AI กับการปรับเปลี่ยนระบบ ววน. ของประเทศ


 

บทความใน เว็บไซต์ University World News วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๗ เรื่อง Report highlights strategies to accelerate AI in research   นำสู่รายงาน  Preparing National Research Ecosystems for AI: Strategies and progress in 2024  ของ ISC – International Science Council ที่มีข้อมูลจาก ๑๒ ประเทศ    เสนอว่า ต้องมีการจัดการระบบนิเวศของการวิจัยใหม่ จากพัฒนาการของ Gen AI    โดยปลายปี ๒๕๖๗ จะมีผลการวิจัยที่ครอบคลุมกว่านี้ ออกเผยแพร่   

 ประเด็นที่เขาเป็นห่วงคือ “emerging impact of AI on the documentation, funding and reporting of science”  ซึ่งจะต้องรวมทั้งระบบการจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมทั้งหมด   โดยในรายงานตั้งคำถามไว้ ๖ ประเด็น   ที่สำคัญคือวิถีชีวิตของนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยและนวัตกรรมจะเปลี่ยนขาด (transform) ไปโดยสิ้นเชิง     

รายงานนี้ได้จาก Workshop ที่จัดที่กัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๖  โดยการสนับสนุนของรัฐบาลมาเลเซียและออสเตรเลีย    แปลกที่ไทยไม่ได้เข้าร่วมด้วย   

เขาค้นรายงานตีพิมพ์เกี่ยวกับแผนระดับประเทศในการบูรณาการ AI เข้ากับระบบวิทยาศาสตร์และวิจัยของ ๑๒ ประเทศนี้ ที่เผยแพร่ระหว่างปี 2018 – 2023  พบทั้งหมด ๓๑๗ รายงาน ที่อยู่ในหลากหลายรูปแบบ    นำสู่ประเด็นที่ต้องเอาใจใส่ ๔๕ ประเด็น   และจัดกลุ่มได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ  คือ

research and development agenda setting, technology assessment, foresight and science advice;

public engagement, science communication and public accountability;

regulation, standards, private sector governance and self-regulation.

ในแต่ละกลุ่มมีประเด็นย่อยจัดทำเป็นตาราง    ผู้บริหารในระบบ ววน. ควรเข้าไปอ่านรายละเอียด   

ตามด้วยกรณีศึกษา  จาก ๑๒ ประเทศที่เข้าร่วม    ตัวอย่างเช่น ออสเตรเลีย ดำเนินการพัฒนาการใช้ AI แบบใช้คนเป็นศูนย์กลาง     เบนิน คำนึงถึงการใช้ AI พัฒนาการเป็นศูนย์บริการดิจิทัลของอัฟริกาตะวันตก    บราซิล เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก  AI อย่างระมัดระวัง    กัมพูชา  แสวงหาแนวทางใช้ AI รับใช้ระบบวิจัยของประเทศ    ชิลี  หาแนวทางใช้ AI ในระบบทุนวิจัยของประเทศ    จีน พัฒนา AI เพื่อใช้พัฒนาวิทยาศาสตร์    อินเดีย  หาทางทำความเข้าใจเทคโนโลยีเปลี่ยนขาด เพื่อบูรณาการสู่สังคม    มาเลเซีย เพื่อหนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ ๔    เม็กซิโก สร้างองค์กรระดับชาติด้าน AI    โอมาน ส่งเสริมนวัตกรรมผ่านการบริหาร    อุรุกวัย  เตรียมระบบวิทยาศาสตร์ของประเทศที่รองรับ AI    อุซเบกิสสถาน  พัฒนาสถานภาพและทักษะรองรับ AI     

ต้องเข้าไปอ่านรายละเอียดของแต่ละประเทศนะครับ    จะเห็นว่าประเทศจีนตั้งหน่วยงานพัฒนา AI   เน้นบทบาททั้งด้านผู้พัฒนาและผู้ใช้    อ่านคร่าวๆ แล้วผมตั้งคำถามว่า ไทยเราจะมีจุดยืนในเรื่อง AI จากมุมผู้พัฒนาและผู้ใช้ อย่างไร   

งานนี้อยู่ในสภาพกำลังเดินหน้า    อีก ๑๓ ประเทศกำลังเขียนกรณีศึกษาของประเทศตน   จะมีการประชุมครั้งที่ ๒ ปลายปีนี้   รวมทั้งรายงานที่มีความครบถ้วนมากกว่านี้ 

เป็นโอกาสที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบระบบ ววน. ของประเทศไทย จะเข้าร่วมเรียนรู้ และหาทางพัฒนาระบบ ววน. ของเราโดยใช้ AI เป็นตัวหนุน   รวมทั้งเพื่อวางแนวทางหนุนการพัฒนา AI ในบริบทไทย

วิจารณ์ พานิช

๘ เม.ย. ๖๗ 

 

หมายเลขบันทึก: 718196เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2024 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2024 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท