การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ครั้งที่ 1วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1-3 พฤศจิกายน 2549 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


องค์ความรู้จากอุดรธานี

The 1st Conference Science, Technology, Education and Local Wisdom for Sustainable Development. 1-3 November 2006 . Udonthani Rajabhat University

URDU Conference 2006

 

 
นี่คือการจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ครั้งแรกของ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาในปี พุทธศักราช 2550

 

มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในฐานะ คนของพระราชา จึงได้จัดการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยสู่มาตรฐานสากล ซึ่งในการจัดประชุมทางวิชาการครั้งนี้ เป็นครั้งแรก มีนักวิจัยและนักวิชาการสาขาต่างๆส่งเรื่องเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ จำนวนทั้งสิ้น 51 เรื่อง โดยแบ่งเป็น

- ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 14 เรื่อง

- ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 12 เรื่อง
- ด้านงานวิจัยพื้นฐานและพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดเพื่อชุมชน 25 เรื่อง


การจัดงานในครั้งแรก แม้ผู้เข้าร่วมงาน ยังมีจำนวนไม่มากนัก เพราะยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่รูปแบบการดำเนิน รูปแบบการจัดงาน กำหนดการ กิจกรรมต่างๆ ทางราชภัฎอุดรธานี ทำได้ไม่แพ้สถาบันอื่นๆที่ได้จัดประชุมมาก่อนหลายแห่ง แม้บางอย่างจะขลุกขลักไปบ้าง เพราะเป็นการจัดงานครั้งแรก แต่สิ่งที่ปรากฏ ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการทำงานของสถาบันแห่งนี้ ซึ่งสามารถที่จะแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างดีทีเดียว

 

งานสัมมนาเชิงวิชาการครั้งนี้ มีหัวข้อการประชุมที่น่าสนใจหลายเรื่องทีเดียวครับ จึงได้หยิบหัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจพร้อมกับสิ่งที่ได้รับจากงานวิจัย สรุปต่อท้ายในแบบกระชับดังนี้ครับ

คลิกอ่านบทคัดย่อ URDU-conference-2006

 

การเสนอผลงานในภาคบรรยาย

กลุ่มที่ 1 การวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

 1) การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร คุ้มศรีชมชื่น บ้านหนองอ้อ ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

 โดย ศิวพงษ์  จำรัสพันธุ์

..ได้ลวดลายใหม่ คือ ลายพญานาคินทร์ลำโขง ผ้าทอของกลุ่มเรียบสีแน่นไม่ตก มีการทำบัญชีรับ-จ่าย เพื่อคิดต้นทุนและราคาจำหน่ายที่เป็นธรรม กลุ่มเข้มแข็งขึ้น...


2) แนวทางการจัดการความปลอดภัยของส้มตำลาวอีสานตอนบน

โดย ยุพิน แวงสุข และคณะ
..พบว่า มีจุดเริ่มต้นที่ต้องควบคุมที่สำคัญ คือ  สารเคมีตกค้างในวัตถุดิบส้มตำ ความสะอาดของวัสดุอุปกรณ์ในการตำส้มตำ รวมถึงสุขลักษณะของผู้ผลิตส้มตำ...

3) ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเรื่องโรคเอดส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
โดย อัจฉรา  จินวงษ์

.
... .. สามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น คะแนนเฉลี่ยการรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเอง สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)….”

4) การศึกษาศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ในพื้นที่บ้านหันเทา จังหวัดอุดรธานี

โดย  อรรจนา ด้วงแพง, วัลยา  อุตโรกุล ,ปริญญพันธุ์ เพชรจรัส และ วิบูล เป็นสุข

”…..มีผลในการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของเกษตรกรบ้านหันเทาต่อการทำนาอินทรีย์ โดยมีพื้นที่นาอินทรีย์เพิ่มขึ้นจากเดิม 7 ไร่ เป็น 200 ไร่......

 

 


5) การพัฒนาคุณภาพขนมจีน บ้านสร้างแป้น อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
โดย กิติยาภรณ์ โชคสวัสดิ์ภิญโญ

”…… การพัฒนาคุณภาพขนมจีนจะต้องคำนึงถึงหลักกรรมวิธีการผลิตที่ดีเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาดปลอดภัย และสามารถเพิ่มคุณค่าทางอาหาร.....

6) การผลิตและการตลาดของผลเม่าในสกลนคร
โดย กรรณิการ์  สมบูญ, ศิริพร สารคล่อง, สุดารัตน์  สกุลคู และสุเธียร นามวงศ์

”…จะมีการคัดเลือกพันธุ์ในการปลูกและจำหน่าย รวมถึงผู้ประกอบการที่สนใจ ปลูกสร้างสวนเม่าเพิ่มขึ้น.....

7) ความหลากหลายและวิวาทะเกี่ยวกับการจัดการน้ำ
: กรณีศึกษากลุ่มผู้ใช้น้ำเหมืองฝายวังไอ ตำบลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
โดย พัชรินทร์ บัวลอย

”….ความหลากหลายของวิวาทะเรื่องการจัดการน้ำยังนำไปสู่ทางเลือกในการจัดการน้ำที่หลากหลายในบริบทของลุ่มน้ำย่อยที่มีลักษณะของปัญหาและข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่มน้ำย่อย.....

8) การวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ หนองหาน กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
โดย สันติภาพ ศิริวัฒนาไพบูลย์, ช่วยชูศรี ศรีภูมั่น, วัลยา  อุตโรกุล และ กฤษฎา นามบุญเรือง

”…ได้ชุดการเรียนรู้ระดับชุมชน 4 เรื่อง ได้ฐานข้อมูล 1 ชุด มีแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น 4 แหล่ง ได้แนวทางการจัดการทรัพยากรคือ แผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6 ด้าน.....

กลุ่มที่ 2 การศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

1 ) ปัจจัยชี้วัดและผลกระทบต่อบทบาทของพฤติกรรมของผู้บริหารตามสภาพที่พึงประสงค์และตามสภาพที่เป็นจริง ในความคิดเห็นของครูในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี เพื่อการพัฒนาทางการศึกษาที่ยั่งยืน

โดย อำพัน ด้วงแพง, ต้นสกุล ศานติบูรณ์, ประกาศ แสนทอง, เดือน ทองกุล, วัชรพล วิทยากร และ นิคม คำล้วน

...บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ในด้านความเป็นผู้นำ ความเข้าใจในการบริหารจัดการ การให้ความช่วยเหลือหรือความเป็นมิตร และการให้อิสระในการดำเนินกิจกรรมของครู......


2) การสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
โดย พีชยา สุริยวงศ์
.....นักศึกษามีการใช้กลวิธีการอ่าน ประเภทต่างๆในกระบวนการเอส คิว ไฟว์ อาร์ เพิ่มขึ้น.....


3)
Living English: an Audio-Visual Approach to Teaching Thai University Students.
by Merrill Hartman

“…..The Ellis Placement program users an adaptive testing method that produces a unique test for each student each time the student takes the test. ……..”


4) Writing Chemistry and the Four Skills: An Ongoing Process.
by Steve Graham

“..this is ongoing project so there are no final results as yet, however, early indications are that the new materials will provide and challenging addition to the existing writing course. …….”

 


5) การช่วยครูปรับปรุง สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนตามทฤาฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง : กรณีศึกษาใน 3 ชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โดย พนมพร เผ่าเจริญ

..สามารถใช้การสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Teaching)ในการปรับปรุง เจตคติของนักเรียนและสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนของตนตามรูปแบบการปรับปรุงสภาพแวดล้อม......


6) การทำงานกลุ่มและบทบาทของผู้เรียนในการจัดการความรู้
โดย ชุติมา อินทรพานิช

”…ผู้เรียนมัฒนาการทางการเรียนเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษในระดับต่ำ และมีทัศนคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษดีขึ้น.....

7) การวิเคราะห์สภาพและโอกาสในการให้บริการวิชาการด้านภาษาต่างประเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
โดย มัณฑนา บาลไธสง

 

“….. การวางตำแหน่งศูนย์ภาษาในตลาด มีตำแหน่งอยู่ที่หลักสูตรหลากหลาย ว่าสามารถตอบสนองความต้องการกลุ่มเป้าหมายและสถานที่สะดวกสบาย....


8) สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ตามโครงการ
หนึ่งอำเภอ : หนึ่งโรงเรียนในฝัน ของประเทศไทย
โดย ต้นสกุล ศานติบูรณ์ และนิคม คำล้วน

”….เครื่องมือวิจัยมีความเหมาะสมต่อการประยุกต์เพื่อศึกาวิจัยในชั้นเรียนและมีความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมของชั้นเรียน....

9) โรงเรียนของฉันและโรงเรียนในฝัน
โดย อุรา กองจันทร์, สมบัติ กองจันทร์ และ ต้นสกุล ศานติบูรณ์

”….ความคิดเห็นของนักเรียนระหว่างสภาพแวดล้อมและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนในฝันกับโรงเรียนของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งด้านการประสานความร่วมมือ การเอาใจใส่ การสร้างความสนุกสนาน การสร้างลักษณะนิสัยให้มีความขยันหมั่นเพียร และการสร้างความพึงพอใจ....

10) บทบาทของครู-นักเรียน ต่อการปรับปรุงกระบวนการการเรียนรู้และกิจกรรมการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศไทย
โดย เลิศ สิทธิโกศล, และต้นสกุล ศานติบูรณ์

...ร้อยละ 33 ของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ไทย.......


11) ห้องปฏิบัติการการเรียนรู้ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี
โดย วัชรพล วิทยากร และ ต้นสกุล ศานติบูรณ์

“…ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อห้องปฏิบัติการเรียนรู้ตามสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่พึงประสงค์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การให้ความร่วมมือระหว่างปฏิบัติการ การมีอิสระในแนวคิดเพื่อดำเนินการ ความเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันระหว่างกลุ่ม.......


กลุ่มที่ 3 งานวิจัยพื้นฐานและการพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดเพื่อชุมชน
1) การใช้พืช
Arabidopsis และ Yeast เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพในการศึกษาทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล
โดย สมฤดี ศรีทับทิม

 

“…Arabidopsis เป็นพืชต้นแบบ (Model Plant) ที่สำคัญในการศึกษาหน้าที่ของยีนต่อสรีรวิทยาของพืช......


2) การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากนมราชสีห์
โดย วิไลลักษณ์ อัคฮาค, หนูกร ปฐมพรรษ, ณัชชา พัมธมา , เพ็ญศรี ประจุดทะศรี , นิคม วงศา และสมฤดี ศรีทับทิม

“……สามารถรวมส่วนสกัดได้เป็น 14 ส่วน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ การตรวจสอบเอกลักษณ์ และการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ.....


3) บทเรียนสื่ออิเล็กทรอนิคส์ออนไลน์เพื่อการศึกษา เรื่อง การผลิตและการแปรรูปข้าวเม่า

โดย วิเชียร วรพุทธพร

.....สื่อนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสูตรส่วนผสมและวิธีการทำผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าชนิดต่างๆ เช่น ผลิจภัณฑ์กระยาสารท บ้าบิ่นข้าวเม่า ข้าวตูข้าวเม่า ข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าปรุงรสโอชาหรือข้าวเม่าทรงเครื่อง.......

4) การออกแบบและการสร้างพิมพ์แบบต่อเนื่องขึ้นรูปชิ้นส่วนเครื่องประดับ

โดย ธีระวัฒน์ แม้นด้วง, เดช พุทธเจริญทอง และจุลศิริ ศรีงามผ่อง

“….ผลผลิตที่ได้จากกรรมวิธีการผลิตโดยใช้แม่พิมพ์แบบต่อเนื่องปั๊มขึ้นรูปจะมีต้นทุนถูกกว่าร้อยละ 88 ลดเวลาในการผลิตลงร้อยละ 88......


5) การศึกษารูปแบบอุปกรณ์บังแดดและช่องแสงทางด้านข้าง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แสงสว่างธรรมชาติภายในห้องเรียน
:
กรณีศึกษา อาคารเรียนคณะวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
โดย ฉันทมน โพธิ์พิทักษ์

“…..ห้องเรียนชั้นที่ 3 ของอาคารเรียนที่ทำการวิจัยคณะวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มีช่องแสงทางด้านข้างอยู่ทางทิศตะวันออกประกอบกับอุปกรณ์บังแดดในแนวตั้ง ให้แสงธรรมชาติที่เข้ามาภายในห้องเรียนมีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพดีที่สุด.......


6) กรอบที่อยู่อาศัยเพื่อการก่อสร้างบ้านสำเร็จรูป
โดย อิทธิพล สิงห์คำ

“…..บ้านพักอาศัยในประเทศไทยสามารถแบ่งพื้นที่การใช้สอย ตามลักษณะการใช้งานอกอเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) พื้นท่ำสำหรับใช้ในการอยู่อาศัยทั่วไป 2) พื้นที่สำหรับระบบงานประปาและสุขาภิบาล  3) พื้นที่สำหรับการต่อเติมและสัญจร 4) พื้นที่สำหรับการสัญจรในแนวดิ่ง.....


7) การผลิตจาระบีจากน้ำมันพืช
โดย เฉลิมวุฒิ เนียมสุวรรณ


8) การสร้างโปรแกรมการคำนวณกระแสลัดวงจรในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดอุตรดิตถ์
โดย พจน์ ชัยอ้าย

“…โปรแกรมที่สร้างขึ้นสามารถแสดงรายละเอียดของกระแสและแรงดันในแต่ละลำดับ มีค่าใกล้เคียงกับตัวอย่างมาตรฐาน......

 


9) เครื่องแยกฝักออกจากลำต้นและกะเทาะเปลือกเมล็ดถั่วลิสง
โดย ธงชัย ฉายศิริ

“…การทำงานของเครื่องแยกฝักออกจากลำต้นและกะเทาะเปลือกเมล็ดถั่วลิสง ความเร็วรอบที่ชุดแยกฝักออกจากลำต้น 215 รอบ/นาที และความเร็วรอบที่ชุดกระเทาะเปลือก 75 รอบ/นาที.....

 


10) เครื่องเผาข้าวหลามกึ่งอัตโนมัติ
โดย วัลลภ ภูผา

“…การอบนี้สามารถที่จะบังคับให้ข้าวหลามนั้นสุกทั้งกระบอกเท่าๆกัน ซึ่งสะดวกในการผลิตและอาหารมีความสะอาด ซึ่งต่างจากการผลิตโดยวิธีการแบบดั้งเดิม…..”

11) เครื่องจักตอกไม้ไผ้กึ่งอัตโนมัติ
โดย สำเริง แพ่งศรี
“…พบว่า ระบบกลไกต่างๆ สามารถจักตอกได้ตอกแต่ละเส้น สามารถจักตอกบางได้อยู่ในช่วงความหนา 0.5-0.7 มิลลิเมตร โดยเครื่องจักตอกที่สร้างขึ้นมีอัตราการผลิตจักตอก 60 เส้นต่อนาที….”


* * ภาคโปสเตอร์ * *
กลุ่มที่ 1 การวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
1) การศึกษาการใช้ประโยชน์จากพืชน้ำของชุมชนรอบหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
โดย ทัศนัย ปัญจันทร์สิงห์

“…พบพืชที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ บัวหลวง พืชที่นำมาใช้ประโยชน์ด้านอาหารมากที่สุด คือ การนำมาใช้เป็นผักจิ้มแบะเป็นอาหารพื้นเมือง ได้แก่ ผัดผักบุ้ง และผัดหมูใส่ยอดใบบัวอ่อน….”

2) การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชวงศ์ขิงกับวิถีชีวิตของประชาชนในตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวงัดอุดรธานี
โดย พรพิศ ศรีโบราณ

“…พบความหลากหลายทางชีวภาพของพืชวงศ์ขิง ในภูวังงาม จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ กระเจียว กระเจียวขาว กระเจียวก้านแข็ง ข่า กระชาย ขมิ้น ขิง ตูบหมูบ สาคู และว่านไฟ...

3) ความหลากหลายทางชีวภาพของปลากับวิถีชีวิตของประชาชนในหนองหาน กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
โดย พาริณี โลมาอินทร์

“…ชาวประมงใช้ไส้เดือนเป็นเหยื่อเพื่อจับปลาทุกชนิด การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายชนิดของปลา พบปลา 8 อันดับ 14 วงศ์ 25 ชนิด…”



4) ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากเฟินในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภูหินลาดช่อฟ้า จังหวัดหนองบัวลำภู
โดย สุพาณี ศรีวิโรจน์ และศิวพงศ์ จำรัสพันธุ์

“… สามารถจำแนกการใช้ประโยชน์จากเฟินได้เป็น 3 ด้าน ค่อ ด้านสมุนไพร ซึ่งพบเฟินที่มีสรรพคุณทางยาจำนวน 13 ชนิด ได้แก่ กกหางไก่ ฝอยขัดหม้อ (ย่านลิเภา) กูดหอม โชนผี กูดกวาง ผักปีกไก่ นารีทั้งห้า กูดก้านดำ แฮนงูเขียว (กระแตไต่หิน) หมี้บ๋า(ชายผ้าสีดาหูช้าง)…”

โดย สุภาวดี ศรีเชียงสา

“…พืชที่นำมาทำสีย้อมมี 14 ชนิด ได้แก่ ประดู่ ตะกบ ไมยราบ สมอไทย หูกวาง ลิ้นฟ้า ข่า มะม่วง หมากแดง ขนุน งิ้ว อะลาง หว้า และยอบ้าน…”


6) การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของไผ่กับวิถีชีวิตบ้านโคกผักหวาน ตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
โดย อินทิรา เศษอ่อน

“…ระบบนิเวศที่ไผ่เจริญได้ดี คือ พื้นดินที่มีความชุ่มชื้น เช่น บริเวณขอบสระน้ำ ท้ายวสน หรือที่ดินที่มีน้ำไหลผ่าน.......

7) การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านภูไทในการทำเหล้าไห (อุ)

โดย ยุพิน แวงสุข และคณะ

“…การวิเคราะห์คุณภาพอุตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า ทั้งแรงแอลกดอฮอล์ คุณสมบัติทางเคมีและวัตถุดิบเจือปนในอาหารอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีความปลอดภัยในการบริโภค......

กลุ่มที่ 3 งานวิจัยพื้นฐานและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดชุมชน
1) โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปข้าวเม่าเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน
โดย วิเชียร วรพุทธพร, เพ็ญศรี เจริญวาณิช, ชัยชาญ วงศ์สามัญ, สมพงษ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์, สุ
รพล ภูมิพระบุ, ดิรก  สาระวดี และทิพาพร พรมเจริญ

“…กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรประกอบด้วยสมาชิก 37 คน มีเงินหมุนเวียนภายในกลุ่ม ผลิตข้าวเม่าสดวันละ 50-100 กิโลกรัม/ครอบครัว/วัน จำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางในราคาเฉลี่ย 25-40 บาทต่อกิโลกรัม.......


2) การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดทำแผนที่การกระจายทันตบุคลากร
; กรณีศึกษา จังหวัดมุกดาหาร
โดย ศิริจิต เทียนลัคนานนท์, สมจิตร อาจอินทร์ และ สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์

“…การกระจายทันตแพทย์ตามกรอบกระทรวงสาธารณสุข แตกต่างจากการกระจายแพทย์ตามแบบจำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1.....


3) การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายของสถานบริการสาธารณสุข
; กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

โดย อาษา อาษาไชย, สมจิตร อาจอินทร์ และ สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์

“…พบว่า มี 97 ตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ควรมีการจัดตั้งสถานบริการสาธารณสุขเพิ่มเติม......


4) การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในจังหวัดหนองบัวลำภู
โดย  จุฬาภรณ์ ชัยรัตน์, วิรัตน์ พงษ์ศิริและ จิรัฎฐา ภูบุญอบ

“…พบว่า ตำบลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในระดับสูง มีจำนวน 30 ตำบล.......

5) การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา
โดย พงษ์ศักดิ์ เชาว์วันกลาง, วิรัตน์ พงษ์ศิริและ จิรัฎฐา ภูบุญอบ

“…ระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่พัฒนาขึ้นสามารถจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลการรักษา ติดตามผู้ป่วยที่ขาดการรักษา รายงานผลให้เครือข่ายการรักษา ......


6) การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการเกิดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
โดย  อดุลย์ กล้าขยัน, วิรัตน์ พงษ์ศิริและ จิรัฎฐา ภูบุญอบ

“…พบว่า ตำบลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในระดับสูงมี 1 ตำบล ตำบลที่เสี่ยงในระดับปานกลางมีจำนวน 112 ตำบล.......


7) การสร้างแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา ระบบควบคุมงานด้านอาหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด
โดย สุกานดา เอี่ยมศิริถาวร, สมจิตร อาจอินทร์และ จิรัฎฐา ภูบุญอบ

“…พบว่า ตำบลที่มีความเหมาะสมมากที่สุดจำนวน 4 ตำบล ซึ่งได้เกรดคะแนนระดับเกรด A เนื่องจากมีค่าคะแนนความเหมาะสมของปัจจัยที่ได้รับจากการถ่วงน้ำหนักมากที่สุด.....

8) คุณภาพน้ำทางแบคทีเรียของน้ำบริโภคประจำครัวเรือนในเขตตำบลโจดม่วง กิ่ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ
โดย นวลจันทร์ สายวงศ์, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง และ วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์

“…สุขลักษณะของภาชนะและวิธีการกักเก็บน้ำเพื่อการบริโภคประจำครัวเรือนถูกสุขลักษณะแต่ยังมีการปนเปื้อนด้วยโคลิฟอร์มแบคทีเรียเกินมาตรฐาน……”


9) การพัฒนาแบบจำลองระบบสารสนเทศสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
โดย วัฒนา คงนาวัง, สมจิตร อาจอินทร์และ นิรุวรรณ อุประชัย

 

“…แบบจำลองพัฒนาโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access 97 มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากโปรแกรม THO สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลมาเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพ.....


10) เครื่องปั้นฐานโอ่งกึ่งอัตโนมัติ
โดยวัลลภ ภูผา

“…สามารถปั้นโอ่งได้ในระยะเวลาเฉลี่ย 31.76 นาทีต่อโอ่งหนึ่งใบ โดยไม่ต้องต่อช่วง สามารถขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ในครั้งเดียว ในหนึ่งวันทำงาน 8 ชั่วโมง จะได้โอ่งจำนวน 14 ใบ....


11) การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของรากก้นครกจากส่วนสกัดหยาบเมทานอล
โดย ณัชชา พันธมา, พิทักพงศ์ ชาบัวน้อย, สมเดช กนกเมธากุล และ ขวัญใจ กนกเมธากุล

“…พบสารสำคัญ ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรียในส่วนสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนแล้ว......


12) การศึกษาคุณภาพเนื้อสุกรขุนลูกผสมเปียเทรนขาวและเปียเทรนด่าง
โดย ชนะชัย บุญเพิ่ม และสุทธิ์พงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์

“…พบค่าความเป็นกรดเป็นด่าง การสูญเสียน้ำ และค่าแรงตัดผ่าน มีค่าใกล้เคียงกัน เนื้อสุกรลูกผสมที่เกิดจากพ่อเปียเทรนด่างแม้จะมีค่าความแดง (7.98) สูงกว่าแต่ก็ไม่แตกต่างลูกผสมที่เกิดจากพ่อเปียเทรนขาว (P>0.05)……”


13) การศึกษาการเจริญเติบโตของผักกาดหอมและผักกวางตุ้งฮ่องเต้บนวัสดุปลูกบางชนิด
โดย ธีรศักดิ์ พิลาวัลย์, ศักดิ์ชัย โวหาร, อรรจนา ด้วงแพง และวชิราวุธ พิศยะไตร


“…วัสดุปลุกที่มีเปอร์เซ็นต์การระบายน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างและค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการปลูกพืชที่สุด ค

หมายเลขบันทึก: 57383เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณบอนคะ 

  • น่าสนใจทั้งนั้นเลยค่ะ 
  • ทั้งหมดนี้เป็นงานวิจัยที่จัดในงานใช่ไหมคะ
ทั้งหมดคือ งานวิจัยในงานสัมมนาวิชาการที่อุดรธานีครับเข้มข้นทั้งนั้นเลย

คุณบอน

พี่ปลาอยากได้งานวิจัยเรื่อง

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายของสถานบริการสาธารณสุข ; กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายของสถานบริการสาธารณสุข ; กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมกับการเกิดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในจังหวัดหนองบัวลำภู

คงต้องไปถ่ายเอกสารจากที่ห้องสมุด ม.มหาสารคามแล้วล่ะครับ

เล่มของผมเอง ไม่รู้เก็บไว้ที่ไหนแล้วครับ

ไปที่ ม.มหาสารคาม ได้แน่นอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท