beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากผู้จัดสร้าง "สื่อโทรทัศน์" มันไม่ง่ายอย่างที่คิด


การถ่ายทำสื่อโทรทัศน์แต่ละตอนไม่ง่ายอย่างที่คิดเลยครับ

    วันนี้ผมได้โทรศัพท์ไปหาคุณบิ๊ก ทีมงานรายการ "คิดได้ไง" เพื่อสอบถามเรื่อง script คุณบิ๊กบอกว่าจะส่งให้พรุ่งนี้ ก่อนเที่ยง เนื่องจากขณะนี้อยู่นอก office พร้อมทั้งบอกว่า ขอนัดเวลาถ่ายทำด้วย เป็นวันอังคารและพุธที่ 1-2 พฤษภาคมนี้เลย

    ผมมานั่งเรียงลำดับ การทำสารคดีหรือสกู๊ป เรื่องหนึ่งต้องมีขั้นตอนยุ่งยากพอสมควร ผมจะใช้ตัวอย่างของเรื่องนี้ มาวิเคราะห์เล่าสู่กันอ่านนะครับ

    เริ่มจาก

  1. concept ของรายการเป็นอย่างไร
  2. หน่วยงานหรือบุคคลใดเข้ากับ concept ของรายการบ้าง ส่วนนี้ต้องหาข้อมูล
  3. ค้นหาข้อมูล เอกสาร หรือสัมภาษณ์ เพื่อนำมาเขียน script (เพื่อไม่ให้หลงประเด็นและง่ายต่อการถ่ายทำกับตัดต่อ)
  4. ไปถ่ายทำในสถานที่จริง (และต้องมี stock ภาพนิ่งและเคลื่อนไหว)
  5. ตัดต่อและออกอากาศ (on air)

     ขณะที่ทีมงาน "คิดได้ไง" สัมภาษณ์ผมเสร็จแล้ว เตรียมกลับ ผมยิงคำถามตรงๆ ว่า "ทำไมถึงมาเลือกผม (beeman) "  ทั้งๆ ที่เรื่องผึ้งเขาก็ออกทีวีกันเยอะแล้ว เหตุผลคือ

  1. concept ของรายการเขาเกี่ยวกับเรื่อง บุคคล, การเรียนรู้, การคิด,วิธีคิด, วิธีการถ่ายทอด และสิ่งที่สำคัญมากคือ แตกต่างจากบุคคลอื่นอย่างไร
  2. ทีมงานนี้ เจาะมาที่บุคคลที่มี List อยู่ใน "ครูภูมิปัญญาไทย" (เฉพาะรุ่น ๕ รุ่นอื่นถ่ายทำไปแล้ว) เพราะสกศ. (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา) ทำสัญญาจ้างให้ถ่ายทำ... ผมถามว่าในรุ่น ๕  มีจำนวนผู้ถูกคัดเลือก 65 ท่าน มีการคัดเลือกหรือไม่ คำตอบคือมีการคัดเลือก และคัดเลือกเพียง 10 เปอร์เซนต์ เท่านั้น (ประมาณ 6 ท่าน)
  3. เขาเลือกผมเพราะมีกระบวนการคิดที่แตกต่าง มีนวัตกรรม คิดค้นสิ่งใหม่ และมีการต่อยอดเสมอ เขาเลือกที่ตัว beeman ไม่ใช่ตัวผึ้ง แต่มีความรู้เรื่องผึ้งและแนวการเลี้ยงผึ้งใหม่ๆ
  4. ทำไมต้องมาสัมภาษณ์ทั้งทีมงาน เพราะจะต้องมาช่วยกันสัมภาษณ์และเก็บประเด็นไป เขียน Script แม้ว่าจะมีการวาง Scene ไว้แล้วก็ตาม และทีมงานต้องมีการประชุมกันก่อนเขียน script ด้วย
  5. ทางทีมงานแนะให้ผมดู ตอนที่ถ่ายทำไปแล้วเป็นตัวอย่าง ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ 6.00-6.30 น. (เช้า) จะเข้าใจมากขึ้น

     ผมถามว่าเวลาออกอากาศจริงกี่นาที เขาบอกมี 3 เบรกๆ ละ 8 นาที รวม 24 นาที ระหว่างเบรก มีโฆษนาคั่น 2 ครั้งๆ ละ 3 นาที รวมทั้งหมด 30 นาที

    ผมถามอีกว่า ต้องการออกอากาศ 24 นาที จะต้องถ่ายทำเท่าไร คำตอบคือถ่ายประมาณ 7 ม้วน ความยาวประมาณ 5-6 ชั่วโมง ถ่ายทำประมาณวันครึ่ง คือ ทีมงานต้องมาค้างที่พิษณุโลก 1 คืน

    หลังจากนั้นจะต้องนำ

    เฮ้อ! การถ่ายทำสื่อโทรทัศน์แต่ละตอนไม่ง่ายอย่างที่คิดเลยครับ ใช้เวลา 2 วัน กับอากาศร้อนๆ วันที่ 1-2  พฤษภาคม 2550 เป็นวันถ่ายทำครับ... ถ้าออกอากาศแล้วผมจะได้สิ่งตอบแทนเป็น Master VCD หนึ่งม้วนครับ แต่สิ่งที่ได้เหนือ Master VCD คือ คุณค่าในการที่เราได้ออกอากาศ เป็นคนของประชาชนโดยแท้จริง..

beeman by Apinya

 

หมายเลขบันทึก: 91982เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาเยี่ยมค่ะ 
  • เหมาะสมกับ  "ครูภูมิปัญญาไทย"  ขอให้กำลังใจค่ะ
  • ขอบคุณ ที่แวะมาเยี่ยมครับ คุณครูหญ้าบัว
  • ครูภูมิปัญญาไทย เป็นครูระดับชาติ ทำอย่างไรจะเข้าถึงประชาชน ให้ความรู้ในด้านที่เราถนัด
  • ผมคิดว่า สื่อโทรทัศน์นี้ดีที่สุด
  • แม้ว่า ช่วงเวลาเช้า คนดูน้อย แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยครับ
  • อย่างน้อยเราก็ได้ทำงานเพื่อปวงชนบ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท