Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (77) "ปิดมหกรรมฯ" ... นานาเรื่องราวในงานฯ


เรามีห้องที่เรียนรู้เป็นห้องหลัก 3 ห้อง คือ MR 1, MR 2 และ MR 3

 

ผมขอย้ำว่า เรามีห้องที่เรียนรู้เป็นห้องหลัก 3 ห้อง คือ MR 1, MR 2 และ MR 3

เรามีหน่วยงานที่มาแลกเปลี่ยนตัวกระบวนการเรียนรู้ในห้อง Love & Learn เรียนอย่างสนุก เรียนแล้วก็เกิดผล บางแห่งนี่เรียนแล้วเกิดผลงานวิชาการก็มีนะครับ เป็นผลงานวิจัยก็มี เช่น ภาควิชาพยาธิ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีกระบวนการของ เอเชีย พรีซิชั่น นี่ ที่มีวิธีการที่จะดึงด้านดีของมนุษย์สร้างความสุขให้แก่กันได้ อย่างเรียกว่าน่าพิศวง ท่านที่ไม่ได้เข้าไปฟังนี่ วันหลังผมคิดว่า ที่ สคส. จะทำ VCD เรื่องเล่าพวกนี้ออกมา และท่านจะหาซื้อได้ เราขายไม่ค่อยแพงครับ 100 บาทเรื่อยไป

ในห้อง MR 2 นี่ เป็นห้อง Lead & Learn เรียนรู้กระบวนการภาวะผู้นำ การที่ประยุกต์ใช้ KM ในหน่วยงานทั้งหลาย มีทั้งภาคเอกชน ภาคราชการ ภาคเครือข่ายชาวบ้าน มีรัฐวิสาหกิจด้วย คือ แม่เมาะ ผู้ที่มา ลปรร. จะเป็นคุณอำนวย เป็นคุณกิจตัวจริง เป็นคนที่ได้ทำมากับมือ เพราะฉะนั้นเวลาเล่าแล้วก็มีการกระตุ้น ตั้งคำถามที่เหมาะนี่ จะสนุกมาก สนุกอย่างไม่น่าเชื่อ และมีการท้าทายกันว่า ถ้าจะเอาจริง เอาอีก มีเวลาเท่าไรก็มา share กัน จะ share ได้ลึก และสนุกสนานมาก แต่ความจริงแล้ว การ share นี้ก็สู้การทำจริงไม่ได้

เรามีห้อง MR 3 Tools & Learn คือ มาแลกเปลี่ยนเครื่องมือกัน มีเครื่องมือที่เรียกว่า สารพัดด้าน ตัวฝ่ายการพยาบาล รพ.จุฬาฯ ใช้เครื่องมือ Dialog สุนทรียสนทนา เป็นตัวเดินเรื่อง ซึ่งเมื่อเราไปดูแล้ว อันที่จริงมันก็เป็นเครื่องมือ KM ประเภทหนึ่ง เพียงแต่เดินด้วยเครื่องมือตัวนี้ แต่พอมองภาพรวมทั้งหมดนี่ ทาง สคส. ก็คิดว่า อันนี้ก็เป็นเครื่องมือแบบหนึ่ง ก็ก่อให้เกิดผลอย่างมหาศาล อย่างมากมายไม่น่าเชื่อ และทีมนี้ สคส. ไม่เคยเข้าไปทำอะไรให้ท่านเลยนะครับ เข้าไปเรียนรู้อย่างเดียวว่าท่านทำกันอย่างไร เพราะมีคนมาบอกว่า เกิดผลที่ไม่น่าเชื่อ เกิดความสุข เกิดผลต่อผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมากมาย อย่างนี้ละครับ ก็เรียกว่า มหัศจรรย์ KM มหัศจรรย์ Dialog ครับ

... ที่ปูนซีเมนต์ไทย ไทย-เยอรมัน สเปเซียลตี้ กลาส อย่างเก่งเลย ที่ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. กศน. และก็ที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการที่ หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยให้แก่ชาวบ้าน ให้เกิดการ ลปรร. ของชาวบ้าน

... นายก อบต. คุณสิธพ ที่ท่าข้าม หาดใหญ่ เป็นคุณอำนวยเอง ชักชวน สมาชิก อบต.ทั้งหลาย เป็นคุณอำนวย และคุณทรงพลได้ไปขายไอเดียนี่ อบต. จะทำงานให้ได้ผลดีต้องใช้โมเดลประเทศ ตกลงมี KM นี่ เป็นโมเดลประเทศเกิดขึ้น และก็พิสูจน์แล้วว่า ใช้แล้วได้ผลจริงๆ เพราะว่ามันเป็นการชักชวนให้สมาชิก อบต. หลายๆ ฝ่าย เข้าไปดูแลด้านการเรียนรู้ เพื่อเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น เป้าหมายทางด้านสุขภาพ เป้าหมายทางด้านการทำมาหากิน เป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม เป้าหมายทางด้านศิลปวัฒนธรรม ก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ของชาวบ้านในหลากหลายมิติขึ้น อันนี้ก็เป็นโมเดลที่น่าสนใจมากครับ

โมเดลเหล่านี้มีอยู่ในห้องนิทรรศการ 20 โมเดล เราเขียนไว้ในรายงานประจำปีของ สคส. ด้วย โมเดลที่เกิดขึ้นในบริบทต่างๆ ที่เรารวบรวมมาได้นี้ ซึ่งจริงๆ เราคิดว่าเรายังรวบรวมได้ไม่หมด คงต้องมีจากที่อื่นๆ อีก ที่เราหายังไม่เจอ หรือกำลังจะเกิดใหม่

... โมเดลเหล่านี้เป็นตัวบอกเราว่า การประยุกต์ใช้ KM นั้น ไม่มีรูปแบบตายตัว

... หน่วยงานใดต้องการใช้ KM ให้เกิดพลัง ต้องสร้างโมเดลของตัวเอง ต้องตีความของตัวเอง แล้วก็คิดออกแบบการนำไปใช้ของตัวเอง และเมื่อนำไปใช้ได้ดีแล้วนี่ ก็ค่อยๆ พัฒนาออกมาเป็นโมเดล ก็คือ ทำจากวิธีปฏิบัติ วิธีคิด ออกมาเป็นรูปธรรม เป็นโมเดล

... โมเดลทั้ง 20 นี้ ท่านดูแล้ว ท่านก็ไม่จำเป็นต้องไปทำตามหรอก เพราะว่ามันเป็นการสื่อความหมายของวิธีการตีความ KM ในหลากหลายบริบท นั่นก็จะเป็นการเรียนรู้อย่างนิ่งเลยครับ

ในห้องนี้ ทั้ง 2 วัน เรามี การเรียนรู้ที่เรียกว่า Play & Learn ก็คือ ลปรร. กันอย่างสนุกสนาน เพลิดเพลินกับการเรียนรู้

ผมขอสรุปช่วงบ่าย ที่คุณไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ แล้ว คุณสุกานดา เมฆทรงกรด อ.ไพฑูรย์ มาจาก ม.นเรศวร และคุณสุกานดา และทีม มาจาก พิจิตร ก็ได้มาเล่าเรื่องของ AI – Appreciative Inquiry เป็นเครื่องมืออีกตัวหนึ่ง ซึ่งในโมเดลที่ทำเรื่องการจัดการความรู้ของ สคส. เราใช้ข้างในอย่างเนียนเลยครับ ก็คือ เราสร้างบรรยากาศของการชื่นชมอยู่นั้นตลอดเวลา มีคนเขียนหนังสือบอกว่า AI มันมีแบบเต็มรูป แบบใช้วงจร 4D ซึ่งผมจะไม่พูดว่า คืออะไรบ้าง อ.ไพฑูรย์ เอาทำให้มันชัด และลองปรับเข้าบริบทไทย และลองไปใช้ที่ รพ.พิจิตร คุณสุกานดา และทีมได้มาเล่าให้ฟัง ก็ได้ข่าวว่าสนุกสนานมาก เท่ากับคนที่มาเรียนก็จะได้เรียนรู้เครื่องมืออีกตัวหนึ่ง อาจจะไม่ได้เห็นเป็นโมเดล แต่ผมเดาว่า ต่อไปคงจะได้เห็นเป็นโมเดลที่มีพลังมากเลย อีกตัวหนึ่งของ KM ประเทศไทย

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 153882เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2007 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท