Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (6) "การเปลี่ยนแปลงเพื่อความสุขในการทำงาน" ... ข้อคิดจากประสบการณ์


ความจริงแล้วยังมีสิ่งจำเป็นอื่นๆ สิ่งจำเป็นที่มีอยู่อันหนึ่ง คือ การที่ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการ

 

ข้อคิดจากประสบการณ์ของ ศ.นพ.จรัส ค่ะ 

  • มองในกรณีที่ผู้ทำงานอยู่ด้วย จะเป็นลูกน้องก็ดี เพื่อนก็ดี ที่มีความทุกข์ ... อันหนึ่งที่ต้องมีเกิดขึ้น และช่วยกันดับทุกข์ ก็คือ เรื่องของการมีมิตรไมตรี มีน้ำใจ มีเมตตา สามารถจะพูดกันได้ รับฟังได้ สามารถที่จะฟังคนอื่นด้วยความยินดี ส่วนนี้อาจตรงกับที่ถามว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างไร ... การที่ต้องเปลี่ยนใจตัวเองให้มีความยินดี ผมว่ามีหลายอันที่แสดงไว้ในเรื่องของ KM ที่น่าจะเป็นตัวหลักอันหนึ่งกระมัง การที่จะฟังคนอื่น แต่ฟังแค่นั้นแล้ว อาจจะไม่ค่อยต่อสัญญาณที่มาไม่ใช่เรื่องเสียงมีเยอะ เพราะฉะนั้น ความไวต่อความรู้สึกเป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งเท่าที่เห็นนะครับ บางทีไม่ทันพูดหรอก หรือพูดออกมาอย่างหนึ่งนี่ ก็สังเกตได้เลย เราจะต้องไวต่อความรู้สึกของเขาได้ แต่จะให้เกิดความไวได้อย่างไร ก็ต้องมีความจริงใจ ต้องมีความหวังดี ต้องมีความรู้สึกที่ดีกับคนอื่น และแสดงออกได้ด้วย ตรงนี้ก็เป็นความสามารถชนิดหนึ่ง
  • ผมเห็นที่นิทรรศการ ตรงกันว่า ... จริงๆ มันเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ทีเดียว ที่จะแก้ปัญหาต่างๆ เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้ว ต้องทำยังไง ก็ต้องมองว่า ความทุกข์เป็นทุกข์ที่วิเคราะห์ได้ว่า มาจากอะไร มันมี 1 มุมแน่ๆ 1 ความทุกข์ที่แท้จริง คือ มันมีของจริงที่เป็นทุกข์อยู่ เพราะฉะนั้นตรงนั้นต้องแก้ ถ้าไม่แก้ก็ไม่พ้นที่ทุกข์
  • แต่ว่ามีทุกข์อีกประเภทหนึ่ง ที่เนื่องจากมุมมอง ผมเห็นแก้วอันนี้นะครับ เรามองได้อย่างหนึ่ง บอกว่า แก้วมีน้ำยังไม่เต็มเลย มีแค่ค่อนแก้ว แต่มองอีกทางหนึ่งก็บอกว่า เออ มีตั้งค่อนแก้วแล้วนะ ถ้ามองอย่าง มีตั้งค่อนแก้วแล้วนะ มันก็ไม่มีปัญหา ความสุขก็เกิดขึ้นได้
  • เพราะฉะนั้น การมองในแง่ดี เป็นคำตอบชนิดหนึ่ง แทนที่จะมองทุกอย่างในทางลบหมด การมองในทางบวก ผมรู้สึกว่าจริง
  • การเคลื่อนไหวที่เรากำลังทำอยู่ ... เมตตากรุณาเป็นฐานสำคัญ เมื่อกี้พูดเรื่องเมตตา ว่า ต้องรู้เรื่องความทุกข์คนอื่น กรุณา คือ การช่วยให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น ต้องมีความจริงใจในการช่วยให้คนอื่นได้พ้นทุกข์ ช่วยอย่างไร ถ้าน้ำมันไม่เต็ม น้ำอยู่ค่อนแก้ว ก็บอกให้เขาเปลี่ยนเสียใหม่ คุณอย่ามองน้ำให้เป็นน้ำไม่เต็ม แต่คุณมองน้ำให้เป็นน้ำค่อนแก้ว และก็น้ำตั้งเยอะแล้ว อันนี้เป็นวิธีการอันหนึ่ง
  • มีคนจำนวนไม่น้อยบอกว่ามีความทุกข์ เนื่องจากงานมันไม่สนุก อะไรจิปาถะ ... ก็เป็นหน้าที่ที่มองดูว่า จะทำยังไงดี ... วิธีหนึ่งก็บอกว่า ให้มองนาฬิกา เราเห็นเข็ม หน้าปัด มันเป็นเครื่องบอกเวลา ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งที่บอกเวลาได้ตรง แต่ว่านาฬิกานี้มันเดินไม่ได้หรอก ถ้าไม่มีแกน กับตัวจักรที่อยู่ข้างหลัง เพราะฉะนั้น ความสำคัญของแกนของตัวจักรที่อยู่ข้างหน้า น่ากลัวมันสำคัญกว่า เข็ม หรือหน้าปัดนาฬิกา เพราะฉะนั้นคนทุกคนที่อยู่ในองค์กร มีส่วนเป็นเป้าหมายขององค์กร
  • ผมพบกับพรรคพวกที่มีความเดือดร้อน ที่จุฬาฯ ดีหรือไม่ดี มันเกิดจากคนที่อยู่ที่นั่นนะ แม้แต่คนกวาดถนน หรือคนรับโทรศัพท์ คือ ในหน่วยงานต่างๆ นี่ ทุกคนปิดทองหลังพระอยู่ แต่ว่าส่วนรวมจะดีไม่ได้หรอก ถ้าทุกคนไม่ทำ ทุกคนไม่ช่วยกันสร้าง ... ถ้าทุกคนรู้สึกดีด้วยการที่องค์กรของเราเจริญ มันก็จะช่วยกันแก้ปัญหา ... เพราะจากการที่เรามองว่าน้ำขาดไปนี่ ก็กลายเป็นน้ำตั้งเยอะแล้ว และน้ำนี่ก็กลายเป็นส่วนที่เราทำให้มันเกิดด้วย ... ผมรู้สึกว่า วิธีการของเรา ในที่สุดก็เป็นเรื่องของจิตใจ เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีปัญหาอันใดอันหนึ่ง ยกขึ้นไปอีกระดับหนึ่งที่เป็นปัญหาร่วม ที่เป็นของร่วม มันก็จะพบปัญหาต่างๆ ที่เราสะสมอยู่ ...
    หน้าที่หัวหน้าอันหนึ่ง คือ การปลุกระดมการสร้างกำลังใจ สร้างขวัญ ตรงนี้หัวหน้าต้องไม่ทำลายกำลังใจ ให้เกิดขวัญ
  • เราก็อยากทำงานให้สำเร็จ งานสำเร็จก็จะเป็นสุข ผมก็นึกถึงเมื่อเราสร้างตึก ภปร. สำเร็จ และเปิดตึก  สมเด็จพระสังฆราชท่านเทศน์ ตอนนั้นประทับใจผม คือ ท่านเทศน์สูตรง่ายๆ ... ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดขึ้นนั่นคือทำให้งานสำเร็จ ... ทานเป็นสิ่งเราเข้าใจได้ง่าย ทุกคนให้ ทุกคนช่วยกัน คนที่จะทำงานแต่ละคนไม่ได้บอกว่า ฉันได้อะไรๆ เพราะทุกคนบอกว่า ฉันอยากได้อะไร ... ถ้าตั้งปณิธานว่า ฉันอยากให้อะไรนี่ ความทุกข์ก็จะลดลงไปเยอะเลย
  • ท่านสมเด็จพระบวรฯ เทศน์ ... ผมรู้สึกเป็นความรู้ใหม่สำหรับผม คือ เรื่องท่านเทศน์เรื่องศีล ท่านบอกว่า ศีลคือการที่ไม่เบียดเบียน อย่าให้ใครเบียดเบียนนะ ที่มันสำเร็จเพราะไม่เบียดเบียน มันสำเร็จด้วยการที่ไม่เบียดเบียน เพราะฉะนั้นไม่มีคนเบียดเบียน ถึงทำได้สำเร็จ ก็ช่วยกันอย่าเบียดเบียน
  • แต่ท่านพูดเลยไปกว่านั้น ในหนังสือมีที่ท่านพูดมากที่สุด คือ อย่าเบียดเบียนตนเอง คือ ความเห็นนี้เป็นบทเรียนให้เราได้อย่างชัดเจนเลยว่า ปัญหาใหญ่ของเราที่สำคัญอันดับต่อไป คือ การเบียดเบียนตัวเอง ... การเบียดเบียนตัวเอง คืออะไรล่ะ ก็คือ ความเครียด คือ อะไรที่มีอยู่ ที่เราทำงานมากเกินไป จิปาถะ ก็เป็นสิ่งที่เราเบียดเบียนตนเอง เพราะฉะนั้น ทำอย่างไรล่ะ อะไรมีความสุข ก็คือ การไม่เบียดเบียนตนเอง ทำอย่างไร ตรงนี้คือคำถาม
  • เราต้องมาจัดการ จัดการกับงานที่จะทำให้ไม่เบียดเบียนตนเอง จัดอย่างไร
  • อันหนึ่งต้องขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน เพราะว่า ความเกียจคร้านเป็นอันหนึ่งที่ทำให้เราไม่หมดทุกข์ ที่จริงเราบอกว่า เราขี้เกียจ เราเป็นสุข ขยันหมั่นเพียร แล้วเราเป็นทุกข์ ... แต่ความจริง มองอีกมุมหนึ่ง ความขยันหมั่นเพียร เป็นเครื่องมือเกิดความสุข เพราะเราหมั่นเพียรด้วยใจของเรา เราทำด้วยใจของเรา มีความตั้งใจแน่วแน่มั่นคง เห็นเป้าของงาน และเห็นว่างานนี้คือ ผลสัมฤทธิ์
  • ท่านพุทธทาส ท่านมีเทศนาอยู่ชุดหนึ่ง ท่านบอกว่า สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่เราพูดถึงเรื่องของ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ... ความจริงแล้วยังมีสิ่งจำเป็นอื่นๆ สิ่งจำเป็นที่มีอยู่อันหนึ่ง คือ การที่ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการ ถ้าเรารู้สึก เราไม่มีคุณค่า มันก็จะลดความสุขไปเยอะเลย เพราะฉะนั้น ความขยันหมั่นเพียรเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า เรามีคุณค่า เป็นสิ่งที่มีความหมาย เพราะฉะนั้นมองเป้าตรงนั้นให้ดี ผมรู้สึกการเปลี่ยนแปลงงาน จากการที่เราไม่สนใจงาน ความเป็นคนขยันหมั่นเพียร เป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการที่ทำให้เกิดความสุขขึ้นมาได้

... อยากรู้ต่อ ก็ตามอ่านต่ออีกนิดหนึ่งนะคะ ...

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 150955เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2007 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท