การศึกษาศักยภาพ และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่


บทนำปัจจุบันรูปแบบการท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนไปหลายแนวทาง นอกเหนือจากการท่องเที่ยวตามประเพณีนิยมที่ทำกันมายาวนานที่ไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักคุ้นเคยกันดี ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่จำเพาะเจาะจงมากขึ้นทุกวันนี้ในประเทศมีชุมชนเล็ก ๆ มากมายที่เปิดตัวเองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนนี้กำลังเป็นจุดเปลี่ยนของโลกแห่งการท่องเที่ยว เป็นทางเลือกใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ (กรมการพัฒนาชุมชน, 2554 : 1)การท่องเที่ยวโดยชุมชนในปัจจุบันส่งเสริมให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดกระบวนการทิศทางและรูปแบบการท่องเที่ยวของตนเอง ชาวบ้านทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรท่องเที่ยวในพื้นที่ และมีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดจากการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชนนั้นมีจุดขายที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต การอนุรักษ์ รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบเพื่อสร้างความยั่งยืนสู่คนรุ่นลูกหลานและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง(จากหนังสือ เที่ยวให้รู้เปิดประตูสมอง) MGR Online.2551:ออนไลน์) สำหรับประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับมีหลายทาง คือประโยชน์ในด้านการพัฒนาของชุมชนเองโดยที่การท่องเที่ยวทำขึ้นเพื่อตอบสนองปัญหาหรือความต้องการของชุมชนบางอย่างแต่ไม่ได้เพื่อความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นประโยชน์ก็จะตอบกับชุมชนนั้น ๆ เช่น ต้องการแก้ปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อม ชุมชนนั้นก็จะได้การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม ดังนั้นประโยชน์ก็คือสิ่งที่เป็นเป้าหมายกับชุมชนในตอนแรกเพื่อประโยชน์ทางด้านการพัฒนาการจัดการมากกว่าประโยชน์ในเรื่องรายได้ วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวควรมีลักษณะที่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ กล่าวคือควรมุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายแรก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้างรายได้และถ่ายเทความเจริญไปสู่ภูมิภาค ส่วนวัตถุประสงค์รองจะเน้นด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยมุ่งที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมอันดีงามและโบราณสถานต่าง ๆ (นรินทร์ สังข์รักษาและคณะ, 2553: 1)
สำหรับโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ถูกขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” จากการที่รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งสร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกันภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 ในภูมิภาคทั่วประเทศ และมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบหลักส่งเสริมดำเนินงาน OTOP โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ยกระดับผลิตภัณฑ์และพัฒนาช่องทางการตลาดที่หลากหลาย เพื่อให้ขายสินค้าได้อีกทั้งยังมุ่งปรับตัวสู่การค้าแบบสากล โดยต้องมีการเปลี่ยนผ่านยุคการผลักดันขายสินค้า OTOP ออกจากชุมชน สู่รายได้ตามความต้องการ (Demand Driven Local Economy) โดยการจำหน่ายสินค้าที่อยู่ในชุมชนจากการท่องเที่ยว มีการใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ แปลงเป็นรายได้ รวมทั้งทำให้มีคุณค่าเพียงพอ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนและใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรมของชุมชน ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้อยู่กับคนในชุมชนโดยรอบ เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง การท่องเที่ยววิถีชุมชนของจังหวัดกระบี่มีพัฒนาการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ณ ชุมชนบ้านนาตีนซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมที่ตั้งอยู่ในตำบลอ่าวนางอำเภอเมืองกระบี่ได้เล็งเห็นถึงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยวกระแสหลักของจังหวัดกระบี่ คือการท่องเที่ยวทางทะเลและมีการห่วงใยในผลกระทบจากการท่องเที่ยวกระแสหลักที่มีต่อความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของชุมชนจึงได้หารือภายในชุมชนได้ข้อสรุปว่าชุมชนไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการท่องเที่ยวกระแสหลักได้จึงควรนำการท่องเที่ยวมาเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานการดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิตแนวความคิดความเชื่อและวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนโดยปัจจุบันจังหวัดกระบี่มีชุมชนท่องเที่ยวทั้งสิ้น 19 ชุมชน (กรมการพัฒนาชุมชน. 2554 : 1) ชุมชนบ้านทุ่งทับควายเป็นชุมชนเล็ก ๆ ตั้งอยู่ที่ ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ มีประชากร 200 กว่าครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยาง สวนปาล์มน้ำมัน ผู้นำชุมชนได้มองถึงปัญหาของคนในชุมชนซึ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันและประกอบกับปาล์มมีราคาตกต่ำมากจึงคิดว่าควรรวมคนในชุมชนเพื่อจัดทำการท่องเทียวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีร่วมกับกรมพัฒนาชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริมมีรายได้เพิ่มและสามารถลดต้นทุนอาชีพของตนเองได้ ผู้นำชุมชนมีความตั้งใจจริงในการทำงาน มีวิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้าต้องการให้ชุมชนอยู่ดีมีสุขโดยทำตัวเองเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านได้เห็นจริงทั้งการประกอบอาชีพและการจัดทำบัญชีควบคู่กันตนเองได้เปิดรับสมัครคนในชุมชนที่สนใจร่วมกันมาเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อต้องการให้คนในชุมชนมีชีวิตที่ดีขึ้นและได้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งทับควายขึ้น ในปัจจุบันมีสมาชิก 72 คน ทางกลุ่มประสบปัญหาด้านการตลาด ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวรู้จัก ปัญหาการพัฒนารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวชุมชน จากสภาพปัญหาดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจในที่จะศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบ นวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อช่วยส่งเสริมด้านการตลาดและเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต

จุดประสงค์การวิจัย1.เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ 2.เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่

*Theerakan Pokaew. Tel.: 098 881 4882Email address: [email protected]

หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวนวัตวิถีเดิม เป็นการที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งทับควายได้เข้ามาร่วมพัฒนาชุมชนในรูปแบบใหม่ร่วมกับกรมพัฒนาชุมชน แต่ขาดการพัฒนาขับเคลื่อนให้มีความต่อเนื่อง ชุมชนจึงมีความต้องการให้มีการทำวิจัยให้รูปแบบมีความชัดเจนขึ้น เพื่อที่ชุมชนจะได้ดำเนินการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชนรูปแบบนวัตวิถีใหม่ที่มีความเป็นเอกลัษณ์ที่โดดเด่น และมีความต่อเนื่อง โดยยังคงยึดหลัก 5 (S) ภายใต้การรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่ดีงามของชุมชน และยึดมั่นต่อการเป็นชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พยายามนำทรัพยากรในพื้นที่มาพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นเอกลักษณ์	

วิธีดำเนินการวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเริ่มจากกระบวนการสำรวจบริบทชุมชน สังเกตุ สัมภาษณ์ และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อทราบถึงแนวทางการพัฒนา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างดังนี้1. ประชากร และกลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นประชากรหมู่ที่ 3 บ้านทุ่งทับควาย ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ จำนวน 670 คน

กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 77 คน แบ่งเป็น1.กลุ่มผู้นำ จำนวน 7 คน 2.กลุ่มผู้ปฎิบัติ จำนวน 20 คน และ3.กลุ่มผู้มาศึกษาเรียนรู้ จำนวน 50 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องด้วยการท่องเที่ยวของที่นี่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก นานๆ จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่เป็นลักษณะของการท่องเที่ยวศึกษาดูงาน คณะวิจัยจึงใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยมีการแจ้งล่วงหน้าไปยังผู้นำศูนย์ในวันเวลาที่กำหนด เพื่อที่จะหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นที่น่าสนใจในอนาคต2. เครื่องมือในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพการรวบรวมข้อมูล แนวทางการพัฒนาการมีเครื่องมือดังนี้ 2.1 แบบสำรวจ ( Survey ) คือการเก็บรายละเอียดทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลจากประเด็นปัญหาที่สนใจจะศึกษา โดยผู้วิจัยได้ทำการสำรวจสภาพบริบททั่วไปของพื้นที่การจัดการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ 2.2. แบบสังเกตุ ( Observation ) ในการวิจัยเชิงคุณภาพมี 2 แบบ คือ2.2.1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ( participation ) คือการสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ศึกษามีการกระทำกิจกรรมร่วมกันจนกระทั่งเข้าใจความรู้สึกนึกคิดและความหมายที่คนเหล่านั้นให้ต่อปรากฎการณ์ทางสังคมที่ผู้วิจัยศึกษาซึ่งแม้มีการสังเกตแล้วก็ต้องมีการซักถามและการจดบันทึกข้อมูล ( notetaking )2.2.2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ( non-participation observation ) คือ การสังเกตไม่ได้เข้าไปใช้ชีวิตร่วมหรือกิจกรรมที่ศึกษา โดยไม่ต้องการให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึกรบกวนเพราะอาจจะให้พฤติกรรมผิดไปจากปกติได้ซึ้งอาจใช้ในระยะแรกของการวิจัยแล้วให้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในระยะหลัง 2.3 แบบสัมภาษณ์ 2.3.1 สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยจัดเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้าและมีผู้กำหนดแบบสัมภาษณ์ตายตัว ใช้สำหรับการสัมภาษณ์ผู้นำ และกลุ่มผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับ ศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถี 2.4 แบบสอบถาม2.4.1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้สำหรับสอบถามประชาชน และนักท่องเที่ยว ใช้สำหรับสอบถามถึงแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบนวัตวิถีของชุมชน3. การเก็บรวบรวมข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย อาศัยข้อมูลหลัก 2 ประการ โดยการสำรวจการสังเกตโดยตรงการสัมภาษณ์ และ วิเคราะห์เนื้อหา จากเอกสารดังนี้ 3.1 ข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary data ) หมายถึงข้อมูลที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาภาคสนาม โดยการสำรวจทรัพยากรในพื้นที่ สังเกตพื้นที่และกิจกรรมกลุ่มของผู้นำและผู้ปฏิบัติการ และสอบถามประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนารูปแบบท่องเที่ยวนวัตวิถีของชุมชน 3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data ) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อความ ตัวเลขสิ่งพิมพ์ จากเอกสารในหมู่บ้านของกลุ่มเป้าหมายและข้อมูลทางราชการ บริบทชุมชนและแผนที่ชุมชนตลอดจนการค้นคว้างานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเพื่อรวบรวมองค์ความรู้แนวทางการการจัดการท่องเที่ยว

  1. ผลการวิจัยและการอภิปรายผล4.1 ศักยภาพของพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ความเป็นมาของชุมชนบ้านทุ่งทับควายเดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นทุ่งหญ้าคาซึ่งชาวบ้านจะนำควายไปเลี้ยง การเลี้ยงควายสมัยก่อนมักเรียงกันเป็นถุงใหญ่ๆไว้ให้หากินในทุ่งกว้างถึงเวลาเย็นจึงจะต้องมารวมฝูงในคอกใกล้ทัพหรือขนำซึ่งเป็นที่พักชั่วคราวคำว่าทับควายจึงหมายถึงกระท่อมที่พักเต้าหูควายอันเองเมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นที่ทุ่งดังกล่าวชาวบ้านยังคงใช้ชื่อเดิมมาตั้งเป็นชื่อว่าบ้านทุ่งพลับควายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและแม้วันเวลาที่เปลี่ยนไปจะได้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชุมชนใกล้เคียงมีผู้คนต่างถิ่นและต่างประเทศมากมายที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่แต่วิถีชีวิตของบ้านทุ่งทับควายไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยทุกวันนี้ชีวิตผู้คนในบ้านทุ่งทับควายยังคงใช้ชีวิตเหมือนเมื่อหลายปีก่อน ในปัจจุบันชุมชนมี 1.โครงสร้างการบริหารงานของกลุ่มมีจำนวน 12 คนที่เป็นผู้นำได้ด้านการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถี และ2.ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่4.1.1 ด้านจุดแข็ง จุดแข็งของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ คือ ตั้งอยู่ในภูมิอากาศที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของบ้านทุ่งบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่4.1.2 ด้านจุดอ่อน จุดอ่อนของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ คือ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากนัก 4.1.3 ด้านโอกาส โอกาสของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่4.1.4 ด้านอุปสรรค ประเด็นหลักของอุปสรรคก็คือ งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ได้รับจัดสรรมาจากนโยบายของรัฐ พอปีต่อๆมา รัฐไม่สนับสนุนจึงทำให้ชุมชนขาดงบประมาณสนับสนุนต่อเนื่องส่งผลให้การท่องเที่ยวซบเซา4.1.5ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบเดิมของบ้านทุ่งทับควาย ก่อนการพัฒนา ชาวบ้านแต่เดิมไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของการจัดการการท่องเที่ยวรูปแบบนวัตวิถี หลังจากชาวบ้านได้รับความรู้เรื่องของการจัดการการท่องเที่ยวรูปแบบนวัตวิถี ทำให้ชุมชนบ้านทุ่งทับควายมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในทิศทางที่ดีขึ้น4.1.6ปัญหาในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย ชาวบ้านในชุมชนบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพในการทำเกษตรจึงทำให้ไม่ค่อยมีเวลาในการดำเนินกิจกรรมของการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถี 4.2 แนวทางการพัฒนาพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า
  2. การต้อนรับ
    การเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีการต้อนรับที่ดี นอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อสินค้าและบริการแล้ว ยังจะขยายผลเป็นความรู้สึกที่ดีต่อหน่วยงาน หรือนักท่องเที่ยว และก่อให้เกิดการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชนซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้แก่ชุมชนได้โดยตรง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาเที่ยวซ้ำ
  3. การเล่าเรื่อง
    ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวบ้านทุ่งทับควายมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติสภาพอากาศดี โดยอ่างเก็บน้ำห้วยทับไม้เหลี่ยม และฝายน้ำล้นห้วยทับไม้เหลี่ยมใช้เก็บกักน้ำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของชาวบ้าน สถานที่นี้ยังถูกโอบล้อมไปด้วยทิวเขาที่เขียวขจีสวยงาม ชวนชื่นตา ชื่นใจ เหมาะแก่การเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจให้แก่ ประชาชนในพื้นที่จึงได้ร่วมกันบริหารและการจัดการให้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ภายในอ่างเก็บน้ำห้วยทับไม้เหลี่ยมแห่งนี้ นักท่องเที่ยวจะได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่หาเลี้ยงชีพจากการหาสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำดังกล่าว โดยเฉพาะหอยแทงฝังที่มีลักษณะเด่นมีเนื้ออวบ ตัวใหญ่รสชาติอร่อยสามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลาย
  4. เอกลักษณ์ เอกลักษณ์ของชุมชนแห่งคือ หอยแทงฝัง ที่พบได้ในชุมชนแห่งนี้ได้แค่ที่เดียว และยังมีอาหารจานเด็ดที่เป็นเอกลักษณ์ที่ยังคงรสชาติแบบต้นตำรับพื้นบ้านสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่ได้ลิ้มรสเมนูอาหารรสเลิศที่ขึ้นชื่อของชุมชนมีหลากหลายทั้ง ลาบหอยแทงฝัง ผัดหอยแทงฝัง ผัดผักกูด แกงไก่บ้านเหมงมะพร้าว ซึ่งทุกเมนูล้วนใช้วัตถุดิบทุกอย่างที่หาได้จากในชุมชน นอกจากอาหารคาวแล้วยังมีอาหารหวานอีกชนิดหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน คือขนมกรวย มีความอร่อย หอม หวาน มัน เป็นขนมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง

ภาพที่ 1 หอยแทงฝัง ของดีชุมชน

  1. เสนห์ชุมชนเสน่ห์ชุมชนบ้านทุ่งทับควายมีพืชพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดขึ้นอยู่มากมายมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะน้ำที่ใช้ทางการเกษตรโดยมีอ่างเก็บน้ำห้วยทับไม้เหลี่ยมอ่างเก็บน้ำจืดขนาดกลางที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอากาศดีเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจชุมชนนี้ยึดถือวิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมและได้รับเลือกจากอำเภอลำทับจังหวัดกระบี่ให้เข้าร่วมโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบประจำปี 2557 ซึ่งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนับได้ว่าเป็นการอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืนและการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนนั้นคือวิถี ชีวิตของคนในพื้นที่แห่งนี้

ภาพที่2 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ5. Spiritผู้นำชุมชนมีความเป็นผู้นำสูงมีความรับผิดชอบ และเป็นคนที่มีความพยายามที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการพัฒนาของโครงการ OTOP นวัตวิถีอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ในชุมชนบ้านทุ่งทับควายให้มีจำนวนมากที่สุด

4.2 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่และร้อยละ

ตาราง 1 แสดงจำนวนเพศของผู้ตอบแบบสอบถามรายการ จำนวน ร้อยละ ( % )เพศ ชาย 26 52หญิง 24 48รวม 50 100.00อายุ ต่ำกว่า 20 ปี 6 1221-40 ปี 14 2841–60 ปี 22 4460 ปีขึ้นไป 8 16รวม 50 100.00อาชีพ ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 7 14รับจ้าง 10 20เกษตรกร 14 28ข้าราชการ / พนักงานของรัฐ 14 28อื่น ๆ 5 10 รวม 50 100.00รายการ จำนวน ร้อยละ ( % )สถานภาพ ประชาชนทั่วไป 29 58องค์กรชุมชน / เครือข่ายองค์กรชุมชน 16 32นักท่องเที่ยว 5 10 รวม 50 100.00

ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าเป็นเพศชายจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 52 เพศหญิงจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48 อยู่ในช่วงอายุ 41-60 ปีจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 44 อยู่ในช่วงอายุ 21-40 ปีขึ้นไปจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 28 อยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16 และอยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 12 โดยรวมผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าอยู่ในช่วงอายุ 41-60 ปี มากที่สุด มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัวจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14 รับจ้างจำนวน 10คน คิดเป็นร้อยละ 20 เกษตรกร จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 28 มีข้าราชการ/พนักงานของรัฐจำนวน 14 คน คิดเป็น ร้อยละ 28 และมีอื่น ๆ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10 มีสถานภาพเป็นประชาชนทั่วไปจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 58 และมีสถานภาพองค์กรชุมชน/เครือข่ายองค์กรชุมชนจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 32 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10

4.2.1 ข้อมูลแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่

ตาราง 2 ด้านแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว x̄ S.D. ระดับความคิดเห็น1.ท่านคิดว่าแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควายสำหรับท่านมีความมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรอย่างยั่งยืนมากน้อยเพียงใด 4.52 0.58 มากที่สุด2.ท่านเห็นด้วยมากน้อยเพียงใดในการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย 4.46 0.65 มากที่สุด3.ท่านคิดว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสามารถตอบสนองได้ทุกเพศทุกวัย 4.74 0.53 มากที่สุดรวม 4.57 0.15 มากที่สุด

จากตาราง 2 สรุปได้ว่า ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน บ้านทุ่งทับควาย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.57) โดยมองว่าการท่องเที่ยวชุมชนบ้านทุ่งทับควายในรูปแบบนวัตวิถีเป็นสถานที่ที่ได้รับการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.74) รองลงมาในชุมชนมีแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย สำหรับท่านมีความมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.52) และมองว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควายอยู่ในภาพรวมเป็นอันดับสุดท้าย (x̄= 4.46)ตาราง 3 ด้านการจัดการพื้นที่แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว x̄ S.D. ระดับความคิดเห็น1.ชุมชนได้จัดฐานการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด 4.44 0.73 มากที่สุด2.ในชุมชนมีการจัดการให้นักท่องเที่ยวได้ปฏิบัติอยู่ในกฎกติกาของชุมชน 4.54 0.61 มากที่สุด3.ชุมชนได้มีการจัดสรรพื้นที่ให้แก่นักท่องเที่ยวได้พักผ่อน 4.64 0.63 มากที่สุดรวม 4.54 0.11 มากที่สุดตาราง 3 สรุปได้ว่า ด้านการจัดการพื้นที่ของชุมชนบ้านทุ่งทับควายภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54) โดยมองว่าในชุมชนได้มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านการจัดการของพื้นที่ในชุมชนได้มีการจัดสรรพื้นที่ให้แก่นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.64) รองลงมาชุมชนได้มีการจัดการให้นักท่องเที่ยวได้ปฏิบัติอยู่ในกฎกติกาของชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54) และชุมชนได้มีการสร้างโอกาสหารายได้เพิ่มให้แก่ชุมชนเป็นอันดับสุดท้าย (x̄= 4.44)

ตาราง 4 กิจกรรมการท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านทุ่งทับควายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว x̄ S.D. ระดับความคิดเห็น1.ชุมชนมีการจัดทำกิจกรรมสันทนาการที่น่าสนใจมากน้อยเพียงใด 4.54 0.61 มากที่สุด2.ในชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นักท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด 4.68 0.59 มากที่สุด3.ในชุมชนมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ให้แก่นักท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด 4.68 0.51 มากที่สุดรวม 4.63 0.08 มากที่สุดตาราง 4 สรุปได้ว่า ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนแบบนวัตวิถีของชุมชนบ้านทุ่งทับควายภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(x̄=4.63)โดยมองว่าในชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด(x̄=4.68) รองลงในชุมชนมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ให้แก่นักท่องเที่ยวมาอยู่ในระดับมากที่สุด(x̄=4.68) และในชุมชนมีการจัดทำกิจกรรมสันทนาการที่น่าสนใจเป็นอันดับสุดท้าย (x̄=4.54)

ตาราง 5 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของเส้นทางการท่องเที่ยวแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว x̄ S.D. ระดับความคิดเห็น1. ท่านคิดว่าเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด 4.64 0.56 มากที่สุด2. มีการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนและมีการปรึกษาแนะนำอย่างดี 4.58 0.57 มากที่สุดรวม 4.61 0.04 มากที่สุด

จากตาราง 5 สรุปได้ว่า ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของเส้นทางการท่องเที่ยว ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.61)โดยมองว่าในชุมชนมีเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนมีความปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.64) รองลงมาในชุมชนมีการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนและมีการปรึกษาแนะนำอย่างดีอยู่ในระดับอันดับสุดท้าย (x̄=4.58)

  1. การอภิปรายผล.5.1 ศักยภาพของพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย 1.ด้านประวัติความเป็นมาการให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบ้านทุ่งทับควาย ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งทับควาย และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ 2. ด้านการเสริมสร้างทักษะอาชีพการให้นักท่องเที่ยวได้เข้าฐานตามที่ศูนย์ได้จัดไว้ให้เพื่อสร้างเสริมทักษะอาชีพให้แก่นักท่องเที่ยวและกิจกรรมนันทนาการ 3. ด้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชนนำนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชม “ ฝายน้ำล้นห้วยทับไม้เหลี่ยม” เป็นแหล่งน้ำธรรมทางธรรมชาติ สภาพอากาศดี โอบล้อมไปด้วยทิวเขาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และภายในเขื่อนทับไม้เหลี่ยมแห่งนี้ สามารถทำให้นักท่องเที่ยวได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่หาเลี้ยงชีพจากการหาสัตว์น้ำในเขื่อนดังกล่าว โดยเฉพาะ “ หอยแทงฝัง ” ที่มีลักษณะเด่น มีเนื้ออวบ ตัวใหญ่ รสชาติอร่อย สามารถนำมาปรุงเป็นเมนูต่าง ๆ ได้หลากหลาย แต่ที่น่าแปลกใจคือ หอยชนิดนี้พบที่แอ่งเก็บน้ำแห่งนี้เพียงที่เดียว ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถนำกลับไปทำอาหาหารได้ 4. ด้านอาหารชุมชนจะมีอาหารมื้อเย็นซึ่งเป็นอาหารจานเด็ดที่เป็นเอกลักษณ์ ยังคงรสชาติแบบต้นตำรับพื้นบ้าน สร้างความประทับใจแก่ผู้ที่ได้ลิ้มรส เมนูอาหารรสเลิศที่ขึ้นชื่อของชุมขนมีหลากหลายเมนู ทั้งลาบหอยแทงฝัง หอยลายผัด ผัดผักกูด แกงไก่บ้านเหม่งมะพร้าว ซึ่งทุกเมนูล้วนใช้วัตถุดิบทุกอย่างที่หาได้จากชุมชน ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ กฤษณะ คำมี ณรงค์กร ลิ่มสมบูรณ์ ภานุพงศ์ เข็มทอง และ อรรนพ คงศรีสมบัติ. (2562. : 5) ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านถ้ำเสือในรูปแบบนวัตวิถีชุมชนบ้านถ้ำเสือ อำเภออ่าวลึก จังวัดกระบี่ ผลการวิจัยพบว่า 1.การจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านถ้ำเสือในรูปแบบนวัตวิถีตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ได้ทำการท่องเที่ยวเชิงวิถี ภูมิปัญญา ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและให้สอดคล้องกัน วิถีปัจจุบัน ในรูปแบบ ร่วมสมัย ซึ่งแบบเป็นโซนท่องเที่ยว 5 โซนดังนี้ 1)โซนท่องเที่ยวผจญภัยถ้ำเสือ กิจกรรมขี่ช้าง ขี่ ATV เพื่อสัมผัสธรรมชาติ คลองน้ำร้อนและเรียนรู้เรื่องราวมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ถ้ำผีหัวโต 2)โซนธุรกิจ MICE ไร่ ปรีดาโฮมสเตย์ กิจกรรมประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวต่างตอบแทน(Incentive Travel) Eventงานต่าง ๆ และกิจกรรมค่ายนันทนาการ 3)โซนท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมบ้านถ้ำเสือใน เรือนผู้ใหญ่โฮมเสตย์ กิจกรรมการทำผ้าปาเต๊ะภาพเขียนสีโบราณ งานเพ้นท์ภาพจากเปลือกหอยชักตีน “บุหงา อันดามัน” งานเพ้นท์เสือ “มนุษย์ถ้ำอ่าวลึก” งานแปรรูปเสื้อผ้า และของใช้จากผ้าปาเต๊ะพิมพ์ลาย มีแหล่งท่องเที่ยว ถ้ำเสือน้อย ถ้ำนางฟ้า 4)โซนวิถีพอเพียงและชุมชนมุสลิมบ้านท่าไร่ มีกิจกรรมภูมิปัญญาจากชมรมผู้สูงอายุ บ้านถ้ำเสือ ฐานเรียนรู้วิถีเกษตรพอเพียง และวิถีมุสลิมบ้านถ้ำเสือ มีแหล่งท่องเที่ยวน้ำผุดปรบมือ 5)โซนท่องเที่ยวทางทะเลท่าต้นมะขามมีกิจกรรมท่องเที่ยวสปาโคลนร้อนและกิจกรรมล่องคลองสู่อันดามัน ชมวิถีประมงคลองมะรุ่ย และแหล่งหอยนางรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ด้านการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านถ้ำเสือในรูปแบบนวัตวิถีมีความต้องการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวภายในชุมชนเพิ่มมากขึ้น5.2 แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน บ้านทุ่งทับควาย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.57) โดยมองว่าการท่องเที่ยวชุมชนบ้านทุ่งทับควายในรูปแบบนวัตวิถีเป็นสถานที่ที่ได้รับการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.74) รองลงมาในชุมชนมีแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย มีความมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.52) และต้องการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวภายในหมู่บ้านและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีให้เกิดความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชน แนวทางการพัฒนาในอนาคตของการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบนวัตวิถีของบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ 1. ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีงานทำและมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น 2. ชุมชนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และแปรรูปจากวัตถุดิบในชุมชนที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มเพื่อส่งเสริมรายได้ให้แก่คนในชุมชน 3. ปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้เกิดความน่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งข้น มีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ ทวีป บุตรโพธิ์. (2561 : 2) ได้ศึกษาเกี่ยวกับชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า มีการพัฒนา 3 ด้านคือ 1.ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการยกระดับสวัสดิการส่งเสริมและมีการพัฒนาศักยภาพสร้างโอกาสในอาชีพและการจ้างงาน 2.ด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านกระบวนการประชาคมเป็นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ในชุมชน สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในแต่ละท้องถิ่น 3. ด้านการปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรทั้งในระบบควบคู่การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าทางการเกษตรและส่งเสริมการตลาดสมัยใหม่โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน 2) เพื่อพัฒนาคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP 3) เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางในการท่องเที่ยว เสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรในทุกภาคส่วนและทุกระดับ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความยั่งยืน

กิตติกรรมประกาศ คณะผู้วิจัยขอขอบคุณชุมชนบ้านทุ่งทับควาย อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ขอบคุณผู้ที่ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนงานวิจัยทุกภาคส่วน ขอบคุณสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เปิดโอกาสให้ได้ทำงานวิจัยชุมชน และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่เปิดโอกาสให้คณะผู้วิจัยมีโอกาสได้นำเสนอผลงานวิจัยเพื่อชุมชนในครั้งนี้

การอ้างอิง กรมการพัฒนาชุมชน. ( 2554) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานกระบี่รวมที่เที่ยวหน้าฝน ชุมชนกระบี่ของดีชวนค้นหาน่าไปสัมผัส. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 http: / / tv.bectero.com.กฤษณะ คำมี ณรงค์กร ลิ่มสมบูรณ์ ภานุพงศ์ เข็มทอง และ อรรนพ คงศรีสมบัติ. (2562) การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือในรูปแบบนวัตวิถีชุมชนบ้านถ้ำเสือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. ภูเก็ต : สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.ทวีป บุตรโพธิ์. (2561) ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน. กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาชุมชน.นรินทร์ สังข์รักษา. (2553) ถอดบทเรียนกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการกิจกรรมทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าของวิสาหกิจชุมชน เพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ในจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2532) แนวทางการพัฒนา. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562
https://www.baanjomyut.com.

หมายเลขบันทึก: 688710เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2021 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2021 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท