การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผ่านระบบสารสนเทศ ด้วยแนวคิดลีน ECRS (ต่อเนื่องปีที่ 2)


บทนำ (ที่มาและความสำคัญ) :

          การวิจัย เป็นภารกิจที่สําคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เนื่องจากเป็นรากฐานในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่สามารถนําไปบูรณาการกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการได้ นําไปสู่ความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศชาติได้ต่อไป

          สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2566) ทำหน้าที่หลักในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย พัฒนาศักยภาพนักวิจัยเพื่อนำไปสู่การผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ การแสวงหาแหล่งทุนและทรัพยากรด้านการวิจัย การสร้างบรรยากาศ การวิจัยเพื่อจูงใจให้มีการผลิตผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น และส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัย 

          ในปีการศึกษา 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีการจัดการความรู้ เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผ่านระบบสารสนเทศ ด้วยแนวคิดลีน (ECRS)” เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน ลดระยะเวลา และลดทรัพยากรกระดาษ พร้อมทั้งมีการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับประเมินโครงการวิจัย (Research Evaluation Online) ขึ้น แต่ขั้นตอนการทำงานใหม่ และระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น รองการการทำงานแค่กระบวนการต้นน้ำ ยังไม่ครอบคลุมไปถึงกระบวนการกลางน้ำและปลายน้ำ

          ด้วยเหตุนี้ เพื่อตอบสนองการบริหารจัดการงานงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และครบทุกกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการความรู้ต่อเนื่องในปีที่ 2 โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือ ECRS มาใช้ในปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมทั้งมีการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับบริหารจัดการงานวิจัยขึ้น ในรูปแบบ Responsive Web Application รองรับการทำงานกับทุกอุปกรณ์และทันสถานการณ์ JITJIN (Just In Time and Just In Need) 

4. วิธีการดำเนินงาน :

4.1 กระบวนการ ขั้นตอนและเครื่องมือ             

1) ก.พ.ร. โมเดล

2) ECRS

3) Dialogue

4) AAR

4) Storytelling

4.2 การบ่งชี้หรือค้นหาความรู้

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้จัดตั้งคณะทำงาน และทำเป็นเอกสารคำสั่งแต่งตั้ง “คณะกรรมการบริหารการจัดการความรู้สถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2566” ขึ้น และได้ร่วมกันคิดประเด็นการจัดการความรู้ คือ “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผ่านระบบสารสนเทศ ด้วยแนวคิดลีน ECRS (ต่อเนื่องปีที่ 2)” ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ -> Key Results 4.2.2 ระบบและกลไกเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน -> Program 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการแบบ One Stop Service และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์สถาบันวิจัยและพัฒนา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแหล่งบริการข้อมูลตามพันธกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนา (สถาบันวิจัยและพัฒนา, 2566)

4.3 การสร้างและแสวงหาความรู้ 

ค้นคว้าและรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดการความรู้จากแหล่ง ข้อมูลภายในและภายนอก ซึ่งจำแนกองค์ความรู้ได้ดังนี้

จากภายในองค์กร

ชื่อองค์ความรู้ ประเภท แหล่งความรู้ วิธีการ Capture ความรู้
แนวคิด  Lean, ECRS Tacit อาจารย์พุฒิธร ตุกเตียน
(ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ)
จัดเวที  Dialogue/Storytelling แบบออนไลน์
การเขียนโปรแกรมบนเว็บ Tacit

นายธนภัทร เจิมขวัญ

(นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ)

Learn Review
แบบฟอร์มรายงานความ ก้าวหน้างานวิจัย 
งบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏสงขลา 
Explicit สถาบันวิจัยและพัฒนา Learn Review
แบบประเมินรายงาน
ความก้าวหน้างานวิจัย 
งบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏสงขลา 
Explicit สถาบันวิจัยและพัฒนา Learn Review
แบบฟอร์มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ งบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  Explicit สถาบันวิจัยและพัฒนา Learn Review
แบบประเมินรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ งบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  Explicit สถาบันวิจัยและพัฒนา Learn Review

จากภายนอกองค์กร

ชื่อองค์ความรู้ ประเภท แหล่งความรู้ วิธีการ Capture ความรู้
การประเมินงานวิจัยผ่านระบบสารสนเทศ Tacit

ผศ.ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ
ผศ.ชรินทร์ อินทะสุวรรณ์

ผศ.ชาญวิทย์ จันทร์อินทร์

จัดเวที  Dialogue/Storytelling 
แบบออนไลน์
บทความวิจัย เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพของบริการเอกสารรายงานวิจัยด้วยแนวคิด Lean” Explicit PULINET Journal : ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค Learn Review
บทความวิจัย เรื่อง “ผลของการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการปรับปรุงระบบเติมเต็มยาคงคลังของงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลศรีนครินทร” Explicit

วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

 

Learn Review
แบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้างานวิจัย 
งบกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) 
Explicit

ระบบ  NRIIS

https://nriis.go.th/www/

Learn Review
แบบประเมินรายงาน
ความก้าวหน้างานวิจัย 
งบกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)
Explicit

ระบบ  NRIIS

https://nriis.go.th/www/

Learn Review
แบบฟอร์มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ งบกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) Explicit

ระบบ  NRIIS

https://nriis.go.th/www/

Learn Review
แบบประเมินรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ งบกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) Explicit

ระบบ  NRIIS

https://nriis.go.th/www/

Learn Review
PHP Tutorial Explicit

เว็บไซต์  W3 School

https://www.w3schools.com/php/

Learn Review /Storytelling

 

ภาพที่ 1-2 จัดเวที Dialogue/Storytelling แบบออนไลน์ (ครั้งที่ 1)

 

ภาพที่ 3-4 จัดเวที Dialogue/Storytelling แบบออนไลน์ (ครั้งที่ 2)

4.4 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

          1) ทำกิจกรรม Dialogue แบบออฟไลน์ โดยนัดคณะกรรมการบริหารการจัดการความรู้สถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อระดมสมอง (Brainstorm) ร่วมกันศึกษาถึงปัญหาของระบบบริหารจัดการงานวิจัยเดิม (กลางน้ำและปลายน้ำ) และร่วมกันวิเคราะห์สายธารคุณค่า (Value Stream) เป็นการวิเคราะห์และสร้างคุณค่าในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานเพื่อพิจารณาว่าขั้นตอนใดที่ไม่เพิ่มคุณค่าและเป็นความสูญเปล่า รวมทั้งหาวิธีขจัดออกไป ดังภาพที่ 5 - 8

          2) ถอดบทเรียนจากกิจกรรมในข้อ 1) มาสรุปเป็น “ขั้นตอนระบบงานใหม่ (กลางน้ำและปลายน้ำ)” 
ดังภาพที่ 9

          3) ถอดตารางสายธารคุณค่าจากข้อ 2) ออกมาเป็น Requirement เพื่อนำไปออกแบบระบบสารสนเทศใหม่ที่จะพัฒนา ได้แก่ ออกแบบ User Interface, ER-Diagram และ DFD เป็นต้น

          4) ลงมือพัฒนาระบบ ขั้นตอนและวิธีการใช้ตัวแบบ ADDIE Model ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้น ดังนี้ (มนต์ชัย เทียนทอง, 2548) Analysis, Design, Develop, Implement และ Evaluation 

          5) ทดสอบและแก้ไขเบื้องต้นโดยผู้พัฒนาระบบ (นายธนภัทร เจิมขวัญ) จนได้ระบบใหม่ ดังภาพที่ 10

 

ภาพที่ 5-6 กิจกรรม Dialogue เพื่อระดมสมอง (Brainstorm) แบบออฟไลน์

ภาพที่ 7 ตารางสายธารคุณค่า กระบวนการกลางน้ำ 

ภาพที่ 8 ตารางสายธารคุณค่า กระบวนการปลายน้ำ 

 

ภาพที่ 9 ขั้นตอนระบบงานใหม่

ภาพที่ 10 ระบบสารสนเทศสำหรับประเมินโครงการวิจัย (REO)

4.5 การประมวลและกลั่นกรองความรู้

          1) ทำกิจกรรม AAR (After Action Review) โดยมีการนำเสนอผลการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานแบบใหม่ และผลการพัฒนาระบบสารสนเทศฯ ให้คณะกรรมการการจัดการความรู้ของสถาบันวิจัยฯ ทดสอบการใช้งาน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นเพิ่ม พร้อมทั้งแก้ไขระบบให้ดียิ่งขึ้น

          2) แก้ไข ปรับปรุง ตามข้อเสนอแนะในข้อ 1)

4.6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

          1) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านกระดานสนทนาของเว็บไซต์การจัดการความรู้ (KM-Blog) และการแบ่งปันความรู้ ผ่าน Facebook ของสถาบันวิจัยฯ ดังภาพที่ 11-12

          2) กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อประเมินโครงการวิจัย” โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่วิจัยทุกคณะ และตัวแทนนักวิจัย ดังภาพที่ 13-14

          3) จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศฯ ดังภาพที่ 15-16

 

ภาพที่ 11 – 12 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน Facebook และ KM-Blog

 

ภาพที่ 13 – 14 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อประเมินโครงการวิจัย”

 

ภาพที่ 15 – 16 แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศฯ

4.7 การเข้าถึงความรู้

โดยการส่งหรือกระจายความรู้ใน 2 ลักษณะ คือ

  1. Push (การป้อนความรู้โดยผู้รับมิได้ร้องขอ) โดยทำการส่งวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้องค์ความรู้และแนวปฏิบัติใหม่ ไปยังอีเมล์ของคณาจารย์/นักวิจัย
  2. Pull (เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถเลือกรับข้อมูลที่ต้องการ) โดยวิธีโพสวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้องค์ความรู้และแนวปฏิบัติใหม่ไปยังเว็บไซต์การจัดการความรู้

4.8 การเรียนรู้

          1) อัพโหลดซอร์สโค้ดของระบบสารสนเทศที่ได้พัฒนา ไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ของมหาวิทยาลัยตามที่อยู่ https://ird.skru.ac.th/REO

          2) จัดทำหนังสือแจ้งนักวิจัยทางอีเมล์ เพื่อส่งข้อเสนอโครงการวิจัยผ่านระบบ

          3) จัดทำหนังสือแจ้งผู้ทรงคุณวุฒิทางอีเมล์ เพื่อประเมินข้อเสนอโครงการวิจัยผ่านระบบ

5. สรุปและอภิปรายผลการดำเนินงาน :

1) ขั้นตอนการปฏิบัติงานลดลง 18 ขั้นตอน และลดทรัพยากรกระดาษได้ประมาณ 1,880 แผ่นต่อปีงบประมาณ ดังตารางที่ 1 - 3

2) มีระบบสารสนเทศสำหรับประเมินโครงการวิจัย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ตามสิทธิ์การเข้าถึง (นักวิจัย, อนุกรรมการประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย, ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย และผู้ดูแลระบบ) ซึ่งมีการอัปโหลดไปยังเครื่องแม่ข่ายของมหาวิทยาลัยตามที่อยู่ https://ird.skru.ac.th/REO

          3) มีการใช้งานระบบสารสนเทศที่ได้พัฒนาขึ้นแบบออนไลน์ 

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบปริมาณกระดาษหลังจากการดำเนินงาน (กลางน้ำและปลายน้ำ)

เอกสาร ปริมาณกระดาษ
ก่อนพัฒนาระบบ
ปริมาณกระดาษ
หลังพัฒนาระบบ
จำนวนกระดาษที่ลดลง
แบบฟอร์มรายงานความ ก้าวหน้างานวิจัย 
งบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏสงขลา 
300 แผ่น 0 แผ่น 300 แผ่น
แบบประเมินรายงานความก้าวหน้างานวิจัย 
งบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏสงขลา 
40 แผ่น 0 แผ่น 40 แผ่น
แบบฟอร์มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ งบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  1,400 แผ่น 0 แผ่น 1,400 แผ่น
แบบประเมินรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ งบกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  60 แผ่น 0 แผ่น 60 แผ่น
บันทึกข้อความ หนังสือราชการต่าง ๆ รวมถึงซองน้ำตาลขยายข้าง 80 แผ่น 0 แผ่น 80 แผ่น
รวม 1,880 แผ่น 0 แผ่น 1,880 แผ่น

* คิดจากจำนวนโครงการวิจัย 20 เรื่อง

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบจำนวนขั้นตอนการทำงานหลังจากการดำเนินงาน (กลางน้ำ)

ขั้นตอนเดิม ขั้นตอนใหม่
1. สถาบันวิจัยฯ ทำบันทึกข้อความติดตามให้นักวิจัยส่งรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ก่อน 30 วัน 1. สถาบันวิจัยฯ ทำบันทึกข้อความติดตามให้นักวิจัยส่งรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ก่อน 30 วัน
2. นักวิจัยจัดทำรายงานความก้าวหน้างานวิจัยตามแบบฟอร์ม 2. นักวิจัยจัดทำรายงานความก้าวหน้างานวิจัย และส่งผ่านระบบ REO
3. นักวิจัยส่งรายงานความก้าวหน้างานวิจัย พร้อมบันทึกข้อความ มายังสถาบันวิจัยฯ 3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัยตรวจสอบไฟล์รายงานความก้าวหน้างานวิจัย และติดต่อทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิ
4. ธุรการสถาบันวิจัยฯ ลงรับหนังสือ และส่งผ่านหนังสือไปยังหัวหน้าสำนักงาน 4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย Assign ไฟล์ไปยังผู้ทรงฯ ผ่านระบบ REO
5. หัวหน้าสำนักงานส่งผ่านหนังสือไปยังรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการ 5. ผู้ทรงฯ ประเมินผ่านระบบ REO
6. ผู้อำนวยการเกษียนหนังสือไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย 6. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย แจ้งผลประเมินไปยังนักวิจัยผ่านไลน์และอีเมล์
7. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัยตรวจสอบ และติดต่อทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมิน 7. นักวิจัยทราบผล และแก้ไขรายงานความก้าวหน้างานวิจัยผ่านระบบ REO
8. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย ส่งเอกสารให้ผู้ทรงคุณวุฒิผ่านทางไปรณีย์  
9. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรายงานความก้าวหน้าผ่านแบบฟอร์มที่ส่งให้  
10. ผู้ทรงคุณวุฒิส่งผลการประเมินกลับมายังสถาบันวิจัยฯ ผ่านทางไปรษณีย์  
11. ธุรการสถาบันวิจัยฯ รับเอกสาร ลงรับหนังสือ และส่งผ่านหนังสือไปยังหัวหน้าสำนักงาน  
12. หัวหน้าสำนักงานส่งผ่านหนังสือไปยังรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการ  
13. ผู้อำนวยการเกษียนหนังสือไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย  
14. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัยตรวจสอบ และแจ้งนักวิจัยโดยทำบันทึกข้อความ  
15. นักวิจัยแก้ไขรายงานความก้าวหน้า โดยจัดทำเป็นเอกสารพร้อมทั้งบันทึกข้อความ ส่งมายังสถาบันวิจัยฯ  
16. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย ตรวจสอบ และบันทึกผลไปยังไฟล์ Excel ทะเบียนคุม  

* คิดจากจำนวนโครงการวิจัย 20 เรื่อง

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบจำนวนขั้นตอนการทำงานหลังจากการดำเนินงาน (ปลายน้ำ)

ขั้นตอนเดิม ขั้นตอนใหม่
1. สถาบันวิจัยฯ ทำบันทึกข้อความติดตามให้นักวิจัยส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ก่อน 30 วัน 1. สถาบันวิจัยฯ ทำบันทึกข้อความติดตามให้นักวิจัยส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ก่อน 30 วัน
2. นักวิจัยจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ตามแบบฟอร์ม 2. นักวิจัยจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และส่งผ่านระบบ REO
3. นักวิจัยส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ พร้อมบันทึกข้อความ มายังสถาบันวิจัยฯ 3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัยตรวจสอบไฟล์รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และติดต่อทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิ
4. ธุรการสถาบันวิจัยฯ ลงรับหนังสือ และส่งผ่านหนังสือไปยังหัวหน้าสำนักงาน 4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย Assign ไฟล์ไปยังผู้ทรงฯ ผ่านระบบ REO
5. หัวหน้าสำนักงานส่งผ่านหนังสือไปยังรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการ 5. ผู้ทรงฯ ประเมินผ่านระบบ REO
6. ผู้อำนวยการเกษียนหนังสือไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย 6. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย แจ้งผลประเมินไปยังนักวิจัยผ่านไลน์และอีเมล์
7. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัยตรวจสอบ และติดต่อทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมิน 7. นักวิจัยทราบผล และแก้ไขรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผ่านระบบ REO
8. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย ส่งเอกสารให้ผู้ทรงคุณวุฒิผ่านทางไปรณีย์  
9. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผ่านแบบฟอร์มที่ส่งให้  
10. ผู้ทรงคุณวุฒิส่งผลการประเมินกลับมายังสถาบันวิจัยฯ ผ่านทางไปรษณีย์  
11. ธุรการสถาบันวิจัยฯ รับเอกสาร ลงรับหนังสือ และส่งผ่านหนังสือไปยังหัวหน้าสำนักงาน  
12. หัวหน้าสำนักงานส่งผ่านหนังสือไปยังรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการ  
13. ผู้อำนวยการเกษียนหนังสือไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย  
14. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัยตรวจสอบ และแจ้งนักวิจัยโดยทำบันทึกข้อความ  
15. นักวิจัยแก้ไขรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยจัดทำเป็นเอกสารพร้อมทั้งบันทึกข้อความ ส่งมายังสถาบันวิจัยฯ  
16. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานวิจัย ตรวจสอบ และบันทึกผลไปยังไฟล์ Excel ทะเบียนคุม  

6. ข้อเสนอแนะและการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ :

          การประยุกต์ใช้แนวคิด Lean โดยเครื่องมือ ECRS มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน ทำให้สามารถมองเห็นความสูญเปล่าที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงาน นำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงานเพื่อลดความสูญเปล่า มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย ช่วยสร้างและเพิ่มคุณค่าการให้บริการของหน่วยงานได้ดียิ่งขึ้น

7. บรรณานุกรมและการอ้างอิง 

เกษวรา อินทรฉิม. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพของบริการเอกสารรายงานวิจัยด้วยแนวคิด Lean

          PULINET Journal. 2 (3): 96-102.

ขนิษฐา กลิ่นพิพัฒน์. (2556). การกำจัดความสูญเปล่า โดยใช้แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่ากับบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
          พลาสติก. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ คณะโลจิสติกส์ 
          มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (10 กรกฎาคม 2566). แผนกลยุทธ์ สถาบันวิจัยฯ ฉบับทบทวน 
          ฉบับปีงบประมาณ 2561-2565. สืบค้นจาก http://ird.skru.ac.th/2558/plan.php

สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (20 กรกฎาคม 2566). ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เรื่อง 
          หลักเกณฑ์การสนับสนุนค่าตอบแทนการตีพิมพ์บทความวิจัยและงานสร้างสรรค์ฯ พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก 
          http://ird.skru.ac.th/2558/caution.php

W3 School. (20 July 2023). PHP Tutorial. Available From https://www.w3schools.com/php/

Shmula. (21 July 2023). What is ECRS?. Available from: http://www.shmula.com/

          eliminate-combine-rearrange-simplify-work-analysissheet/10340/.

 

หมายเลขบันทึก: 718168เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2024 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2024 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ผศ.ยะโก๊ะ ขาเร็มดาเบะ

น่าสนใจมากครับ ที่มหาลัยผม ก็มีการนำเอา ECRS มาใช้ลดขั้นตอนงานในการบริงานโครงการเช่นกัน ผนวกกับการทำ Design Thinking เพื่อเปิดโอกาสให้ user ได้ออกแบบนวัตกรรมสำหรับกระบวนงานใหม่ ครับ

เยี่ยมมากจ๊ะ เป็นกำลังใจให้ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท