Share & Shine ชาวทันตฯ (3) ลานถักทอฝัน แพร่-สิงห์บุรี


“... ถ้าเมื่อใดก็ตามที่เราลงมือทำ เมื่อนั้นเราต้องได้ความรู้ ... เมื่อใดที่เราทำสำเร็จ เมื่อนั้นต้องได้ความรู้เพิ่มขึ้น ... เมื่อใดที่ทำอีกครั้ง เมื่อนั้นก็ต้องมีความรู้คู่การทำ และต้องทำให้ดีกว่าครั้งก่อน”

 

เราได้เชิญ เจ๊บี่ - ฉายาเจ๊ดัน ด้วยนะ มาถักทอฝันในห้องกำธร ของเมืองแพร่ และเมืองสิงห์ให้ฟังค่ะ ...

  • ก่อนอื่น ทีมโรงเรียน เรามีปรัชญาในการทำงานว่า
    “... ถ้าเมื่อใดก็ตามที่เราลงมือทำ เมื่อนั้นเราต้องได้ความรู้
    ... เมื่อใดที่เราทำสำเร็จ เมื่อนั้นต้องได้ความรู้เพิ่มขึ้น
    ... เมื่อใดที่ทำอีกครั้ง เมื่อนั้นก็ต้องมีความรู้คู่การทำ และต้องทำให้ดีกว่าครั้งก่อน”
  • เราขอย้อนรอยนิดหนึ่งว่า เดิมทีเราทำอะไร
  • เดิมที ทีมงานเชื่อว่า การพัฒนาสุขภาพช่องปากของเด็กวัยประถมฯ มันไม่ได้เป็นเรื่องของครูอย่างเดียว
  • เราเชื่อว่า ต้องมีคนอื่นมาช่วยด้วย
  • เราก็ไปเอาแนวคิดเรื่องของการทำงานแบบ Whole School Approach มา และลองทำ
  • ทีนี้ในการทำครั้งนั้น เมื่อปีที่แล้วเราก็ถอดบทเรียน โดยเป็นการถอดแบบการเล่า Best Practice
  • สิ่งที่เราได้มา เราพบเรื่องใหญ่ๆ อยู่ 2 เรื่อง ก็เป็นเรื่องของกระบวนการสร้างเครือข่ายกับ รร. และชุมชน เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปาก เราค้นพบว่า ทีมงานหลักๆ ในการทำงานเรื่องนี้จะต้องประกอบด้วย ทีม รร. ทีมสาธารณสุขในพื้นที่ และตัวทีมส่วนกลางเอง
  • ทีนี้ในบทบาทของทีม รร. เวลาที่เราจะเข้าไป ทำงานกับเขา ที่สำคัญถ้าเราไม่ต้องเหนื่อยมาก คือ ผู้บริหารจะต้องเห็นด้วยกับงานที่เรากำลังทำ แต่ถ้าเขายังไม่เห็นด้วย เราก็เข้าไปทำให้เขาเห็นก่อน ก็ค่อยๆ ทำไป เพราะว่าถ้าผู้บริหารเห็นด้วยจะทำให้การทำงานง่ายหลายๆ อย่างเลย คนที่ทำงานใน รร. เขาก็จะทำงานง่าย
  • และอีกเรื่องหนึ่งคือ คุณครูเองก็ต้องเป็นครูที่ทำงานเป็นทีม และมีทีมการทำงานเข้มแข็งอยู่ใน รร. อยู่แล้ว และเป็นคนที่รู้จักสนุกกับงาน และตัวคุณครูเองมีคุณสมบัติเป็นคนที่สามารถมองเห็นช่องทางในการบูรณาการงาน การเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และสามารถนำไปใช้ได้จริง
  • ตัวคุณครูเองก็ต้องเปลี่ยนบทบาทเดิม เป็นที่ปรึกษา ไม่เป็น Hero ไม่เป็นผู้นำ เพียงแต่ว่าให้เด็กเป็นคนนำ แต่คุณครูเป็นเพียงผู้สนับสนุน เพราะเราพบว่า การที่เด็กเขาบอกเองในเรื่องของทำเรื่องนี้ เด็กเขาจะเชื่อกันเองมากกว่าที่เราจะไปบอกเขา เราบอกเขาก็จะได้แค่เปลี่ยนแป๊บเดียว เปลี่ยนตามคำสั่ง เขาก็จะเชื่อกันเองมากกว่า
  • มุมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ก็ต้องเป็นคนที่เรียกว่า ได้รับการพัฒนาทักษะที่จะต้องให้เป็นคนที่มุ่งงาน เพราะว่าการที่จะเข้าไป approach กับ รร. นี้ในทางปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่ว่าทุกครั้งจะประสบความสำเร็จ ที่นี้เราก็ได้คำที่เป็นแก่น คือ ต้องเป็นคนที่มุ่งงาน หรือว่า กัดงานไม่ปล่อย ... ก็คือ ลักษณะต้องไม่ท้อถอย เพราะว่าเข้าไปก็ไม่ใช่ทุกอย่างจะสำเร็จ มันไม่ได้ง่ายเหมือนคิด แต่ว่าต้องพยายาม นี่คือคนในพื้นที่ต้องมีลักษณะนี้ และต้องมีทักษะในการทำงานกับคนอื่นที่ดี ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  • ในมุมมองของคนส่วนกลาง ที่กองฯ สิ่งที่เราจะไปทำกับคนอื่นเขา เราก็ได้แก่นของความรู้ตรงนี้มาว่า เราใช้ใจแลกใจ คือว่า เราจะไม่เคยปฏิเสธการขอรับการช่วยเหลือใดๆ จากจังหวัด ไม่ว่าเขาขอร้องอะไร
  • ... มีอยู่วันหนึ่งได้รับโทรศัพท์มาว่า “พี่หมี หนูสอบไปเมืองนอกได้ แต่ว่า กพ. ไม่ยอมอนุมัติ เพราะว่า เรื่องที่สอบเขาบอกว่า มันไม่ตรงกับ field ที่ทำ” คุณหมอเขาก็บอกมา ตายจริง แล้วดิฉันจะช่วยอะไรได้นี่ ... แต่ดิฉันก็ไม่ปฏิเสธนะคะ แต่รู้ว่า เอ๊ แล้วอย่างเรานี่จะช่วยอะไรได้หนอ ก็คิด เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คุณหมอคะ ที่ทำงานก็อยู่ใกล้ กพ. คุณหมอช่วยนิดเดียวละค่ะ mail เรื่องทุนมาให้พี่หมี พี่จะได้ไปถามได้ว่า ไอ้นี่มันติดขักอะไรถึงไม่ได้ไป ยกตัวอย่างอันนี้ละนะคะ ... แต่สิ่งที่นี้ที่ตอบกลับคือเรื่องจริงนะคะ เพราะคุณหมอคนนี้เขากลับมาแล้ว ได้ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ใช่เพราะดิฉันนะคะ เขาก็ต่อสู้จนได้ แต่จะบอกว่า มันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ คือ เขาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเรา และเราขออะไรเขาก็จะไม่ปฏิเสธเหมือนกัน นี่ก็คือ ใจแลกใจ ละค่ะ
  • และตัวเราเองต้องทำหน้าที่เป็นกองเชียร์ ที่จังหวัดที่ดิฉันไปทำงานด้วย เขาให้สมญานามดิฉันว่า เจ๊ดันค่ะ เพราะว่าจะดัน หรือจะเชียร์ ก็ทำเลย ตรงนี้ที่ดิฉันคิดว่า มันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้งานนี้ประสบความสำเร็จ
  • มีอีกเรื่องที่อยากจะเล่า คือ เรื่องของการทำงานที่เป็น Whole School Appraoch นี่นะคะ
  • ดิฉันก็พบว่า เรื่องของฝ่ายสาธารณสุขในพื้นที่ก็ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคุณครู
  • และที่สำคัญคือ ตัวเจ้าหน้าที่ต้องเข้าใจบริบทของคุณครู คือ รู้ว่างานของเขาเยอะ ต้องยอมรับ แต่ว่ายังไงก็ต้องสนับสนุน ไม่ทิ้งเขา และพยายามทำกิจกรรมเรื่องทันตสุขภาพให้เห็นเป็นรูปธรรม
  • ตัวอย่างคือ มันง่ายมาก เดิมที จะเล่าเรื่องว่า เรื่องของงานทันตฯ เราอาจจะไม่เป็นพระเอก เราไปกับเรื่องอื่นๆ ที่ผูกติดไปกันได้ดีก็คือ เรื่องของการไม่กินหวานโครงการนี้ก็เป็นการที่ผูกไปกับเขา
  • ทีนี้สมมติว่า ยกตัวอย่างว่า ทำงานทันตฯ ให้เห็นเป็นรูปธรรมนี่ก็คือ เดิมที รร. เขาก็ขายของ ให้แม่ค้าเข้ามาขาย พอมีโครงการกินดีมีสุขเข้าไปปึ๊บ เขาก็มีการจัดการสิ่งแวดล้อม ... พอเขารับโครงการเขาก็เลิกขาย เขาก็เปลี่ยนมาขายเอง และก็เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ คือ ขายของที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เขาก็ค้นพบว่า พอเขาทำเอง เขาก็มีเงินเก็บ ตอนนี้สบายมากเลย เพราะว่าเงินนี้ก็เก็บ และมันมีปัญหาเรื่องท่อระบายน้ำของ รร. มีปัญหา เขาก็คิดว่า ถ้ารองบประมาณก็ยุ่งยาก เขาก็มีเงินที่จะทำ ที่ว่าทำสิ่งแวดล้อมใน รร. เอง เขาเห็นประโยชน์เอง
  • รร. นี้เขาเป็นเครือข่ายเราตั้งแต่ปี 48 จนปัจจุบันก็ยังร่วมโครงการอยู่ และเราเคยเข้าไปประเมินแบบไม่รู้ตัว ก็คือว่า ยังคงเป็นสภาพที่เราเคยเห็นอยู่
  • พอมาถึงบทบาทของคนที่เป็นเจ้าหน้าที่นี่ ตัวเราเอง ก็ต้องเปลี่ยนจากคนทวงหนี้ ไม่ได้นะคะ ต้องเป็นคนที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนเขามากกว่า
  • สิ่งที่เราพบ ...
  • ... เรื่องที่เราคาดหวัง เดิมเราฝันว่าจะเป็น Whole School Approach มันไม่ทั้งหมด มันก็ยังเป็นเรื่องของ ครู กับ นร. กับ จนท. เหมือนเดิม
  • ... สิ่งที่เราอยากให้เกิดก็คือ เรื่องที่เราอยากให้ชุมชน หรือผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบกับเรื่องสุขภาพของเด็ก เด็ก มันเกิดน้อย เพราะว่าผู้ปกครองนี่ก็เพียงแต่เข้ามาแค่ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมจ่ายเงินถ้ามีตังค์หน่อยก็ได้แค่ระดับนี้
  • เพราะฉะนั้นถึงบอกว่า ประโยชน์ของการทำนี้ ทำให้เราค้นพบว่า งานเรายังไม่ใช่นะ ยังไม่เสร็จ เพราะฉะนั้นจึงเกิดงานชิ้นต่อมาเป็นเรื่องของการที่ จะทำยังไงให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับเราจริงๆ ... เราก็คิดต่อ จะเป็นเรื่องของการพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง ซึ่งเรากำลังทำอยู่ แต่ว่ายังไม่เสร็จ ก็เป็นแนวคิดต่อมาที่เราจะเล่าเรื่อง การถักทอฝัน นี่ละค่ะ

อ้าว ยังไม่ได้เล่าถึงลานถักทอฝัน เลยละค่ะ พี่บี๋ ย้อนรอย ย๊าว ยาว หมดเวลาซะแล้ว เสียดาย มั่ก มั่ก ... ต้องหาโอกาสแก้ตัว ให้พูดใหม่เวทีหน้าอีกนะคะ ... ใครใจร้อนอยากรู้เรื่องก่อน ก็คงต้องคุยกับพี่บี๋ เองนะคะ ที่นี่ค่ะ P กิน(พอ)ดี อยู่(พอ)ดี

รวมเรื่อง Share & Shine ชาวกองทันตฯ

 

หมายเลขบันทึก: 133320เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท