รอบพุงอันตรายต่อหัวใจมากกว่ารอบเอว


รอบพุงอันตรายมากกว่ารอบเอว

โลกของเรามีคนอ้วนมากกว่า 300 ล้านคน เดิมเราเชื่อกันว่า อ้วนที่ไหนก็ “ไข(มัน)” เหมือนกัน

การศึกษาใหม่ๆ พบว่า ไขมันแต่ละที่มีพิษภัยไม่เหมือนกัน ไขมันที่ท้องหรือพุงมีแนวโน้มจะน่ากลัวมากกว่าไขมันที่อื่น เช่น ต้นขา เอว ฯลฯ

 

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานการศึกษาวิจัยประชากรมากกว่า 27,000 คนจาก 52 ประเทศทั่วโลกโดยทีมของศาสตราจารย์ซาลิน ยูซุฟ จากมหาวิทยาลับออนตาริโอ แคนาดาพบว่า ไขมันรอบพุง(ท้อง)หรือที่เรียกว่า “พุงเบียร์ (classic beer gut)” เนื่องจากคนที่กินเบียร์มักจะมีรูปร่างอ้วนแบบนี้ มีอันตรายมากกว่าไขมันที่ต้นขา

 

สาเหตุอาจเป็นจากไขมันรอบพุงปล่อยสารเคมีหลายอย่างออกมา ทำให้เซลล์ในเนื้อเยื่อต่างๆ ดื้อต่ออินซูลิน เมื่อเซลล์ร่างกายดื้อต่ออินซูลินจะทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ้น น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ตามมาด้วยเบาหวาน และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นอกจากนั้นบริเวณเอวยังมีเนื้อ(กล้ามเนื้อ)มากกว่าพุง(ท้อง)

 

สถิติทั่วโลกพบว่า โรคอ้วนพบมากในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ฯลฯ และพบน้อยที่สุดในเอเซีย แต่เมื่อพิจารณาสัดส่วนรอบพุงต่อรอบเอว (waist-to-hip ratio) แล้วพบว่า กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอารเบีย อียิปต์ ฯลฯ เอเชียใต้ เช่น อินเดีย ปากีสถาน ฯลฯ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เช่น สิงคโปร์ ไทย ฯลฯ มีปัญหาเรื่องสัดส่วนรอบพุงต่อรอบเอวมากกว่า

นั่นหมายความว่า โรคหัวใจกำลังจะพลิกผักจากโลกตะวันตก(ฝรั่ง)มาสู่โลกตะวันออก(ตะวันออกกลางและเอเชีย...)มากขึ้นด้วย

 

เราๆ ท่านๆ ที่ต้องการความปลอดภัยจากโรคเส้นเลือดหัวใจน่าจะหันมากินอาหารประเภทพืชผักให้มากขึ้น อาหารประเภทหวาน มัน เค็มให้น้อยลง(หวานมันทำให้อ้วน เค็มทำให้เสี่ยงต่อโรคความดันเลือดสูง) แอลกอฮอล์(เหล้า เบียร์ ไวน์...)ทำให้ลงพุงแบบถังเบียร์ได้ง่าย เลิกเสียเลยดีที่สุด ออกกำลังกายให้มากขึ้น และใช้แรงในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น รอบพุงจะได้ไม่มากกว่า...รอบเอว

 

หมายเหตุ:

  •  นิยาม “อ้วน” ในที่นี้คิดตามดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI) มากกว่า 30 โดยใช้ส่วนสูงเป็นเมตรตั้ง หารด้วนน้ำหนักเป็นกิโลกรัม 2 ครั้ง (= height in m. / weight in kg2)

แหล่งข้อมูล:

  • ขอขอบคุณ > www.reuters.com > Home > News > Health > Paul Majendie. Waist and hips best heart attack checks for obese. November 3, 2005.
  •  นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้ท่านนำไปใช้เผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
หมายเลขบันทึก: 7076เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2005 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท