๑. จุดเริ่มต้น..ผลงานทางวิชาการ


เมื่อ CHAYANTO...เป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการ ภายใต้กรอบของวงจรบริหารที่เรียกว่า. PDCA ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าสง่างามยิ่งนัก และเดินมาถูกทางแล้ว..

            คือผมก็รับราชการมาหลายปี..อีก ๕ ปี ก็จะเกษียณอายุราชการ ผมมี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ หรือ คศ.๓ (ซี ๘) แต่เงินเดือนอยู่แท่ง คศ.๔ (ซี ๙) อีก ๓ ปี เงินเดือนก็จะตันแล้ว..

            คิดฝันไว้เมื่อปลายปี ๒๕๖๐ ว่าปีการศึกษา ๒๕๖๑..จะเริ่มต้นทำผลงานทางวิชาการอย่างจริงจัง ให้แล้วเสร็จในปี ๒๕๖๓ ผลงานผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญ ระดับ ๙ ไม่ได้ทำกันง่ายๆ..

            แต่ถ้าไม่ริเริ่ม..ผลงานการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก็คงไม่มีความหมาย และอีกอย่าง การได้เขียนผลงานก็เท่ากับว่าได้ฝึกปรือทักษะการคิดการเขียน..ส่งแล้ว จะได้หรือไม่? จะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน?..ก็ถือว่าได้ลงมือทำแล้ว

            ผลดีที่จะได้รับ..ก็คือเงินบำนาญหลังเกษียณ ที่ไม่ต้องเบียดเบียนลูกหลาน นี่คือปฐมบทของความคิด ที่ต้องลงมือออกแบบ..ผลงานทางวิชาการ..ในปีนี้

            วันนี้..มีการขยับขับเคลื่อน มีข้อมูลเพิ่มเติมเสริมต่อเข้ามาจากท่านอาจารย์ที่ปรึกษา ท่านเป็น ดร.จบจาก ม.ศิลปากร ท่านกรุณาอ่านงานของผม ที่เป็นข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนและเป็นโมเดลการทำงานบริหาร

            ผมส่ง “ชยันโตโมเดล” ไปให้ท่านดูทั้งหมด เป็นแนวคิดการทำงานแบบบ้านๆ เป็นวิธีปฏิบัติที่คิดว่าดีแล้ว บางเรื่องเห็นผลเชิงคุณภาพเป็นที่ประจักษ์ บอกอาจารย์ที่ปรึกษาไปว่า ผมต้องการ นวัตกรรม สักเรื่องนึง..

            ชื่อเรื่อง..”รูปแบบ...บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดย CHAYANTO. MODEL  TO Quality School”.....แค่ชื่อก็รู้สึกตื่นเต้นและท้าทายแล้ว..

            อาจารย์ก็เลยอธิบายให้ผมเข้าใจว่า ผลงานระดับ ๙ นั้น ต้องทำ ๒ เล่ม เล่มที่หนึ่งเป็นตัวนวัตกรรม คือ Chayanto Model  ...เมื่อเราใช้โมเดลนี้แล้ว เราจึง ทำงาน วิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารโรงเรียน ขนาดเล็ก .....?.ส่งเป็นเล่มที่สอง....

            ชยันโต โมเดลของผม แรกเริ่มเดิมทีนั้น ทำเพื่อใช้งานนิเทศภายใน เลยทำให้ง่าย ไม่ได้นึกถึงผลงานทางวิชาการ..แนวทางการปฏิบัติงาน จึงแยกเป็นแต่ละด้าน และในทุกด้านก็ใส่กิจกรรม/โครงการลงไป..บอกให้ชัดเจนว่าทำอะไร? เพื่ออะไร?

            คราวนี้..อาจารย์ที่ปรึกษาก็ถามผมว่า..ได้ใช้ทฤษฎีการบริหารแบบใด? ท่านหมายถึงทฤษฎีการบริหารที่ได้มาตรฐาน ของผู้เชี่ยวชาญที่ยอมรับกันแล้วทั่วโลก

            ผมตอบไม่ได้ เพราะไม่ทราบจริงๆ และก็ไม่ได้เชื่อมโยงไว้ตั้งแต่ต้น แต่อาจารย์ที่ปรึกษาท่านมองงานผมออกตลอดแนวเลย ท่านจึงลองปรับโมเดลการทำงานบริหารของผม สร้างคำ หรือภาษาให้ลงลึกถึงกิจกรรม โดยแตกแยกย่อยออกมาจาก Chayanto Model  แล้วเชื่อมโยงไปสู่ PDCA ทำให้ผมเข้าใจงานได้ทันที..

            คำว่า "CHAYANTO"...ทุกตัวอักษรมีความหมาย..นำไปบริหารได้ทั้งสิ้น เช่น..

            C....หมายถึง Creative /Can 

            H…..หมายถึง Heart / Hand / Head

            A.....หมายถึง Active

            Y....หมายถึง Ygm / You

            A....หมายถึง Action

            N....หมายถึง Now/ Native/  Novel

            T....หมายถึง Team /Teacher

            O....หมายถึง Order/ Objective

            เมื่อ CHAYANTO...เป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการ ภายใต้กรอบของวงจรบริหารที่เรียกว่า. PDCA  ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าสง่างามยิ่งนัก และเดินมาถูกทางแล้ว..

            อาจารย์ที่ปรึกษาของผม ท่านจะช่วยดูทั้งระบบและปรับปรุงโมเดลการบริหารให้ผม และท่านยังแนะนำให้ผมหาผู้เชี่ยวชาญเตรียมไว้ด้วย เพื่อให้ช่วยตรวจพิจารณารูปแบบการบริหาร.. ตามขั้นตอนของการทำผลงานวิชาการ..นั่นเอง

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๙  พฤษภาคม  ๒๕๖๑

   

   

 

  

หมายเลขบันทึก: 647088เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2018 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2018 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท