การบรรยาย เรื่อง Challenging of Human Capital Management in the 21st Century ที่มหาวิทยาลัยมหิดล


เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่นักศึกษาปริญญาเอก ปริญญาโทจะช่วยกันพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้น และหวังว่าการแลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกันในวันนี้จะนำไปสู่การฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

สวัสดีครับชาว Blog

วันนี้ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยมหิดลเชิญให้บรรยายเรื่อง Challenging of Human Capital Management in the 21st Century ให้แก่ คณาจารย์ นักศึกษาปริญญาเอกสาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ และนักศึกษาปริญญาโท สาขานโยบายสาธารณะ รวมประมาณเกือบ 60 คน ณ ห้องกันภัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การบรรยายครั้งนี้มีโจทย์ที่สำคัญ คือ ความท้าทายของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ ผมคิดว่าวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่นักศึกษาปริญญาเอก ปริญญาโทจะช่วยกันพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้น และหวังว่าการแลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกันในวันนี้จะนำไปสู่การฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป

ขอให้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเราและทุก ๆ ท่านครับ

                                                                         จีระ หงส์ลดารมภ์

เอกสารประกอบการเรียนรู้

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 454122เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สรุบการเรียนรู้

Challenging of Human Capital Management in the 21 Century

  • Where we are
  • Where we want to go
  • How to get there
  • How to do it successfully and overcome difficulty 


การเรียนวันนี้เราต้องมีการวิจัยที่เกิดมีประโยชน์สู่ภาคราชการเพื่อเตรียมระบบราชการของเรารองรับกับโลกาภิวัตน์ อย่างเช่น อาเซียนเสรีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตอนนี้เราเล่นการเมืองในระดับโลกาภิวัตน์มากขึ้น

ยกตัวอย่าง ตอนนี้ประเทศไทยตามชายแดนมี 2 กลุ่มคือ ตำรวจและ ตม.มีนิสัย Corruption เห็นแต่ผลประโยชน์ เราเอาชนะไม่ได้แต่เราต้องชนะในสิ่งเล็กๆก่อน คือ

  1. ค้นหาตัวเองให้เจอ ปรับตัวเอง
  2. ปรับองค์กร
  3. เสนอแนะเพื่อสร้างเป็นองค์กรตัวอย่างกับองค์กรอื่น

เมืองไทยการลงทุนเรื่องพัฒนาศักยภาพคนต้องใช้เงินแต่นายจ้างไม่ค่อยให้ความสำคัญในการพัฒนาเพราะกลัวว่าถ้าลงทุนไปแล้วจะไปอยู่ที่อื่น

ในการทำงานไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่างแต่ต้องมี Networking ที่กว้างเพื่อสร้างความเป็นเลิศ

การปะทะคือการที่เอาความรู้ที่มีอยู่ในตัวของแต่ละคนออกมา Share กัน เรียกว่า Tacit Knowledge จะเกิดข้อสรุป ที่เป็น Road Map ในการมุ่งไปสู่ความสำเร็จและความเป็นเลิศ

กระบวนการเรียนต้องเป็นลักษณะ Chain Value (เป็นการวิ่งในแนวนอน)

การเรียนหนังสือยุคใหม่ที่เกิดจากแรงบันดาลใจ ต้องรู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไรมีเป้าหมาย อย่าตั้งรับอย่างเดียว

ยกตัวอย่างการอ่านตำราต่างชาติอ่านแล้วต้องวิเคราะห์ให้ได้ เพราะสิ่งที่หนังสือสอนคือทฤษฎีที่ไม่ต่างกันสิ่งที่ได้คือ System Thinking และ Scientific Thinking

การเรียนต้องปะทะกลับความจริงและตรงประเด็น (2R) เพื่อให้เกิดนำไปใช้อย่างเป็นระบบ

Core Value เป็น Concept ของคนเอเชีย เพราะมีมานานแล้วแต่ยังไม่กล้าแสดงออก

การมองคนเป็น Strategic เพื่อสร้าง value Added และสร้าง Value Creation ค้นหาตัวเอง

Paradox (WTO, FTA, ACE) ระบบราชการไทย ถ้าเทียบกับประเทศอื่นถือว่าแพ้

ความรู้เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 ปี เราจึงต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้

คนไทยยังขาดเป้าหมายในชีวิต

คุณภาพของคนที่พึงปรารถนาคือต้องพึงตัวเอง สร้างความเป็นเลิศด้วยตัวเองได้ มี Customer Value

ASEAN เสรี

  • การค้า การลงทุน
  • สินค้าเกษตร
  • มาตรฐานวิชาชีพ


ตอนนี้เราเสียอาณานิคมทางปัญญาให้สิงค์โปรไปแล้ว

ปัญหาใหญ่ของประเทศไทย (การปลูกและเก็บเกี่ยวราชการ)

  1. คุณภาพของข้าราชการต่ำ
  2. โครงสร้างอายุของราชการสูงโดยเฉพาะในส่วนกลาง
  3. คนรุ่นใหม่ไม่สนใจที่จะเข้าทำงานราชการ
  4. มีกฎระเบียบมากเกินไป Silo หรือ Function เราต้องตั้งองค์กรแบบ process เพื่อให้ทำงานแบบ Cross Functional
  5. การบริหารงานแบบ 2 C คือ Command and Control ผู้นำยุคใหม่ต้อง
  • Leistering
  • Sharing
  • Coaching
  • Mentoring

6. มีระบบเล่นพวก(ระบบอุปถัมภ์)

7.ใช้เงินซื้อตำแหน่งโดยเฉพาะข้าราชการในท้องถิ่น

8.ยอมอยู่ใต้อิทธิพลของนักการเมือง

9.ขาดคุณธรรมจริยธรรม

10.ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นในระบบราชการต้องทำเก่งด้วย ต้องมีความมั่นใจ

11.ขาดการทำงานเชิงนวัตกรรม (ไม่ใช่เรื่อง Product) การดูแลลูกค้า การบริหารจัดการ

  • 12.ขาดภาวะผู้นำในทุกระดับเพราะเราฝึกคนเป็นผู้ตามเยอะ ภาคราชการต้องมีเรื่องผู้หญิงกับผู้นำเยอะ
  • 13.ไม่มีที่พึ่งจริง ๆ – ขาดโค้ช จัดการกับการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนได้ลำบาก Change Uncertainty และ Unpredicted

    14.นักการเมืองสนใจระยะสั้น – ประชานิยม แต่การพัฒนาทุนมนุษย์และระบบราชการต้องใช้เวลา

      ค่าจ้าง 300 บาทเป็นประชานิยมวิธีแก้ปัญหาคือเปลี่ยนมาเป็นทุนมนุษย์
      (Human Capital
      ) เช่นการเตรียมคนเพื่อไปสู่อาเซียนเสรี จัดให้เป็นเป็น
      Intensive course
    • เศรษฐกิจฐานความรู้
    • Creative Economy
    • เศรษฐกิจแบบยั่งยืน

    เราขาดองค์กรที่เอาจริงเรื่องคนในระบบราชการ

    ก.พ. หรือ กรมปกครองท้องถิ่น ไม่มีเอกชนและมหาวิทยาลัยมาเป็น Partner

    สถาบันทุนมนุษย์เพื่อภาคธุรกิจ แต่ใครจะดูแลราชการหน่วยงานไหนจะเป็นผู้ดูแล

    การพัฒนาระบบราชการ ดูว่า stakeholder ได้ประโยชน์จริงหรือเปล่า

    การวาง Human Capital เป็นตัวละคร เช่น



      CEO เป็นผู้นำ Smart Hr ที่คิดเป็น Strategic
      Non HR เป็นผู้เล่นตามบท

    เปลี่ยนแนวคิดจากข้าราชการเป็นทุนมนุษย์ในระบบราชการ
    และต้องศึกษาอย่างหนักว่า คุณลักษณะสำคัญของข้าราชการที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง?

    Networking

    • แลกเปลี่ยน
    • Share ผลประโยชน์
    • Win Win

    Blue Ocean คือการหาลูกค้าใหม่ๆและต้องคิดนอกกรอบ

    การดูแลเรื่องทุนมนุษย์ในเมืองไทยต้องใช้เรื่อง 2R ต้อง ลงทุนเรื่อง Human Capital ต้องมองทัง Macro และ Micro ลึกคือทรัพย์สินของเรา แต่ว่ากว้างก็ต้องเก็บไว้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร

    ทฤษฎี 3 วงกลม

    องค์กร

    ความสามารถ

    Motivation คือ What drive people to do the best we can

    • Inspiration ที่เป็น Intangible

    HRDS

    Happiness

    • Respect
    • Dignity
    • Sustainability

    การเรียนรู้คือการเรียนแล้วต้องปรับพฤติกรรมได้หรือเปล่า Learn Know Do

    สรุปตั้งแต่เรียนมาได้อะไรบ้าง

    1. เป็นการพบกันอย่าง Informal Connection และต้องคนพบตัวเอง ยืนได้ด้วยตัวเองก่อน
      แล้วจึงไปช่วยภาคราชการ
    2. เป็นการยอมรับสภาพปัญหาเพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

    3. การทำงานของ อ.จีระ
           เป็นการทำงานที่มีประโยชน์ การทำอย่างอิสระ

    4. ตอนนี้เรื่องจัดการบุคคลมี 3 อย่าง คือ Personal Management, Human Resource, Human Capital
    5. อ.จีระ มองเรื่องคนใน Paradigm ต่อไปจะเป็นอย่างไร

    อ.จีระ : จะเป็นเรื่อง Multi Cultural จะมีความเป็น Diversity
    มากขึ้น แต่ในอนาคตจะมีเรื่อง Green Concept (Low Carbon) ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงที่มีมากขึ้น เมื่อโลกไร้พรมแดน ก็จะรวมกันระหว่างคนมีความรู้กับไม่มีความรู้มากขึ้น เมื่อก่อนมียุคเกษตร, ยุคอุตสาหกรรม, ยุค IT, ยุค ICT คือมองทุก Sector ให้เชื่อมโยงกับ IT มากขึ้น

    • Diversity
    • ICT enabling คือทำให้เกิดการใช้ ICT
    • มองปัจจัยที่ Less for more
    • จะเกิดเรื่อง Unemployment โดยเฉพาะ ป.ตรี
    • ทุนทางจริยธรรมจะหายไป เพราะจะมองกันแต่ระยะสั้น
    • Leadership ต้อง Passion ที่ทำให้เกิดแรงในการทำงาน
    • การสร้างงาน Human Imagination 95% Building 5%

    5. การฟังวันนี้เป็นเรื่องที่ตรงใจเรื่องIntangible และ HRDS ว่ามีผลกับองค์กรอย่างไร

    ประทุมทิพย์ ทองเจริญ

    วันนั้นเป็นวันที่พวกเรา คณะนักศึกษาป.เอกและป.โท สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่าน ศ.ดร.จีระ ให้เกิียรติมาบรรยายให้กับพวกเรา ทำเอาทีมงานและผู้เข้าฟังการบรรยายปลาบปลื้มและตื่นเต้นไปกับการสัมมนาตลอด ภายหลังการสัมมนา น้องนศ.ป.โทหลายคนขอบคุณที่เรียนเชิญท่านมา พร้อมทั้งบอกว่า"ไม่เคยฟังการบรรยายที่เข้มข้นแบบนี้มาก่อน ชอบมาก" พวกเราฟังและร่วมทำกิจกรรมจนเพลิน เลยเวลารับประทานอาหารกลางวันไปโดยไม่รู้ตัว ข้อคิดและเนื้อหาที่ได้จากวันนั้นมีมากมาย จดใส่สมุดไว้หลายสิบหน้า แต่จับประเด็นได้ว่าอาจารย์ต้องการให้ทำแบบ 3 ต (ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง) อย่างที่ท่านทำเป็นแบบอย่างมาตลอด นอกจากนี้ หัวใจสำคัญและความท้าทายของทุนมนุษย์ยังรวมถึงหัวใจ 3 ประการ ได้แก่ บริบท (Context) แรงจูงใจ(Motivation) และสมรรถนะ (Competency) รวมถึงทฤษฎี 5K และ 8K ด้วย จึงขอขอบพระคุณศ.ดร.จีระอีกครั้งค่ะ และหวังว่าพวกเราคงจะมีโอกาสได้ต้อนรับท่านอาจารย์ในฐานะวิทยากร หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในโอกาสต่อๆไปนะคะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท