เสียงข้างมากกับเผด็จการรัฐสภา (Majority vs Tyranny of the majority)


วาทกรรมทางการเมืองมักจะนำใช้เป็นเครื่องมือเพื่อชี้นำทางการเมืองในประเทศไทยมาทุกยุคทุกสมัย ถ้าประชาชนคนไทยไม่รู้เท่าทันในจุดมุ่งหมายของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ประดิษฐ์และนำใช้วาทกรรมทางการเมืองเหล่านั้นแล้ว ก็จะตกเป็นเหยื่อและเข้าทางปืนของผู้จงใจใช้วาทกรรมดังกล่าว 

ในช่วงนี้วาทกรรมทางการเมือง ‘เผด็จการรัฐสภา​’ เริ่มได้ยินและนำมาใช้กันอีกครัั้ง ส่วนการนำใช้วาทกรรมดังกล่าวนี้จะมีวัตถุประสงค์อะไรนั้นก็หาเหตุผลมาอธิบายได้ แต่ที่แน่ๆ ก็เพื่อชี้ว่า ‘ถ้าฝ่ายค้านในรัฐบาลที่ผ่านมา หรือพรรคการเมืองที่่ได้รับสมญานามว่าฝ่ายประชาธิปไตยในขณะนี้ มีเสียงมากเกินไปแล้ว เดียวจะเป็นเผด็จการรัฐภา'  

จริงๆ แล้วความเป็นเผด็จการ หรือไม่เผด็จการนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสียงมากเกินไปในสภา แต่อยู่ที่เนื้อหาและเป้าหมายของการตัดสินใจทางการเมืองของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองเป็นสำคัญ กล่าวคือ คนๆ เดียว หรือกลุ่มคนไม่กี่คนก็เป็นเผด็จการได้ และถ้าบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเหล่านั้นใช้อำนาจทางการเมืองผ่านรัฐสภา ก็ได้ชื่อว่า ‘เผด็จการรัฐสภา’ เช่นกัน 

John Stuart Mill ซึ่งเป็นผู้เขียนและนิยามคำว่า ‘เผด็จการโดยเสียงข้างมาก (Tyranny of the majority) ซึ่งเป็นที่มาของวาทกรรม ’เผด็จการรัฐภา' ที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทย แต่ชี้นำไปในเสียหาย และสร้างควาดหวาดกลัว และนำใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองกันมากกว่า ดังนั้นเพื่อเป็นการรู้เท่าทันในการนำใช้วาทกรรมดังกล่าว และเป็นประโยชน์ในทางการเมือง คนไทยควรได้ทราบและเข้าใจความหมายที่แท้จริงของวลีนี้ตามที่ Mill ซึ่งเป็นผู้นำใช้คำนี้ในการอธิบายพฤติกรรมการเมืองเป็นคนแรก โดยนิยามเอาไว้คือ 

              เผด็จการโดยเสียงข้างมาก (เผด็จการรัฐสภา) หมายถึง “การตัดสินใจของเสียงข้างมาก[โดย]ยึดผลประโยชน์ของตน ​[หรือฝ่ายตน] เหนือผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล หรือเสียงข้างน้อยมากจนกลายเป็นการบีบบังคับ (opression) เปรียบได้กับทรราชย์ หรือระบบใช้อาจเด็ดขาด [เผด็จการ]” (Mill, 1859;  ส่วนคำใน [ ] เป็นคำที่ผมเพิ่มเข้าใหม่) 

จากนิยามที่เป็นต้นตอของวาทกรรมดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า ‘เผด็จการรัฐสภา’ ไม่ได้อยู่ที่จำนวนเสียงที่ชนะโวตในสภาว่ามาก หรือน้อย เพราะโดยหลักของประชาธิปไตยนั้น ถือเสียงข้างมากเป็นฝ่ายชนะครับ  แต่การจะดูว่าการชนะโวตครั้งนั้นๆ เป็นเผด็จการรัฐสภาหรือไม่อยู่ที่ผลของการโวต หรือตัดสินใจว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์ตนเอง หรือพวกพ้อง หรือประโยชน์ของส่วนรวม เป็นตัวชี้วัดครับ กล่าวคือ

            ‘ถ้าการชนะโวตนั้นทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม รวมทั้งประโยชน์ของฝ่ายที่มีเสียงข้างน้อยด้วย  แม้ว่าจะชนะโวตด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น เช่น  499 ต่อ 250 เสียง  ในกรณีที่รัฐสภามี 750 เสียง (สส. ฝ่ายรัฐบาลขณะนั้นมี 500 เสียง แต่งดออกเสียง 1 คนคือ ประธานรัฐสภา และ สว. 250 เสียง) ก็ไม่ถือว่าเป็นเผด็จการรัฐภานะครับ แต่ในทางตรงกันข้าม คือ ถ้าใช้เสียงข้างมากทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง แม้แต่จะชนะกันเพียง 1 เสียง คือชนะ    โวตด้วยคะแนนเสียง 375 ต่อ 374  (สว. 250 เสียง สส. ฝ่ายรัฐบาล 126 คน แต่งดออกเสียง 1 คน เพราะเป็นประธานรัฐสภา และฝ่ายค้าน 374 เสีย ก็เป็นเผด็จการรัฐสภาอยู่ดี ครับ​’

              เพราะฉนั้นอย่ามาใช้วาทกรรม  ‘เผด็จการรัฐสภา’ เพื่อสร้างความกลัวของประชาชนที่ถ้าจะเลือกฝ่ายประชาธิปไตยแบบทล่มทลาย ก็กลัวว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา และขณะเดียวกันก็สร้างความเหนียมอายให้กับพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยในการที่จะหาเสียงให้ได้มากที่สุด 

              และหลังเลือกตั้งก็จะไม่กล้าจะร่วมกันตั้งรัฐบาล (ทั้งๆ ที่ร่วมหัวโจมท้ายฝ่าความลำบากมาด้วยกัน เกือบ 4 ปี)  เพราะเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าเป็น ‘เผด็จการรัฐสภา’ 

แต่เมื่อรู้ความหมายของคำว่าเผด็จการรัฐสภาที่แท้จริงแล้ว ประชาชนก็ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป ขอให้ท่านออกไปเลือกคนที่ท่านรัก และพรรคที่ท่านชอบ ไปทำหน้าที่แทนท่านในสภา 

และพรรคการเมืองฝ่ายค้านในรัฐบาลที่แล้ว หรือฝ่ายประชาธิปไตยในปัจจุบัน ก็ไม่ต้องเหนียมอายที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล และไม่ต้องกลัวที่จะถูกกล่าวหาว่าจะเป็นเผด็จการรัฐสภา ขอเพียงแต่ตอนได้เป็นรัฐบาลแล้ว จงทำหน้าที่การเมืองให้ดี คือ การตัดสินใจสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยทุกคน และทำหน้าที่แบบถวายหัว เพื่อฟื้นประเทศไทยจากความบอกซ้ำที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แล้วพวกท่านจะเป็นวีระบุรุษการเมืองไทยแน่นอนครับ

รักนะทุกคน 

สมาน อัศวภูมิ

2 พฤษภาคม 2566

 

Mill, J.S. (1859). On Liberty, The Library of Liberal Arts. อ้างถึงใน https://th.m.wikipedia.org/wiki/ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก

ปล. ผมยังมีวาทะกรรมทางการเมือง และทางสังคมอีกหลายเรื่องที่จะทะยอยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 712604เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2023 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท