ลปรร. กองทันตฯ กับ ศูนย์ฯ กฎหมาย (4) KM กับเครือข่ายสิ่งแวดล้อม


ต้องบอกเลยว่า ความรู้ที่สะสมมานี้ ได้จากภาคีเครือข่ายเยอะมาก และความรู้ที่ได้มานี้ ก็เป็นเรื่องของการจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการไปประชุมกันมาตลอด

 

ทีมสิ่งแวดล้อมของกองทันตฯ ส่งหมอหวี่มาเล่าเรื่องการทำงานกับภาคีเครือข่าย ซึ่งเกิดขึ้นได้เนื่องจากกิจกรรม ลปรร. กันมาหลายครั้งแล้ว จึงได้เกิดการพัฒนาในเรื่องต่างๆ ของแปรงสีฟันมามากมาย และก็ยังต้องมีการพัฒนากันต่อไปเรื่อยๆ ละค่ะ

หมอหวี่มาเล่า ... ในเรื่องของการใช้ KM ในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายของงานสิ่งแวดล้อมฯ

  • เพราะว่างานสิ่งแวดล้อมเป็นการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชน ... ซึ่งเราแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งคือการดูแลผลิตภัณฑ์ ได้แก่พวกแปรงสีฟัน ยาสีฟัน และส่วนของฟลูออไรด์ในสิ่งแวดล้อม
  • ในเรื่องภาคีเครือข่ายของการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ เรื่องแปรงสีฟันนั้น กองทันตฯ มีการติดตามดูคุณภาพแปรงสีฟันที่วางจำหน่ายในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2540
  • ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการติดต่อกับภาคีเครือข่ายเป็นอย่างมาก เพราะว่า ฐานความรู้ของเรื่องนี้ที่เรามีอยู่มีค่อนข้างเยอะ และที่มีการดำเนินการเรื่อยๆ มาถึงปีนี้ได้ ต้องบอกเลยว่า ความรู้ที่สะสมมานี้ ได้จากภาคีเครือข่ายเยอะมาก และความรู้ที่ได้มานี้ ก็เป็นเรื่องของการจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการไปประชุมกันมาตลอด
  • จุดที่เริ่มต้นเลย คือ เราไปเป็นภาคีเครือข่ายของเขาก็คือ สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. เราไปเป็นกรรมการในการสร้างมาตรฐานแปรงสีฟันอุตสาหกรรม ประชุมกรรมการกับเขา
  • ... ตอนประชุมเราก็พบว่า กิจกรรมจะมีการตรวจสอบแปรงสีฟันในส่วนของเชิงของสุขภาพ และคิดว่า ตรงจุดนี้ น่าจะเป็นหน้าที่ของกองทันตฯ ที่จะดูแลแปรงสีฟันในส่วนที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ก็เป็นจุดเริ่มที่เราได้เริ่มงานนี้ขึ้นมา
  • คราวนี้พอจะเริ่มงานนี้ขึ้น ความรู้ทางด้านนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ตอนนั้น มอก. ก็เชิญทั้งกองฯ บริษัทผู้ผลิต มอก. และหน่วยงานต่างๆ ทั้งอาจารย์ มาช่วยกันสร้างมาตรฐาน และโดยยึดมาตรฐานความรู้จาก ISO toothbrush เป็นหลักเบื้องต้น เราก็เอาตรงนี้มาทำ และก็ ของ มอก. เอามาปรับ
  • ก็มีการหารือ และเชิญคณะทันตแพทย์มาด้วย เราก็มาปรับเป็นมาตรฐานของเราเอง 
  • พอได้มาตรฐาน เราก็ได้รวบรวมแปรงสีฟันเอามาตรวจ และก็พบว่า มาตรฐานของเราที่ทำนั้น ไม่ครอบคลุมลักษณะแปรงสีฟันที่วางจำหน่าย เราก็ปรับใหม่
  • จากผลของการสำรวจปรากฎว่า มีภาคีเครือข่ายของเรา คือ อาจารย์จากคณะทันตแพทย์ มหิดล พอดีท่านทำเรื่องนี้ และท่านก็ไปประชุม ISO toothbrush เรื่องแปรงสีฟัน
  • ... ตรงนี้กลายเป็นว่า เพราะได้ความรู้จากอาจารย์ท่านนี้เยอะมาก จากที่ท่านมีโอกาสที่จะได้รับความรู้จากต่างประเทศ
  • การไปประชุม ISO toothbrush จึงได้ให้ความรู้จากกลุ่มข้อมูลทันสมัยของแปรงสีฟัน และปรากฎว่า มีวิธีการปรับเกิดขึ้น ซึ่งสามารถเอามาปรับมาตรฐานของเรา สามารถที่จะ cover ลักษณะแปรงสีฟันของเราได้
  • และเขาก็จะมีเครื่องตรวจด้วย อาจารย์ได้สร้างเครื่องนี้ขึ้นมา กองฯ ก็เลยขอสร้างด้วย โดยให้คณะวิศว ลาดกระบังสร้างให้
  • จึงได้มาตรฐานอันใหม่ที่เหมาะกับประเทศไทย และเอาลักษณะสำคัญมาสร้างมาตรฐานอันนี้ พอเราสร้างขึ้นมา เราก็พบว่า เราสามารถที่จะตรวจสอบแปรงสีฟันของไทยได้
  • ตรงนี้ก็คิดว่า เรามีตรวจผลิตภัณฑ์แปรงสีฟันของเมืองไทย เราก็เลยประสานภาคีเครือข่าย คือ สคบ. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  • ... เพี่อพัฒนาให้มีการประสานกันว่า เราจะมีการปรับปรุงกันร่วมกันอย่างไร เขาให้ความร่วมมือ ก็มีการประชุมกัน และนัดผู้ผลิตมาด้วย
  • ... จริงๆ แล้วเครือข่ายที่สำคัญ คือ บริษัทผู้ผลิต เพราะว่าเขาเป็นคนผลิต ก็จะรู้สถานการณ์ของเขา ก็มีหลายอย่างที่เราใช้ในการตรวจสอบแปรงสีฟันของเรา
  • บริษัทผู้ผลิตก็ให้ความร่วมมือ มาร่วมประชุม เราก็เชิญทาง สคบ. มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค มาช่วยกันร่างออกมาว่า ขนาดแปรงสีฟันของประเทศไทยควรเป็นอย่างไร เพิ่มเติมไปจากปกติ
  • ... เราก็ได้ข้อมูลออกมาว่า ควรจะมี 5 ข้อ พอได้ข้อมูลออกมาเรียบร้อยแล้ว ว่าเราจะต้องมีฐานแบบนี้ ทาง สคบ. ก็เลยร่าง พรบ. ออกมาว่า ฉลากแปรงสีฟันประเทศไทยต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ และใช้ในปี 2546
  • ... และบริษัทผู้ผลิตก็ยินดีที่จะปฏิบัติตาม
  • นอกจากเรื่องฉลากแล้ว ก็ยังมีเรื่องข้อมูลการตรวจสอบแปรงสีฟัน ซึ่งประสานกับกรมวิทย์ฯ เราได้เชิญเขามาเพื่อที่ให้ออกระเบียบในเรื่องเกี่ยวกับแปรงสีฟัน
  • ... ปรากฎว่าเขาก็ได้ให้คำแนะนำกับเราว่า เขามีเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมด 3 อย่าง ที่จะพัฒนาห้องตรวจสอบแปรงสีฟันด้วย และการให้การรับรอง
  • จาก อย. ก็ได้ว่า เราไม่ควรที่จะตรวจสอบคุณภาพแปรงอย่างเดียว ควรที่จะเข้าไปตรวจสอบโรงงานที่ผลิตฯ ด้วย ซึ่งเขาก็พาเราไปตรวจสอบโรงงาน ว่า เวลาไปดูโรงงานควรจะไปดูจุดไหนบ้าง และที่จะต้องทำก่อนไป ก็คือ ดู Outline
  • และเรื่องของการตรวจสอบแปรงสีฟัน เราก็มีการปรับปรุงความรู้ประจำ จากเครือข่าย ประเด็นต่างๆ บางเรื่องเราก็ประสานไป บางเรื่องก็ได้มาจากการที่เขาแนะนำ
  • ในปี 2550 เราก็มีเครือข่ายเยอะ และมีการ ลปรร. เยอะมากด้วย ซึ่งเกิดจากการที่ได้ประสานกันมากับภาคีเครือข่ายของสิ่งแวดล้อม

งานสิ่งแวดล้อม ต้องบอกว่า สำคัญที่ภาคีเครือข่ายละค่ะ ที่กองทันตฯ จะต้องไปประสานอย่างแน่นแฟ้น เพื่อที่จะทำงานร่วมกันได้ตลอดไป 

 

หมายเลขบันทึก: 132808เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2007 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท