AARตลาดนัดความรู้วันที่2พย.


แมวมารุม..มาดู..มองเห็นปลาทูนิ่งอยู่ในเข่ง..เตงตะเล้งเต่งเต็ง..ต้องทอดกินเองถึงจะอิ่มได้..

ในวันที่2พ.ย.นี้นอกเหนือจากเป็นวันครบรอบการก่อตั้งโรงพยาบาลแล้วในกิจกรรมงานตลาดนัดความรู้(KM)และCQIช่วงบ่ายๆยังจะมีการเชิญวิทยากรพิเศษมาบรรยายในหัวข้อเรื่อง "เรื่องเล่าเร้าพลัง :จากKMมาสู่ Best Practice"มีพี่เล็กศุภลักษณ์เป็นผู้ดำเนินรายการ..ฉันมีความสนใจจึงลงทะเบียนขึ้นไปฟังและร่วมลงคะแนนให้กับบอร์ดของหน่วยงานต่างๆที่ประทับใจ...

วิทยากรที่มาบรรยายมีทั้งหมด4 ท่าน คือพญ.นันทา อ่วมกุลจากกรมอนามัย,นพ.ศุภมิตรและนพ.ธนรักษ์ จากกรมควบคุมโรคและผอ.สถาบัน

เริ่มต้นด้วยคุณหมอนันทาได้กรุณาเล่าประสบการณ์ในการจัดการความรู้และส่งที่อาจารย์ได้ทำลงไป(กระบวนการทำ)ฉันชอบการให้รายละเอียดที่คุณหมอเล่าถึงการให้พนักงานขับรถเข้ามาร่วมด้วยและการเห็นผลเปลี่ยนแปลงในทางบวกที่เกิดขึ้นหลังจากที่เริ่มนำKMมาใช้ซึ่งสิ่งที่อาจารย์เล่ามาฉันสังเกตจากตัวเองก็เห็นจริงว่าการให้โอกาสพูดหรือเล่าเรื่องและมีคนตั้งใจฟังและช่วยต่อยอดความคิดหรือความรู้ให้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ทำให้คนเล่ามีความสุข ลดอาการวีนหรือไม่พึงประสงค์ให้น้อยลงและอยากทำความดีเพิ่มมากขึ้นแต่สิ่งนี้ก็คงจะคล้ายกับที่คุณหมอธนรักษ์พูดถึงว่าKMใครทำใครได้และให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะการทำKMแบบต่างๆรวมถึงธรรมชาติของBest Practiceว่ามันไม่หยุดนิ่งหรือคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้นำไปใช้ต่อก็จะต้องมีการวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้และรวมถึงวงจรในการทดลองใช้และพัฒนาในเวอร์ชันที่เป็นของตนเองด้วยเช่นกัน..ฉันชอบคำคมที่อาจารย์เอาเป็นไตเติ้ลก่อนบรรยายซึ่งเป็นของJuvenal:All wish to possess knowleadge but few,comparative speaking,are willing to pay the priceทำให้เกิดความคิดที่อยากจะขยันและขวนขวายในการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้นสำหรับฉันการให้เวลาและเงินส่วนตัวเพื่อได้เรียนรู้หรือมีประสบการณ์อะไรบางอย่างที่สนใจถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุดอย่างหนึ่ง

..อจ.ศุภมิตรออกตัวก่อนเริ่มบรรยายว่ามาแบบไม่แน่ใจว่าเตรียมเนื้อหามาเข้าเป้าหรือไม่แต่อยากชื่นชมว่าอาจารย์เล่าเรื่องModelปลาทูซึ่งฉันไม่ค่อยจะรู้เรื่องเลยได้ดีมากทำให้ฉันถึงบางอ้อว่ามันคืออะไร..แล้วทำไมในKMจะต้องพูดถึง

โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการทำงานของกรมที่ผ่านมาสองเรื่องมาประกอบคือ

เรื่องการนำวัคซีนมาใช้ป้องกันและลดจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและการป้องกันไข้หวัดนกเพื่อเตรียมรับมือไข้หวัดใหญ่

สุดท้ายผอ.มาเล่าถึงวิสัยทัศน์และกระบวนการในการทำที่ในสถาบันซึ่งหลังจากเริ่มเข้าใจคอนเซ็ปปลาทูมากขึ้นแล้วจากอาจารย์ท่านก่อนๆพอผอ.เปลี่ยนมาพูดที่เป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาของสถาบันฉันก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมผอ.จึงอยากให้หาไอ้โน่นอยากให้มีไอ้นี่เพราะผอ.มองเห็นปลาทูเกือบทั้งตัวแล้วแต่เพราะบางทีเราไม่รู้ไม่เข้าใจ(แถมท้อใจ)ถึงไอ้เจ้าตัวย่อและศัพท์บริหารแปลกๆรวมถึงการที่มองแต่เฉพาะมุมของตนไม่ได้มาแชร์กับคนอื่นๆอย่างเพียงพอจึงทำให้ในหลายหนอดไม่ได้ที่จะรู้สึกหงุดหงิดและขัดใจกับการโดนเพิ่มคุณค่าในการทำงานที่ผอ.ได้มองเห็นว่างานเรานั้นมีอยู่แล้วและการขัดเกลางานหรือความรู้ให้ดียิ่งขึ้น...

ท้ายสุดขอชื่นชมพี่สาวเราเอง(พี่เล็กศุภลักษณ์)ว่า..สุดยอดเลย!!พี่เรามีทั้งสรุปและกลอนด้นสดๆแต่ตรงประเด็นตรงใจทั้งผู้พูดและผู้ฟัง..งานนี้ปีหน้าอยากให้มีเวทีลปรรแบบนี้และขอให้พี่เล็กทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการแบบนี้อีกนะเจ้าคะ

หมายเลขบันทึก: 56997เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สุดยอดเล้ย ..น้องขวัญของพี่
  • หากใครที่พลาดไปฟังอาจารย์ทั้ง 4 แต่ได้มาอ่านบันทึกของขวัญพี่จะติดตามและเข้าใจประหนึ่งว่านั่งฟังอยู่ด้วยจริง ๆ สรุปได้ยอดเยี่ยมมาก ๆ
  • ขอบคุณสำหรับคำชมที่ให้นะคะ แต่ก็อยากให้ผู้อื่นได้ฝึกปรือการเป็นพิธีกรบ้างค่ะ
ขอบคุณขวัญที่บันทึกให้เห็นภาพค่ะ

สุดยอดไปเลย  ขอบคุณมากๆที่ช่วยสรุป โดนใจอย่างมากๆเลยจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท