การเงิน การคลัง พัสดุ ... เรื่องไม่ยากที่จะ ลปรร. (2) ท่านรองฯ ดิษฐ์ กล่าวเปิด


นี่คือตัวอย่างว่า ในระบบที่เราทำกันอยู่นี้ มันก็ยังมีสิ่ง ซึ่งอาจจะต้องมีการเรียนรู้ ... เรียนรู้เพื่ออะไร ... เรียนรู้เพื่อที่ว่า เราจะได้ทำงานได้ดีขึ้น เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง

ท่านรองอธิบดีกรมอนามัยค่ะ น.พ.ประดิษฐ์ วินิจจะกูล ได้มากล่าวต้อนรับในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าบ้านเมืองเชียงใหม่ (บ้านท่านอยู่ที่นี่ค่ะ ดิฉันไม่แน่ใจว่า เชียงใหม่ หรือลำปาง) และเปิดการประชุมในฐานะที่เป็นเจ้าภาพงานสายบริหารของกรมอนามัย

ก่อนอื่น ผอ.ดาริณี นาคะประทีป ผอ.กองคลังค่ะ กล่าวรายงานในเบื้องต้นว่า

  • กรมอนามัยได้ดำเนินการในเรื่องการเงิน การคลัง การพัสดุ เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล ที่ได้นำระบบบริหารการเงินการคลัง และพัสดุภาครัฐ เข้าสู่ระบบ GFMIS มาตั้งแต่วันที่ 1 ตค.2547
  • เป็นการปรับระบบการปฏิบัติงานให้ทันความก้าวหน้าทางวิทยาการ และกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเริ่มตั้งแต่การจัดการสารสนเทศให้มีความเป็นระบบ ครบวงจร มีมาตรฐาน และมีเครือข่ายรองรับทุกระบบงาน ได้แก่ ระบบงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบพัสดุ ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล และระบบบัญชีต้นทุน ควบคู่กับการพัฒนาการจัดการด้านกฎหมาย การเงินการคลัง และบริหารงานพัสดุภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส
  • และเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั้งส่วนกลาง และศูนย์ฯ ให้ได้มีความรู้ ทั้งวิทยาการ แนวทางการปฏิบัติ และมีการ ลปรร. ประสานประสบการณ์ให้มีความเข้าใจที่ดี
  • ในครั้งนี้ จะมีผู้เข้ารับการอบรมประมาณ 180 คน และวิทยากร จาก กรมบัญชีกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี
  • รวมทั้ง การ ลปรร. ซึ่งโดย พญ.นันทา อ่วมกุล และคณะ จาก สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย เองด้วยค่ะ

ท่านรองฯ ดิษฐ์ ได้กล่าวเปิด และให้ข้อคิดกับผู้เข้าประชุมไว้ว่า

  • ครั้งนี้พวกเราได้มาถึงเชียงใหม่ ... มาแล้วนี่ ก็ต้องชวนกันเก็บเกี่ยวความรู้ความเข้าใจ อย่างน้อยที่สุด คือ สรุปว่า ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมานี้ เราได้ทำอะไรไปบ้าง มีบทเรียน มีข้อผิดพลาด หรือมีอะไรใหม่ๆ นะครับ
  • ย้อนกลับไป ต้องขอบคุณทุกคน เพราะในปีงบประมาณที่ผ่านมา ถือว่า หน่วยงานทางด้านการเงิน หรือที่เราเรียกกันว่า หน่วยสนับสนุน หรือ Back Office ทำงานกันได้มีประสิทธิภาพ อย่างน้อยที่สุดก็ในเรื่องของการใช้จ่ายงบประมาณ เราทำกันได้ค่อนข้างดี ทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค
  • แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของระบบ GFMIS ซึ่งจะบอกว่า ใช้กันมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่
  • อาจจะต้องมานั่งคุยกันอีกนิดหนึ่งว่า จุดที่มีปัญหานั้น จะแก้กันอย่างไร
  • เพราะผมจำได้ตอนเป็น สสจ. รหัสเบิก GFMIS สสจ. กับวิทยาลัยพยาบาล รหัสเดียวกัน วันดีคืนดีเงินผมหายไป 30,000 บาท ตามล่าหาตั้งนาน สุดท้ายบอกว่า วิทยาลัยพยาบาลเบิกไปแล้ว ก็ต้องวิ่งไปหาวิทยาลัยพยาบาลว่า เขาเบิกไปได้อย่างไร อะไรต่างๆ กว่าจะเอาเงิน 30,000 กลับมาได้แทบแย่เหมือนกัน เพราะว่า ความไม่เข้าใจในระบบตรงนั้น
  • นี่คือตัวอย่างว่า ในระบบที่เราทำกันอยู่นี้ มันก็ยังมีสิ่ง ซึ่งอาจจะต้องมีการเรียนรู้ ... เรียนรู้เพื่ออะไร ... เรียนรู้เพื่อที่ว่า เราจะได้ทำงานได้ดีขึ้น เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง
  • และเหนือสิ่งอื่นใด เราคงไม่อยากต้องพบกับกรรมการที่ต้องมาตรวจสอบนั่น ตรวจสอบนี่ และมาถามอะไรต่ออะไร เราคงจะหลีกเลี่ยงในสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด
  • เราจะได้มาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากวิทยากร ในที่นี้คือเรื่องต้นทุนต่อหน่วย ... หลายคนคงสงสัยว่า ทำไปทำไม เกี่ยวข้องอะไรกับการเงิน
  • ถ้าพูดถึง PMQA ... การบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และเราเป็นหน่วยสนับสนุน เรื่องต้นทุนนั้นมีความหมาย ...
  • เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ เขาก็รู้ว่า เขามีหน้าที่เบิกเงิน ออกไปทำงานแล้วก็เบิกเงิน ถ้ามีประชุม ก็จัดกิจกรรม เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าวัสดุ แล้วแต่เขามีอะไรให้เบิกก็เบิกไป แต่เขาไม่มีข้อมูล และไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์พอที่จะมานั่งคิดว่า กิจกรรมที่เขาทำนี้ ต้นทุนลงทุนไปแล้วเท่าไร
  • เพราะฉะนั้นตัวเลขนี้จะใช้สำหรับการของบประมาณ ทุกวันนี้จะบอกว่า สาธารณูปโภคจ่ายปีหนึ่ง 2 ล้าน กระทรวงบอกว่า แบ่งแล้วได้ 2 แสนเอาไปก่อน และก็ได้ 2 แสนแค่นั้น ถามว่าที่เหลือล่ะ ของเรานั้นยังดีมีเงินบำรุง ผมเห็นเวลาผมไปนั่งประชุมนี่ มีคนที่ติดค่าสาธารณูปโภคมากที่สุด และก็รอปลายปี มีเงินเหลือ ก็ขอเปลี่ยนงบประมาณอะไรต่างๆ บางปีโชคดีเขาอนุญาต บางปีโชคร้าย ห้ามเปลี่ยน ...
  • เพราะฉะนั้น เรื่องของการทำต้นทุนนี่เป็นเรื่องใหม่ และอาจจะยุ่งยาก แต่มันเป็นประโยชน์ มันเป็นความท้าทายใหม่ๆ เป็นเรื่องที่เราทดสอบว่า เราจัดการเรื่องนี้ได้ เราหาตรงนี้ได้ พูดง่ายๆ ว่า เราจะรู้สึกว่า เป็นกลไกอันหนึ่งที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดความยุติธรรม และภาษาของการบริหารยุคใหม่ คือ ตอบสนองต่อลูกค้า ช่วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พัฒนาความรู้ของตนเอง
  • ในเรื่องพวกนี้ กิจกรรมอันหนึ่งจริงๆ แล้ว ผมเคยบอกว่า ขณะนี้เราทำงานอยู่ 3 เรื่อง
    ... เรื่องที่หนึ่ง ตัวชี้วัด กพร. ก็ต้องทำกิจกรรมให้ตรงกับตัวชี้วัดของ กพร.
    ... เรื่องที่สอง ก็ไปทำเรื่อง ตัวชี้วัด PMQA
    ... และเรื่องที่สาม ก็ไปทำเรื่องงานปกติประจำ
    ... และควรทำให้สามเรื่องให้เป็นเรื่องเดียวกัน ... ก็ค่อยเรียนรู้ไปก็แล้วกัน เพราะในสายตาของผมนั้น มันเป็นเรื่องเดียวกัน
    ... เพียงแต่ว่าท่านทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ท่านควรจะต้องตอบคำถามว่า สิ่งที่ท่านทำนี้ มันตอบสนองตัวชี้วัดตัวไหนของ กพร. และมันเข้าเกณฑ์ของ PMQA หรือเปล่า
    ... แต่ตอนนี้มันเหมือนกับว่า กพร. มาทางหนึ่ง PMQA มาทางหนึ่ง และแผนงาน / โครงการรัฐบาลมาอีกทางหนึ่ง
    ... ผมก็เห็นว่าทำกัน 3-4 เรื่อง
    ... แต่ถ้าสมมติว่า ยอมตัดใจสักนิดหนึ่งที่ผมคิดว่า เรื่องแผนงานของรัฐบาลเป็นเรื่องใหญ่ ยึดอันนี้เป็นหลัก และถามว่า ที่เราทำนี้ตอบสนองตัวชี้วัดอย่างไร ถูกต้องตาม PMQA อย่างไร ปีนี้อาจจะยังไม่ได้ หรือได้นิดหน่อย ก็จะได้เป็นข้อเตือนว่า ปีหน้า โครงการเราต้องสนับสนุนมากกว่านี้อีกหน่อย ปีหน้าก็ตั้งว่า กิจกรรมนี้เราต้องมีการพัฒนามากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เราก็ต้องคิดกันในลักษณะนั้น ไม่งั้นเราก็จะอยู่ในวังวนของความเหน็ดเหนื่อย งานอันนี้ก็มา อันนี้ก็มาอีก
  • อันสุดท้าย ก็อยากให้
  • พวกเราทำงานอย่างมีความสุข ... ผมพูดมาหลายหนแล้ว แต่เรื่องการเงินนี่ลำบาก กลุ่มอื่นนี่ ผมพูดว่า ปีหนึ่งทำงาน 10 เดือนพอ แต่การเงินทำ 10 เดือน อีก 2 เดือนไม่ทำ มีเรื่องแน่นะครับ ก็คงจะพูดในภาพรวมว่า ผมก็พยายามจะคุยกับกลุ่มอื่นๆ ว่า จริงๆ แล้ว แผนงาน / โครงการ ควรรีบเร่งรัดให้เสร็จ และ 2 เดือนสุดท้ายเป็นเดือนที่เราต้องคอยตรวจสอบ และประเมิน มันก็จะได้ไม่แน่นมากนัก
  • เพราะฉะนั้น ทำงานให้มีความสุขก็คือ
    หนึ่ง คือ อย่าเก็บงานต่างๆ สุมใส่ตัวท่านให้มากเกินไป อะไรที่เสร็จได้ก็เสร็จซะ อย่าค้างคา
    ... มันยังไม่ได้ เดี๋ยวรออันนั้นก่อน อันนี้ก่อน ที่จะเริ่มอันนั้น เริ่มอันนี้ ถ้าอย่างนี้ไม่ไหว ดูให้ดีดี ว่า อะไรที่เป็นเรื่องเป็นราวที่จะต้องทำ ก็ทำ อะไรที่ไม่ควรจะทำก็ไม่ต้องทำ บางสิ่งบางอย่าง นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้ว เรายังถูกบ่น ว่า เอ ทำไมต้องส่งอันนั้น อันนี้ ทำไมต้องเติมอันนี้ อะไรต่างๆ ไปถามคนโน้นแล้ว ก็ว่าไม่เห็นต้องทำ ทำไมการเงินให้ทำ เพราะฉะนั้นก็อย่าไปจุกจิกจู้จี้กับงานพวกนี้มากนัก
    สอง คือ บรรยากาศในการทำงาน ผมไม่ว่า ถ้าใครจะทำงานไป ฟังเพลงไป อยากจะลุกเดิน เต้น ไม่เป็นไร บรรยากาศในการทำงานนี่สำคัญ ให้มีบรรยากาศสบาย สบาย ค่อนข้างผ่อนคลาย คุยกันสนุกสนาน กินขนมบ้าง อะไรบ้าง (... แต่เรื่องกินขนมนี่ ยั้งๆ ไว้บาง ไม่งั้นเดี๋ยวกองโภชน์เขามาว่าผม กำลังทำไร้พุงอยู่ ...) แต่ผมไม่อยากเห็นบรรยากาศที่คล้ายๆ กับว่า หวาดระแวงกัน จะทำให้กังวลกันไปหมด สิ่งนี้จะทำให้การทำงานไม่มีความสุข
    สาม คือ ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า อยากได้อะไร ที่อยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ ผมพูดหลายครั้งว่า ผมไม่เชื่อว่า พวกเรามาทำงานเพราะอยากได้เงิน เงินเป็นปัจจัยหนึ่ง ... แต่ผมว่า ข้าราชการทั้งหลายที่นั่งทำงานอยู่ตรงนี้นี่ อยากได้ความสำเร็จ เพราะงานที่สำเร็จสักอย่างหนึ่ง มันยิ่งฟิตน่าดูเลย ยิ่งบอกว่า ได้รับคำชมเชยว่า อันนี้มีประสิทธิภาพดีแล้ว เราก็จะรู้สึกว่าเราพอใจ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ เพราะฉะนั้น เราต้องดูให้ได้ว่า เราต้องการขนาดไหนนะครับ ด้วยศักยภาพ ความสามารถ และสถานะทั้งหลายที่เรามีอยู่ ตรงนี้ก็คือ ความพอประมาณ ถ้าเราไม่ได้ตั้งความหวังให้สูงจนเกินไป เราก็จะไม่ผิดหวัง ... ชีวิตของเรา ขอให้มีครอบครัวที่ดี และมีเงินพออยู่พอกิน มีกิจกรรม ได้ทำงานที่อยากทำ ผมว่าแค่นี้ไม่มีมากกว่านี้แล้ว
    เรื่องสุดท้ายก็คือ การพัฒนาตัวเอง อันนี้จำเป็น พวกท่านอาจไม่ค่อยรู้สึก
    ... แต่ถ้าเวลาท่านไปเจอคนไข้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ จะเห็นชัดเจน คือ ความมีคุณค่าของชีวิตไม่มี หลายคนอาจบอกว่า มีกองทุนให้แล้ว มียาให้แล้ว ไม่ต้องไปทำงานหรอก
    ... อันนี้สำคัญ คำว่า ไม่ต้องไปทำงาน เขาก็รู้สึกว่า ชีวิตเขา ถ้าตื่นขึ้นมาต้องไปขอเงิน ขอให้คนนั้นช่วยทำ และบอกว่า เขาป่วยแล้ว ให้เขาอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร เขาก็จะหงอยลงไปเรื่อยๆ เขาจะรู้สึกว่า ชีวิตเขาไม่มีอะไร ไม่ได้สร้างอะไรให้เกิดกับคนอื่นเลย นั่งไปวันๆ พวกนี้จะเสียชีวิตเร็ว
    ... เพราะฉะนั้น เรื่องการพัฒนาตัวเอง เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ตัวเองมีคุณค่า และมีความสามารถที่จะทำอย่างนั้น อย่างนี้ มีความสนุกที่จะดำเนินชีวิตต่อไป ถึงแม้ว่าจะหมดชีวิตราชการไปแล้ว เราก็อยากอันโน้นอันนี้ ศึกษาค้นคว้าไปเรื่อยๆ ชีวิตเราก็จะอยู่ต่อไป
  • ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ผมอยากให้พวกเราลองไปทบทวน คือ
    ... ผมอยากเห็นบรรยากาศการทำงานที่มีความสุข และเอื้อเฟื้อกัน อยากให้รู้สึกสบาย สบาย
    ... ใจผม อยากให้มีการพบปะกันบ่อย 3-4 เดือน เราพบกันสักครั้งหนึ่ง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ สมรรถภาพขององค์กร ... เราน่าจะประหยัดในส่วนอื่น และเอาค่าใช้จ่ายมาใช้ในตรงนี้ เพื่อให้เกิดความรู้สึก ความสัมพันธ์ที่ดี และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานน่าจะดีกว่า
  • หวังเป็นอย่างยิ่งว่า มาประชุมครั้งนึ้ก็คงจะได้ทั้ง มาสัมผัสอากาศเย็นๆ เมืองเชียงใหม่ มาดูความเจริญ ที่ยังดูอุโมงค์แล้วยังสวย เพราะว่ารถไม่แน่น

รวมเรื่อง การเงิน การคลัง พัสดุ ... เรื่องไม่ยากที่จะ ลปรร.

 

หมายเลขบันทึก: 143881เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2007 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ดิฉันชอบในหลายๆ ข้อความที่ท่านรองฯ ดิษฐ์ ได้พูดไว้นะคะ อาทิ
  • "... เรียนรู้เพื่ออะไร ... เรียนรู้เพื่อที่ว่า เราจะได้ทำงานได้ดีขึ้น เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง"
  • "เราจะรู้สึกว่า เป็นกลไกอันหนึ่งที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดความยุติธรรม และภาษาของการบริหารยุคใหม่ คือ ตอบสนองต่อลูกค้า ช่วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พัฒนาความรู้ของตนเอง"
  • "อะไรที่เป็นเรื่องเป็นราวที่จะต้องทำ ก็ทำ อะไรที่ไม่ควรจะทำก็ไม่ต้องทำ"
  • "เราต้องดูให้ได้ว่า เราต้องการขนาดไหนนะครับ ด้วยศักยภาพ ความสามารถ และสถานะทั้งหลายที่เรามีอยู่ ตรงนี้ก็คือ ความพอประมาณ"
  • "การพัฒนาตัวเอง เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ตัวเองมีคุณค่า และมีความสามารถที่จะทำอย่างนั้น อย่างนี้ มีความสนุกที่จะดำเนินชีวิตต่อไป "

เรียน ท่านเพื่อนร่วมทาง

  •  มาเรียนรู้ทีมงานกรมอนามัย และ
  • ขอแสดงความยินดีกับ Classmate JJ ท่านรองประดิษฐ์ ศิษย์เก่า MD_CU 26 วิสัยทัศน์ไกล
  • ขอบคุณค่ะ อ.JJ
  • ร่วม confirm ค่ะ "ศิษย์เก่า MD_CU 26 วิสัยทัศน์ไกล"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท