เรื่องเล่าจากดงหลวง 45 Visiting and Coaching


แต่หากเป็นพืชเศรษฐกิจในระบบสมัยใหม่นั้นเกษตรกรต้องการองค์ความรู้ต่างๆเพื่อบริหารจัดการระบบพืชมากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่างๆอันเนื่องมาจากโรค แมลงและอุปสรรคต่างๆ ดังนั้นการพัฒนาเกษตรกรในระบบพืชเช่นนี้จำเป็นต้องใช้วิธี F2F system ที่รียกชื่อเฉพาะว่า Visiting and Coaching หรือ V&C system

KM ในแปลงพืชของเกษตรกร : ในการส่งเสริมระบบพืชแก่เกษตรกรนั้น หากเป็นพืชต่างๆที่ชาวบ้านคุ้นเคยนั้นเจ้าหน้าที่อาจไม่มีบทบาทมากนัก เพราะเกษตรกรจะมีทักษะอยู่แล้ว อาจจะเพิ่มเติมหลักการทางวิชาการบ้าง  แต่หากเป็นพืชเศรษฐกิจในระบบสมัยใหม่นั้นเกษตรกรต้องการองค์ความรู้ต่างๆเพื่อบริหารจัดการระบบพืชมากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่างๆอันเนื่องมาจากโรค แมลงและอุปสรรคต่างๆ ดังนั้นการพัฒนาเกษตรกรในระบบพืชเช่นนี้จำเป็นต้องใช้วิธี F2F system ที่รียกชื่อเฉพาะว่า Visiting and Coaching หรือ V&C system  ซึ่งมีขั้นตอน 3 ขั้นตอนหลัก คือ ก่อนการปลูก ระหว่างการปลูก และหลังการปลูก  

ขั้นตอนก่อนการปลูกมีดังนี้

 ·          เจ้าหน้าที่สำรวจบริษัทธุรกิจเกษตร ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นบริษัท ชนิดพืชที่น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน  หากน่าสนใจก็เตรียมจดหมายเชิญมาพบเกษตรกร

·          ประชาสัมพันธ์เกษตรกรเป้าหมายว่าจะจัดการประชุมเรื่องระบบการปลุกพืชและแนะนำพืชเศรษฐกิจในปีการเพาะปลูกนี้

·          จัดงานวันนัดพบ ดำเนินรายการโดยคำนึงผลประโยชน์ของเกษตรกรมากที่สุด ร่วมพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ สอบถามแหล่งปลูกเดิมว่ามีที่ใดบ้างเพื่อศึกษาดูงานหรือเสวนากับผู้มีประสบการณ์มาก่อน

·          ลงทะเบียนเกษตรกรผู้สนใจระบบพืชต่างๆ จัดเก็บข้อมูลจำนวนเกษตรกร จำนวนพื้นที่ ชนิดพืชที่เกษตรกรสนใจ ที่ตั้งพื้นที่ที่เกษตรกรตั้งใจว่าจะปลูกพืช

·          จัดประชุมเกษตรกรรายพืชที่สนใจ ขยายความรู้ ความเข้าใจ พิจารณาละเอียดถึงสัญญาระหว่างบริษัทกับเกษตรกร ดูความเสี่ยง ความได้เปรียบเสียเปรียบ

·          ส่งรายชื่อที่เกษตรกรตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะปลูกพืชชนิดนั้นๆให้แก่ตัวแทนบริษัทแล้วประสานงานการกำหนดการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดต่อไป 

ขั้นตอนระหว่างการเพาะปลูกพืช คือการเยี่ยมแปลง หรือ V&C system  วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ การเข้าไปพบปะพูดคุยกับเกษตรกรให้ได้ยินกับหู ให้เห็นกับตา และสัมผัสด้วยมือจริงๆ พร้อมกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหากจำเป็นต้องให้คำแนะนำต่างๆที่เป็นความรู้ทางวิชาการก็พิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมกับองค์ประกอบการเรียนรู้ของเกษตรกรคนนั้นๆ 

 ·       ได้รู้จักแปลง สภาพแปลง ความเหมาะสมต่างๆ ทำเล ที่ตั้งแปลง ปัญหา อุปสรรคที่อาจจะมี

·       ได้รู้จักคน คือเจ้าของแปลง ความคิดเห็น ความรู้สึก เพื่อประเมินศักยภาพของเจ้าของแปลงในการรับเทคโนโลยี่การเกษตรต่างๆต่อไป (Dialogue and Observation)

·       ได้รู้จักพืช ว่าการเจริญเติบโตของพืชมีปัญหาอุปสรรคอย่างใด  มีโรคแมลงหรือไม่อย่างใด

·       ให้คำแนะนำเกษตรกรหากมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้น (Coaching)

·       ทำบันทึกการเยี่ยมแปลงตามแบบฟอร์มที่กำหนดร่วมกัน เพื่อเป็นฐานข้อมูลต่อไป 

สำหรับเกษตรกรนั้นได้สิ่งต่อไปนี้

·       ได้แลกเปลี่ยนผลการปฏิบัติต่างๆให้เจ้าหน้าที่รับทราบและสอบถามหาความรู้ต่างๆทางวิชาการจากเจ้าหน้าที่

·       ถือว่าเป็น Informal learning หรือ On The Job learning หรือ Learning by doing   

การสรุปบทเรียน: เป็นขั้นตอนที่ 3 คือ เมื่อสิ้นสุดการปลูกแล้วจะเชิญเกษตรกรรายพืชมานั่งสรุปกันว่าในช่วงฤดูการผลิตที่ผ่านมานี้เป็นอย่างไรบ้าง จัดทำอย่างละเอียด ทุกกระบวนการ ทุกขั้นตอน โดยเฉพาะผลรายได้ที่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่าหรือไม่  ข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะนำไปใช้พิจารณาในปีการเพาะปลูกต่อไป และในด้านวิชาการข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมการเกษตรในปีต่อๆไปอย่างมาก และเป็นการเรียนรู้อย่างเป็นระบบทั้งเจ้าหน้าที่และเกษตรกร

คำสำคัญ (Tags): #visiting and coaching
หมายเลขบันทึก: 83596เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขออนุญาตเอาเรื่องนี้ขึ้นโต๊ะคุยกับนักศึกษาโข่ง

ถ้าท่านบางทราย เข้าดงหลวงบ้าง

ออกจากป่ามาสอนวิชาป่าๆเขาๆชีวิตและสังคม บ้าง

รับรองมิตรรักแฟนเรียน วิ่งตามเป็นพรวน

จึงขออีก อยากอ่านอีก ฟิ๊วๆๆๆ

  • ท่านครูบาครับ ข้าน้อยเป็นเพียงนักสังคมที่พยายามแสดงความคิดเห็นในมุมของกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรในด้านการเกษตร
  • เป็นมุมที่ตัวเองมีประสบการณ์และเห็น และคิดว่า สิ่งที่ควรจะเป็นนั้น เป็นอย่างไร  ซึ่งในทางวิชาการส่งเสริมการเกษตรเขามีหลักการ มีทฤษฎีมากมายก่ายกอง ข้าน้อยเพียงทดลองเสนอขึ้นมาใช้ในพื้นที่ที่รับผิดชอบอยู่ครับ 
  • ให้นักวิชาการของโครงการที่มีอยู่ทดลองปฏิบัติดู  ก็มีข้อบกพร่องอยู่ก็คือ นักวิชาการที่จบมาใหม่ๆ ยังเคอะเขินในเรื่องเหล่านี้ ก็ Train ไปพร้อมๆกับชาวบ้านแหละครับ
  • ผลที่ได้และดีมากคือชาวบ้านชอบใจที่เราไปเยี่ยมแปลง กับที่เลย แถมต่อว่าอีกนะหากไม่ไป หรือไปไม่ทั่วถึง
  • เมื่อไปแล้วมันได้คุย คุยแล้วก็รู้ เดินดูก็เห็น เอามือจับโน่นจับนี่ก็สัมผัสได้ ว่าอะไรเป็นอะไร ความรู้วิชาการเกษตรที่เรียนมาก็เอามาผนวกกับศิลปการทำงานกับชาวบ้าน เอาชาวบ้านเป็นตัวตั้ง มันก็ไปได้  ชาวบ้านหลายคนก็พัฒนาขึ้นทันตาเห็น  แม้ว่าบางคนจะออกไปข้างๆคูๆบ้างก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาครับ
  • ขอบพระคุณครับ ผมจะลองดูครับ
  • เชิญท่านครูบาเอาไปใช้ประโยชน์เต็มที่เลยครับ
  • ขาดเหลืออะไรผมจะเติมให้อีกครับ จากประสบการณ์จริงนะครับ ไม่ใช่จากทฤษฎี  แต่จะอิงหลักการ วิชาการอยู่บ้างครับ
  • ขอบคุณครับ
  •  สวัสดีครับคุณบางทราย
  • ทฤษฏีที่ปฏิบัติได้นี่แหละครับจึงจะเป็นสุดยอดวิชาจริง ๆ
  • ขอบคุณครับที่ไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับนิวซีแลนด์ในช่วงผมเดินทาง ตอนนี้ผมกลับมาแล้วครับ
  • ขอบคุณครับ ท่านดิศกุล
  • หวังว่าคงมีอะไรมาเล่าให้พวกเราฟังบ้างนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท