ระเบียบวิธีวิจัยว่าด้วยเรื่อง "ผู้ทรงสิทธิ" ในหลักประกันสุขภาพ


เป้าหมายการวิจัย

(เดี๋ยวเอามาแปะนะคะ)

 

วิธีวิจัย 

 

ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยในสองรูปแบบทั้งการวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงประสบการณ์ กล่าวคือ

 

ในส่วนของการวิจัยเอกสาร(ทั้งที่เป็นหนังสือ เอกสาร รวมถึงข้อมูลอิเล็คทรอนิก)ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญทั้งต่อการศึกษาทบทวนกฎหมายภายในของไทยและแนวนโยบายแห่งรัฐ[1]ว่าด้วยสิทธิในหลักประกันสุขภาพ รวมถึงการทบทวนวรรณกรรม โดยได้ทำการศึกษาจากบทบัญญัติที่ปรากฎใน รัฐธรรมนูญ[2] พระราชบัญญัติ[3] พระราชกฤษฎีกา[4] กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง[5] ระเบียบ[6] และแนวคำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง ผ่านฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกของราชกิจจานุเบกษา[7] , สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา[8]  ,ศาลฎีกา[9] และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ[10] เป็นต้น

 

และในส่วนของการวิจัยเชิงประสบการณ์ ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรม[11] จากหลากหลายวงการ แล้วถอดประสบการณ์ที่ได้มาประมวลเป็นองค์ความรู้  เพื่อนำเสนอเป็นข้อค้นพบ ข้อโต้แย้ง และข้อสนับสนุน เกี่ยวกับสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ กระบวนการทั้งหมดไม่อาจสมบูรณ์ได้หากปราศจากหัวใจสำคัญ คือ การประชุมร่วมกับที่ปรึกษา และนักวิจัยท่านอื่นๆในชุดโครงการ เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล และรายงานความคืบหน้า อันนำไปสู่การเขียนรายงานวิจัยในท้ายที่สุด

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

 

การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใคร่จะทราบเป็นอย่างยิ่งว่าระบบกฎหมายไทยปฏิเสธสิทธิในหลักประกันสุขภาพของบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยจริงหรือไม่  และมีการตีความตัวบทกฎหมายว่าด้วยผู้ทรงสิทธิไปในแนวทางใดบ้าง 

 



[1] อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10, ร่างข้อเสนอแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10,  นโยบายการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุขปี 2550,

[2] อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

[3] อาทิ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545, พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550, พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537, พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533, พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550

[4] อาทิ พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523, พระราชกฤษฎีกากำหนดให้บิดามารดา คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชนได้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545  พ.ศ. 2549

[5] อาทิ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ พ.ศ. 2546 , ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 และ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การยกเลิกค่าบริการทางการแพทย์ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549

[6] อาทิ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2544 ,ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2544

[7] http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp

[8] http://www.krisdika.go.th/home.jsp [9] http://deka2007.supremecourt.or.th   โดยใช้ keyword “พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545”, พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, หลักประกันสุขภาพ,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,สปสช แต่ไม่ปรากฎว่ามีคำพิพากษาใดเกี่ยวด้วยสิทธิในหลักประกันสุขภาพ

[10] อาทิ ทรัพยากรสารสนเทศซึ่งจัดทำและรวบรวมโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เผยแพร่ใน http://library.nhso.go.th/pages/nhsodoc/nhsodocfront_new.html

[11] อาทิ นักกฎหมายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นักวิชาการสายกฎหมายปกครอง นักวิชาการสายกฎหมายระหว่างประเทศ ตุลาการ และผู้เกี่ยวข้อง

หมายเลขบันทึก: 165322เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 01:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท