แผนดำเนินงานที่ครอบคลุมภารกิจหลัก


สำหรับสำนักงานเลขานุการในการประเมินดัชนีที่ 1.2 การจัดทำแผนดำเนินงาน ก็จะมักมีปัญหาเรื่องแผนดำเนินงานไม่ครอบคลุมภารกิจหลัก
     วันนี้ความสนใจเรื่องการประเมินคุณภาพ มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรฐาน ได้รับทราบจากผศ.ดร.วิบูลย์ในการประชุม QA KM และ กพร. ว่ามาตรฐานและตัวบ่งชี้มีการปรับเปลี่ยนเหลือ 7 มาตรฐาน และการประเมินคุณภาพภายนอก โดย สมศ. รอบ 2 ในเดือนสิงหาคม 2551 ใช้ข้อมูลของปีการศึกษา 2548-2550 ดังนั้นข้อมูลจะต้องจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เป็นงานที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบครับ วันนี้ผมเองได้ไปขอคำแนะนำในการคำนวณประมาณการรายรับปี 49 จากผู้อำนวยการกองแผนงาน และผู้อำนวยการกองแผนงานได้เสนอแนะให้รวมโครงการที่เป็นลักษณะงานเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อที่จะไม่ให้มีโครงการมากเกินไป สำหรับสำนักงานเลขานุการในการประเมินดัชนีที่ 1.2 การจัดทำแผนดำเนินงาน ก็จะมักมีปัญหาเรื่องแผนดำเนินงานไม่ครอบคลุมภารกิจหลัก หน่วยงานในสำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ ก็มีปัญหาเรื่องมีโครงการไม่ครบทุกหน่วยงาน คือ งานธุรการ งานการเงินและพัสดุ งานนโยบายและแผน งานบริการการศึกษา และงานห้องปฏิบัติการ มีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการที่ประเมิน ให้ใส่ผู้รับผิดชอบงานลงไปด้วยในโครงการ เพื่อให้มีงานที่รับผิดชอบครบทั้ง 5 งาน ผมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสำนักงานเลขานุการบางหน่วยงานก็บอกว่า โครงการจะต้องเป็นโครงการของสำนักเลขานุการเอง ไม่ใช่โครงการที่สนับสนุนงานของคณะ เป็นคนละมุมมอง ............. ใครมีแนวคิดที่น่าสนใจ ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานด้านแผนงานดำเนินงานที่ครอบคลุมภารกิจหลักของสำนักงานเลขานุการครับ (ระยะนี้เป็นช่วงของการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2549 .... จะได้ตั้งรับกันทันครับ)
หมายเลขบันทึก: 3084เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2005 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณบอยหยิบยกปัญหาที่เข้าทางการประเมินรอบใหม่ได้เหมาะเหม็งดีจริงๆ

ดิฉันเสนอความเห็นว่าดังนี้นะค่ะ

  • คุณบอยลองกลับไปให้งานแต่ละงานประเมินงานของตนเองว่าผลงานในรอบปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แล้วเขียนให้ทราบหน่อยว่า อยากทำอะไรให้ดีขึ้นอีกในปี งปม. ใหม่ (พยายามอย่าให้มีรูปแบบที่ยุ่งยาก เขียนตามสบาย และให้เขาเขียนมุ่งเรื่องงาน อย่ามุ่งเรื่องคน)
  • ถ้างานไหน มีผลการประเมินจากผู้รับบริการ  ก็ให้นำมาดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะข้อบกพร่อง มีผู้เสนอแนะให้แก้ไข หรือปรับปรุงอย่างไร
  • คุณบอย ในฐานะ หน.สนง. ประเมินงานแต่ละงานด้วยตนเอง แล้วบันทึกไว้ว่า งานนั้นๆ ควรพัฒนาอะไรให้ดีกว่าที่เป็นอยู่
  • นำผลที่ได้จากข้อ 1 ถึง 3 มาวิเคราะห์ และพิจารณาว่า แต่ละงาน มีปัญหาเรื่องใดที่ควรกระทำเป็นการเร่งด่วนที่สุด  แล้วนำข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วนี้เสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง
  • เมื่อวิเคราะห์ได้อย่างถ่องแท้แล้วว่า แต่ละงานยังมีปัญหาในเรื่องใดที่ควรแก้ไข ปรับปรุง ให้นำโจทย์เหล่านั้น ไปให้แต่งาน คิดและเขียน ออกมาเป็นโครงร่างงานวิจัย เพื่อแก้ปัญหา (ถ้างานไหน ไม่เคยเขียน ให้ปรึกษารองคณบดีฝ่ายวิจัยก็ได้ ให้ช่วยสอน)
  • ภายในสาระของโครงร่างงานวิจัย จะมีแผนดำเนินงานเป็นขั้นเป็นตอน ตามกรอบปี งปม. อยู่ด้วย พร้อมชื่อผู้รับผิดชอบ ดังนั้น คุณบอย ก็จะมีแผนดำเนินงานของแต่ละงาน ที่บังเกิดจากผลการประเมินตนเอง และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนเป็นเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ดำเนินการด้วย

นอกจากจะได้แผนดำเนินงานที่ครอบคลุมภารกิจหลักแล้ว ยังจะได้ผลงานวิจัยสถาบัน ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงด้วยค่ะ  อ่อ!  การดำเนินตามแผน ไม่จำเป็นต้องใช้เงินก็ได้นะค่ะ 

อยากทราบประวัติความเป็นมา/โครงสร้าง

วิสันทัศน์และข้อมูลอื่นของสำนักเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท