สัดส่วนแรงกดดันในชีวิตสู่จุดวิกฤต คุณสามารถแก้วิกฤติได้ เพียงแค่ติดสปริง หรือ พลังบวก


คุณค่ามนุษย์ ย่อและยืดอย่างมั่นใจ หน่วยที่ 4 ชีวิตติดบวก


แนวคิดการแบ่งสัดส่วนแรงกดดันในชีวิตสู่จุดวิกฤต

        การกำหนดระยะแรงกดดัน  “ชีวิตบวกร้อย” ผู้เขียนแบ่งส่วนแรงกดดันของชีวิตออกเป็น 100 % ภายใต้พลังบวกแห่งชีวิต ดังนี้

  0  : 33  :33  : 33 : 1  :+/-/ 0

    ภาวะสมดุลชีวิต  ระยะที่ 1   0%  ชีวิตที่สมดุลปราศจากแรงกดดันใดๆ  สุข  สบาย  ระยะเวลาเพียงสั้้นๆ


แรงกดดันระยะที่ 2 ระยะเริ่มต้น  33%   ความเครียดระดับน้อย  อารมณ์เหวี่ยงเล็กน้อย


                การดูแลให้กำลังใจ  อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ การให้กำลังใจนับเป็นวัน


แรงกดดันระยะที่ 3  ระยะกลาง  66% ความเครียดระดับกลาง


                การดูแลให้กำลังใจ  หาเพื่อนคู่คิด ปรึกษาหาเรือ  การให้กำลังใจนับเป็นอาทิตย์



แรงกดดันระยะที่ 4 ระยะปลาย  99 %  ความเครียดระดับสูง


            การดูแลให้กำลังใจ   หาเพื่อนสนิทที่รู้ใจคอยให้กำลังใจ   อยู่ไม่ห่าง  ใช้เวลาสักระยะ  การให้กำลังใจนับเป็นเดือน


แรงกดดันระยะที่ 5 ระยะวิกฤต  100 %  ความเครียดในระดับสูงที่สุด


             การดูแลให้กำลังใจ  บุคคลใกล้ชิด ครอบครัว และจิตแพทย์  นับเป็นปี


        ผลที่เกิดขึ้น เมื่อจุดดิ่งชีวิตถึง 100%  (จุดเปลี่ยนผ่านชีวิต) จะ สู้แบบพุ่ง/ถอยพลิกขั้ว/จบชีวิต

               ผลในเชิงบวก  สู้แบบพุ่งเป็นด่านแรกที่เราอยากให้คุณเจอมากที่สุด และทุกคนต้องช่วยกันประคับประคองกันในยามคับขัน  สังเกตุคนรอบข้างจากนั้นจงให้พลังบวกแก่เขา  "มาสว่างไปสว่างแม้จะอยู่ท่ามกลางปัญหารุมเร้า

             ผลในเชิงลบ  ชีวิตพลิกขั้ว (เหมือนตายทั้งเป็น)  น้อยคนนักที่เป็นคนมีพื้นฐานจิตใจดีมาตั้งแต่ต้น  แล้วจะมาคิดไม่ดีในตอนปลาย  เพราะในทฤษฎีนี้เราเชื่อว่าคนเราคิดดี (เป็นกลุ่มเรด้ามาตั้งแต่เกิดแล้ว)  ฉะนั้นการพลิกขั้นจะเกิดขึ้นน้อย  แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้

             ด่านสุดท้าย การจบชีวิตเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เลือก  ชีวิตคุณจะมืดไปอีกร้อยชาติ  หาทางสว่างไม่ได้เลย

            เพราะหากคุณเลือกด่านสุดท้ายในการจบชีวิตด้วยตนเอง  คุณจะไม่ได้เกิดอีกเป็นร้อยชาติ 
การเวียนว่ายตายเกิดเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายที่สุด  คุณคิดตรงกันหรือไม่



หมายเลขบันทึก: 536578เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับที่ช่วยเพิ่มความรู้ใน CoP กิจกรรมบำบัด

ขอบพระคุณ ดร.Pop เช่นกันค่ะ  ที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมใน Cop กิจกรรมบำบัด และยังให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยนะค่ะ..):

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท