วันสันติภาพ (ด้วยรัก เมตตา และ อภัย)


วันสันติภาพ (ด้วยรัก เมตตา และ อภัย)

It is a Sunday after a 160 mm rain. The best rain we have had since this Summer began 2 months ago. The magic of water is amzing. Our world changes in a single rain! Our dams are full again. We, trees and wildlife are lifted out of glooms and dooms. The rain lets us all live on once more.

I have more time to look around -- to stop and smell some flowers -- as people would say. I like to share two articles from a Thai daily newspaper. The articles are published in คมชัดลึก/ศาสนา-พระเครื่อง : ข่าวทั่วไป.

[I took a little detour to clarify some words and this is what I found:

From Royal Institute Dictionary (2542 Th-Th)
พระเครื่อง
น. พระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย (ย่อมาจากคำ พระเครื่องราง); เครื่องเสวย.
(Interestingly, no description listed for both พระเครื่องราง and เครื่องเสวย in the 2543 RI dictionary.)

From WordNet 3.0 (En-En)
amulet: (syn. talisman) a trinket or piece of jewelry usually hung about the neck and thought to be a magical protection against evil or disease.]

พระยูกันดาถอดบทเรียนสร้างสันติภาพที่แอฟริกา : นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร รายงานชื่อเสียงของพระพุทธรักขิตะชาวยูกันดา ซึ่งเป็นพระสงฆ์เถรวาทรูปแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในทวีปแอฟริกา เป็นที่ทราบของชาวไทยพุทธบ้างในระดับหนึ่ง...
http://www.komchadluek.net/detail/20160130/221514.... วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2559

...พระพุทธรักขิตะกล่าวด้วยว่า จึงอยากขอความร่วมมือ มจร ในการเปิดโรงเรียนและส่งครูไปช่วย เพราะครูตัวจริงต้องไปสอนในสถานที่เขาไม่รู้ ให้เขารู้ สอนคนไม่รู้ ให้รู้ได้ เพราะการสอนเป็นการเรียนรู้ไปในตัวด้วย เช่นกัน

"เราควรจัดการความขัดแย้งภายในตัวเองก่อน ซึ่งที่ผ่านมาอาตมานับถือมาทุกศาสนาทุกนิกาย จึงมาค้นหาว่าอะไรคือความต้องการที่แท้จริง จึงมีโอกาสได้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๓ เดือน จึงค้นพบความต้องการที่แท้จริง ความจริงศาสนาพุทธก็มีหลายนิกายทั้งเถรวาทและมหายาน แม้แต่การปฏิบัติของเถรวาทในการกำหนดท้องบ้างลมหายใจบ้าง ไม่รู้จะกำหนดที่ไหนกันแน่ เพียงเท่านี้ก็ขัดแย้งในตัวเองแล้ว จึงทำให้ไปปฏิบัติกรรมฐานที่ประเทศเมียนมาร์เพื่อสร้างสันติภายใน" พระชาวยูกันดา กล่าวและว่า

ถ้าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น แต่ให้เปรียบเทียบกับตนเอง อดีตเราปฏิบัติได้แค่ไหน ตอนนี้เราได้แค่ไหน เพราะถ้าเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่นก็จะเกิดทิฐิมานะเราต้องมั่นใจและศรัทธาเท่านั้น มีคำถามว่าทำไมถึงเลือกมาเป็นชาวพุทธและทำไมถึงเลือกเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เหตุเพราะว่าศาสนาอื่นที่ศึกษาไม่สามารถให้คำตอบของชีวิตได้ แต่พระพุทธศาสนาสามารถตอบคำถามของชีวิตได้ ศาสนาพุทธให้คำตอบที่ถูกต้องมากๆแต่ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถึงจะได้คำตอบนั้น

พระพุทธรักขิตะกล่าวว่า อาตมาถือว่าเป็นแกะดำในครอบครัว เพราะคนในครอบครัวนับถือศาสนาอื่น แต่อาตมาคนเดียวที่มานับถือศาสนาพุทธ คนในครอบครัวรับประทานเนื้อแต่อาตมาฉันผักจึงเกิดความขัดแย้งในครอบครัว แม้แต่ลุงผู้ส่งให้ศึกษาอยากให้เป็นนักธุรกิจ แต่มาวันหนึ่งอาตมานับถือพระพุทธศาสนาและบวชเป็นพระภิกษุจึงทำให้ลุงเกิดความผิดหวังเป็นอย่างมากถือว่ายังขัดแย้งเพราะยังไม่เข้าใจ แต่ มจร ได้แก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดีมากๆ โดยเมื่อเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชาโลกทำให้ลุงได้ร่วมเดินทางมาด้วยและได้รับพระพุทธรูปจากบุคคลสำคัญของประเทศไทย ทำให้ลุงเกิดการยอมรับเป็นอย่างมาก

สันติภาพจะเกิดต้องมี ๓ ระดับ คือ ความรักต่อกัน ต่อสู้กับตนเอง ร่วมมือกันด้วยความอดทนต่อกัน เพราะความขัดแย้งในชุมชน ซึ่งเราเป็นสัตว์สังคมต้องอยู่ร่วมกัน ที่ประเทศยูกันดาไม่เคยสัมผัสคุ้นเคยกับพระสงฆ์ จึงเกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างหนึ่ง เพราะไม่เคยรู้จักนักบวช แม้แต่เห็นชุดการแต่งกายก็มองว่าเป็นแฟชั่นสวยงาม คิดว่าเป็นนายแบบ ถามถึงราคาชุดที่ใส่ก็เป็นความขัดแย้งจากความไม่รู้ บางกลุ่มคิดว่า บ้า วิกลจริต เพราะแต่งกายไม่เหมือนคนอื่น จึงใช้วิธีกำหนดได้ยินหนอๆๆ ไม่เอาไปปรุงแต่ง เป็นสร้างพุทธสันติวิธี กำหนดว่าได้ยินก็ผ่านไป ได้ยินอะไรก็ปล่อยสักว่าได้ยิน แล้วมันก็ผ่านไปเป็นการสร้างสันติภายใน...

[รักขิตะ rakkhita: protected; guarded; observed; preserved. (pp. of rakkhati)
พุทธรักขิตะ buddharakkhita = พุทธรักษา]


http://www.komchadluek.net/detail/20160131/221516....
ศาสนาคือความรักความเมตตาและการให้อภัย วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2559

ศีลธรรมและสันติสุขจะกลับมาได้อย่างไร(จบ) ศาสนาคือความรักความเมตตาและการให้อภัย : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพระไพศาล วิสาโล เรื่อง ศูนย์ภาพ เนชั่น ภาพ

...วิสัชนา : เรื่องนี้ ท่านอาจารย์พรหมวังโส ท่านเคยเล่าไว้ในหนังสือ ‘ชวนม่วนชื่น’ เล่ม ๒ มีฝรั่งมาถามท่านว่า “ถ้าหากมีคนเอาพระไตรปิฎกมาฉีกแล้วทิ้งลงส้วมท่านจะทำอย่างไร” ท่านตอบโดยไม่ลังเลว่า “อย่างแรกที่อาตมาจะทำก็คือเรียกช่างประปามา”

อาตมาว่านี้เป็นคำตอบที่สมเหตุสมผลมาก เพราะถ้ามีคนเอาพระไตรปิฎกทิ้งลงส้วม ท่อก็ตันแน่ ต้องไปเรียกช่างประปามา

ท่านให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า ถึงแม้จะมีคนทำลายพระพุทธรูป เผาวัด หรือฆ่าพระ ก็ไม่สามารถทำลายพุทธศาสนา ท่านยังบอกอีกว่า การฉีกพระไตรปิฎกทิ้งลงส้วม ไม่ร้ายเท่ากับการทิ้งเมตตาและการให้อภัยลงส้วม อันหลังนั้นท่านยอมไม่ได้

ศาสนา คือความรัก ความเมตตา การให้อภัย แม้มีวัดเยอะ มีคัมภีร์มากมาย มีคนบวชเป็นเรือนแสน แต่ถ้าเมื่อไรก็ตาม ไม่มีความรัก ไม่มีความเมตตา ไม่มีการให้อภัย ไม่มีการเคารพผู้อื่น มีแต่ความรุนแรง เมื่อนั้นก็เท่ากับว่าศาสนาถูกทิ้งลงส้วมไปแล้ว

ที่ท่านพูดน่าคิดมาก อาจจะแรงในความรู้สึกของใครหลายคน แต่อาตมาอยากให้คิดต่อว่า เขาฉีกพระไตรปิฎกลงส้วม เพราะอะไร เขาต้องการยั่วยุให้เราโกรธ เราก็ต้องรู้ทันเขา และไม่ยอมที่จะเข้าไปในเกมเขา การที่เราไม่โกรธก็เท่ากับว่า เราชนะเขาแล้ว ใช่ไหม เพราะถ้าเราโกรธ เราก็แพ้เขา อย่างไรก็ตามอาตมาว่า ในกรณีนี้เราต้องทำมากกว่านี้ คือต้องทั้ง ‘ทำจิต’ และ ‘ทำกิจ’

ทำจิตคือไม่โกรธ ไม่เกลียดเขา ทำกิจก็คือ ต้องคุย ต้องเจรจากับเขาว่า เขาทำอย่างนั้นเพื่ออะไร ต้องการอะไร ที่สำคัญคือไม่ใช้ความรุนแรงกับเขา

มีเหตุการณ์หนึ่งน่าประทับใจมาก ในเกาหลีเมื่อประมาณสองสามร้อยปีก่อน มีกองทัพบุกเข้ายึดเมืองๆ หนึ่งซึ่งเป็นเมืองพุทธ กองทัพนี้นับถือลัทธิขงจื๊อและเป็นปฏิปักษ์กับพุทธศาสนา ไม่ว่าไปถึงไหนก็เผาทำลายวัดและฆ่าพระ ดังนั้นเมื่อพระในเมืองนี้รู้ว่าเมืองถูกยึดแล้วจึงพากันแตกตื่นทิ้งวัด มีเจ้าอาวาสคนเดียวที่ไม่หนี

เมื่อแม่ทัพมาถึง เห็นเจ้าอาวาสยืนอยู่ในวัด ไม่มีทีท่าหวาดกลัว ก็ชักดาบแล้วพูดขึ้นว่า “ท่านรู้ไหมว่า ท่านกำลังยืนอยู่หน้าคนที่สามารถฟันท่านให้ขาดสองท่อนได้โดยไม่กะพริบตา"

เจ้าอาวาสหาได้หวั่นไหวไม่ กลับตอบว่า

“ท่านรู้ไหมว่า ท่านกำลังยืนอยู่หน้าคนที่พร้อมถูกฟันขาดสองท่อนโดยไม่กะพริบตา”

แม่ทัพได้ยินเจ้าอาวาสพูดเช่นนั้น ก็ยอมแพ้ แพ้ใจเจ้าอาวาส เพราะรู้ว่ากำลังเจอคนที่กล้ากว่าเขา ใจถึงกว่าเขา


อาตมาคิดว่าสิ่งที่เจ้าอาวาสทำนั้นสะท้อนถึงหัวใจของพุทธศาสนาเลยทีเดียว นั่นคือไม่โกรธเกลียดคนที่คิดจะทำร้ายตน ยอมให้เขาทำร้ายดีกว่าที่จะโกรธเกลียดเขาหรือตอบโต้เขาด้วยความรุนแรง

มีพระทิเบตองค์หนึ่ง ชื่อลาเซ ริมโปเช เมื่อจีนเข้าไปยึดธิเบตเมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว ท่านไม่ได้หนี เนื่องจากท่านเป็นพระผู้ใหญ่ เมื่อไม่ยอมทำตามพรรคคอมมิวนิสต์ก็ถูกทรมาน ท่านถูกขังถูกทรมานนานนับสิบปี จนกระทั่งท่านได้รับอิสรภาพ ก็ลี้ภัยมาอยู่อินเดีย ตอนนั้นท่านชรามากแล้ว มีนักข่าวไปถามท่านว่า ตอนที่ถูกคุมขังในธิเบตนั้นท่านกลัวอะไรมากที่สุด

แทนที่ท่านจะพูดถึงการทรมานของทหารจีน ท่านกลับตอบว่า ท่านกลัวว่าจะโกรธคนที่ทำร้ายท่าน...

This is a Sunday of Peace. (At 3 minutes to midnight according to the Doomsday Clock. I have been looking for a story that can be read in 2.5 minutes and stopped that clock forever. If we read this blog down to this word -- rejoice! We have delayed that clock once again.) How many more peaceful Sundays will we have? When will we learn about peace? Just imagine, aliens living far away in this Universe observing Earth and lives on Earth in their search for intelligent life in the Universe. Would they say they have found intelligent lives outside their star system? With piles of rubbish in streets, on land, in rivers and water ways, in lakes, seas and oceans; smog, poisons and chemical fumes in atmosphere we breathe; senseless conflicts and horrific killings... Would we call ourselves intelligent?

หมายเลขบันทึก: 600215เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2016 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2016 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท