Work-life balance and พยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ


work-life balance and พยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ

  1. การถอดบทเรียนจากอาจารย์พิเศษ

1.1.work-life balance

Naive Practice

  • Recall ความรู้ที่มีอยู่ คือ work-life balance คือการที่เราสามารถปรับสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต โดยที่เราจะต้องหาจุดสมดุลของเรา ซึ่งในแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกัน ถ้าหากเราไม่มี work-life balance จะทำให้เราทำงานหนักมากขึ้น จนสุดท้ายรู้สึก ท้อ และเหนื่อย จนเกิดภาวะ burnout และสิ่งนี้ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของเราอีกด้วย
  • Recap ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ได้แก่
  1. Why is Work-life balance Important? นับตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 คนทำงานก็ได้รับความเดือดร้อนทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่ต้องทำงานแบบออนไซต์ กลับกลายมาเป็นต้องทำงานแบบออนไลน์และไฮบริดหรือผสมผสาน ทำให้เกิดการทำงานที่มากขึ้น และไม่รู้จะต้องเปลี่ยนอย่างไรและเมื่อไหร่ ถ้าคนทำงานรู้สึกไม่ดี เหนื่อย เครียด จะทำให้พวกเขาไม่สามารถโฟกัสกับงานของตนได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในการช่วยให้พวกเขาสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตที่ดีเพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. The signals of an unhealthy work-life balance ได้แก่ รู้สึกว่าตัวเองมีสิ่งที่ต้องทำเยอะแยะมากมากรู้สึกว่าให้เวลากับครอบครัว เพื่อนที่น้อยลง ไม่สนใจในงานที่ทำ นอนไม่หลับ

Purposeful Practice 

  • Spotlight ชื่นชอบที่อาจารย์สอนพิเศษ กระตุ้นให้นักศึกษาหา pain point ของคนในวัยทำงาน เกี่ยวกับwork-lif balance และคิดหาวิธีเพื่อส่งเสริมให้คนในสังคมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
  • Explain ผู้สอนให้ความคิดเรื่องการให้ความสำคัญกับ work-life balance โดยการเล่าประสบการณ์ของผู้สอนเอง จากที่เคยให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นอย่างมากจนไม่มีเวลาให้กับครอบครัวเลย จนกลับมาให้ความสำคัญกับครอบครัวมากขึ้น โดยการให้ความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • Appreciation  ขอบคุณความจริงที่ว่า work-life balance ไม่ได้เป็นสิ่งที่ไกลตัวเราเลย ในขณะที่เราเรียนเองก็ยังต้องมี study-life balance เลย เพราะหากเราไม่มีความสมดุลจะทำให้เราไปสู่ภาวะหมดไฟได้ ไม่อยากทำอะไร ท้อ เหนื่อย ดังนั้นการสำรวจตัวเองในตอนนี้ว่ามีความสมดุลไหมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะปรับสมดุลได้ และนำพาเราสู่การมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอีกด้วย

Deliberate Practice 

  • Describe ประเด็นที่ฟังแล้วไม่เข้าใจคือ ในฐานะที่เราทำงานในสายสุขภาพ การตระหนักถึงสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นเราจะมีวิธีที่เข้าใจถึงปัญหาของคนในสังคมและหา solutions ในการแก้ไขปัญหาwork-life balance ได้อย่างไร
  • Express สาเหตุที่ยังไม่เข้าใจ – เนื่องจากในแต่ละตัวบุคคลก็มีความแตกต่างกัน ปัญหาที่ส่งผลต่อการไม่มี work-life balance ก็แตกต่างกันเช่นกัน แล้วเราจะหาวิธีในการแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้เข้าถึงคนทุกคน
  • Specify ทำการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อศึกษาถึงปัญหาและบริบทของคนในแต่ละพื้นที่ สอบถามผู้รู้และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ ศึกษาหาวิธีที่หลากหลายและสามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่าย เพื่อให้ตระหนักถึงการมี work-life balance
  • Consequence สะท้อนความรู้ความเข้าใจแบบ How to Upskill 21 วัน ด้วยการศึกษาหาข้อมูลอ้างอิงและสิ่งสำคัญในการที่เราจะพัฒนาทักษะได้คือการที่เราปฏิบัติเอง สิ่งแรกคือการสำรวจตัวเองว่าช่วงนี้เป็นอย่างไร วางแผนการเรียนและการใช้ชีวิตให้มีความสมดุล หาวิธีที่เหมาะกับตัวเอง และทำให้มีความต่อเนื่อง


 

1.2.พยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ

Naive Practice

  • Recall ความรู้ที่มีอยู่ คือ วิชาชีพพยาบาลก็คืออาชีพที่คอยดูแลคนไข้ ทั้งกายและจิตใจของเขาด้วยเพราะหลังจากเจอคุณหมอมาแล้วตลอดเวลาที่คนไข้อยู่ในโรงพยาบาลก็คืออยู่ในความดูแลของพยาบาลอีกทั้งวิชาชีพนี้ก็มีการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และจะทำงานร่วมกับสหวิชาชีพอีกมากมาย
  • Recap ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ได้แก่
    • 1. ในการสร้างเสริมสุขภาพสามารถใช้กลยุทธ์ตามกฎบัตรออตตาวา ที่มีการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกัน เสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาทักษะส่วนบุคคลที่จำเป็นเพื่อการมีสุขภาพดีและปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ
    • 2. เข้าใจการทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่แค่เป็นบุคคลากรทางการแพทย์แต่ก็พร้อมช่วยเหลือผู้รับบริการให้สามารถดำเนินชีวิตได้ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร เป็นต้น เราเรียกการทำงานแบบนี้ว่า “Interprofessional collaborative”
    • 3. ถอดบทเรียน : 3 ส ได้แก่ 1)สารสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เกินขอบเขตการทำงานของเรา วิชาชีพอื่นก็จะเข้ามาช่วย หรือเติมเต็มความสามารถซึ่งกันและกัน 2) การใส่ใจ เข้าผู้รับบริการ โดยไม่ได้มองแค่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่เรามองถึงบริบทหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวผู้รับบริการอีกด้วย และการมองถึงบริบทของชุมชนก็มีความสำคัญ ว่าในชุมชนนั้นให้ความสำคัญกับสิ่งใด เช่น บางชุมชนเด่นเรื่องสมุนไพร เราก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้ จะสามารถสร้างกิจกรรมที่เป็นการสร้างเสริมสุขภาพให้คนในชุมได้ 3) สอดคล้องกับนโยบาย เพื่อให้รู้เป้าหมายและ scope การทำงานของเรา อีกทั้งเพื่อให้รู้ว่าเราทำในนามอะไร

Purposeful Practice

  • Spotlight ชอบอาจารย์สอนพิเศษที่มีความใส่ใจ เข้าใจและรับฟังนักศึกษาได้ดี หรือมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
  • Explain อาจารย์สอนพิเศษได้เล่าประสบการณ์การทำงานเป็นพยาบาลชุมชนและการทำโครงการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของคนในชุมชน ได้สร้างความตระหนักแก่นักศึกษาว่าในการทำโครงการใดเราต้องมองในหลายๆมิติหรือหลายๆมุมมอง เพื่อที่เราจะได้เข้าใจปัญหามากขึ้นและแก้ไขได้ถูกจุดและเหมาะสมกับตัวผู้รับบริการ
  • Appreciation เราขอบคุณความจริงเรื่อง ประสบการณ์ในการทำงานของอาจารย์สอนพิเศษทำให้เราได้เห็นมุมมองในหลายๆด้าน และได้เห็นว่ากว่าจะออกมาเป็นโครงการหนึ่งโครงการต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง และสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องกฎหมาย เช่น ที่อาจารย์สอนพิเศษได้ยกเหตุการณ์ในคาบเรียนคือ เรื่องการเปิดเพลงที่ไปละเมิดลิขสิทธิ์ เราจึงไม่ควรมองข้ามในเรื่องนี้

Deliberate Practice

  • Describe ประเด็นที่ฟังแล้วไม่เข้าใจคือ เราสามารถหากิจกรรมอย่างไรบ้างที่เป็นการเสริมสร้างสุขภาพในพระสงฆ์ โดยไม่ผิดต่อพระธรรมวินัย
  • Express สาเหตุที่ยังไม่เข้าใจ เพราะดิฉันนับถือศาสนาอิสลาม และมีโอกาสในการศึกษาในพระพุทธศาสนาแค่ไม่กี่เรื่อง บางเรื่องก็เข้าใจและบางเรื่องก็ไม่มีความเข้าใจ  ซึ่งดิฉันไม่มีความรู้ว่าสิ่งใดเป็นข้อห้ามและสิ่งใดที่สามารถปฏิบัติได้
  • Specify เราจะทำอย่างไรให้เข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริง สามารถทำได้โดยการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระธรรมวินัย ศึกษาว่าสิ่งใดเป็นที่ต้องห้ามและสิ่งใดสามารถปฏิบัติได้ แล้วจึงมาบูรณาการกับการคิดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพในพระสงฆ์ โดยที่ไม่ผิดหลักที่ทางศาสนาได้กำหนดไว้
  • Consequence สะท้อนความรู้ความเข้าใจแบบ How to Upskill 21 วัน ด้วยการหาข้อมูลและแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพราะการที่เราจะทำให้กลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมกับเราได้ เราต้องเข้าใจบริบทในตัวบุคคลก่อน ดังนั้นในเรื่องนี้ก็เช่นกัน อ่านข้อมูล สอบถามผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญ

 

2.ความรู้เหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันและเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร

ในชีวิตการเรียนและการทำงานของเรานั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามได้คือการหาจุดสมดุลของชีวิตหรือที่เราเรียกว่า “Work-life balance” เพื่อไม่ใหเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง แน่นอนว่าเราไม่สามารถที่จะไม่ให้ความสำคัญกับการเรียนและการทำงานเลย เพราะการเรียนเป็นสิ่งที่พัฒนาให้ตัวเราดีขึ้นและการทำงานก็เป็นสิ่งที่เราจะได้รับรายได้กลับมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน แต่การที่เราไปให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มากเกินไปโดยมองข้ามการใช้ชีวิตของเราเลยก็ไม่สมควร เพราะถ้าเราทำงานหนักเกินไปจะทำให้เรารู้สึกเหนื่อย ท้อ ล้า จนเกิดภาวะ burnout ไม่อยากทำงาน จนทำให้งานนั้นเสียไปหรือไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเราควรหาจุดสมดุลในตัวเรา และในฐานะที่เราเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่มีหน้าที่ในการสร้างเสริมสุขภาพทั้งในชุมชนและสังคม เราทำโครงการและกิจกรรมมากมายให้แก่คนในสังคม เราควรมองเขาเป็นองค์รวมทั้งปัจจัยส่วนบุคคลที่มากำหนดสุขภาพ หรือสังคม วัฒนธรรม ประเพณี นโยบายต่างๆของสังคม เป็นต้น เพื่อสามารถเข้าใจในผู้รับบริการมากขึ้นและสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรลืมคือการให้ความรู้และตระหนักถึง work-life balance แก่คนในสังคมหรือในชุมชนอีกด้วย และตัวเราเองก็ควรนำมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานอีกด้วย

จัดทำโดย : 6423032 นางสาวฮูดาซามีลา ดาโอ๊ะ

หมายเลขบันทึก: 710536เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2022 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2022 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท