"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

ทำรถพ่วงข้างใช้เอง


เก็บบันทึกจากเว็บไซต์บ้านสวนพอเพียง มาแบ่งปันกัลยาณมิตร โกทูโนว์...ทำรถพ่วงข้างใช้เอง

ลองทำรถพ่วงข้างรถเครื่องใช้งาน

อดีตเคยทำงานเป็นช่างฟิตเตอร์ หลายบริษัทที่ชลบุรี ระยอง และผู้รับเหมาอีกหลายเจ้า มีประสบการณ์การทำประกอบเหล็ก ท่อ งานเชื่อมอยู่พอสมควร จึงลงมือเขียนแบบและทดลองทำรถพ่วงข้างรถเครื่อง ด้วยตนเอง

โดยมีเป้าหมายเพื่อการใช้งานเอนกประสงค์ในช่วงฤดูแล้งก่อนที่ฝนจะมาในสวน เช่น ขนสิ่งของ ปุ๋ยขนน้ำเอาไปใส่ในห้องน้ำ น้ำเพื่อเอาไว้ใช้รดต้นไม้ ทำปุ๋ยอีกบางส่วน

ผลงานที่ออกมาอาจได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะลาร้างจากวงการมานาน พี่หนานจึงขอนำมาบันทึกให้เห็นไว้ ณ บ้านสวนพอเพียงแห่งนี้ เผื่อกัลยาณมิตรบางท่านอาจจะสนใจ ทดลองทำตามบ้าง

วัสดุอุปกรณ์

๑. เหล็กกล่อง 2*3 นิ้ว

๒. เหล็กกล่อง 1*1 นิ้ว

๓. เหล็กเพลสหนา 6 มิล กว้าง 5 เซ็น.

๔. เฟลมล้อรถเครื่องพร้อมแกน

๕. ล้อยางพร้อมดุมและเส้นลวด

๖. โช๊ครถเครื่อง ๒ ตัว (จะใส่โช๊คเดี่ยวด้วยก็ยิ่งดีมาก)

๖. เหล็กฉากเล็ก 1*1 นิ้ว หนา 3 มิล

๗. ไม้ฝาสำหรับปูพื้น 2 แผ่น(ยาว)

๘. ลวดเชื่อม 2.6 มิล. 1 กล่อง

ในส่วนของแบบหรือแปลนนั้น ขอให้เพื่อนๆ กำหนดกันได้ตามความเหมาะสมและชอบใจ ไม่มีผิดหรือถูก แบบที่เขียนกับงานที่ทำจริงอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียด เมื่อทำเสร็จแล้วทดลองขับขี่ดูถึงจะรู้ว่า ควรปรับปรุงตรงจุดไหนบ้าง

ตอนนี้โครงพ่วงของพี่หนานเริ่มมองเห็นจุดที่จะปรับปรุงขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ก็ถือว่าไม่หนักหนาสาหัสอะไร เอาไว้ทดลองขับขี่ไปนานๆ แล้วค่อยแก้ไขทีเดียวครับ

เกริ่นมานานแล้วลอง ชมและดูขั้นตอนสั้นๆ ตามภาพได้เลยครับผม...

Image

เขียนแบบไม่เป็นหรอก แต่ก็อยากทำ เดี๋ยวเขาจะหาว่าเรา "มั่วนิ่ม" ทำอะไรไม่มีแผน ฮะฮะฮ่า

Image

เหล็กที่เหลือจากการสร้างบ้านจำนวนหนึ่ง ซื้อมาเสริมอีกจำนวนหนึ่ง-สอง ประมาณหนึ่งพันบาท

Image

นำมาตัดตามแบบที่เขียนไว้หรือตามที่ต้องการ เล็ก-ใหญ่

Image

จัดการประกอบและเชื่อมตามที่มุ่งหวังไว้แต่แรก ประกอบไว้ก่อน เชื่อมทีหลัง เชื่อมมากเดี๋ยวดึงไม่สวยครับ

Image

เสร็จแล้วนำมาเทียบและประกอบเข้ากับตัวรถเครื่องที่ต้องการ หรือกำหนดเอาไว้ตั้งแต่แรก คันนี้ขอซื้อรถเก่าเขามาพันห้าครับ..ถูกไหม?

Image

ประกอบเสร็จแล้ว จัดการแกะออกจากรถ แล้วเชื่อมทุกจุดให้แข็งแรง พลิกหน้าพลิกหลังดูให้เชื่อมง่ายๆ เข้าไว้

Image

เสร็จแล้ว จัดการทาสีหรือพ่นสี ให้ดูสวยงาม สามารถเลือกสีรองพื้น(กันสนิม)ได้ตามต้องการ เดี๋ยวนี้มีหลายสีมากครับ

Image

จากนั้น นำมาประกอบเข้ากับตัวรถอีกครั้ง พร้อมกับการทดลองออกขับดูว่า ดึง ดัน ขืน บ้างหรือเปล่า

Image

สภาพที่พร้อมรับการบรรทุก หรือพร้อมใช้งานแล้ว ก็ทดลองบรรทุกเครื่องสูบน้ำก่อนเลยเรา อิอิอิ

Image

หนักกว่านี้ก็ยังไหว บรรทุกปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด น้ำหนักประมาณหกสิบกิโล สบายๆ ยังไหว ...พรุ่งนี้จะมีการบรรทุกน้ำเพื่อเอาไปใช้ในสวนอีก งานนี้ได้เหนื่อยทั้งรถทั้งคนอีกแน่นอน...

5/2/2559

ขอบคุณ..http://www.bansuanporpeang.com/node/29320#comments

หมายเลขบันทึก: 607645เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2016 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2016 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ

-วิศวกร....ประจำไร่นา...

-เจ๋งๆ คร้าบ..

-ผมไม่ถนัดขับสามล้อพ่วง...เคยลองแล้วมันรั้งๆ จะลงข้างทางน่ะครับ 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท