เยี่ยมเสริมพลัง ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลฯ (7) ลปรร.


ประเด็นปิ๊งๆ เช่นนี้ละค่ะ ที่น่าสกัดความรู้นัก ว่า เจ้าหน้าที่ที่ทำให้คนไข้ติดใจ รักษาหายนั้นน่ะ เขาทำยังไง พูดยังไง บริการยังไง แนะนำยังไง ... และมีอีกหลายเรื่องที่จะสกัด How to ให้ได้ ... สุดท้ายก็จะถึงจุด Succes Story ที่คนทำงานภาคภูมิใจ

 

นี่คงเป็นบันทึกครั้งแรกของดิฉันละค่ะ ที่นำเอาเรื่องราวของ CoP มาบันทึกเป็นเรื่องเล่า ที่แสนจะ ยาว ว ว ... แต่ก็ตัดทอนเนื้อหาของผู้เล่าไปบ้าง ... แต่คงไม่ทำให้เสียอรรถรสนะคะ ... ถ้าผู้เล่าท่านใดมาอ่านแล้ว คิดว่า เนื้อหานั้นๆ เพี้ยนไป ลปรร. กลับมาได้นะคะ

ในส่วนต่อจากนี้ ก็คงเป็น comment เล็กๆ เพื่อ ลปรร. กันกับผู้ที่เข้ากลุ่ม CoP ... ซึ่งก็พบว่า มีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ต้องเพิ่ม ต้องเติม ต้องปรังปรุงกันไปเรื่อยๆ ... เพื่อจุดมุ่งหมายการพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กรที่จะใช้ KM เป็นเครื่องมือในการพัฒนาละค่ะ ... เรา comment ให้ทุกท่านได้ทราบกันไปแล้วในห้องทำกลุ่มนั่นเอง ... ตอนนี้ขอนำมาบันทึกเพื่อการ ลปรร. กันต่อยอดนะคะ


นนทลี ... อะฮั้นเองละจ้ะ

  • ประเด็นที่เราได้คุยกันก็คือเรื่องภาคีเครือข่าย ซึ่งเราก็มีภาคีเครือข่ายกันทั่วทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่ในบริบทต่างๆ กัน ห้องยาอาจจะเป็นภาคีในเรื่องของ sale คนไข้ ลูกค้า หมอ พยาบาล หรืออื่นๆ
  • น้องที่ทำงานในเรื่องวัยรุ่น ก็จะไปมีภาคีนอกสายงาน เป็นกลุ่มวัยรุ่น ครูอาจารย์
  • ทุกคนต้องมีภาคีเครือข่าย เพียงแต่บุคคลที่เรารู้จักอาจไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน แต่กรรมวิธีการประสานก็น่าจะเป็นเรื่องที่ใกล้เคียงกันได้
  • ซึ่งประเด็นที่ได้สรุปกันในวันนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่ถ้าเราไปคิดอีกที และนำมาปรับใช้กับภาคีของเราก็น่าจะไปเชื่อมโยงต่อได้
  • แต่ก็มีความรู้สึกลึกๆ ว่า กลุ่มยังไม่ได้สกัดจาก tacit ของเราเองออกมา เรายังไม่ได้มีโอกาสบอกถึงแก่นของความสำเร็จ เช่น น้องหลีไปสร้างความประทับใจ สร้างสัมพันธ์กัยใครๆ ได้อย่างไร ... ลึกๆ เราก็ไม่รู้ ว่าไปทำให้เขาติดใจยังไง เจอหน้าก็ขอเบอร์โทรศัพท์ของเขา เขาก็ให้
  • ... ซึ่งถ้ามีเวลาเราก็คงสามารถใช้เวลาเจาะลึกได้มากกว่านี้ ว่า เขาใช้ทักษะอะไรของตัวเขานะ ทักษะการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือเปล่า ความเป็นมิตรที่ดี หรืออื่นๆ ถ้ามีโอกาสเราก็ควรต้องใช้เวลา จากตรงนั้นอีกสักนิด และควรต้องสร้างบรรยากาศ ให้มีความอยากคุย อยากเปิดใจ หรือสิ่งใด ที่ทำให้อยากพูดคุย
  • Fa ... คุณบอย มีการเริ่มต้นที่ดีมาก ตรงที่มีการทำสมาธิ มีการทำให้จิตใจนิ่งสงบ ... น่าสนใจมาก ส่วนกลางก็เลยได้มาเรียนรู้ และสามารถนำไปต่อยอดได้อีก

คุณศรีวิภา ...

  • ประเด็นคือ การพูดคุยยังไม่ได้เปิดทั้งหมด ครั้งหน้าถ้ามาเจอกัน อาจจะเล่าให้เห็นว่า ทำไมน้องหลีถึงไปเห็นอะไร และต้องพยายามไปสร้างความสัมพันธ์ถึงขนาดนั้น เพราะว่าตรงนี้จะมีประโยชน์ ถ้าคนเราจะไปสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ที่เขาใช้ tactic อะไร ทำไมถึงกล้า เพราะแท้จริงแล้วไม่ต้องเสียเวลาก็ได้ น้องหลีคิดยังไง และตอนที่พูดพูดยังไง เพราะอาจมีบางคนไปปิ๊ง อ๋อ เพราะว่าเราพูดแบบนี้ เขาถึงให้เบอร์โทรศัพท์กับเรา ... เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้คือ tacit ทั้งนั้นเลย อะไรเหล่านี้ พวกนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ
  • ประเด็นที่ทุกคนพูดว่า เรื่องที่จะคุยก็คือ เรื่องที่เราสนใจร่วมกัน ถ้าจะให้คนมารวมกันอย่างนี้ว่า ให้คนมาคุยร่วมกัน อาจจะฟังว่า ทุกคนมา share กันยังไง จากการที่มีความสนใจร่วมกัน ไม่ใช่เต็มร้อย แต่อะไรคือเป้าหมายร่วมที่ ถ้าเข้ามาตรงนี้ เราเล่าและเราก็ได้จากเพื่อนด้วย และก็จะมีประโยชน์ เพียงแต่เวลาอาจจะน้อยไปสักนิด ทำให้เล่าได้ไม่ลึก แต่ทุกคนก็เริ่มมีประเด็นที่ทำให้เราได้มีการเรียนรู้ต่อยอด

ทพญ.ณัฏฐา ...

  • มีคำหนึ่งที่ว่า ภาคีเครือข่าย ลูกค้าเราก็คือภาคีเครือข่าย สิ่งที่เราให้ก็คือ การให้บริการ ลูกค้าของเราก็คือผู้รับบริการ ทั้งหมด เพราะฉะนั้น พี่มาวันนี้พี่ได้ พี่กลับไปก็ได้ต่อยอด หลายอย่างที่ดี ฟังแล้วชื่นชม
  • และต่อยอดได้อีกเลยว่า การกำหนดวัน ก็คือ ถ้าใน รพ. บ่ายๆ ว่าง 3-4 คน คุยกัน อาจจะเป็นน้องหลีที่ทำในเรื่อง Healthy Workplace อยู่แล้ว สามารถเรียกมาคุยกันได้ ... วันนี้คุยกันหน่อย เอาสักเรื่องดีไหม หรือเอาสักกี่ประเด็นดี
  • อาจจะยกมาสักประเด็นหนึ่ง คุยกันใน รพ.ก่อน ก็เป็นการสร้างภาคีเครือข่ายเหมือนกัน เอาเวลาไหนที่พอจะมีเวลา คุยกันเลย เฮโลกันเลย เอาวันไหนที่กินข้าวกลางวันมาคุยกันก็ได้ ไม่ต้องทำเป็นทางการขนาดนี้ก็ได้
  • สมัยเมื่อหลายปีก่อน ที่ศูนย์อนามัยที่ 1 ผอ. ท่านอยากจะทำให้เป็นเหมือนห้องเล็กๆ คุยกัน เพราะว่าปกติเวลางานเราไม่ค่อยมีเวลา ก็ให้มาคุยกันที่ห้อง
  • เมื่อกี้มีน้องเสนอเรื่องส้มตำ อาจคุยกันเรื่องส้มตำก็ได้ อาจมีร้านที่อร่อย แต่ความจริงก็ไม่ได้อร่อย แต่เขามีมนุษย์สัมพันธ์ดี ก็จะมาเรื่องนี้ได้เหมือนกัน
  • อันนี้เป็นการบริการของ รพ. ชัดเจน บางทีก็ไม่ต้องรอให้กลุ่มพัฒฯ มาคุยกับเรา กลุ่มพัฒฯ เขามีอะไรเยอะแยะ เขาต้องไปทำกับ จว. เราทำกับผู้ให้บริการ ลูกค้าเรา ตัวเรา มีดี เป็นภาคีเครือข่าย บางทีห้องนี้ ไม่เข้าใจกัน ก็ยิ้มๆ ส่งสายตาไป ... ก็มาละ เรื่องนี้ก็คิดว่าเป็นเรื่องของ รพ. ไม่ต้องคิดเรื่องใหม่ เป็นทางการก็ว่าไป ไม่เป็นทางการก็ได้ เพราะว่ามีข้อจำกัดเยอะ อยู่เวร เช้าทำไม่ได้ ก็ต้องทำบ่าย อาจออกเวรช้าหน่อยก็ได้
  • เราอาจเริ่มต้นอย่างที่ไม่เป็นทางการก่อน เพราะทุกคนมีสิ่งที่แลกเปลี่ยน
  • แต่ก็ขอเรียนว่า ความรู้ยังไม่ออกมาเยอะ มีบางคนที่ได้เอาไปใช้ได้เยอะมาก ... เรื่องการให้บริการ ทำไมเขาจึงได้ชวนคนอื่นมากันได้เยอะแยะ เราทำอะไรให้เขา ใครที่รับนาง ก. ทำอะไรให้นาง ก. ชื่นชม ตรงนั้นต้องบอกได้

และก็มีประเด็นที่ KM Team กรมฯ ปิ๊งมาก มาก ก็ตรงที่ มีเรื่องเล่าว่า "มีคนไข้นั่งรถประจำทางมาจากเลิงนกทา เพื่อมารักษา เอารถมา 2-3 คันก็มี ก็ถามว่า มาถูกที่หรือเปล่า เขาก็บอกว่า ตั้งใจมาตรงนี้ เพราะว่าญาติเขามาตรวจที่นี่ พอเขาได้ยากลับไปทาน ก็หาย ... ก็เลยตามกันมาเยอะแยะมากมาย"

ประเด็นปิ๊งๆ เช่นนี้ละค่ะ ที่น่าสกัดความรู้นัก ว่า เจ้าหน้าที่ที่ทำให้คนไข้ติดใจ รักษาหายนั้นน่ะ เขาทำยังไง พูดยังไง บริการยังไง แนะนำยังไง ... และมีอีกหลายเรื่องที่จะสกัด How to ให้ได้ ... สุดท้ายก็จะถึงจุด Succes Story ที่คนทำงานภาคภูมิใจ

ต่อไปก็จะรอ CoP ของศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลฯ ในเรื่องต่อยอดต่อๆ ไป นะคะ ... และก็อยากเห็น CoP ที่เกิดขึ้น สามารถเสริมบรรยากาศคนทำงานได้อย่างมีชีวิตชีวา อบอุ่น และมีความสุขทั่วกันนะคะ 

 

หมายเลขบันทึก: 105685เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท