วัฒนธรรมสร้างสรรค์ : ภูมิปัญญาการเพ้นท์ผ้าฝ้ายจากสมุนไพรไทยสู่นวัตกรรม หน้ากากอนามัยเพื่อสุขภาพ


หน้ากากอนามัยผ้าฝ้าย ย้อมและเพ้นท์สีธรรมชาติ การต่อยอดงานวิจัยเพื่อต้านควันไฟจากอินโดนีเซีย

วัฒนธรรมสร้างสรรค์ : ภูมิปัญญาการเพ้นท์ผ้าฝ้ายจากสมุนไพรไทยสู่นวัตกรรม

หน้ากากอนามัยเพื่อสุขภาพ

Creative Culture: Innovative Paintings of the Cotton Protective Masks

Using the Sap of Thai Herbs

ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว (Theerakan Pokaew)



บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพ้นท์หน้ากากอนามัยจากสีธรรมชาติโดยใช้น้ำยางของพืชธรรมชาติเป็นตัวประสานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการเพ้นท์สมุนไพรสู่งานสร้างสรรค์หน้ากากสมุนไพร ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษา เลือกแบบเจาะจง จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงปฏิบัติการ 12 คำถาม หลังผ่านกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่าพืชที่ใช้เป็นตัวประสานที่ดีที่สุดคือน้ำยางกล้วย นักศึกษามีแนวคิดที่จะนำผลงานไปพัฒนาต่อยอด ประกอบอาชีพเสริม และทำเป็นงานอดิเรก เพราะจากการปฏิบัติงานแล้วมีความสุข สนุกสนาน ได้แนวทางที่จะนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ชุมชนในเรื่องนวัตกรรมการใช้สมุนไพรไทยย้อม และเพ้นท์หน้ากากอนามัยประเภทผ้า

ABSTRACT

This study employed the qualitative research. The objectives of the study were: to study the innovation of painting the protective masks made of cotton using the sap of the plants as a paint coordinator, and to propose guidelines in order to develop the local wisdom of using the natural sap in painting to the local people in their community. The sample subjects consisted of 48 students at Rajamangala University of Technology Isan. The research instruments were an in-depth interview and experimental workshops. The results revealed that the sap from banana plants was found to be the best coordinator for painting cotton masks. The guidelines to develop the local wisdom were that the students would continue with this work as their hobbies and for supplementary income.

คำสำคัญ : ภูมิปัญญา การเพ้นท์ผ้าฝ้าย หน้ากากอนามัยสมุนไพร

Key Words : local wisdom, cotton painting, herbs protective masks

อาจารย์ประจำกลุ่มสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต


บทนำ

ปัญหาภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่ประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้นทุกวัน มนุษย์จึงมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเป็นสำคัญ ตามสัดส่วนประชากรที่เพิ่มขึ้น มีการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองมากขึ้น รวมถึงเกิดการเผาทำลายทรัพยากรป่าไม้ เพื่อการทำไร่ ทำสวนขนาดใหญ่ ทำให้เกิดหมอกควันพิษ ที่นำมาสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่ได้สูดควันไฟ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง นำมาสู่การทำลายสุขภาพ และชีวิตในที่สุด

ปัจจุบันปัญหาร้อนแรงที่ยังเป็นปัญหาเรื้อรังของกลุ่มประเทศในอาเซียน จนในปี 2558 ต้องมีการหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาปรึกษาหารือกันอย่างเร่งด่วน คือเรื่องควันไฟป่าในอินโดนีเซีย ซึ่งนอกจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศแล้ว ยังทำให้เสียรายได้จากการท่องเที่ยววันละหลายสิบล้านบาทแล้วปัญหาหมอกควันไฟป่าในอินโดนีเซีย เป็นปัญหาที่มามีนาน ปัญหานี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออินโดนีเซีย และต่อประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทยเอง ที่ค่ามลพิษในอากาศไม่ปลอดภัยหากสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย ทั้งนี้ การจะควบคุม แก้ไขปัญหาคงเป็นไปได้ยาก เพราะสาเหตุเกิดจากการเผาทำลายป่าขนาดใหญ่ ในพื้นที่กว้าง แต่วิธีการที่ดีที่สุดในเบื้องต้น คือ การให้ความรู้แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ ให้ดูแล รู้จักวิธีการป้องกันตนเอง เพื่อให้ได้รับควันไฟเข้าสู่ร่างกายให้น้อยที่สุด ซึ่งตอนนี้อุปกรณ์ที่ช่วยเหลือได้ดีที่สุด เห็นจะเป็นเพียงการสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อกรองควันพิษ และฝุ่นละออง ให้เข้าสู่ร่างกายตนเองน้อยที่สุด (ไทยทีวีสี ช่อง 3, 2558 โทรทัศน์ “ครอบครัวข่าว 3”)

ปัจจัยสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องสิ่งแวดล้อมจากไฟป่า อาจเป็นสาเหตุที่จะนำมาสู่ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด ภูมิแพ้ หรืออื่นๆ ผู้วิจัยเชื่อว่าแต่ละคนมีภูมิต้านทานที่ต่างกันซึ่งหากร่างกายได้รับสิ่งกระตุ้น ในปริมาณมากน้อยต่างกัน แต่การได้รับสารกระตุ้น ด้วยการปฏิบัติตนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อระบบทางเดินหายใจ และกลไกการควบคุมต่างๆภายในร่างกายได้ ซึ่งปัจจัยบางอย่างที่เป็นปัญหา เมื่อไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหาที่ต้นตอได้ วิธีการที่ดีที่สุด คือ การป้องกัน ดูแลตนเอง และบุคคลในครอบครัว ให้ถูกต้อง ถูกวิธี เพื่อให้ผู้ประสบปัญหาควันไฟ หรือผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถป้องกันต้นเองในเบื้องต้นอีกทั้งมีสุขอนามัยที่ดีและยั่งยืนต่อไป

จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นการเพ้นท์หน้ากากอนามัยโดยใช้สีธรรมชาติจากสมุนไพรไทยให้กับนักศึกษา จึงน่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ที่สนใจ ผู้ที่กำลังศึกษาเรียนรู้ ซึ่งจัดเป็นสมาชิกสำคัญทางสังคมที่จะได้เผยแพร่ ขยาย ถ่ายทอด ความรู้ดีๆ ที่ได้รับจากการทดลองฝึกปฏิบัติเพ้นท์หน้ากากอนามัยด้วยสุมนไพร ฝึกการสวมใส่หน้ากากอนามัย อีกทั้งได้ตระหนักถึงภัยอันตรายใกล้ตัว นักศึกษาได้เล็งเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทย สีสันจากธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยในการป้องกัน ต้านทานเชื้อโรค และช่วยให้ผ่อนคลายเวลาสูดดม

การใช้สมุนไพรในการบำบัด ป้องกัน รักษาโรคของไทย เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน การส่งเสริมให้มีการเรียนรู้สืบทอด ปรับประยุกต์ วิธีการใช้ ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และยุคสมัย จึงจัดเป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่จะสามารถช่วยเหลือปัญหาสังคมได้อีกทางหนึ่ง สอดคล้องกับความคิดที่ว่าหากสมาชิกของชาติหรือสังคมในยุคสมัยนั้นๆ มีความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจยิ่งส่งผลต่อความรัก ความสามัคคี ในทางตรงกันข้ามถ้าสมาชิกละเลยไม่ธำรงรักษาประเพณีอันดีงามไว้ สังคมย่อมจะเกิดปัญหาในด้านต่างๆ ตามมา ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม จึงเปรียบเสมือกระจกเงาของสังคมที่จะสะท้อนและถ่ายทอดให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นอันดีงามที่มีการสืบทอดต่อๆ กันมา จึงจัดได้ว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีส่วน ช่วยทำให้สังคมเกิด การพัฒนา และเกิดความสงบสุข (สุรีย์ เงตฉูนุ้ย, 2549)

การศึกษาของไทยในปัจจุบัน ให้ความสำคัญสำหรับการสร้างนวัตกรรมต้นแบบด้านการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ด้วยปัญญา โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ อันเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ ผ่านการปฏิบัติ บูรณาการ ด้านวิชาการภายใต้ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย การเรียนรู้ถึงศีลธรรมจรรยา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นแบบอย่าง และให้สามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนจะต้องให้ครบทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการคิด การเรียนรู้ เฉลียวฉลาดใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (IQ) 2) พัฒนาให้รู้จักตนเอง มีสติอยู่เสมอ มีความมั่นคงทางอารมณ์ (MQ) 3) พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหา และเผชิญสถานการณ์ ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ภายใต้สภาวะที่กดดัน (AQ) 4) พัฒนาให้ผู้เรียนให้มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี เลือกใช้ได้เหมาะสมกับความต้องการ (TQ) 5) สำคัญที่สุด คือ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทยเข้าไปในทุกขั้นตอนจนติดเป็นนิสัย (MQ) (พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และจีระ หงส์ลดารมภ์, 2553 : 194-195)

ผู้วิจัยจึงอยากนำเสนอ และเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ สำหรับแนวทางการป้องกันปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ เพื่อการศึกษาเรียนรู้ การส่งเสริมอาชีพ และแนวทางการพัฒนาแนวคิดด้วยการนำภูมิปัญญาไทยมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมหน้ากากอนามัยประเภทผ้าย้อมสมุนไพรไทย ซึ่งผู้วิจัยได้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่องจากการเพ้นท์จนกระทั่งมาสู่กระบวนการย้อมหน้ากากอนามัยด้วยสีธรรมชาติ เพราะห่วงใยสุขภาพของชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาการเพ้นท์หน้ากากอนามัยจากสีธรรมชาติโดยใช้น้ำยางของพืชธรรมชาติเป็นตัวประสาน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

2. เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการเพ้นท์สมุนไพรหน้ากากอนามัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สู่นวัตกรรมหน้ากากอนามัยสมุนไพร

วิธีการวิจัย

  • ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร นักศึกษาที่เรียนรายวิชา คุณค่ามนุษย์ : ศิลป์และศาสตร์ในการดำเนินชีวิต

กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง จำนวน 48 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือที่ใช้ การทดลองฝึกปฏิบัติ สังเกต และแบบสัมภาษณ์หลังการฝึกปฏิบัติ

  • กิจกรรมฝึกปฏิบัติการงานสร้างสรรค์
  • การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant
    • การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
    • สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-
  • แบบสัมภาษณ์หลังฝึกปฏิบัติการ เป็น

หน้ากากอนามัยจากสีธรรมชาติโดยใช้น้ำยางจากพืชเป็นตัวประสานสีลงสู่หน้ากากอนามัย ประเภทผ้า

Observation) และสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

(Non-Participant Observation)

(Participant Observation) นักวิจัยคอยสังเกตการณ์

เวลาที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติการ สังเกตการแก้ไขปัญหาของนักศึกษาในตอนเพ้นท์สีธรรมชาติ จากนั้นจะมีการแนะนำในขณะที่นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการ ตามปัญหาที่นักศึกษาสงสัย

Participant Observation)นักวิจัยคอย สังเกตการณ์ เก็บภาพ และให้จดบันทึกข้อมูลอยู่ห่างๆ ในขณะที่นักศึกษาได้เริ่มทำการฝึกปฏิบัติการและมีการดำเนินกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วมภายในกลุ่มของตนเอง

แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างจำนวน 12 คำถามหลังการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติการ

3. เก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายวิธีประกอบกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ ด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ทำการศึกษาจะเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกตามข้อมูลที่ต้องการศึกษาและจากแหล่งข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้อง โดยวิธีการเก็บข้อมูล คือได้แก่การเก็บข้อมูลที่ต้องการศึกษาและจากแหล่งข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้อง โดยวิธีการเก็บข้อมูล คือได้แก่การเก็บข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) และเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Research) ในห้องเรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การศึกษาข้อมูลทางเอกสารจะกระทำก่อนที่จะกระทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานจากการทดลองเพ้นท์สีธรรมชาติลงสู่ผ้าฝ้ายก่อนที่ทดลองเพ้นท์ลงบนหน้ากากอนามัยประเภทผ้า จากนั้นจึงนำชุดฝึกที่สำเร็จแล้วถ่ายทอดสู่นักศึกษาภายในห้องเรียน โดยเน้นการฝึกปฏิบัติการระหว่างปฏิบัติการได้ทำการศึกษาค้นคว้างานเอกสาร และงานวิจัยต่างๆ เพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ และการใช้น้ำยางจากพืชธรรมชาติเป็นตัวประสานสีธรรมชาติ จากนั้นจึงนำความรู้ที่ได้ มาวางแผนจัดการเรียนรู้ และทำกิจกรรมวิจัยเชิงสร้างสรรค์ในระหว่างเรียน รายวิชาคุณค่ามนุษย์ : ศิลป์และศาสตร์ในการดำเนินชีวิต มีการบันทึกกิจกรรม ผลการฝึกปฏิบัติ มีผลต่อการประเมินผลการศึกษาระหว่างเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการฝึกปฏิบัติงานจริงของนักศึกษา ตามกิจกรรมที่มอบหมายให้กับนักศึกษาโดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกัน เก็บรายละเอียดในการลงมือปฏิบัติงาน เก็บภาพที่เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติการ จากนั้นนำมาจดบันทึก พร้อมกับถ่ายรูปภาพผลงานนักศึกษาไว้ เพื่อกันความผิดพลาดในการส่งงานซ้ำ และกันการลอกเลียนผลงานซึ่งกันและกัน

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลได้จากการที่มอบหมายงานกิจกรรมในการฝึกปฏิบัติเพ้นท์สีธรรมชาติมอร์แดนด้วยน้ำยางจากพืชธรรมชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มอบให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างได้ทำการปฏิบัติงาน เก็บรวบรวมผลงานส่งอาจารย์ ฝึกทดสอบใช้จริง และจากการสังเกต การสนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันภายในห้องเรียนระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา แล้วจดบันทึกไว้ในลักษณะบรรยายเพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นภาพของการศึกษาผลการเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาโดยการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มของนักศึกษา ทำให้ทราบแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นการย้อมสีธรรมชาติด้วยการเพ้นท์หน้ากากอนามัยมอร์แดนด้วยน้ำยางจากพืชธรรมชาติ โดยการมีส่วนร่วมกับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จากนั้นได้สรุปตีความใช้เทคนิคดำเนินการตรวจสอบแบบสามเส้า (Methodological Triangulation) และนำเสนอข้อมูล โดยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เพื่ออธิบายถึงผลการเรียนรู้กิจกรรมฝึกปฏิบัติการงานสร้างสรรค์หน้ากากอนามัยจากสีธรรมชาติโดยใช้น้ำยางพืชธรรมชาติเป็นตัวประสาน ทราบแนวทางการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาสู่งานสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จากนั้นนำมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอข้อมูลด้วยการเขียนเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) พร้อมรูปภาพประกอบตอนท้ายเล่ม

ผลการวิจัย

ผลจากการศึกษาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาที่เลือกเจาะจงจำนวน48 คน พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่พึงพอใจกับกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ เนื่องจาก

1 การศึกษางานสร้างสรรค์การเพ้นท์หน้ากากอนามัยจากสีธรรมชาติโดยใช้น้ำยางของพืชธรรมชาติเป็นตัวประสานได้ผ่านการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องใช้เทคนิควิธีพิเศษโดยการนำน้ำยางจากพืชมาเป็นตัวประสานในการเพ้นท์สีธรรมชาติ และการใช้สมาธิในการทำงาน ทำให้นักศึกษาเกิดสุนทรียภาพทางด้านศิลปะ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการทดลองผสมสีในรูปแบบต่างๆ เกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถปรับประยุกต์นำสีธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ เมื่อฝึกปฏิบัติเสร็จ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความสุข สนุกสนาน ในการทำงาน ซึ่งในกิจกรรมหลังจากมีการทดลองใช้น้ำยางกล้วย และยางมะละกอเป็นตัวประสานสี พบว่าน้ำยากล้วยให้การประสานสีได้ดีกว่าน้ำยางมะละกอ เพราะขณะปฏิบัติการน้ำยางมะละกอจะมีการจับตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ ทำให้น้ำสีไม่ลื่นไหล เกิดปัญหา ไม่สะดวกในการเพ้นท์

2 ทราบแนวทางการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการเพ้นสมุนไพรสู่งานสร้างสรรค์หน้ากากสมุนไพร ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ แนวทางการพัฒนาและการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ นักศึกษามีแนวคิดที่จะนำไปประกอบอาชีพเสริม และทำเป็นงานอดิเรก มีแนวความคิดที่จะนำความรู้นี้ไปถ่ายทอดแก่ครอบครัว เพื่อน และชุมชน

ส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรไทย เพื่อเป็นการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงสารเคมี และนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาสร้างประโยชน์ ปรับประยุกต์สู่การดูแลสุขภาพด้วยการผลิตหน้ากากอนามัยเพ้นท์สมุนไพร และหน้ากากอนามัยย้อมสมุนไพร ช่วยให้ลดรายจ่ายจากซื้อหน้ากากอนามัยที่มีจำหน่ายในท้องตลาด สามสร้างรายได้ในการสร้างอาชีพจากการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาการเพ้นท์สมุนไพรสู่นวัตกรรมหน้ากากอนามัยนาโนเทคโนโลยี ที่สามารถพัฒนาต่อยอดจากสมุนไพรไทย ช่วยป้องกัน บำบัด และรักษาโรคได้ต่อไป

3 การพัฒนากระบวนการเพ้นผ้าฝ้ายจากสมุนไพรไทยสู่นวัตกรรมหน้ากากอนามัยเพื่อสุขภาพเมื่อการวิจัยชุดแรกสำเร็จโดยการที่ผู้วิจัยได้ทดลองให้นักศึกษานำหน้ากากอนามัยชนิดผ้าสีขาวมาลองเพ้นท์ลายด้วยสมุนไพรไทยแล้ว จึงมีการคิดพัฒนาต่อในชุดที่สอง โดยการทดลองให้นักศึกษาลองเพ้นที่ผ้าฝ้ายด้วยสมุนไพรแบบเป็นผืนสี่เหลี่ยมเพื่อที่จะให้สามารถนำผ้าที่เพ้นท์แล้วไปตัดเย็บเป็นหน้ากากอนามัยต่อไป สุดท้ายผู้วิจัยจึงทดลองนำหน้ากากอนามัยสีขาว มาย้อมด้วยสีธรรมชาติ ก่อนที่จะนำมาเพ้นท์ เป็นการทดลองย้อนวิธีปฏิบัติเสมือนทำจริง เนื่องจากขาดเครื่องมือในการตัดเย็บ แต่คิดว่าการจำลองนี้น่าจะทดแทนได้ หากในอนาคตมีชุมชนใดที่สนใจ เรื่องการย้อมผ้าฝ้ายจากสมุนไพรก็สามารถที่จะปรับประยุกต์พัฒนาตัดเย็บเป็นหน้ากากอนามัยสมุนไพรไทยเป็นอาชีพได้ ซึ่งถือว่าเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม ยิ่งหากมีการพัฒนาผสมผสาน ส่งเสริมการย้อมสมุนไพรด้วยเทคนิคนาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คงจะมีนวัตกรรมดีๆ ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นอีกหลายชิ้นงาน สุดท้ายเป้าหมายที่ต้องการเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของชุมชน ลดการใช้สารเคมีด้วยสมุนไพรไทย สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง

อภิปรายและสรุปผลการวิจัย

  • ผลการฝึกปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยการ

ลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีสมาธิ และสุนทรียภาพในการทำงาน สามารถเรียนรู้เทคนิคพิเศษ และมีแนวคิดที่จะนำไปต่อยอดในอนาคต สิ่งที่ได้รับจากกระบวนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ นักศึกษาเกิดจินตนาการในการสร้างลวดลายที่เป็นรูปแบบของตนเอง อีกทั้งมีการทดลองเอาพืชให้สีจากสมุนไพรที่หลากหลาย ผสมสีในรูปแบบต่างๆ ทำให้ผลงานมีสีที่แปลกใหม่ สามารถปรับประยุกต์นำสีธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 3 V1) Value Added จะมุ่งเน้นในเรื่องสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากร 2) Value Creation การสร้างคุณค่าและมูลค่าด้วยการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 3) Value Diversity การสร้างคุณค่าและมูลค่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม

สำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ใช่เพียงแต่จะมุ่งสู่สร้างมูลค่าเพียงอย่างเดียวแต่ในขณะเดียวกันต้องยังคงดำรงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามของวัฒนธรรมให้คงอยู่อย่างสร้างสรรค์ภายใต้ความหลากหลายของทรัพยากรที่มี ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของชาติพันธุ์ ความหลากหลายของชีวภาพ (ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว, 2557 : 264-265)

เมื่อฝึกปฏิบัติเสร็จ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งในกิจกรรมหลังจากมีการทดลองใช้น้ำยางกล้วย และยางมะละกอเป็นตัวประสานสี พบว่าน้ำยากล้วยให้การประสานสีได้ดีกว่าน้ำยางมะละกอ เพราะขณะปฏิบัติการน้ำยางมะละกอจะมีการจับตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ ทำให้ไม่สะดวกในการเพ้นท์ซึ่งสอดคล้องกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการนำน้ำยางกล้วยมาเพ้นท์ผ้า เนื่องจากผู้วิจัยพบว่าในชีวิตประจำวันกล้วยเป็นพืชมหัศจรรย์ มีประโยชน์มาก หลาย อีกทั้งใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ผู้วิจัยยังสังเกตเห็นอีกว่าเมื่อนำเอากล้วยมาใช้ประโยชน์โดยไม่ระมัดระวังยางกล้วยถ้าติดบนเสื้อผ้าแล้ว จะซักไม่ออก เป็นคราบสีน้ำตาลติดแน่น ซึ่งคุณสมบัติของยางกล้วยนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่องานสร้างสรรค์สำหรับงานเพ้นท์สีธรรมชาติได้ (โรงเรียนลำพูน, 2555: เว็ปไซต์)

ทราบแนวทางการพัฒนาต่อยอดภูมิ

ปัญญาท้องถิ่นการเพ้นสมุนไพรสู่งานสร้างสรรค์หน้ากากสมุนไพร นักศึกษามีแนวคิดที่จะนำไปประกอบอาชีพเสริม ทำเป็นงานอดิเรก และมีแนวคิดที่จะนำความรู้นี้ไปถ่ายทอดแก่ครอบครัว เพื่อน และชุมชน ส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปหันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพ หันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เพื่อเป็นการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงสารเคมี และนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาสร้างประโยชน์ ปรับประยุกต์สู่การดูแลสุขภาพด้วยการผลิตหน้ากากอนามัยเพ้นท์สมุนไพร ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น เพราะผู้วิจัยได้วางแผนจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องตามทฤษฎี Constructionist โดยการมุ่งสร้างองค์ความรู้ โดยยึดผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง โดยเน้นขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1) Explore คือ การสำรวจตรวจสอบ การเรียนรู้ต้องมีการตรวจสอบให้ดีว่า “สิ่งที่จะเรียนรู้นั้น” มีแง่มุมใดที่น่าจะให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน

2) Experiment คือ การทดลองดูว่าจะมีแนวทางใดบ้างที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ โดยที่ผู้วิจัยต้องมีการลองผิดลองถูกก่อน จนกระทั่งพบแนวทางที่ดีที่สุดแล้วจึงค่อยนำมาถ่ายทอด และให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ เพราะฉะนั้นโครงงานนี้อาจารย์จึงมีการทดลอง ทดสอบ ก่อนที่จะให้นักศึกษาได้ปฏิบัติ 3) Learning by Doing คือ การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดประสบการณ์เรียนรู้ และได้ดูดซึมเอาความรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ นักศึกษาได้รู้จักปรับตัว เรียนรู้อุปสรรค และปัญหาใหม่ๆ มีการผสมกลมกลืนความรู้เก่า และความรู้ใหม่ จนเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ แนวทางเดียวกัน และ 4. Doing by Learning คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา การความสัมพันธ์กับสิ่งที่กระทำอยู่ ขณะปฏิบัตินักศึกษาจะได้ผ่านการเรียนรู้ รู้จักปัญหา และผ่านกระบวนการแก้ปัญหา ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด เมื่อฝึกบ่อยๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ เรียกว่า “พลังแห่งการเรียนรู้ Power Learning” ก่อให้เกิดคุณสมบัติที่ผู้วิจัยต้องการ นั่นคือ การคิดเป็น ทำเป็น และแก้ไขปัญหาเป็น สมดังวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

สุดท้ายผู้วิจัย จะต้องมี คำถามปลายเปิด “Open-ended Questions” หลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้ เพื่อทำเป็นข้อสรุป และดูผลสุดท้ายว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ (สุทัศน์ เอกา, 2558 : 27-29)

หน้ากากอนามัยประเภทผ้าย้อมสมุนไพรช่วยให้ลดรายจ่ายจากซื้อหน้ากากอนามัยที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เพราะหน้ากากอนามัยประเภทผ้านี้สามารถนำไปซัก แล้วเอากลับมาใช้ซ้ำได้ ต่างกับหน้ากากอนามัยประเภทใยสังเคราะห์ สามสร้างรายได้ในการสร้างอาชีพจากการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมที่สร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียงต้องเริ่มจากตนเองก่อน แล้วขยายเข้าสู่สังคม และชุมชน หัวใจของความพอเพียงจะต้องมีความพอประมาณในการใช้จ่าย ปัญหาที่พบคือการซื้อหน้ากากอนามัยจำนวนไม่มาก อาจจะไม่ต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่หากในอนาคตเกิดวิกฤติเรื่องควันพิษที่รุนแรง ติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน หรือโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ โรควัณโรคระบาดรุนแรง ซึ่งไม่สามารถคาดการวิกฤติที่จะเกิดขึ้นได้ หากเกิดขึ้นแต่ละคนจะต้องเสียเงินในการซื้อหน้ากากอนามัยอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีการเรียนรู้ที่จะทำหน้ากากอนามัยใช้เอง นำสมุนไพรมาปรับประยุกต์ในการป้องกันโรค ต้านทานโรค จากคุณสมบัติเรื่องภูมิปัญญาของสมุนไพรไทยในการรักษาโรค ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดการประหยัดตามมา เพราะปัจจุบันเริ่มมีการนำสมุนไพรไทย เช่น เปลือกมังคุดไปพัฒนาเป็นนวัตกรรม ทำให้หน้ากากอนามัยมีราคาที่แพงขึ้น หลักแห่งความมีเหตุผล หากในอนาคตชุมชนสามารถนำสมุนไพรมาพัฒนาหน้ากากอนามัยผ้าฝ้าย ก็จะทำให้ชุมชนได้ใช้ของดี ราคาไม่แพงมากนัก สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องในระยะเวลานาน และสุดท้ายหน้ากากอนามัยจากผ้าฝ้ายที่ย้อมและเพ้นท์สมุนไพรไทยเป็นนวัตกรรมใหม่ของชุมชนที่จะเป็นตัวช่วยในเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันในการต้านทานวิกฤติควันไฟ ต้านทานโรคระบบทางเดินหายใจ และยังช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง สังคม และชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถดำเนินตนอย่างพอเพียง ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างสมดุล โดยการเรียนรู้ และส่งเสริมให้บุคคล รวมถึงชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง (ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว, 2557 : 122-124)

  • การพัฒนากระบวนการเพ้นผ้าฝ้ายจาก

สมุนไพรไทยสู่นวัตกรรมหน้ากากอนามัยเพื่อสุขภาพเมื่อการวิจัยชุดแรกสำเร็จโดยการที่ผู้วิจัยได้ทดลองให้นักศึกษานำหน้ากากอนามัยชนิดผ้าสีขาวมาลองเพ้นท์ลายด้วยสมุนไพรไทยแล้ว จึงมีการคิดพัฒนาต่อในชุดที่สอง โดยการทดลองให้นักศึกษาลองเพ้นที่ผ้าฝ้ายด้วยสมุนไพรแบบเป็นผืนสี่เหลี่ยมเพื่อที่จะให้สามารถนำไปตัดเย็บเป็นหน้ากากอนามัยต่อไป

สุดท้ายผู้วิจัยจึงทดลองนำหน้ากากอนามัยสีขาว มาย้อมด้วยสีธรรมชาติ ก่อนที่จะนำมาเพ้นท์ เป็นการทดลองย้อนวิธีปฏิบัติเสมือนทำจริง เนื่องจากขาดเครื่องมือในการตัดเย็บ แต่คิดว่าการจำลองนี้น่าจะทดแทนได้ หากในอนาคตมีชุมชนใดที่สนใจ เรื่องการย้อมผ้าฝ้ายจากสมุนไพรก็สามารถที่จะปรับประยุกต์พัฒนาตัดเย็บเป็นหน้ากากอนามัยสมุนไพรไทย ซึ่งถือว่าเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม ยิ่งหากมีการพัฒนาส่งเสริมการย้อมสมุนไพรด้วยเทคนิคนาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจะทำให้ประเทศไทยมีนวัตกรรมดีๆด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ

งานวิจัยของพิชย์ศุภผล และพงศ์พล เอกบุตร ซึ่งได้ทำการวิจัยสารสกัดจากเปลือกมังคุดยับยั้งแบคทีเรีย ที่มาของการวิจัยจากการที่ในประเทศไทยยังมีการระบาดของเชื้อวัณโรคหลงเหลืออยู่ในบางพื้นที่ และทางทีมวิจัยจึงได้ศึกษาสารสำคัญจากสมุนไพรไทยที่มีอยู่ในธรรมชาติ ทั้งจาก ใบบัวบก สาบเสือ ขมิ้น และ เปลือกมังคุด การวิจัยพบว่า ในเปลือกมังคุดจะมีสารประกอบ “แซนโทน” ซึ่งมีฤทธิ์ทางตัวยาในการฆ่าเชื้อวัณโรค ต้านการอักเสบของแผล การรักษาเซลล์มะเร็ง จากคุณประโยชน์ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการวิจัย สำหรับขั้นตอนการวิจัย เริ่มแรกนำส่วนเปลือกมาสกัดสารด้วยวิธี “ใช้ตัวทำลายพิเศษ” ซึ่ง สามารถดึงสารสำคัญได้มากกว่าปกติ โดยเปลือก 1 กก.หลังใช้เวลาสกัด 2 วัน จะได้สาร ประกอบแซนโทนประมาณ 40 กรัม จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาใส่ในวัสดุปิดแผล แล้วทดสอบกลไกในการรักษาแผลเบริน (Burns) จากไฟไหม้ในสัตว์ทดลองเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าช่วย ทำให้แผลหายเร็วขึ้น จากนั้นจึงวิจัยต่อยอดมาสู่การทำเส้นใยนาโนไฟเบอร์ (การกรอง) ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กมากๆ มีพื้นที่สัมผัสสูงมาก เพราะจะทำให้เซลล์สามารถเติบโตบนวัสดุนี้ได้ดีกว่าฟิล์มปกติ (ไฮโดรเจลล์ผิวเรียบ) แล้วพัฒนามาเป็นแผ่นกรองทั่วไป และหน้ากากอนามัยเจิร์มการ์ด (Germ-Guard) ที่นอกจากความสามารถในการกรองเชื้อโรค (BFE) โดยห้องปฏิบัติการ NELSON LAB ในสหรัฐอเมริการับรองว่าสามารถกรองเชื้อโรคได้ถึง 97.8 เปอร์เซ็นต์ (พิชย์ศุภผล และพงศ์พล เอกบุตร, 2555 : เว็ปไซต์)

ทั้งนี้การนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการบำบัด รักษาโรค ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านสุขภาพที่ดีลดการใช้สารเคมี ด้วยสมุนไพรไทย อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้อีกด้วย

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย

1.ควรมีการนำผลการวิจัยขยายผลไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ประชาชนจะได้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในเชิงสุขภาพ และยังสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นงานอาชีพได้

2. ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการนำสมุนไพรที่มีสี มีกลิ่นหอม ผ่อนคลายนำมาย้อมผ้าฝ้าย เพ้นท์ โดยใช้เทคโนโลยีนาโนเทคโนโลยีเข้าช่วยในเรื่องของการรักษาความคงทนของสี และกลิ่น เมื่อเสร็จแล้วนำมาตัดเย็บเป็นหน้ากากอนามัยสมุนไพร พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในเชิงนวัตกรรม

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้เป็นทุนส่วนตัวของนักวิจัย ขอขอบคุณคณาจารย์ นักศึกษาทุกคน รวมถึงคณะบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีส่วนร่วมในผลักดัน ส่งเสริม คอยให้กำลังใจผู้วิจัยในการทำงานวิจัยด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ จนกระทั่งส่งผลให้งานวิจัยเสร็จสมบูรณ์ ขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตที่ส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม มาเผยแพร่ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นอย่างสูง สำหรับการเปิดโอกาสให้ผู้วิจัยได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง

พวงเพชร เสี้ยมแหลม จิรภรณ์ แจ้งคำ และจุไรพร

สูงแข็ง. 2555. น้ำยางกล้วยเพ้นท์ผ้า.

โครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลลำพูน.

บันทึกเมื่อ 2552 ค้นเมื่อ 2555

https://www.l3nr.org/posts/358894.

ไทยทีวีสีช่อง 3. 2558. อินโดนีเซีย-หมอกควันไฟป่า

ปัญหาเรื้อรังในอาเซียน. “ครอบครัวข่าว 3”

บันทึกเมื่อ 14 กันยายน. 2558

ค้นเมื่อ17 กันยายน 2558.

http://www.krobkruakao.com

ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว. 2555. ผลการเรียนรู้งานสร้างสรรค์

การเพ้นท์หน้ากากอนามัยจากสีธรรมชาติโดย

ใช้น้ำยางกล้วยเป็น ตัวประสาน ของนักศึกษา

ระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราช

มงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.สาขา

สังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสังคม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

วิทยาเขตกาฬสินธุ์.

. 2556. ผลงานสร้างสรรค์การเพ้นท์ผ้าฝ้าย

จากสีธรรมชาติโดยใช้น้ำยางจากพืชเป็น

ตัวประสาน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล

อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.สาขา

สังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสังคม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

วิทยาเขตกาฬสินธุ์.

. 2557. Life Spring ชีวิตติดสปริง.

กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และจีระ หงส์ลดารมภ์,

2553. ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้. ปวันท์วีย์

เรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ :

มิสเตอร์ก๊อปปี้.

พิชย์ ศุภผล และพงศ์พล เอกบุตร. 2555.

สารสกัดจากเปลือกมังคุดทำหน้ากากกรอง

ยับยั้งแบคทีเรีย. เพ็ญพิชญา เตียว บันทึกใน

ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 20 สิงหาคม 2555

ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2558.

http://www.thairath.co.th.

สุทัศน์ เอกา. 2558. ครูแห่งศตวรรษทื่ 21.

กรุงเทพฯ : ก.พล (1996).

สุรีย์ เงตฉูนุ้ย. 2549. ศึกษาประเพณีในรอบชีวิตของ

ชาวไทยมุสลิม ดำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง

จังหวัดสตูล. สงขลา : ปริญญาศิลปะศาสตร์

บัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย

ทักษิณ.

หมายเลขบันทึก: 600498เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2016 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2016 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท