การศึกษานอกห้องเรียน ณ ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ สถาบันสิรินธรฯ


       สวัสดีค่ะ…ดิฉันนางสาวพัชรพร ผ่องผล นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหดลวันนี้จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษานอกห้องเรียนในรายวิชา PTOT 366 เทคโนโลยีและอุปกรณ์ช่วยสำหรับนักกิจกรรมบำบัด วันที่ 5 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ 

       ทางนักศึกษาได้มีการนำอุปกรณ์เครื่องช่วยไปนำเสนอ ณ ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ สถาบันสิรินธร เช่น ที่ช่วยตัดเล็บ ที่ช่วยจับกะทะ ที่ช่วยเขียนหนังสือ โดยกลุ่มของดิฉันได้ทำอุปกรณ์ช่วยใส่เสื้อชั้นในด้วยมือข้างเดียว และได้รับฟังคำแนะนำและข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ช่วยชี้แนะถามทำให้เห็นภาพในการทำการคิดการวางแผนในการทำอุปกรณ์ช่วย ว่าควรจะคำนึงถึงผู้รับบริการและความเหมาะสม เช่น ระยะเวลาในการใส่จริงเป็นอย่างไรเปรียบเทียบกับใส่แบบสวมหัวที่ไม่ต้องติดตะขอ จะต้องลองใส่เองกี่ครั้งใส่ยากหรือต้องใช้ความพยายามมากไหม ข้อเสนอแนะที่ได้ลองใช้อุปกรณ์จริงควรคำนึงถึงการที่ผู้รับบริการจะใช้จริงๆ ไม่อ้างอิงจากตัวเราเป็นหลัก ซึ่งถือว่าทำให้ได้คิดต่อยอด เป็นประสบการณ์ที่ดีมากค่ะ

            หลังจากนั้นในช่วงบ่ายได้ฟัง Lecture และเห็นภาพอุปกรณ์ช่วยเพิ่มเติมในด้าน self-care, communication, cognitive, vision, hearing, mobility โดยเฉพาะในด้าน mobility ที่ห้อง Exhibition ของ ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ทำให้ได้เห็นเทคโนโลยีเครื่องช่วยสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการเคลื่อนไหวที่เป็นของจริงและหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ Low Technology ไปจนถึง High Technology 

  • ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีเครื่องช่วยสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการเคลื่อนไหว การใช้

งานและการพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้รับบริการในแต่ละพยาธิสภาพ

-Motor wheelchair (High Technology)

: พิจารณาในผู้รับบริการที่ไม่สามารถใช้หรือปั่น manual wheelchair ได้ หรือได้น้อยกว่า 10 m

: พิจารณาในผู้รับบริการที่แขนมีแรงในการปั่นที่ล้อแต่มีโรคร่วม เช่น SLE, HF 

: พิจารณาในผู้รับบริการที่จะต้องไม่มีปัยหาด้านการมองเห็น, Cognition, Perception 

: พิจารณาการใช้งานจากสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของผู้รับบริการด้วย เช่น เคลื่อนไหวบ่อย

-Standing wheelchair (มีตัวรอง Patella เพื่อรองรับและป้องกันขณะยืนไม่ให้ดังรั้งเข่าเกินไป)

: ในการใช้งานต้องดูน้ำหนักและส่วนสูงของผู้รับบริการเพื่อดูโช้คของ standing wheelchair ที่จะทำให้สามารถดันตัวขึ้นได้

: ในการใช้งานต้องปรับตัวล็อคและดันตัวขึ้นและดึงตัวลงด้วยตนเอง

: พิจารณาในผู้รับบริการที่มีความจำเป็นต้องทำงานในการยืน เช่น ช่างไม้ ช่างตัดผม 

: ไม่พิจารณาใช้ในผู้รับบริการ TBI, Parkinson เนื่องจาก Postural control ไม่ดี

: ข้อควรระวัง ต้องระวังการเกิด contracture ที่ข้อเท้าและPostural hypotension ขณะส่งตัวขึ้น 

https://www.google.com/search?q=Standing+wheelchair&tbm=isch&ved=2ahUKEwjkzIqUuueEAxU27TgGHWUKCtwQ2-cCegQIABAA&oq=Standing+wheelchair&gs_lp=EgNpbWciE1N0YW5kaW5nIHdoZWVsY2hhaXIyBRAAGIAEMgUQABiABDIFEAAYgAQyBRAAGIAEMgUQABiABDIFEAAYgAQyBhAAGAUYHjIGEAAYBRgeMgYQABgFGB4yBhAAGAUYHkj8DVDDCFjDCHAAeACQAQCYAaMBoAGLAqoBAzAuMrgBA8gBAPgBAYoCC2d3cy13aXotaW1niAYB&sclient=img&ei=pnrsZeThLLba4-EP5ZSo4A0&bih=738&biw=1536#imgrc=aCKdLnVoCnyLGM

-Tilt in space (Head rest)

: สามารถใช้งานได้ในรูปแบบ Declining Position เหมาะกับผู้รับบริการ Hypo muscle tone

: สามารถใช้งานได้ในรูปแบบ Tilt in space เหมาะกับผู้รับบริการ Hyper Muscle tone, เกร็งเหยียด หรือ Poor neck control

: พิจารณาในผู้รับบริการ Hypo/Hyper muscle tone แต่จะต้องใช้และปรับให้ถูกกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น Cerebral palsy หากใช้ในรูปแบบ Decline ไปนานๆจะทำให้เด็กกลายเป็นตัวงอ 

-Hoist อุปกรณ์ช่วยยกและเคลื่อนย้ายตัวผู้รับบริการ

 https://www.google.com/search?sca_esv=59c13155e087bde1&sca_upv=1&q=hoist+%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7&tbm=isch&source=lnms&sa=X&ved=2ahUKEwiHm4KTuueEAxUQa2wGHSiNBMgQ0pQJegQIDhAB&biw=1536&bih=738&dpr=1.25#imgrc=fCrIeViLwX4spM&imgdii=8-QlK2XSi7o5pM
 https://www.google.com/search?sca_esv=59c13155e087bde1&sca_upv=1&q=hoist+%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7&tbm=isch&source=lnms&sa=X&ved=2ahUKEwiHm4KTuueEAxUQa2wGHSiNBMgQ0pQJegQIDhAB&biw=1536&bih=738&dpr=1.25#imgrc=fCrIeViLwX4spM&imgdii=8-QlK2XSi7o5pM

: พิจารณาใช้ในผู้รับบริการติดเตียง มีความยากลำบากไม่สามารถเคลื่อนย้ายตนเองได้

-อุปกรณ์ช่วยลุกจากเตียง

https://www.google.com/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87&sca_esv=59c13155e087bde1&sca_upv=1&bih=738&biw=1536&hl=en&tbm=isch&source=lnms#imgrc=sFRzcrj-Rks8kM&imgdii=ayvM_kBmvd5bbM
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87&sca_esv=59c13155e087bde1&sca_upv=1&bih=738&biw=1536&hl=en&tbm=isch&source=lnms#imgrc=sFRzcrj-Rks8kM&imgdii=ayvM_kBmvd5bbM

: พิจารณาใช้ในผู้รับบริการที่มีการทรงตัวที่ไม่ดี กำลังขาน้อย

                สุดท้ายนี้การได้ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ สถาบันสิรินธร รู้สึกประทับใจและทำให้ดิฉันได้เห็นภาพจริงถึงการวิธีการใช้งานของอุปกรณ์และเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ต่อยอดในทางกิจกรรรมบำบัดเรื่องอุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยี

                                                        6423008 พัชรพร ผ่องผล 

                                 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 717542เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2024 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2024 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท