ความคืบหน้าของ "คลังวิจัยไทย" จากการประชุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 2


สรุปผลการประชุมสัมมนา“คลังข้อมูลวิจัยไทย”  (Thai  National Research  Repository : TNRR)

วันศุกร์ที่ 31  พฤษภาคม 2556     ห้องประชุมออคิดบอลรูป  ชั้น 2  โ

รงแรมพูลแมน  ขอนแก่น ราชาออคิด


ระบบ TNRR ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาระบบร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่อไปนี้ คือ  สวทช.  สวทน. 
สกว.  สวรส. สกอ. และ วช. ได้เริ่มพัฒนาระบบงานวิจัยไทยให้เป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี
2551  โดยมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลงานวิจัยของไทยจำนวน
20 ฐานข้อมูลในเบื้องต้น และจะมีการขยายต่อไปให้มากขึ้น  โดยระบบคลังข้อมูลวิจัยจะแบ่งออกเป็น 

  ระบบฐานข้อมูลที่หนึ่ง  โครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้ว  โดย นายบุญเลิศ  อรุณพิบูลย์ ผู้แทน สวทช. เป็นผู้ดูแลระบบ  เน้นเรื่องการสืบค้นข้อมูลที่หน่วยงานต้นสังกัดพร้อมเปิดเผยสู่สาธารณชน  เพื่อการศึกษาเรียนรู้ สำหรับผู้ที่สนใจ

  ระบบฐานข้อมูลที่สอง  นักวิจัยและระบบรายงาน แบบ Expert  Finder โดย ดร.ชูชาติ 
หฤไชยะศักดิ์  ผู้แทนจาก สวทช.
  เน้นเรื่องการสร้างทีมงานวิจัย

  ระบบฐานข้อมูลที่สาม 
ระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่รัฐสนับสนุน
Market
Place  โดยนายนนทวัฒน์  มะกรูดอินทร์ ผู้แทน สวทน. เน้นเรื่องการเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยของภาครัฐและภาคเอกชน   

  ระบบฐานข้อมูลที่สี่  ระบบการติดตามประเมินผล  โครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ  โดยนายพิศุทธ์ 
เกิดปัญญา  ผู้แทนจาก สกว.  เป็นระบบที่มุ่งเน้นการติดตามประเมินผลงานวิจัยที่กำลังทำ  ที่ล่าช้า 
และที่วิกฤต โดยจะเน้นตัวแบบการติดตามประเมินผลจากสกว. เป็นหลัก  เพราะสกว.
มีระบบการประเมินผลที่ค่อนข้างละเอียด และเป็นตัวแบบได้ดี

  ระบบฐานข้อมูลที่ห้า  Single  Window  and Data  Entry  โดย นางสาวสุธีรา  อาจเจริญ 
ผู้แทน จาก สวรส.มุ่งเน้นการสร้างระบบการเสนอขอทุนของเครือข่ายให้มีรูปแบบเดียวกัน  และสามารถส่งต่อข้อเสนอโครงการระหว่างกันได้


         จากการเข้าฟังข้าพเจ้า  จึงได้นำเสนอข้อเสนอแนะ และปัญหาที่พบ ดังนี้

ระบบที่หนึ่ง  ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะนักวิจัย  นักศึกษา เคยใช้มาบ่อยๆ ตั้งแต่ฐาน TCI, Thailist คงจะคุ้นชินกับการสืบค้นลักษณะนี้กันอยู่แล้ว  ระบบที่หนึ่งจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับฐานข้อมูลการสืบค้นวิจัยทั่วไป แต่ก็จะพยายามพัฒนาให้มีการเชื่อมโยงให้มากขึ้น  มีระบบการใช้ที่สะดวกสบายขึ้น  ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น

ระบบฐานข้อมูลที่สอง  ระบบของนักวิจัยและระบบรายงาน  Expert  Finder โดย ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์  ผู้แทนจาก สวทช.  เน้นเรื่องข้อมูลนักวิจัยไทย  รวมถึงการสร้างทีมงานวิจัย

               เรื่องนี้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยและนำเสนอ  ดร.ชูชาติ นอกรอบ เพราะเห็นว่าเป็นระบบที่น่าสนใจมาก  โดยเสนอแนะให้ ดร.ชูชาติ  ลองพัฒนาระบบให้ถึงขั้นที่ นักวิจัยสามารถทดลองจัดกลุ่มบุคคลที่มีหัวเรื่องงานวิจัยที่คล้ายคลึงกันได้รูปแบบคล้ายๆ การสร้างเกมส์จับกลุ่มซึ่งน่าจะสนุก และ เป็นการสร้างกลุ่มวิจัยแบบสมมุติให้กับนักวิจัยในเบื้องต้น  เช่น หากนักวิจัยคนหนึ่ง สนใจที่จะวิจัยเรื่อง “ข้าวกล้อง” เราสามารถค้นหาทีมวิจัยในเบื้องต้นได้ 
จากการจับกลุ่มจากนักวิจัยที่มีชื่อเรื่องที่ใกล้เคียงที่สุด  สามารถเลือกได้ว่าจะจับกลุ่มกี่คน เช่น
ถ้าต้องการ
5 คน ที่มีชื่องเรื่องใกล้เคียงที่สุดขึ้นมา  หรือ ถ้าเลือกจับกลุ่ม 10 คน   ก็จะมีรายชื่อเรื่องที่ใกล้เคียงที่สุด 10 คนขึ้นมา  แล้วหากวิจัยสนใจกลุ่มนี้ขึ้นมาจริงๆ  เราก็มีข้อมูลของบุคคลเหล่านั้นอยู่แล้ว  นักวิจัยสามารถที่จะเชื่อมโยงส่งรายละเอียดงานวิจัยเชิญชวนกลุ่มเพื่อนเหล่านี้มาทำวิจัยหรือขอข้อเสนอแนะได้  ดร.ชูชาติดีใจ
และชื่นชอบแนวคิดนี้  บอกว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากและจะนำไปพัฒนาระบบต่อไป  ซึ่งผู้วิจัยบอกว่าเคยใช้ระบบของ
Research Gate มาก่อนคิดว่าระบบนั้นยังขาดเรื่องนี้  เราน่าจะสามารถพัฒนาระบบส่วนนี้ของไทย ขึ้นมาได้

ระบบฐานข้อมูลที่สาม   ระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่รัฐสนับสนุน Market Place  โดยนายนนทวัฒน์  มะกรูดอินทร์ ผู้แทน สวทน. เน้นเรื่องการเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยของภาครัฐและภาคเอกชน    อยากทราบว่าการพัฒนาระบบนี้มีเป้าหมายจนถึงขั้นให้นักวิจัยสามารถซื้อ
ขายงานวิจัยได้หรือไม่  ซึ่งทางทีมพัฒนาระบบบอกว่านั่นคือเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการ  ถ้าเป็นเช่นนั้น 
การที่จะนำเสนองานวิจัยที่พร้อมให้เอกชนเข้ามาดู  จะต้องสืบค้นถึงว่างานวิจัยเรื่องนั้น  มีอนุสิทธิบัตร หรือสิทธิบัตร ด้วยหรือไม่   เปิดเผยได้มากน้อยเพียงใด  ต้องการจะขายหรือไม่  เรื่องนี้จะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน
ซึ่งคงจะต้องเชื่อมโยงกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา (
DIP)  กระทรวงพาณิชย์  นักพัฒนาระบบบอกว่าจะนำข้อเสนอแนะไปพัฒนาต่อตามที่ได้นำเสนอไป

ระบบที่สี่ ไม่มีปัญหา  เพราะสกว.
ขึ้นชื่อว่ามีระบบการติดตามประเมินผลที่เข้มงวดมาก  ก็น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีได้ และมีการพัฒนาระบบมานานมากกว่า
`10 ปี  แต่ทราบว่าหลายๆ 
หน่วยงานยังมีปัญหาในเรื่องนี้  เพราะฉะนั้นเอา สกว.เป็นต้นแบบก็เหมาะสมแล้ว  แต่บางที สกว.ก็มีรายละเอียดยิบย่อยมากเกินไป  ผู้พัฒนาระบบคงจะต้องมีการคัดเลือกรายละเอียดการติดตามที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง



ระบบที่ห้า  อันนี้มีปัญหา เพราะผู้วิจัยประสบกับตัวเอง  หน่วยงาน สวรส.  โดยคุณสุธีรา ในฐานะที่เป็นผู้ประสานโดยตรง และผู้พัฒนาระบบ  ดีใจที่วันนี้ได้เจอ  จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา  จากการส่งงานวิจัยให้กับ สวรส. ในครั้งที่ผ่านมา  ดิฉันได้ติดต่อประสานงานอยู่กับคุณสุธีรา  คิดว่าคุณก็จำกันได้  เมื่อ สวรส. ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้  สวรส. จะต้องเป็นต้นแบบที่ดี  แต่ที่ผ่านมาพบว่า  เมื่อสวรส. มีการอนุมัติทุน  ผลที่อนุมัติได้แจ้งให้เพียงแต่หัวหน้าโครงการทราบเพียงคนเดียว  ไม่มีการแจ้งให้ผู้ร่วมโครงการทราบ  ทำให้ดิฉันไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าโครงการผ่านหรือไม่  ถ้าหัวหน้าโครงการไม่แจ้ง  เพราะฉะนั้นถ้ามีโอกาสได้พัฒนาระบบต่อไป  ควรจะต้องมีการแจ้งผลให้ทั่วถึงทั้งหัวหน้าโครงการ และสมาชิกทุกคนทราบ  น่าจะดีกว่าที่จะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบเพียงคนเดียว

แจ้งข่าวสำหรับผู้ที่ต้องการอยากเข้าไปทดลองใช้ระบบ TNRR  เข้าไปสมัครใช้งานได้ที่

  http://tnrr.in.th  ผู้ที่ต้องการใช้ระบบจะต้องมีสมัครเป็นสมาชิก และมีการกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนจึงจะสามารถเข้าใช้ระบบได้  ยกเว้นสำหรับ  นักวิจัยผู้อาวุโส  สามารถให้เลขา หรือผู้ช่วยสมัครให้  แต่จะต้องติดต่อกับ วช. อีกครั้งหนึ่ง หากต้องการสมัคร และใช้งานในระบบนี้


ไม่รู้ว่าเรามีข้อเสนอแนะหรือปัญหามากไปหรือไม่  กลัวทีมงานพัฒนาระบบจะคิดว่า ดร.ธีรกานต์ปัญหาเยอะจัง 
กำลังคิดว่าหากเราส่งงานวิจัยไปขอทุนครั้งต่อไป  เขาจะให้ทุนรึเปล่าน้อ...อิอิ


หลังจากได้สัมมนาเสร็จสิน้น  คิดว่าเป็นโครงการที่ดีค่ะที่ประเทศไทยของเราจะมีระบบฐานข้อมูลวิจัยเป็นของตนเอง  หากทุกมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการทำคลังปัญญาและมีการเชื่อมโยงมาสู่ คลังวิจัย ระบบมีการพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ คงจะทำให้การดำเนินงานเรื่องระบบงานวิจัยของไทยดำเนินไปอย่างราบรี่นมากขึ้น
และนักวิจัยก็คงจะมีการดำเนินงานวิจัยได้อย่างสนุกขึ้น  สนุกในการสืบค้น  สนุกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน  สนุกในการซื้อ ขาย จำหน่าย  จ่าย แจกงานวิจัย  สนุกในการรายงานผล  และสนุกในการที่จะเสนองานวิจัยมากขึ้น  ก็น่าจะเป็นวิถีทางที่จะทำให้ร้อยละการทำงานวิจัยของคนไทยเพิ่มขึ้นได้แบบก้าวกระโดด
ความหวังของเราคงขึ้นอยู่กับทีมพัฒนาระบบแล้วหละค่ะ  เหล่านักวิจัยก็คงได้แต่ให้ข้อเสนอแนะ และให้กำลังใจอยู่เบื้องหลัง




หมายเลขบันทึก: 537683เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณมากครับผม

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจและดอกไม้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท