20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง (6) โรคทางระบบ ตอนที่ 5 เราจะทำอะไรได้บ้าง


สิ่งที่ง่ายที่สุดที่เราจะทำเรื่องทันตกรรมป้องกัน ก็คงจะเป็นเรื่องของ Healthy eating

 

เราจะทำอะไรได้บ้าง ... บทส่งท้ายของเรื่องบรรยายจาก อ.พัชค่ะ

เรื่องของ Access เราทำได้เยอะแล้ว ก็คือ เรื่องของสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ เรามีเรื่องของ สปสช. สวัสดิการ บริการพิเศษใน รพ. Policy, Best practice guideline มีคู่มือให้ ขอความร่วมมือทุกพื้นที่ร่วมทำตรงนี้ ส่วน Education ในอนาคตของเรื่องเหล่านี้ ก็อาจต้องเพิ่มในหลักสูตร เพราะว่า ถ้าเป็นตะวันตก เขาก็สนใจเรื่อง Education ในผู้สูงอายุมานานมากแล้ว เขาก็จะศึกษาว่า ในหลักสูตรทันตแพทย์ สอนเรื่องผู้สูงอายุมานานแค่ไหน ก็จะกระจัดกระจายอยู่ในวิชาต่างๆ กระจายอยู่ แต่ยังไม่เห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน

อีกอันหนึ่งที่ ถ้าพวกเราเห็นว่าสำคัญ ... ปัญหาก็จะอยู่ที่ ชาวบ้านก็ไม่สนใจเรื่องสุขภาพช่องปาก จะทำอย่างไรดีล่ะ ให้เขาสนใจที่จะดูแลช่องปากของเขาเอง และใครจะทำหน้าที่สร้างความตระหนัก ระดับไหน ทำนโยบาย ระดับ รพ. จังหวัด หรือคลินิก

ภาษาในการสร้างความตระหนัก บอกว่า น่าจะเป็นอะไรที่เขาจินตนาการได้ เช่น ถ้าเขาเป็นแผลที่มือ เขาก็จะเดือดร้อนมาก แต่ทำไมเรื่องของโรคในช่องปาก ไม่เห็นความสำคัญ เรื่องนี้บางทีเราก็ต้องเปรียบเทียบ ว่า ทำไมเรื่องนั้นเขาให้ความสำคัญ แต่เรื่องช่องปากไม่ให้ความสำคัญ ต้องบอกว่า มันอยู่ในปากคุณนั่นแหล่ะ มันเป็นสิ่งที่คุณต้องเคี้ยวอาหาร นำมาสู่การอักเสบ ... แต่เขาก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร ???

เราจะต้องไปทำให้เขาจินตนาการตาม ให้เขาคิดเองหรือเปล่า ในการที่จะสร้างความตระหนักกับโรคในช่องปากของผู้สูงอายุในอนาคต ... จะทำอย่างไร ???

เราก็รู้ เรื่องของ plaque ทำให้เกิดการอักเสบ เป็นที่อยู่ของเชื้อโรค แล้วทำยังไงถึงจะให้คนแปรงฟันได้สะอาด ... มีฝรั่งบอกว่า ถ้าป้ายหนองที่อยู่ในปากนี่ ทาขนมปังกิน จะกินไหม แต่ทำไมคุณก็กินเข้าไปทุกวัน เพราะว่ามันอยู่ในปากของคุณนั่นเอง

ในการให้ความรู้เรื่องของการดูแลโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบ ปกติเราก็จะบอกเขาว่า ที่ง่ายที่สุด ก็คือ รู้ได้ยังไงว่า ตอนนี้เหงือกอักเสบ ... คำตอบ ก็คือ เมื่อแปรงฟันแล้วเลือดออก เมื่อใช้ไม้จิ้มฟันแล้วเลือดออก เราก็ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ภาษาไหนที่เขาฟังรู้เรื่อง บางทีแผ่นพับก็เป็นวิทยาศาสตร์ ก็พูดอย่างนี้ ทำไมไม่รู้เรื่องสักที สอนนักศึกษาก็เหมือนกัน ก็พูดเหมือนที่อาจารย์สอน และกลับมาก็มี plaque เท่าเก่า ไม่ใช่ภาษาเดียวกับคนไข้

สิ่งที่ง่ายที่สุดที่เราจะทำเรื่องทันตกรรมป้องกัน ก็คงจะเป็นเรื่องของ Healthy eating เพราะว่า Diet nutrition มันก็จะสัมพันธ์กับโรคหลายโรค คือ เรื่องของการลดน้ำตาล ทานผักผลไม้ ลดอาหารแป้ง ก็จะเป็นสิ่งที่สัมพันธ์ทั้งฟันผุ โรคอ้วน โรคหัวใจ เบาหวาน นี่คือสิ่งที่ทันตแพทย์จะมีบทบาททำได้ค่อนข้างมาก

ตัวอย่างของฝรั่ง อาหารกล่องเยอะมาก ... คนที่กำลังจะสูงอายุจะเจอโรคที่จะใช้อาหารกล่อง เขาบอกว่า เรื่องของน้ำตาลนั้น เราต้องรู้ว่า ปริมาณเท่าไรที่บอกว่าน้อย ปริมาณเท่าไรที่เขาบอกว่า มาก เราจะได้แนะนำคนไข้ได้ เช่น ปริมาณน้ำตาลที่ถือว่าน้อย คือ 2 กรัม per serving คือ 1 ถ้วยในแต่ละมื้อ หรือในอาหารแต่ละชนิด ถ้ามาก คือ 10 กรัม

ไขมันควรเป็นเท่าไร Fat ควรมีเท่าไร Fibre ควรมีเท่าไร เราก็ควรมีความรู้เรื่องเหล่านี้ด้วย เราจะได้พูดและแนะนำเขาได้ ตัวอย่างเช่น ชงโอวันติน กินอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะมีน้ำตาล 21.5 กรัม และถ้าชงจริงโดยไม่มีน้ำตาลเลย จะเป็นอย่างไร เราก็ต้องไปดูว่า ที่ขายในบ้านของเราเป็นอย่างไร นี่ก็จะเป็นอีกศาสตร์หนึ่ง ที่ในผู้สูงอายุ เราก็ต้องมองมิติประมาณนี้

สูตร Light คือ สูตรอ่อน สำหรับคนที่ไม่ต้องการอ้วนแล้ว ก็ยัง 11.3 กรัม ลดลงแล้ว แต่ก็ยังสูงกว่า 2 กรัม ที่แนะนำ เราก็ต้องมีความรู้ในเรื่องเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย

ในเรื่อง Nutritional claim ก็ต้องระวังเหมือนกันว่า ถ้า No added sugar แปลว่าอะไร - ไม่มี sugar ใดๆ ทั้งสิ้น ถ้า low sugar ก็คือ น้อยกว่า 5 กรัม ต่อ 1,000 กรัม serving ... Reduced sugar ก็คือ มี sugar ลดลง คือ มันมีคำหลอกเยอะในการขายของปัจจุบันนี้ ก็เลยต้องมีความรู้ตรงนี้มากขึ้น

เรื่องของความเค็ม สำหรับฝรั่ง เขาก็จะแนะนำให้ไปซื้ออาหารสด ถ้าซื้ออาหาร แช่แข็ง ก็ต้องบอกว่า No added salt นะ ให้ซื้อเนื้อสัตว์สดมากิน ให้ใช้เครื่องเทศมากขึ้นในการจะปรุงอาหาร และหาอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ ถ้าซื้ออาหารกระป๋องให้ล้างอาหารออกเสีย 1 รอบ นี่ก็คือ โลกของผู้สูงอายุที่กินอาหารฝรั่ง ก็หวังว่าเราจะไม่เป็นเช่นนั้น

นั่นก็คือ ตอนนี้ก็เปลี่ยนวิธีคิด วิธีกินไปเยอะ เราก็ต้องตามเขาให้ทัน ... เพราะว่าเราอยากให้เขาคงสิ่งที่ดีดีไว้

ท้ายที่สุดก็คือ ทำไมเราต้องดูแลเขา เพราะว่า เราต้องคงสภาพช่องปากในสิ่งที่ดีดีไว้ ให้นานๆ เราไม่อยากจะให้มีฟันเหลืออยู่ แล้วกลายเป็น secondary caries, root caries มีฟันผุรอบๆ crown, abutment ฟันปลอม ถ้าเจอถึงขนาดนั้น ก็จะเจอกันเยอะ เพราะฉะนั้น ถ้ามีฟันเหลืออยู่ ก็ต้องเหลืออยู่ในสภาพที่ดีด้วย รักษาฟันธรรมชาติให้ใช้งานได้ สะอาด และต้องช่วยกัน เพื่อไม่ให้คนไข้ล้นมือในอนาคต และคนไข้ก็จะได้ไม่เป็นโรคเรื้อรังที่จะเป็นภาระ ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป้วยเรื้อรังเหล่านี้

และผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะที่ดีตลอดอายุขัย เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้น เราก็ต้องลด disability ในช่องปาก และเรื่องของโรคเรื้อรังให้มากที่สุด และสุดท้ายเราก็ต้องดูสุขภาพช่องปาก ควบคู่ไปกับการดูแลทางร่างกาย สิ่งที่เป็นสิ่งจำเป็นมาก ในบทบาทของเราที่เป็นทันตบุคลากร ต้องเพิ่มบทบาทเหล่านี้ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้นำไปสู่สิ่งสูงสุดที่เราอยากจะทำงานในด้านนี้ ก็คือ คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

คนเรา ... ถ้ารู้สึกแก่ ก็จะแก่ ... ถ้าไม่รู้สึกแก่ ก็จะไม่แก่

... มันก็จะอยู่ที่ใจของเรา จะแก่หรือไม่แก่ ... ก็ต้องทำให้ผู้สูงอายุรู้สึก active แล้วถ้ารู้สึกไม่แก่ ก็จะไม่มีภาวะ lonely ... กินได้ นอนหลับ แข็งแรง อันนี้เป็นความจริง ... ที่เป็นเรื่องขององค์การอนามัยโลก ที่เขาใช้คำว่า Active aging ต้อง active มีความสุข แล้วท่านจะไม่แก่ ไม่เป็นโรค กระตุ้นให้ท่านมีความสุข ทำโน่นทำนี่ก็ถูกต้องแล้ว

รวมเรื่อง 20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง

 

หมายเลขบันทึก: 178575เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2008 06:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท