สรุปความรู้เรื่องอุปกรณ์ช่วยจากสถาบันสิรินธร


     ณ วันที่ 5 มีนาคม 2567 นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับโอกาสไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิชา PTOT366 อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักกิจกรรมบำบัด จัดทำโดย นางสาวธวัลพร ศรีเกียรติณรงค์

     การเดินทางไปศึกษาดูงานครั้งนี้ถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าเป็นการนำเสนอ Assistive device ของนักศึกษาแล้วตอนบ่ายจึงเป็นการเรียนกับผู้มีประสบการณ์ในสถาบัน บรรยากาศการนำเสนอผลงานเป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่กดดัน และได้รับคำชี้แนะจากอาจารย์ทั้งหลายที่มาฟังช่วยเสริมความรู้และอุดช่องโหว่ของชิ้นงานได้อย่างดี

     ความรู้สึกที่ได้

  1. รู้สึกผ่อนคลายกับบรรยากาศเป็นกันเองในสถานที่ พี่ๆพร้อมให้ความรู้และมีความตั้งใจในการสอนนักศึกษา
  2. ชอบการสอนที่ให้เห็นอุปกรณ์จริง ทำให้นักศึกษาไม่ใช่แค่เห็นภาพแต่เนื้อหาดูจับต้องได้มากขึ้น

     สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. ได้ทวนประเภทของอุปกรณ์ช่วย ว่ามี 6 ประเภท ได้แก่ Self-care, Communication, Cognitive, Vision, Hearing, Mobility
  2. ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ assistive device for ambulation ซึ่งก็คือ wheelchair โดยประเภทของ wheelchair ที่ได้พบประกอบไปด้วย

    -motor wheelchair เป็นแบบ high technology เหมาะกับคนที่ไม่มีแรงแขนมากพอจะปั่นล้อเอง

    -standing wheelchair ต้องดูสัดส่วนและน้ำหนักของผู้รับบริการเพื่อนำมาพิจารณาเวลา wheelchair ดันให้ผู้รับบริการอยู่ในท่ายืน อุปกรณ์ไม่ควรจะดึงยืดหรือกดเข่ามากเกินไป เพราะจะเกิด deformity ตามมาได้ การปรับให้ wheelchair อยู่ในท่านั่งหรือยืนผู้รับบริการสามารถทำได้เอง

    -tilt in space เป็นรูปแบบการปรับ wheelchair ที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ hyper ton

Rental Tilt-in-Space Wheelchair - Bellevue Healthcare

           resource: https://bellevuehealthcare.com/product/rental-tilt-space-wheelchair/

    -declining เป็นรูปแบบปรับเอนพนักพิง เหมาะกับผู้รับบริการ hypo tone

      resource: https://www.carousell.sg/p/wheel-chair-backrest-fully-decline-footrest-fully-flat-227544086/

     3. ได้เห็นอุปกรณ์ transfer อย่าง hoist เหมาะกับผู้รับบริการติดเตียง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดภาระผู้ดูแลได้

     การต่อยอด

ช่วยให้นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษาและแนะนำอุปกรณ์ช่วยให้กับผู้รับบริการได้ นอกจากนี้ประสบการณ์ที่ได้จากการออกแบบชิ้นงานยังทำให้นักศึกษาเกิดแรงบันดาลใจ สามารถออกแบบอุปกรณ์ช่วยต่างๆในอนาคตโดยเฉพาะแบบประยุกต์เป็น low technology เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยต่างๆได้มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 717571เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2024 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2024 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท