฐานเป็น KM โดยเน้นส่วนของเด็กก่อนวัยเรียน การส่งเสริมป้องกันเป็นเรื่องที่สำคัญ มีการ ลปรร. โดยเชิญทันตบุคลากร 8 จว. และโรงเรียน ให้ทันตบุคลากรรับรู้การทำงานในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และไปกระตุ้นให้มีการดำเนินงานมากขึ้น
  • ปีหน้าจะนำโรงเรียนที่ได้ที่ 1 ใน 2 ปี มารวมตัวกันอีกครั้ง และจะเตรียมการเผยแพร่ในการประชุมเด็กไทยทำได้ต่อไป

คุณเพ็ชรรัตน์ เล่ากิจกรรมของศูนย์อนามัยที่ 1

  • ศูนย์สนับสนุนให้ จว. จัดเวที ลปรร. ในระดับจังหวัด และศูนย์ฯ จัดเวทีอีกรอบหนึ่งให้แต่ละ จว. ได้มีโอกาสมา ลปรร. ร่วมกัน มีเวทีของอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ และมีเด็กด้วย คือ ชมรมเด็กไทยทำได้
  • ในส่วนของราชการมีเป็นฐาน แต่ละโรงเรียนมาอธิบายที่ฐานว่า ทำอะไร
  • มีการเขียนแต่งเป็นนิทาน เกี่ยวกับการดูแลฟัน อาหาร ส้วม ว่าเป็นอย่างไร มีการมานำแสดง
  • แต่ละโรงเรียนจะมีแฟ้มของการจัดการความรู้ และมี blog ของโรงเรียนเด็กไทยทำได้ และสนับสนุนให้แต่ละโรงเรียนเขียนขึ้นมาว่า ได้ทำอะไร
  • ศูนย์ไม่มีการบันทึกโดยตรง และมีการสรุปบทเรียนของการทำงาน สรุปผลการทำงาน และมีบทเรียนความสำเร็จในสิ่งที่ทำไป

 

คุณสุธน เล่าเรื่องกิจกรรมของสำนักส่งเสริมสุขภาพ

  • ชมรมเด็กไทยทำได้ของสำนักส่งเสริม มีการดำเนินงาน และนำผลขึ้นเวป เรื่องการประกวด
  • มีการสรุปบทเรียนเรื่อง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมาพูดคุย ประชุมกัน และมีเวทีต่อเนื่อง

ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่


 

คุณสมปอง เล่าเรื่องกิจกรรมศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม

  • ศูนย์เด็กเล็กมีการจัดประชุมเป็นภาค ที่ กทม. ภาคเหนือ อีสาน และใต้ ให้กับเทศบาลที่เป็นที่ตั้งของศูนย์เด็กเล็ก
  • มีเนื้อหาการให้ความรู้เรื่องศูนย์เด็กเล็ก ท้องถิ่น ดูงานศูนย์เด็กเล็กที่ประสบผลสำเร็จ

ศูนย์อนามัยที่ 6 เล่าว่า

  • ต้นปีงบประมาณมีการจัดประชุม จนท. มา ลปรร. กันเรื่อง วิธีการทำงานในศูนย์เด็ก และปลายปีงบฯ มีการจัดอีกครั้งในโครงของเมืองน่าอยู่ ให้ศูนย์เด็กเล็กมานำเสนอผลงาน
  • ศูนย์ไปดูงานกันเอง และศูนย์ฯ เป็นผู้จัดเวทีให้

ทพ.วรศักดิ์ ศูนย์อนามัยที่ 4 เล่าว่า

  • ศูนย์ฯ 4 มีการจัดชี้แจงให้ท้องถิ่นทราบ ถึงการทำงาน ได้แก่ อบจ. เทศบาล เพื่อดูภาพรวมกรมอนามัย
  • มีการอบรมพี่เลี้ยงเด็กศูนย์เด็กเล็ก มีการลงทะเบียน จ่ายเงิน ไม่มีปัญหา เพราะว่าเทศบาล หรือ อบต.มีงบประมาณ เราจะถ่ายทอดทุกเรื่องที่ทำให้เกิดศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่
  • มีข้อแนะนำให้กับผู้ดูงานว่า ในจังหวัดจะมีศูนย์เด็กเล็กที่น่าดูงาน ทั้ง ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ที่ไหนบ้าง

งานส้วมสาธารณะ


 

  • ในการทำ MOU 6 แห่งของการหา entry point ในงานส้วม การเจรจาหว่านล้อม
  • เตรียมประชุมสรุปบทเรียน เมื่อสิ้นสุดโครงการ
  • KM ที่ทำของเรื่องส้วมสาธารณะนี้ ทำในเรื่องการเรียนรู้จากคนทำงาน
  • มีรองอธิบดีกรมอนามัย นพ.โสภณ เมฆธน เป็นผู้นำในการทำ KM

 

นพ.สมศักดิ์ ให้ข้อสังเกตเพื่อการ ลปรร. และนำวิธีการทำทำงาน KM ต่อยอดนะคะว่า

  1. เราจะทำงานผ่าน partner ได้ดี ถ้า partner เขารวมตัวกันได้ดี ... ถ้า partner เขารวมตัวกันแล้ว และให้เขาทำงานได้ไม่ดี ก็จะไม่เกิดงาน
  2. สิ่งที่เราทำเป็น KM คือ 1) ไปบอกเขา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาตรฐานเรา และบริบทของเขา ซึ่งต้องมาคุยกัน 2) ถ้ามีการพูดคุยก็ต้องมีข้อสรุป 3) มีการบันทึก เพื่อให้เกิดการไปใช้ต่อได้ง่ายขึ้น
  3. ผมขอเสนอเพิ่มเติมว่า
    ... ประเด็นที่ 1 ถ้าพวกเราไปทำกิจกรรม ลปรร. ไม่ว่าจะเรื่องอะไร อาจเป็นลึก กว้าง ถ้ามีการบันทึก ก็จะมีหลักฐานชัดเจนว่ามี การ ลปรร. แล้ว แต่ถ้าไม่มีการบันทึก ไปเอาแค่ผลการประเมินจากผู้เข้าประชุม ก็จะไม่รู้ได้ว่า เขาได้เรียนรู้จริงหรือเปล่า
    ... ประเด็นที่ 2 เวลาพวกเราบันทึก ถ้าช่องทางที่ดี เช่น เวป ก็จะเผยแพร่ง่าย เพราะ KM มีจุดมุ่งหมายที่ว่า จะเป็นการ Input เรื่องราวให้คนอื่นได้เรียนรู้ต่อไป ... KM ไม่ได้บันทึกแต่เรื่อง ลปรร. เพียงเพื่อไปบอกว่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว เราบันทึกไว้เพื่อให้ได้รู้ และคนอื่นสามารถเอาไปใช้ต่อ
    ... ประเด็นที่ 3 ไม่ใช่เรื่องที่เกิดจากการประชุมเท่านั้น ถ้าเราประสานทางเวปได้ดี เราก็สามารถทำให้เกิดการหมุนเกลียวความรู้ได้ตลอดเวลา และหลายๆ รอบด้วย
  4. KM ในรูปแบบนิทรรศการ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการบันทึก และนิทรรศการนี้ก็ต้องมีการเผยแพร่ต่อด้วย นิทรรศการบนเวป ก็อาจทำได้
  5. การจัดให้มีกลุ่มคนมา ลปรร. มีการพาไปดูงาน มีการนำเสนอผลงานที่ดี ในทางปฏิบัติ เราทำเป็นการประชุม หรือกิจกรรมที่แตกต่างกันหรือไม่
  6. การจัดการความรู้มีได้หลายแบบ ... การประชุมชี้แจงก็เป็นการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง แต่เป็นแบบโบราณ เพราะเป็นการจัดการความรู้แบบด้านเดียว มีตัวอย่างที่ดี ว่า ถึงแม้บางอย่างเรามีความรู้มากกว่า เช่น มาตรฐานเราอยากทำให้ดี เราก็ไปบอกเขาด้วยว่า ดูหน่อยและช่วยปรับมาตรฐานให้ด้วย วิธีการบอกก็ต้องดี
  7. เรื่องมาตรฐานการจัดการความรู้ เราก็ต้องเอาความรู้เรื่องมาตรฐานดีดี ไปทำให้เป็นมาตรฐานของเขาให้ได้ การจัดการความรู้ จะทำให้เกิด ความรู้ที่เรามี ก็คือความรู้ของเขา
  8. เรื่องพูดและการฟัง ก็ต้องเน้นที่การฟังเขาด้วย และช่วยกันหาข้อสรุป
  9. เราไม่ต้องติดว่า การเล่าเรื่อง หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้อง Success story อย่างเดียว การปรึกษาหารือ ก็เป็นวิธีการหนึ่งสามารถพูด ลปรร. ได้ แต่ต้องมีมี partner ของเรา และของเขาด้วย
  10. ประเด็นที่ว่า ใครเป็นคนทำ ศูนย์ฯ หรือส่วนกลาง ... ผมฝากว่า กิจกรรมที่ทำให้เกิดการ ลปรร. เกิดการเอามาตรฐาน เอาความรู้ไปใช้ ใครควรจะทำ ระหว่างศูนย์ฯ กับส่วนกลาง ... ถ้าพูดแบบผมสมัยก่อน ส่วนกลางก็จะทำ ศูนย์ฯ ไปติดตาม แต่ผมคิดว่า พวกเราคงจะเห็นว่า ถ้ากิจกรรมลงลึกๆ และเป็นงานเพื่อสั่งการ เอาคนมา 100 คน กองส่วนกลางไปทำก็อาจจะประหยัดดี ศูนย์ฯ ไม่ต้องไปทำ แต่ถ้ามีการ ลปรร. ก็คงไม่ไหว เพราะว่าศูนย์ไปทำคงทำได้เยอะกว่า เพราะฉะนั้นกิจกรรม ชี้แจง ประชุม ลปรร. นำเสนอผลงานดีดี พาไปดูงาน ศูนย์จะทำได้เยอะกว่า และไม่ต้องทำซ้ำกัน
  11. ประเด็นสุดท้ายคือ การ ลปรร. ทำได้หลายระดับ ถ้าเป็นเรื่องศูนย์เด็ก ก็ต้องมีผู้ดูแลเด็ก และคนที่ดูแลศูนย์เด็ก ท้องถิ่นก็มีเจ้าหน้าที่ปรับปรุงดูแลงาน เราก็ต้องทำให้เขารู้ เราก็ต้องรู้ว่า คนทำงานในเรื่องนี้มีกี่ประเภท ถ้าเอามาเจอกันพร้อมๆ กัน พวกเราก็จะรู้ดีกว่า บางทีเอาหลายๆ ระดับมารวมกันก็พูดกันคนละเรื่อง แต่ถ้าเอากลุ่มที่มีความรู้เรื่องเดียวกันมาคุยก็จะลงลึกได้มากกว่า
  12. การ ลปรร. ก็เป็นสื่อสาธารณะอย่างหนึ่ง เป็นการส่งข้อมูลแบบปากต่อปาก ถ้าทำดีดี จะเป็นสื่อสาธารณะที่ให้เรียนรู้ได้หมด ทุกแห่ง ทุกเรื่อง
  13. ถ้าเราพาใครไปดูงาน หลังจากการดูงานก็ควรทำ AAR ที่จุดง่ายๆ ที่สุดคือ ให้ทุกคนบอกสิ่งประทับใจที่สุด เรื่องที่ได้จากการดูงาน และก็จะได้ผลลัพธ์เป็นเรื่องเยอะแยะว่า มีดีอะไรบ้าง

 

คำสำคัญ (Tags): #2550#km กรมอนามัย
หมายเลขบันทึก: 70195เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2006 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท