วิจัยเกี่ยวกับรูปแบบ (Research on models)


ตอนที่ผมทำวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบครั้งแรกในช่วงปี 2536- 2537 นั้นพบว่าการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบในการดำเนินงานหรือ work operation นั้นมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ “การศึกษารูปแบบการดำเนินงานนั้นๆ ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนั้น กับการศึกษาเพื่อปรับปรุงรูปแบบเดิมให้ดียิ่งขึ้น หรือสร้างรูปแบบขึ้นมาใหม่ก็ได้” 

การศึกษารูปแบบการดำเนินงานที่ดำเนินการอยู่ในขณะนั้นนั้นเป็นการศึกษาว่ารูปแบบดำเนินงานที่ทำอยู่ในขณะนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรค์ตรงไหน และมีแนวทางในการพัฒนาให้ดีขึ้นหรือไม่ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งอาจจะใช้แบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์ หรือทั้งสองแบบร่วมกันก็ได้ ส่วนข้อค้นพบจากการวิจัยนี้อาจจะเขียนเป็นรายงานการวิจัยเผยแพร่เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาก็ได้ หรือจะใช้เป็นข้อมูลในการทำวิจัยต่อระยะที่สองคือ ใช้ข้อค้นพบที่ได้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงรูปบแบบที่เป็นอยู่ให้ดียิ่ง หรือสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมาแทนรูปแบบเดิมก็ได้ ซึ่งก็จะเป็นการวิจัยและพัฒนา หรือ Development Research (R&D) อีกแบบหนึ่งครับ

การศึกษาเพื่อปรับปรุงหรือสร้างรูปแบบใหม่ เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนาหรือ R&D อีกแบบหนึ่ง ดังอธิบายไว้ข้างต้น กล่าวคือผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษารูปแบบที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน (R1 & D1) มาปรับปรุงรูปแบบนั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น หรือสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมาใหม่ แล้วตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบที่ปรับปรุงใหม่ หรือสร้างใหม่ดังกล่าว (R2 & D2) นอกจากนี้แล้วผู้วิจัยอาจจะสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมาด้วยกระบวนการวิจัยแบบอื่นก็ได้เช่น 

  1. ผู้วิจัยศึกษาสภาพและปัญหา หรือ/และความต้องการจำเป็นของเรื่องนั้น ๆ ที่เป็นอยู่ (คล้ายกับการศึกษารูปแบบที่เป็นอยู่) แล้วก็สร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมากและประเมินคุณภาพของรูปแบบต่อไป
  2. ผู้วิจัยใช้ข้อมูลสภาพและปัญหา หรือฝและที่มีอยู่เป็นฐานข้อมูลในการสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมาก็ได้                          

หรือวิธีการอื่น ๆ ก็ได้ที่ได้ข้อมูลที่จะนำใช้ในการสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมา และคำถามที่สำคัญอีกประการหนึ่งตคือ “การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบที่ปรับปรุงใหม่ หรือที่สร้างขึ้น” นั้นทำอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยเขียนบทความเสนอแนะไว้ 4 วิธีครับ

  1. ทดลองใช้รูปแบบ ถ้าเป็นไปได้  เพราะรูปแบบบางรูปแบบอาจจะใช้เวลามาก หรือจัดกระทำตัวแปรมากเกินที่จะทดลองได้ในเวลาที่จำกัดในการทำวิจัย แต่นำใช้ได้ในการปฏิบัติจริงแบบทำไปพัฒนาไป โดยใช้รูปแบบที่สร้างขึ้นในการวิจัยเป็นฐานในการทดลอง
  2. ประเมินโดยการประชุมอิงผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ  connoisseurship (ไม่ใช่สนทนากลุ่ม หรือ​ focused group) โดยผู้วิจัยควรมีเกณฑ์ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินครับ  
  3. ประเมินโดยผู้ปฏิบัติ หรือผู้ใช้รูปแบบ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือร่วมก้นหลายกลุ่ม โดยการใช้แบบสอบถาม หรือเก็บข้อมูลด้วยวิธีสนทนากลุ่ม หรือ focused group แบบประชุมครั้งเดียว หรือแยกประชุมหลายครั้งก็ได้ 
  4. ใช้วิธีการประเมินหลายแบบร่วมกันก็ได้ เช่น ประเมินโดยการประชุมอิงผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนำรูปแบบไปทดลองใน (กรณีที่สามารถทดลองใช้ได้) ครับ

อีก 2 เรื่องที่ผู้วิจัยควรทำความทำความเข้าใจในการวิจัยเกี่ยวรูปแบบคือ

  1.  การสร้าง ก้บการพัฒนารูปแบบต่างกันอย่างไร ฐานคิดหลัก ๆ คือ ทุกอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี “เป็นการพัฒนาทั้งสิ้นครับ” การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือสร้างสิ่งใหม่ขึ้น ก็สามารถเรียกว่าเป็นการพัฒนาได้ จึงไม่ควรเป็นประเด็นมากนักครับ 
  2. กาารตั้งชื่องานวิจ้ยควรใช้คำว่า “การสร้าง หรือการพ้ฒนา หรือ การนำเสนอ หรือ รูปแบบ" เลยน้ัน ในความเห็นของผมท่านจะเลือกใช้แบบไหน ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาเพราะสุดท้ายเราก็ได้ “รูปแบบใหม่” เป็นผลผลิตสุดท้ายของการวาิจัยอยุ่ดีครับ ประเด็นอยู่ที่วิธีการดำเนินการวิจัย และผลการวิจ้ยจ๊าบขนาดไหนต่างหากครับ 

หวังว่าความเห็นที่นำเสนอไปข้างต้นจะไขข้อข้องใจให้ก้บผู้สนใจในลักษณะนี้พอสมควรครับ หรือย้งมีประเด็นอื่นที่อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผมก็ยินดีเสมอครับ

สมาน อ้ศวภูมิ

26 มิถุนายน 2565

ผู้ที่สนใจหรือกำลังทำวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบควรได้อ่านบทความของผมเรื่องนี้ในวารสารบัวบัณฑิต เพิ่มเติมครับ (เล่มปีที่ 18 ฉบับที่ 1 -มกราคม-มีนาคม 2561)

หมายเลขบันทึก: 703216เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2022 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2023 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท