เยี่ยมเสริมพลัง ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลฯ (9) เรียนรู้ต่อยอด (1)


ท่านอธิบดีบอกว่า มันมี Common Goal แต่เป็น Different way

บันทึกนี้ คงจะเป็นประสบการณ์ที่เรากำลัง Share & Learn กัน ระหว่าง KM Team และชาว KM Center ศูนย์อนามัยที่ 7 ค่ะ ... อาจจะถูก หรือผิด ขอให้ช่วยกันให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมได้นะคะ

ทพญ.นนทลี (อะฮั้นเองค่ะ) ... 

  • (ชี้แจงบทบาทเล็กน้อย ... อิ อิ) ที่ตัวเองทำในส่วนกลาง ก็จะเป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์เสียส่วนใหญ่ เพราะหลายงานที่ได้ไปดูไปชม ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ก็จะถูกนำไปบันทึกขึ้นบล็อก Gotoknow หมด
  • เพราะว่า ในหลายหน่วยงาน ทุกสิ่งทุกอย่างเราทำไม่เหมือนกัน เราทำการจัดการความรู้ไม่เหมือนกัน จะมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ กัน
  • ที่นี่จะทำในเรื่อง CoP เป็นหลักใน 3 CoP ซึ่งได้เสนอแนะไปว่า เราคงต้องทำให้ลึกลงไปอีกสักหน่อย ว่า พยายามแคะให้ถึงแก่นความรู้ที่เป็น tacit จากตัวบุคคล และก็จะสามารถกลับมาช่วยในการพัฒนาตนของพวกเราได้
  • เพราะว่าในปีหน้าค่อนข้างแน่นอนว่า กพร. มีเป้าหมายจะให้หน่วยงานขับเคลื่อนไปสู่ LO
  • แต่ครั้งนี้ ... เห็นรูปธรรมของบุคลากรที่นี่ ... ไม่ยากเลยนะคะ ... เพราะบุคลากรอายุยังน้อย นี่คือพลังของทีมงานจริงๆ ส่วนกลางก็อาศัยเอาประสบการณ์มาร่วม share
  • การจัดการความรู้ไม่มีอะไรถูก หรืออะไรผิด ต้องกล้าที่จะกระโจนลงไปลองกับการจัดการความรู้ และเปิดใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ตอนหลังๆ นี่ KM Team คุยกันว่า เราน่าจะมาเน้นเรื่องการฟัง (Deep listening) ... ใครพูดมา ฟังเขาให้เต็มๆ ให้รู้ว่า เขาคิดอย่างไร ถ้าเราได้ฟัง เราก็จะได้เรียนรู้คนๆ นั้น ... จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และเป็นเพื่อนเรียนรู้กันต่อไป
  • ที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้ ก็ยังไม่เห็นรายละเอียดบางอย่าง เช่น เรื่องแผนที่ทำ KPI 5 ตัวชี้วัดนั้น ก็คิดว่า คงได้เอา KM ไปใช้ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพราะตรงนั้นก็จะเป็นจุดที่สำคัญอีกจุดหนึ่งที่ ถ้าเราได้เอา KM ไปใช้ในกระบวนการจริงๆ เราจะได้เครือข่ายที่เหนียวแน่น บางทีเราไม่ต้องทำอะไรมากมาย แต่ว่าเครือข่ายช่วยทำให้ ตรงนั้นก็จะได้ประโยชน์กับงานของเราอย่างมากทีเดียว

คุณศรีวิภา ...

  • ขออนุญาตว่า เราไม่รู้สึกว่าเรามาตรวจเยี่ยม แต่มาชื่นชม ยิ่งอยู่ส่วนกลางต้องมาเรียนรู้จากพื้นที่เยอะ และที่มาในวันนี้ อยากบอกว่าเราเป็นคนศูนย์ฯ เหมือนกัน สิ่งที่ ผอ. ว่าเป็นความหนักของพื้นที่ เราก็เจอมาหมดแล้ว
  • ... และที่ส่วนกลางเข้ามาครั้งนี้ ก็อยากให้ทำให้ทุกท่านสบายลง และผ่อนคลาย
  • เพราะมาพบว่า ... จริงๆ แล้ว ท่านมีต้นทุนที่นี่เยอะ ตั้งแต่ ผู้นำองค์กร Lead team เพราะว่าที่อยู่ส่วนกลาง ได้ยินแต่ว่ามีคนชื่นชม ผอ. เยอะมาก
  • และเป็นผู้นำที่คิดว่า ... ถ้าเป็นตัวเอง สิ่งแรกที่จะทำคือ ถอด tacit จากท่าน ไม่ปล่อยให้ท่านนั่งอยู่เฉยๆ ต้องไปถามว่า ท่านคิดยังไง ทำไมถึงคิดยังงี้ได้ และคนในองค์กร ท่านพยักหน้า แล้วเขาพยักหน้าตาม ... สิ่งนี้คือ สิ่งที่ทำให้เป็นผู้นำอย่างโดดเด่น ก็จะต้องหาว่า ท่านมีวิธีการในการ approach ลูกน้องอย่างไร และอยู่ร่วมกับลูกน้องจนเหมือนพี่เหมือนน้องได้อย่างไร ก็คือสิ่งที่คิดว่าเป็น tacit ที่จะต้องเก็บไว้ในองค์กร และก็เป็นสิ่งที่จะต้องจารึก เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ว่า ถ้าคุณจะก้าวเป็นผู้นำได้ ต้องมีแบบนี้ละ
  • สิ่งที่สอง คือ อยากให้ทุกคนสบายใจ และเอา KM ไปใช้ในเนื้อหา ไม่อยากให้คิดว่า ต้องเป็น CoP เพราะถ้าคุณหาตัวเองให้เจอ และคุณก็คิดให้ออกว่า งานของคุณอยู่ตรงไหน คุณก็ใช้ KM ไปทุกอณูของงาน วันหนึ่งคุณก็จะรู้ว่า ถ้าบริบทของเราไม่สามารถทำ CoP ได้ และเราต้องออกไปสัมผัสกับเครือข่ายทั้งหลาย เวลาเราอยู่ในรถ ก็สามารถ Share and Learn ได้ ความรู้ก็จะไหลไปเรื่อยๆ การที่คนๆ หนึ่ง จะทำงานร่วมกับพื้นที่ได้
  • ... เมื่อเช้าก็มีเรื่องเล่าว่า ทำไมคนเขาถึงเหมารถมาที่นี่ แสดงว่าต้องมีอะไรที่เขาประทับใจ ... ถ้าเป็นอย่างนี้ เราก็อยากรู้เลยว่า ทำไมเขาถึงมาสนใจเรา อะไรเป็น Microsuccess คนไหนที่ทำให้เขาปิ๊งไอเดีย และเขาถูกใจตรงไหน เขาอาจถูกใจที่การต้อนรับที่พนักงานของเรา ที่ ปชส. หรือไปถูกใจที่ตัวพยาบาล เล็กๆ ตรงไหน แม้แต่ยาม หรือมันดีตลอดเส้นทาง อันนี้จะเหมือนกับว่า เราเก็บเอามาชื่นชมกัน เพราะว่าตรงนั้นจะเป็นความสำเร็จที่ดีต่อไปเรื่อยๆ
  • และศูนย์ฯ 7 นอกจาก ผอ. แล้ว ยังจะมีทีมงานค่อนข้างเยอะ ที่มีความสามารถ เก่ง คนอย่างนี้นอกจากจะเนียนในวิธีคิด และปัญญาอันล้ำเลิศแล้ว ความสามารถจะมีเยอะมาก คนทั้งหลายเหล่านี้จะต้องถูกเชิดชูไว้ในองค์กร เพื่อให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้เรียนรู้ตาม
  • สิ่งที่เป็น สิ่งที่อยากให้เก็บ อย่าไปกังวลกับอะไรที่มี pattern เยอะ ก็อยากให้สบายใจ ว่า ถ้า CoP ได้ ก็ใช้ แต่ถ้าติดด้วยบริบท คนอยากไปทำงานละก็ ลองดูอย่างอื่นๆ
  • อย่างศูนย์ฯ 5 เขาทำ KM Spy ... เขาได้ส่ง Fa ไป How to พี่ ว่า พี่ไป approach ยังไง ทำไมถึงทำงานได้ดี และจังหวัดสนใจ ... อันนี้เป็น KM ได้ ก็เป็นการไปดูดความรู้ tacit จากตัวพี่เขาออกมา และมาบันทึก แล้วเราก็จะได้ โดยเราไม่ต้องทำงานหนักไปจากเดิมเท่าไร
  • หรือจากที่ได้ไปทำงานส้วมสาธารณะ ที่จัดกันที่สุราษฎร์ เขาใช้วิธีการเดิมปกตินี่แหล่ะ มาอภิปราย และมี moderator ที่เป็นรองอธิบดีฯ
  • เราก็ปรับวิธีการทำงานเสียใหม่ จากแบบเดิม เอาวิธีการ KM ไปใช้ ความต่าง ต่างกันนิดเดียว มันจะยากตรงที่คุณต้อง BAR (Before Action Review) แต่เดิมเราเคยจัดอภิปรายปกติ ใครเก่งก็ไปพูด จบแล้วก็จบ โดยประธานสรุป ... เราก็ปรับใหม่
  • ... เราไปหามาว่า แต่ละคนมี how to success อย่างไร microsuccess อยู่ตรงไหน อะไรคือ Get to the point เพราะว่างานสำเร็จ 1 งานนั้น กว่าจะเป็นส้วมสาธารณะจนได้ระดับประเทศ คงไม่ต้องบอกว่า สำเร็จตั้งแต่ต้นจนจบ แต่สำเร็จตรงคนนั้น เขาอาจจะมีความเก่งในที่ต่างกัน ... คนหนึ่งอาจจะเก่งบริหารจัดการ ... คนที่สองอาจเก่งวิธีการที่จะประสานงาน แล้วเราก็เอาความสำเร็จตรงนี้มาเล่าให้คนอื่นได้ฟัง
  • กระบวนการตรงนี้ ท่านอธิบดีบอกว่า ท่านได้เห็นในเวทีวันนั้น ถึงความหลากหลายในวิธีคิด ท่านบอกว่า มันเป็นเหตุเป็นผล เพราะในเวทีวันนั้น มีคนหนึ่งที่เป็นเจ้าของสวนส้ม อีกคนหนึ่งเป็นคนที่ทำอยู่ปั๊มน้ำมัน อีกคนหนึ่งเป็นพระ อีกคนหนึ่งเป็นอดีตผู้ว่าฯ แต่ทั้งหมดมีเป้าหมายความสำเร็จเรื่องส้วมเหมือนกัน แต่มีความต่างกัน
  • ท่านอธิบดีบอกว่า มันมี Common Goal แต่เป็น Different way
  • ฟังแล้ว ทำไมวัดต้องทำแบบติดแอร์ ทำไมสวนนายดำต้องทำแบบเรียบง่าย ท่านก็อยากให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้มีโอกาสอย่างนี้ เพราะว่าการฟังนี่เป็น Deep listening มากเลยที่มี submodel ภายใต้เกณฑ์เดียวกัน
  • เพราะฉะนั้น KM จะใช้ประโยชน์ตรงนี้ เราก็จะปรับวิธีการเดิมเท่านั้นเอง KM ไม่ได้เป็นวิธีการใหม่ๆ ที่ทำให้ทุกท่านอึดอัดใจ แต่เป็นการทำงานโดยใช้เครื่องมือ KM
  • เวลาจะเล่า ไม่ต้องให้ KPI บรรลุขนาดนั้น เพราะว่าชีวิตการทำงานของคนเรามันมี Microsuccess ... คุณหมอสมศักดิ์บอกว่า เวลาแลกเปลี่ยน เราจะได้ Practical Knowledge มันยิ่งกว่า Explicit knowledge เพราะว่า explicit เราทุกคนรู้อยู่แล้ว เกณฑ์ของส้วมสาธารณะมีกี่องค์ประกอบ รู้หมด แต่ทำไมบางที่สำเร็จ บางที่ไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้น Practical Knowledge ต่างหากที่เราควรจะควานหา และไม่ได้มันหายไป
  • ... อ.วิจารณ์ บอกว่า เราจะต้องบันทึกไว้ก่อนที่มันจะระเหยไป เพราะบางทีเราเอาเวลาไปคุยแต่เรื่องอื่น แต่สิ่งสำคัญที่จะหักเหไปคือ การบันทึก มันระเหยไปเป็นเรื่องอื่นเสียก่อน นี่ก็เป็นประเด็นเล็กที่อยากจะมาเติมให้
  • ช่วงเช้า Fa ทำงานได้เก่งมาก ที่อยากเติมให้สักหน่อยก็คือ ในการที่เราเกิดทำงานกับจังหวัด เดิมเราเป็น Fa ที่เราเคยสรุปประเด็น เราอาจจะใช้วิธีการหนึ่งคือ โยนกลับไปที่เวทีให้ช่วยกันสรุป เพราะเวลาที่เราโยนกลับไปนั้น เป็นการเช็ค Deep listening ของคนฟัง ว่า ฟังแล้วจับประเด็นได้ไหม ภาษา KM เรียกว่า capture จับที่เขาเล่าได้ไหม ฟังเหมือนๆ กัน แต่อาจจะจับได้ไม่เหมือนกัน คนนี้จับได้ว่ามีเทคนิคของการสื่อสารดี แต่อีกคนบอกว่าไม่ใช่ เพราะฉะนั้นมันอาจจะมีเทคนิคหลายๆ อัน และเราก็ Share & Learn ว่า แล้วใช่หรือไม่ใช่ แล้วมันจะได้ activity เราก็จะเห็นความสำเร็จของเพื่อนของเรา บางทีเราก็นึกไม่ออกว่า เราสำเร็จเพราะตรงนี้

ทพญ.ณัฏฐา ... เจ๊ใหญ่ของเราละค่ะ

  • บางคนก็ต้องมา How to กับเขา ว่าเขาทำอะไร
    ศูนย์ฯ 1 เขาจะพูดเรื่องการบริการส่งเสริมสุขภาพเยอะ หน่วยที่ไปส่งเสริมสุขภาพมีบุคลากรเยอะมาก ถ้าใช้การจัดการความรู้มา ก็ต้องต่อยอด ตอนนี้แลกเปลี่ยน ว่าต่อยอดจากที่ขายแล้ว แต่ก่อนได้ผลเป็นรายตัว ตอนนี้ได้ผลเป็นหน่วยงาน และตอนนี้ทำยังไง
  • เมื่อเรารู้ผลแล้ว ไปทำให้เขาสุขภาพดี แต่ก่อนก็บอกว่า แจกไปสิ ความรู้เป็นกระดาษ ก็แจกไป ความดันกินอะไร เบาหวานไม่กินอะไร ก็รู้กันหมดแล้ว แล้วจะทำยังไง คนที่ปฏิบัติดีดี เขานำปฏิบัติ และกระดาษแผ่นเดียวกัน บางคนน้ำตาลลง บางคนน้ำตาลไม่ลง มันก็คงต้องมีเทคนิค
  • เพราะฉะนั้นเป็นไปได้ไหมที่จะไปต่อยอดตรงนั้น โดยเอากระบวนการจัดการความรู้ เอาคนที่เขากินแล้วดี คนที่เขาปฏิบัติแล้วถูก คนปฏิบัติแล้ว Cholesterol ลง ความดันลง เบาหวานไม่เคยขึ้นเลย รักษาระดับได้ตลอด ... พวกนี้เป็นไปได้ไหม เขาจะมีเทคนิคดีดีมาเล่า เอามาต่อยอด แล้วไปขาย สักพักหนึ่งเหมือนเราเป็น broker แต่ตรงนี้เราไม่เป็นตัวกลาง เราจะไปขายวิชาการ
  • จริงๆ ตรงนี้ ศูนย์ฯ 7 ทำได้แน่นอน เพราะบริการนี้ขายข้ามจังหวัดไปแล้ว เป็นงานเด่น ที่ต้องต่อยอดขึ้นไป ก็จะเป็นที่ดูงานของคนอื่นได้ด้วย

ทพญ.นนทลี (อิ อิ งานนี้มี comment รอบ 2 ละค่ะ)

  • เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง คือ "การบันทึก" ประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้เข้าเวป gotoknow ผลของการบันทึกไปนานๆ จากประสบการณ์ ความรู้ ความคิด ในชุมชนนี้ เป็นการบันทึกเพื่อการ ลปรร. เป็นสังคมของการจัดการความรู้ที่มีชีวิต สามารถคุยกันได้ตลอด 24 ชม.
  • อยากให้เห็นว่า เรื่องการบันทึก ไม่น่ายาก เป็นเวทีที่น่าลอง เพราะว่า เราสามารถทบทวนความคิด ความรู้สึก บนแผ่นกระดาษ ซ้ำไปซ้ำมา ก็จะเกิด tacit knowledge ที่สามารถย้อนกลับมาพัฒนาตนเองได้
  • การบันทึกสิ่งต่างๆ ที่เราได้พบ พูดคุย จะพบว่า เราจะได้เรื่องเล่าของแต่ละคน ที่มีความแตกต่างกันกับข้อสรุป ซึ่งจะเห็นว่า การนำข้อสรุปขึ้นเผยแพร่จะขาดความน่าเชื่อถือ เมื่อเทียบกับประสบการณ์ที่ใส่เข้าไปด้วย
  • จากประสบการณ์ที่ได้ไปทำเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.ชัยภูมิ เป็นเวทีที่เขาได้ชวน อบต. ท้องถิ่น ศูนย์เด็กเล็ก จนท. รพ. สอ. ทั้ง นวก. และทันตาภิบาล มาคุย ลปรร. กัน ... ที่นี่ยังไม่เคยทำเรื่องการใช้ KM ในการจัดการความรู้มาก่อนเลย ทุกคนคาดหวังแต่ว่า จะมาฟัง lecture ใครจะให้ความรู้อะไรในการดูแลเด็ก บทบาทของใครเป็นอย่างไร แต่ครั้งนี้ เราได้ออกแบบการจัดเป็นกลุ่ม ลปรร. แบ่งได้ประมาณ 4 กลุ่ม มาคุยกันในเรื่อง เขามีความภูมิใจในเรื่องอะไรที่เขาทำงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จะเป็น microsuccess หรือความสำเร็จอะไรของเขาก็ได้ และมาเล่าแลกเปลี่ยนกัน
  • มีเรื่องเล่าจากพัฒนาชุมชน เขาก็ไม่รู้ว่า จะเล่าเรื่องอะไรดีเกี่ยวกับเด็ก เพราะเขาไม่ได้ทำงานโดยตรงกับเด็ก Fa ตรงนั้น คือ หมอบุบผา ที่กองทันตฯ ก็บอกว่า เรื่องอะไรก็ได้ที่คิดว่าทำสำเร็จ เขาก็เลยบอกว่า เอาเรื่อง ล้มไม่ล้มก็แล้วกัน
  • ... คือ "ศูนย์เด็กเล็ก ล้มหรือไม่ล้ม" ตอนนั้นที่ศูนย์เด็กเล็กจะล้ม เพราะเด็กเข้ามาเรียนลดลง เหลือประมาณ 10 คน ในด้านนั้นก็จะตั้งไม่ได้ละ ต้องล้ม
  • เขาก็ลังเลอยู่ว่าจะล้มไม่ล้ม เขาก็พากันไปหาสาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้น เรียกมาคุยกัน หาสาเหตุว่า ทำไมศูนย์นี้เด็กน้อยลง ก็มอบหมายให้กรรมการแต่ละคนไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองเด็ก ดูสิว่า ทำไมเขาไม่เอาเด็กมาเข้าเรียนต่อ
  • สาเหตุส่วนใหญ่กลับมาคุยกัน ก็ตรงกัน เพราะผู้ปกครองบอกว่า เด็กที่มาเรียนแล้ว ผู้ปกครองไม่ชอบ ... ตัวมอมแมมกลับบ้าน และบางทีก็เป็นหวัดบ่อย เขาบอกว่า ผู้ดูแลเด็กดูแลได้ไม่ดี ก็เป็นเหตุให้ทางทีมก็รู้แล้วว่า ทำไมเด็กถึงน้อยลง
  • ก็ได้ชวนผู้ปกครองมาคุยกัน บอกว่า ในเงื่อนไขนี้ ผู้ปกครองอยากให้เขาแก้ไขอะไร เขาก็ช่วยกันแก้ไขจนผู้ปกครองพอใจ และเด็กกลับเข้าเรียนใหม่ นี่ก็คือ ความภูมิใจของคนคนหนึ่งที่เขาได้ทำมา และก็เป็นเรื่องเล่าของคนๆ หนึ่งที่คิดว่า เขาไม่มีเรื่องเล่า และก็สามารถเล่าได้
  • และสุดท้ายของการประชุมครั้งนี้ เขามา AAR (After Action Review) แสดงความรู้สึกหลัง ลปรร. ซึ่งในประเด็น AAR เขาก็มักจะใช้คำถามที่ว่า
    ... 1) ก่อนมาคาดหวังจะได้อะไร
    ... 2) มาถึงแล้วได้ตามที่คาดหวังไหม
    ... 3) ส่วนที่ได้เพิ่มคืออะไร และส่วนที่ไม่ได้คืออะไร และ
    ...4) กลับไปจะไปทำอะไรต่อ
    นี่จะเป็นประเด็นต่อยอดกิจกรรม ณ วันนั้น หลังจากที่เขาได้มา ลปรร. กัน แล้วไปทำต่อ
  • ความคิดเห็นส่วนใหญ่เขาบอกว่า เขาได้เรียนรู้มากกว่ามานั่งฟัง lecture เขาฟังจากการที่ทุกคนคุยกันในกลุ่ม
  • สิ่งนี้ก็คือ เขาได้รับการจัดการความรู้กับตัวเขาเอง ซึ่งสิ่งนี้มักจะได้ทุกครั้งที่เขามีการคุยกัน ถ้าเราจัดให้มีการคุยกันอย่างจริงใจ เปิดใจ
  • เป็นสิ่งที่อยากจะฝากไว้ว่า การที่เราจะไปคุยกับพื้นที่ ก็อาจจะยากกว่าการคุยกับชาวศูนย์ฯ ด้วยกันเอง เพราะว่ามีความเป็นกันเองกันอยู่แล้ว แต่ว่าการไปคุยกับพื้นที่ก็ต้องมีการเตรียมการอะไรบ้างก่อน เช่น ใช้เทคนิค BAR เป็นการคุยเตรียมความพร้อม เตรียมกลุ่ม มีการพูดคุยอย่างเปิดใจ เช่น เทคนิคของคุณบอยที่นำนั่งสมาธิ สงบจิต และเปิดใจคุยกัน ... และที่นี่ก็คงมีวิธีการอีกมากมาย ทั้งธรรมะ และสนุกสนาน
  • ... เพราะว่า KM ก็ถือว่า เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่สามารถนำไปใช้ในภารกิจของ KPI อีก 5 ตัว ในเรื่อง ตลาด ส้วม โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และอื่นๆ และจะได้สิ่งที่ดีดีตามมาอีกเยอะแยะมากมาย แล้วเราจะตามมาเก็บต่อไป

คุณศรีวิภา ... (รอบสองจ้ะ)

  • ในฐานะของคนดูแผน KM ทั้งหมดของกรมฯ สิ่งที่เป็นความหนักใจเล็กๆ คือ การทำ KM ที่เป็นโครงการ KM ชัดๆ เพราะว่าเมื่อไรที่เกิดอย่างนั้นขึ้น ทุกคนจะเหนื่อย เพราะว่าตัวชี้วัดจะเยอะ ทุกคนก็จะมีโครงการต่างหาก กันทั้งนั้น แต่ภายใต้นั้น เอา KM ไปเสียบให้มัน inside อยู่ตรงนั้น เป็นแค่เครื่องมือ หรือกระบวนการ ภายใต้โครงการเดิม ถ้าเห็นอย่างนี้แล้ว จะเป็นความสุขมาก
  • ขออนุญาตยกตัวอย่างศูนย์ฯ 6 ก็อาจจะยังไม่ได้ How to เขาชัดๆ แต่สิ่งที่เห็นอยู่ในแผนฯ ก็คือ ในขั้นตอนของการนิเทศงาน ... เวลาที่เขาไปนิเทศงาน เขาจะใช้เทคนิค KM ในการไปสกัดบทเรียน
  • ในการทำงาน และไปติดตามงาน ความสำเร็จนั้นเป็นอย่างไร เขาจะมีประเด็นชัดๆ ว่า เช่น ความสำเร็จในงานศูนย์เด็กเล็ก ผู้นิเทศก็จะไปถามตัวนี้ กับคนที่ทำงาน ที่ที่เขาไปนั้น จึงมีเป้าหมายชัด ที่เขาประสบความสำเร็จ
  • เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาไปนั้น ถ้าเข้าไปอย่างนี้ แสดงว่า ภายใต้วิธีการทำงานก็ต้องมีการปรับ ตัวผู้นิเทศงาน ต้องสามารถทำหน้าที่เป็น Facilitator ได้ ... เขาถึงจะหาความสำเร็จได้
  • แต่ทำนองกลับกัน ถ้าผู้นิเทศเข้าไปอย่างงานปกติ คือ ไปเก็บรายงาน อย่างนั้นอาจยังไม่ใช่ KM แต่ผู้นิเทศกลับไปศึกษาว่า ที่คนๆ นี้ ทำสำเร็จนั้น ทำสำเร็จอย่างไร มีวิธีการทำงานอย่างไร เขาก็ How to ต่อ และเขาก็จะจดบันทึกขึ้นมา อันนี้คือ เนียนอยู่ในวิธีการทำงาน
  • ก็จะเห็นว่า เขาไม่ต้องทำงานใหม่เลย เป็นการนิเทศงานตามปกติ และสามารถยิงปืน 1 นัด ก็ได้นก มากกว่า 2 ตัว ทั้งนิเทศงานเสร็จ ได้ KM และคนก็เป็น Fa ที่สามารถ ซึ่งตรงนี้เรา assume ว่า ใช่ ก่อน เดี๋ยวเราจะตามไปดู
  • เพราะว่า ผู้นิเทศจะทำหน้าที่ Fa ขณะเดียวกัน ก็ note ไปด้วย และสรุปบทเรียนไปด้วย จากการเข้าไปนิเทศงาน ว่า จังหวัดทำงานกันอย่างไร นี่ก็เป็นวิธีการที่ได้นำ KM ไปใช้ในการทำงาน
  • หรือในเรื่องส้วมก็เหมือนกัน
  • ถ้าเห็นอย่างนี้ ทุกคนก็จะรู้สึกว่า ไม่ได้เป็นการเพิ่มงาน แต่ว่า KM ถ้าหากจะสำเร็จได้ ก็มาจากคนนั้นสามารถปรับวิธีการทำงาน และทำให้งานนั้นดีขึ้น เพราะเมื่อไรที่คุณฟังเยอะๆ คุณก็จะเข้าใจซึ่งเหตุและผล
  • ที่ศูนย์ฯ บอกว่า จะใช้ CoP ในปีนี้ และปีหน้าอาจจะไม่ใช้ ก็ต้องบอกเหตุและผล เราก็จะเข้าใจว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ถ้าคุณเข้าใจคนในองค์กร เข้าใจวิธีการทำงาน บริบทของคุณเป็นอย่างนี้ เราก็ OK แต่ว่าต้องเป็น KM ที่เนียนอยู่ในงาน และมีการหมุนเกลียว
  • ถ้าเมื่อไรที่คุณเอาคนมา Share and Learn จบเท่านั้น มันก็ละลาย และหายไป หรือระเหยไป แต่ถ้าคุณมีการบันทึก เราก็ต้องถามต่อว่า ความรู้ที่ได้จากคนคนนี้ ถูก distribute ไปยังคนคนอื่นไหม สมมติว่า จากตรงนี้เผยแพร่ไปยังคนอื่นแล้ว ใคร เอาความรู้นี้ไปใช้ไหม ถ้าไม่ได้ใช้ ก็อาจมีคุณประโยชน์น้อย แต่ถ้าได้ใช้แล้ว ก็ทำให้งานดีขึ้น ก็เหมือน confirm ว่าความรู้มันมีการหมุนเกลียว
  • ขณะเดียวกัน มันสำเร็จด้วยตัวนี้ที่คน 1 คน นำไปลองใช้ แต่มันสำเร็จด้วยวิธีเหมือนกัน คือ confirm แต่บางทีอาจมีคนที่นำไปใช้ด้วยวิธีการที่มากขึ้นกว่าตรงนี้ ก็แสดงว่า ความรู้มีการยกระดับ ก็เป็นสิ่งที่มาช่วยกันเติมเต็ม เพิ่มเติมได้อีก
  • ... สิ่งนี้อยากให้เห็นต่อยอด ว่า การทำ KM ไม่ใช่เพียงแค่มานั่งเล่าๆ แล้วก็จบ
  • KM คือ นั่งเล่า ... แค่นั้นหรือเปล่า ... ความจริงไม่ใช่แค่นั้น ถ้าทำได้ดีพอแล้ว ก็จะทำให้คนทั้งเก่งขึ้นด้วย งานดีขึ้นด้วย แล้วก็จะนำไปสู่ LO เอง
  • LO อาจเป็น summation ของคนเยอะๆ บวกกับผลงานที่ดีขึ้นด้วย ... แล้วก็มี Intellectual capital คือ ทุนที่เก็บไว้ในองค์กร คนรุ่นใหม่จะมาทำงาน ไม่ต้องเสียเวลาเปิดตำรา อ่านที่ที่บันทึกไว้ แล้วก็กระโดดข้ามไปเลย ก็จะทำให้องค์กรเก่งขึ้น นั่นคือ ความหมายของ LO ในระดับตื้นๆ
  • และระดับใหญ่ๆ จะเชิญไปฟังใน ตลาดนัด KM กรมอนามัย ตัวจริงเสียงจริงจะมาบรรยาย คือ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด ว่า ถ้าคุณจะไป KM แบบ LO แล้ว จะต้องข้ามมิติจากไหนไปบ้าง
  • หลายๆ คนอาจจะรู้สึกว่า KM ไม่เหมือนคนอื่น ... คงไม่มีอะไรที่ชัด ที่ต้องบอกว่า KM ต้อง 1 2 3 และ 4 เพราะว่า บริบทไม่เหมือนกัน KM ไม่ได้บอกว่า ต้องทำ 1 2 3 4 ... ชัดๆ
  • อย่างที่หมอน้ำเพชรมาเขย่าแล้วว่า มันอาจจะต้องมีกระบวนการ ลปรร. มี Fa และ Note แต่จริงๆ แล้วเครื่องมือยังมีอีกเยอะ แต่ KM ก็ยังไม่พยายามยัดเยียดทุกอย่างให้กับคนในองค์กรหมด
  • เพราะเมื่อที่มีเครื่องมือ ก็จะเกิดการยึดติดเครื่องมือ คุณก็จะไม่กล้าก้าวข้ามสิ่งเหล่านี้ไปได้เลย เราก็อยากเห็นสิ่งที่อยู่นอกกรอบด้วย ... ไม่งั้น KM Spy คงไม่เกิดขึ้น ... แฟ้มภูมิปัญญา ก็คงไม่เกิดขึ้น
  • และเรารู้ว่าที่นี่ ที่มีผู้นำเก่งขนาดนี้ ที่มีหัวหน้าทีมเก่งอย่างนี้ คงทำให้มีนวัตกรรมตรงนี้ เกิดขึ้นจากการจัดการความรู้ นี่เป็นสิ่งที่เราเชื่อมั่น

มันยาว ย๊าว ยาว นะจ๊ะ ขอพักตรงนี้สักหน่อย ไปต่อตอนต่อไปอีกจั๊กหน่อยก็แล้วกันนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 105968เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2007 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณพี่นนท์ มาก ๆ เลยค่ะ เป็นการบันทึกรายละเอียดได้เยี่ยมสุด ๆ

  • ไม่มีลิขสิทธิ์นะคะ
  • อนุญาติให้เลียนแบบ และพัฒนาต่อยอดได้เลยจ้า

ตามมาอ่านครับ เพราะทราบจากทีมงานว่าไปศูนย์ 7 มาแล้วเห็นอะไรดีๆตั้งหลายอย่าง แต่ดูเหมือนทีมงานจะยังขาดความมั่นใจที่จะ ลปรร คอยแต่กลัวว่าจะไม่ดีพอ

อายครู บ่ รู้วิชา

ในการทำ KM ทุกคนเป็นครูทั้งนั้น ไม่ต้องเกร็งครับ ท่องไว้อย่างเดียว จัดการความรู้ ไม่้มีผิด ไม่มีถูก ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง และ พัฒนาไปเรื่อยๆ 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท