ทำไมจึงคิดว่า "ความปลอดภัยด้านอาหาร" มีความสำคัญ


ความปลอดภัยด้านอาหาร (ไม่ว่าสินค้าใด) มีความสำคัญในแง่ที่อาจมีผลเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและการตลาดภาคเกษตรไทยได้

จริงๆ ตอนลงไปดูมังคุดนั้น มีโจทย์เรื่อง ความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นหลัก แต่นักวิทยาศาสตร์บางท่านบอกว่า  โจทย์เรื่องคุณภาพของมังคุด ไม่ใช่เรื่องความปลอดภัยด้านอาหารสักหน่อย   เรามองกลับกันว่า  ถ้าจะพัฒนาคุณภาพมังคุดจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางอาหารแน่

โดยส่วนตัวเห็นว่า  เรื่อง ความปลอดภัยด้านอาหาร (ไม่ว่าสินค้าใด) มีความสำคัญในแง่ที่อาจมีผลเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและการตลาดภาคเกษตรไทยได้  

ประการแรก    การจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร  บังคับให้ต้องมองตลอดจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค  เป็นโอกาสอันดีที่รัฐจะต้องมองโครงสร้างของสินค้าเกษตรที่มันเชื่อมโยงให้ตลอดกระบวนการ

ประการที่สอง  การจัดการความปลอดภัยด้านอาหารมีต้นทุน  คำถามคือใครรับภาระต้นทุนนั้น   เท่าที่ดูแล้ว  (1) ในส่วนกระบวนการผลิตดี  (GAP)เกษตรกรอาจมีต้นทุนเพิ่ม  ข้อดีคือการลดการใช้สารเคมี หรือไม่ก็ต้องใช้สารเคมีราคาแพง (ที่ไม่มีฤทฺธิ์ตกค้างนาน)  แต่จำเป็นต้องใช้แรงงานเข้มข้นขึ้นในการบำรุงรักษา ตรวจสอบ     กระบวนการแบบนี้  สักแต่จ้างแรงงาน (เกษตรกรชี้นิ้ว) ก็ไม่ได้  เจ้าของสวนคงต้องลงไปดูแลเอง  และเกษตรกรคงต้องรับภาระต้นทุนความเสียหายเมื่อสินค้าถูกคัดทิ้งเพราะต่ำกว่ามาตรฐาน  แต่เดาว่า  สินค้าคัดออกนี้คงขายอยู่ในประเทศ   (2) บทบาทของรัฐในการการันตี  ตรวจสวน  ออกใบรับรอง  สร้างห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบคุณภาพก่อนออกไปรับรอง  การออกใบสอบกลับ  (3) กระบวนการขนส่ง  เก็บรักษา  พ่อค้าคงต้องรับต้นทุนเพิ่ม 

แต่ก็ไม่เป็นไร ถ้าผลตอบแทนสุดท้ายคุ้มค่า  คือขายสินค้าได้ราคาสูงขึ้น   ปัญหาอยู่ตรงนี้  อยู่ตรงที่ผลตอบแทนที่สูงขึ้นนั้น  กระจายกลับมาสู่  รัฐ และเกษตรกร อย่างเป็นธรรมหรือไม่  

เป็นไปได้สูงที่ มาตรการอาหารปลอดภัย หากพัฒนาเต็มรูปแบบจะทำให้เหลือผู้ส่งออกอยู่ไม่กี่ราย  ผู้ขนส่งอยู่ไม่กี่ราย  ผู้รับซื้ออยู่ไม่กี่ราย แสดงว่า  อำนาจตลาด ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีสูงขึ้น  แน่นอนว่า  ผู้มีอำนาจตลาดย่อมสามารถดูดซับกำไรส่วนเกินไปได้มากและสามารถเป็นผู้กำหนดราคาในประเทศได้

กระบวนการที่ผู้รับซื้อจะมีต้นทุนต่ำ  ก็คือ การสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อตรวจสอบควบคุมคุณภาพกันเอง  หรือไม่ ก็ต้องเป็นระบบพันธะสัญญา  โดยรัฐเป็นผู้ตรวจสอบให้ ผ่านการออกใบรับรอง GAP 

ที่บอกว่า หากพัฒนาเต็มรูปแบบอาจเปลี่ยนโครงสร้างเกษตรไทย ก็คือ  เกษตรกรอิสระรายย่อยจะลดลงไปอีก  การรวมกลุ่มเกษตรกรจะเพิ่มขึ้น    หรือไม่เช่นนั้น เกษตรพันธะสัญญาจะขยายตัวด้วยอัตราเร่ง  การรวมกลุ่มในแนวดิ่ง (vertical integration) จะสูงขึ้น รวมถึงอำนาจผูกขาดของพ่อค้าปลายทางด้วย

หมายเลขบันทึก: 126875เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2007 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
-สวัสดีครับ -ผมขอทำ link กระทู้นี้ไว้ใน แนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร(๑๐) : การพัฒนาระบบคิดในทำการเกษตรแบบพึ่งตนเอง นะครับ มีประเด็นพาดพิง...

ข้อมูลการทําอาหารต่างๆ และวิธีรักษาอาหารให้สดอยู่เสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท