Human books& human Library


นวัตกรรมของห้องสมุดมีชีวิตจาก หนังสือมีชีวิต (Human books)

อะไรคือ Human Library หว่า ยิ่งมีหนังสือเวียนให้เข้าสัมมนาที่ อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ. นครราชสีมา โดยระบุว่า ฟรีค่าลงทะเบียน เท่านั้นแหละสิริพรก็ขออนุมัติไปสัมมนาพร้อมห้อรถไปกลับภายในวันเดียว

และแล้วก็ได้รู้ความหมายของ Human library ว่า คือ ห้องสมุดประเภทหนึ่งที่รวบรวมหนังสือมีชีวิต (Human books) ไว้ให้บริการ ซึ่ง Human books นี่ก็คือ บุคคลที่เป็นหนังสือ การให้บริการก็มีลักษณะเช่นเดียวกับหนังสือไป มีใบยืม-คืน มี Catalog ให้ผู้ใช้เลือกที่จะยืมไปอ่าน (อันที่จริงคือนั่งคุยกัน)

มันก็คล้ายๆ ภาพยนตร์ฝรั่งที่มีฉากเป็นห้องเรียนเด็กประถมศึกษา ที่ครูเชิญผู้ปกครองนักเรียนมาเล่าเรื่องต่างๆ ให้นักเรียนในชั้นเรียนฟัง ซึ่งการเยนการสอนแบบนี้นำมาใช้ในหลายๆ โรงเรียนของไทย  ประมาณว่าผู้มาเล่าเรื่องนั้นทำหนน้าที่เป็นหนังสือมีชีวิต (Living Book) ในความหมายของบริบทห้องสมุดมีชีวิต

สิริพรเห็นว่า หนังสือมีชีวิตเหมาะสำหรับ การจัดกิจกิจกรรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีเครือข่ายบุคคลให้ความร่วมมือ หรือ กลุ่มผู้ใช้ที่ไม่สามารถ/ไม่ชอบอ่านหนังสือ

หลักการของ Human books คือ การถ่ายทอดเรื่องราวผ่านทัศนคติ ความคิดเห็นของบุคคลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเรื่องนั้นอาจจะเกิดจากการเรียนรู้ในห้องเรียน การอ่าน การประสบพบเจอ การทำงาน แต่การเล่าเรื่องเรื่องแบบนี้ไม่ใช่กรเล่าแบบนวนิยาย เพราะจะต้องมีบทคัดย่อหรือสารบัญของหนังสือชีวิตเป็นเครื่องมือกำกับ (เพื่อให้แน่ใจว่าคนที่อ่านหนังสือมีชีวตจะได้รับสาระแบบเดียวกัน ทั้งนี้ไม่เกี่ยงว่าเทคนิคการเล่าเรื่องในแต่ละครั้งจะต้องเหมือน หรือ แตกต่างกัน)  โดยบทคัดย่อหรือสารบัญของหนังสือมีชีวิตจะปรากฏอยู่ในรายการหนังสือมีชีวิต (Living Books Catalog) ที่ห้องสมุดจะต้องจัดให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้ง่าย

สำหรับห้องสมุด มทร.อีสาน ซึ่งเป็นห้องสมุดหนังสือมีชีวิตแห่งแรกในประเทศไทย ใช้รูปแบบ Living Books Catalog เป็นเอกสารประกอบด้วย หมายเลขของหนังสือมีชีวิต ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน-สัญชาติ ภาษาที่นำเสนอ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิพม์ ระยะเวลาที่ให้ยืม ชนิด/ประเภท(เนื้อหา) คำสำคัญ บทคัดย่อ

การให้บริการ สามารถให้บริการอ่านหนังสือมีชีวิต 1 เล่ม ต่อผู้อ่าน 1 คนก็ได้ หรือ หนังสือมีชีวิต 1 เล่ม ต่อผู้อ่านเป็นกลุ่มก็ได้ ระหว่างการบริการการอ่าน ผู้ใช้บริการก็สามารถสอบถามผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหนังสือได้ตลอดเวลา (นี่แหละสิ่งที่ตกต่างจากการอ่านหนังสือที่เป็นสิ่งพิมพ์หรือดิจิทัล)  

  • ข้อน่าสังเกต
  • 

- ถ้าผู้ใช้แบบเป็นกลุ่ม ถามคำถามที่แตกต่างกัน จะมีการอธิบายที่ยาว ทำให้กินเวลาในการบริการการอ่านที่กำหนดไว้

- หากอ่านไม่จบในครั้งเดียว จะทำอย่างไร

- ในการทดลองยังเป็นการเตรียมกลุ่มผู้อ่านมาเพื่ออ่านหนังสือ เช่น กลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องการไม่เข้าเรียนของโรงเรียนไทยคุรุอุปถัมป์ หากไม่สามารถเตรียมผู้อ่านไว้ได้ จะเกิดบรรยากาศอย่างไร

Human Books นี้เป็นกิจกรรมของการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ที่ช่วยพัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิตชีวา ซึ่งห้องสมุดหรือศูนย์การเรียนรู้สามารถประยุกต์ แหล่งความรู้บุคคล มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ หากเปรียบกับหลักการของการจัดการความรู้ (Knowlaedge Management) นั่นคือการถ่ายทอดความรู้จากภายในตัวบุคคลสู่ภายนอก ซึ่งอาจเป็นเสน่ห์ของความสร้างความใกล้ชิดระหว่างบุคคลในชุมชน ที่ปัจจุบันถูกโลกโซเบอร์แย่งชิงไปเกือบหมดแล้ว

 

หมายเลขบันทึก: 423345เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ หนูติดตามอ่าน Blog ของคุณตุ๊กมาสักพักแล้วค่ะ รู้สึกว่าได้รับประโยชน์ และความรู้ใหม่ๆ แล้วก็ไอเดียไปทำงานด้วยค่ะ ขอบคุณมากเลยค่ะที่เอาความรู้มาแบ่งปัน ^^

  • ขอบคุณน้องหมอนน้อยที่ติดตาม Blog นะคะ
  • ตอนนี้พี่เองก้ไม่ค่อยมีเวลาในการบันทึกเรื่องราวเลย
  • แต่ก็จะพยายามเก็บเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา
  • อย่างน้อยจะได้เรียกดูเวลาต้องการข้อมูลอ้างอิง
  • ยังงัย ว่างๆ ก็แวะมาบ่อยๆ นะคะ

สรุปได้ดีมากๆ ค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย อ่านแล้วอยากทำเรื่องนี้บ้าง แต่จะขอทำกับกลุ่มผู้เกษียณก่อน ขอบคุณนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท