พัฒนาเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ "นครชัยบุรินทร์" ตอนที่ 3 การจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ


 

เรื่องนี้ คุณหมอเอกชัยฝากไว้นะคะ เป็นเรื่องที่น่ารู้ทีเดียว

การเปลี่ยนแปลงของลักษณะท่าทาง ของผู้สูงอายุ (ผศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ท่าเดินผู้สูงอายุ (senile gait) จะเดินก้าวสั้นๆ และช้าลง ช่วงเวลาที่เท้าทั้งสองข้างแตะพื้นพร้อมๆ กันในขณะเดินนานขึ้น เท้ากางออกจากกันมากกว่าปกติ หลังงอ และตัวเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย แขนกางออก และแกว่งน้อย เวลาหมุนตัวเลี้ยว ลำตัวจะแข็ง และมีการบิดของเอวเล็กน้อย

ความเสื่อมถอย สายตา (อ.ดร.เบญจมาศ กุฎอินท์)

  • สายตายาว
  • ต้อกระจก สายตามัว
  • ต้องการแสงสว่างมากขึ้น
  • สายตาปรับตามระดับแสงได้ช้า
  • แสงจ้าทำให้ตาพร่ามัว
  • แยกสี ฟ้า ม่วง เขียว ไม่ออก
  • ได้ยินไม่ชัด หูตึง
  • ไม่ได้ยินเสียง สูง - แหลม
  • ไม่สามารถแยกเสียงพูด ออกจากเสียงรบกวน

การจัดที่อยู่อาศัย (ผศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

  • ติดไฟให้สว่างขึ้น โดยเฉพาะ บริเวณประตู บันได บริเวณที่ใช้เป็นประจำ ป้าย
  • ไม่ควรให้เห็นหลอดไฟโดยตรง เพราะจะทำให้ตาพร่า
  • วัสดุที่ใช้ ไม่ควรเป็นวัสดุสะท้อนแสง
  • ใช้ปุ่มสัญลักษณ์ขนาดใหญ่
  • หลีกเลี่ยงการใช้ สี ฟ้า ม่วง เขียว
  • ใช้สีตัดกัน เช่น ขอบบันได ขอบโต๊ะ
  • เลือกใช้เสียงกริ่ง โทรศัพท์ ที่มีเสียงทุ้ม และปรับเสียงให้ดังขึ้น
  • เสียงวิทยุ ควรปรับไปที่ ต่ำ
  • ใช้วัสดุป้องกันเสียงรบกวน

แนวคิดมาตรฐานด้านสถาปัตยกรรม (ผศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

  1. มีความปลอดภัยด้านกายภาพ (Physical Safety)
  2. สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility)
  3. สามารถสร้างแรงกระตุ้น (Stimulation)
  4. ดูแลรักษาง่าย (Low maintenance)

1. มีความปลอดภัยด้านกายภาพ

  • มีแสงสว่างเพียงพอบริเวณบันได และทางเข้า มีราวจับในห้องน้ำ พื้นกระเบื้องไม่ลื่น อุปกรณ์ปิดเปิดน้ำที่ไม่ต้องออกแรงมาก มีสัญญาณฉุกเฉินจากหัวเตียง
  • สวิทช์ สูงไม่เกิน 90 ซม. เพื่อหลีกเลี่ยงการเอื้อม สวิทช์ใหญ่ และมีแสงตอนเปิดสวิทช์ สามารถปิดเปิดได้ ในระยะเอื้อมถึงจากเตียงนอน
  • ปลั๊กไฟ อย่างน้อย 45 ซม. เพื่อหลีกเลี้ยงการก้ม และมีสวิทช์ สำหรับ ปิด-เปิด ปลั๊ก
  • ระบบไฟฟ้า ติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ กรณีไฟฟ้าลัดวงจร และมีระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินบริเวณห้องนอน ห้องรับแขก และทางเข้าบ้าน
  • ก๊อกน้ำ ถ้ามีระบบน้ำร้อน ควรปรับเป็นระบบน้ำอุ่นหัวเดียวผสม เพื่อป้องกันน้ำร้อนลวก และก๊อกน้ำ และอุปกรณ์ควรเป็นชนิดก้านโยก
  • มือจับประตู เป็นแบบคันโยกขนาดใหญ่ จับง่าย ไม่ควรใช้ลูกบิด
  • ตู้เสื้อผ้าควรเป็นประตูแบบเลื่อน
  • สีและพื้นผิว
    อุปกรณ์และส่วนของอาคารดังนี้ ให้มีสีที่ตัดกัน หรือแตกต่างจากสีของส่วนที่ต่อเนื่องของอุปกรณ์ อย่างเด่นชัด ดังต่อไปนี้
    - ราว ราวบันได ราวทางลาด ราวระเบียง ราวกันตก
    - ราวยึดเกาะในห้องส้วม และทางเดิน
    - ป้าย แผนผัง ตัวอักษร เครื่องหมาย และสัญลักษณ์
    - แผงสวิทช์ เต้ารับ และเต้าเสียบ เสา สิ่งกีดขวาง และส่วนยื่นจากผนังบนทางเดิน
    - สุขภัณฑ์ และอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
    สีเขียว หมายถึง ความปลอดภัย ให้ไปได้
    สีเหลือง หมายถึง ความเสี่ยงภัย ให้ระวัง
    สีแดง หมายถึง อันตราย
    - พื้นทางเดิน พื้นต่างระดับ พื้นห้องส้วม และพื้นผิวต่างสัมผัส
    - ผนัง และบัวเชิงผนัง
    - ประตู ธรณีประตู วงกบ หรือขอบประตู ประตูทางเข้าออก และประตูลิฟต์
    - บันได บันไดเลื่อน ทางเลื่อน และทางลาด
    - ลูกนอนกับลูกตั้งของขั้นบันได และลูกนอนของขั้นบันไดขั้นหนึ่งกับพื้นห้อง บริเวณจมูกบันได

2. สามารถเข้าถึงได้ง่ายได้แก่ สามารถเข้าถึงส่วนใช้สอยได้ง่าย และเข้าถึงบริการสาธารณะได้

  • ประตู มีขนาดความกว้างเป็นพิเศษ อย่างน้อย 90 ซม. ควรเป็นแบบผลักเปิดออกได้ง่าย ห้ามติดตั้งอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง
  • ราวจับ
    - ทำด้วยวัสดุเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับ และไม่ลื่น
    - มีลักษณะกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม.
    - สูงจากพื้นทางลาด 80-90 ซม.
    - ราวจับทางด้านที่อยู่ติดผนังให้มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 5 ซม.

3. สามารถสร้างแรงกระตุ้น

  • การใช้สี แสงสว่าง
  • วัสดุพื้น ผนัง ฝ้า
  • จัดที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุไว้ ใกล้กับโรงเรียนสอนเด็กเล้ก หรือห้องสมุด
  • หน้าต่าง
    - ไม่ควรสูงเกินไป ทำให้สามารถมองเห็นวิวภายนอกได้ง่าย
    - การปิด-เปิด ไม่ควรฝืด หรือลื่นเกินไป
    - หากมีเหล็กดัด ควรมีช่องที่สามารถเปิดได้ง่ายยามฉุกเฉิน
    - มีมุ้งลวดที่สามารถกันแมลงได้ และสามารถถอดมาทำความสะอาดได้
    - กระจกที่สามารถเอื้อมถึง ควรเป็นกระจกนิรภัย
    - กรณีที่ลูกฟักเป็นกระจก ให้ติดเครื่องหมาย หรือแถบสีที่สังเกตเห็นได้ชัด
    - มีหลังคา หรือส่วนยื่นที่กันแดดฝนได้ดี
  • รั้วบ้าน - รั้วกึ่งทึบกึ่งโปร่ง มีความสูง 1.20 เมตร

4. ดูแลรักษาง่าย

  • บ้านควรจะเล็ก ถ้าเป็นหลังใหญ่ ควรจะมีห้องซึ่งง่ายต่อการปิดเปิดเป็นส่วนๆ เพื่อสะดวกสบายในการดูแล สนามหญ้ามีพุ่มไม้เตี้ยๆ เพื่อลดงานสนาม
  • ระบบสุขาภิบาล ทั่วทั้งบ้านมีการระบายน้ำที่ดี ไม่มีท่วม ขัง มีระบบถังน้ำสำรอง (ใต้ดิน หรือหลังคา)

รวมเรื่อง พัฒนาเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ "นครชัยบุรินทร์"

  

หมายเลขบันทึก: 463833เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2011 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท