Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (55) ห้อง Lead & Learn - แม่เมาะ - Deep listening


“เราน่ะ ฟังกันไม่เป็น ฟังกันไม่ลึก ทำดูเหมือนฟังน่ะ แต่ไม่ได้ฟัง ฟังแต่ไม่ได้ยิน”

มีคำถามเพิ่มเติม ว่า ... ในการกำหนดแผนการเล่า มีการกำหนดห่างกันแค่ไหน 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน

คุณพินิจ
... ผมรู้เลยว่า คนนี้จะไปทำจริงเลย เพราะว่า ถามลงรายละเอียดเยอะเลย

อ.วิจารณ์ ... แบบนี้ต้องชวนไปเม่เมาะนะ

คุณพินิจ

  • … เพราะจริงๆ มีอีกเยอะมากเลยครับ อยากจะบอกทั้งหมด ทุกๆ อย่างเลย เพราะว่า เราออกแบบนี่นะครับ เราคิดถึงทุกๆ เรื่องเลย ทุกกระบวนการเลย
  • ในปีแรกนี่ ... จริงๆ แล้ว การ ลปรร. นี่ ไม่จำเพาะต้องเอาที่เดียวกันมาคุยกัน
  • แต่เริ่มต้นนะครับ เราทดลองมา 2 อย่าง เอาต่างอาชีพมาคุยกัน คือ เราทดลองเอาเดินเครื่อง กับ maintenance หรือบำรุงรักษามาคุยกัน
  • และก็เอา บำรุงรักษา กับบำรุงรักษามาคุยกัน
  • ได้เห็นข้อแตกต่างครับว่า ... ในแรกๆ นี่ ความคุ้นเคยในที่เดียวกัน เราฝึกเปิดใจให้มันเปิดได้ดีก่อน ฝึกกันหลายๆ ครั้ง เปิดใจนี่ฝึกครั้งเดียวไม่ได้นะครับ
  • ถ้าท้าวความไปอีก พอผมไปฟังเรื่อง KM concept นี่ ไม่มีเรื่องเปิดใจครับ ของ อ.ประพนธ์นะ ใน KM concept ไม่มีเรื่องเปิดใจนะครับ ผมเอาของแกมาสอนที่ภูมิพลนะครับ ไม่มี
  • แต่พอมาเวลาไปทำ เราก็เพิ่งรู้ว่า เรื่องเปิดใจเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมี และก็มาได้ของหมอวิจารณ์ที่พูดสรุปไว้ใน KM ภาคราชการครับ ผมก็เอา KM ภาคราชการของหมอวิจารณ์ ซึ่งพูดในประเด็นเรื่อง เปิดใจ เปิดหู เปิดตา เปิดปาก โดยเฉพาะประเด็นเปิดหู Deep listening นี่ เราเอามามุ่งเน้นย้ำตลอดเลยว่า คุณต้องรู้จักฟัง นะครับ
  • คำของหมอวิจารณ์ก็คือว่า “เราน่ะ ฟังกันไม่เป็น ฟังกันไม่ลึก ทำดูเหมือนฟังน่ะ แต่ไม่ได้ฟัง ฟังแต่ไม่ได้ยิน” นะครับ ... เหมือนกับฟังเมียที่บ้านน่ะ ผมบอกนะ ไม่ได้ยินหรอก ทำท่าฟังไปยังงั้นแหล่ะ ฟังแบบผ่านไป
  • เพราะฉะนั้น ฟังอยากลึกนี่ ผมก็มานั่งนึกว่า ฟังกันยังไงนะ เราเคยฟังเป็นกันทุกคน ผมมานั่งนึกนะ สมัยเด็กๆ อนุบาล นึกย้อนไป
  • ... เวลาครูเล่านิทาน เราเป็นไงครับ เราไม่เคยสงสัยเลยว่า ครูโม้หรือเปล่า เราจะฟัง ตาแป๋ว ฟังครู ครูห้ามหยุดนะ พ่อห้ามหยุดเล่านะ พ่อต้องเล่าไปเรื่อยๆ นะ เล่านิทานให้ลูกฟัง นั่นละครับ เราเคยฟังเป็นกันทุกคน
  • แต่พอโตๆ กันไป เราได้สั่งสมความรู้ สั่งสมบารมีกันมามากๆ ขึ้น สั่งสมประสบการณ์ สั่งสมความชั่วร้ายกันมามากๆ ขึ้น มันก็ทำให้ เวลาฟัง เป็นยังไงครับ เริ่มระแวง เริ่มคิด เริ่มเปรียบเทียบกับที่รู้ๆ มา จากที่ประสบการณ์เดิม จะเชื่อดีไม่เชื่อดี เริ่มฟังเริ่มคิดละ
  • เพราะว่า ความสามารถในการพูดนี่ละครับ 125 คำต่อนาที แต่ความสามารถในการคิดนี่ 500 คำต่อนาที นะครับ (... โอ้โห วิชาการก็แม่นนะเนี่ยะ ...) เราคิดได้เร็วว่า เราก็เลยนึกไป change ไปต่างๆ นานานา มีช่องว่าง เวลาเขาพูดน่ะ เรามีช่องว่างแยะเลย
  • เพราะฉะนั้น ก็เลยทำให้เกิดเป็นเรื่องธรรมดานะ ที่เราฟังแล้วรู้สึกเปรียบเทียบปั๊บนี่ มันไม่ใช่กับเรื่องที่เราเคยคิดไว้ หรือเรื่องที่เราเคยนึกไว้นะครับ
  • เพราะฉะนั้นก็ต้องพยายามให้เปิดใจกันก่อน
  • เราก็เลยได้แทรก 4 เปิดนี่ เข้าไปในหลักสูตร KM concept เพื่อเน้นย้ำ ให้รู้ว่า ต้องฟังกันจริงๆ ตรงนี้นะครับ เน้นย้ำกันไปเลย
  • และก็เอา VDO ของหมอวิจารณ์ไปเปิดเลยว่า “คนที่ไม่รู้จักฟังใครนี่ เป็นคนที่น่าสงสารมาก” ... เราก็จะเกิดให้ฟังทุกรุ่น “คนที่ไม่ฟังคนอื่นนี่น่าสงสาร เพราะอยู่ๆ ไปจะลำบากมาก” ผมจำได้ เพราะว่าผมเปิดทุกรุ่น เปิดให้ฟังทุกรุ่นเลย
  • ทำเป็นแบบเฟรนไชน์ เราจะปิดก็เชิญหมอวิจารณ์ไปปิดด้วย
  • ... มันเป็น เฟรนไชน์ แบบฟรีน่ะครับ คือ ทำไปโดยยังไม่ได้บอกเจ้าตัวเลยครับ

อ่านไปอ่านมา แล้วตอนนี้มันตอบคำถามข้างบนไหมเนี่ยะ ... ไม่เหมือนเลยเน๊อะ ... อิอิ แต่ช่างมันเน๊อะ เพราะว่าฟังๆ ไปก็หนุกดีค่ะ

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 152658เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2007 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบฟังกับสิ่งดีๆ
  • เรื่องของทักษะ คือฟังแล้วต้องวิเคราะห์
  • ขอบคุณครับผม เรื่องดีดีเกี่ยวกับทักษะ
  • สวัสดีค่ะ คุณรักชาติ ท. บ. พล ทหาร
  • บันทึกแม่เมาะ นี่ มีอะไรดีเยอะเลยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ ที่มาเยี่ยมเยียน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท