เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี
เด็กหญิง ประเสริฐ (أُخْتٌ صَغِيْرَةٌ ) รัศมีแห่งดวงตา เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี

มุสลิมในทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส ตอนสอง


โคลัมบัสได้ให้ข้อสังเกตว่า ผ้าคลุมหัวดังกล่าว สีสรรของมันมีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับผ้าคลุมและผ้านุ่งที่ชาวคีเนีย (Guinea) สวมใส่อยู่ เช่นเดียวกับรูปแบบ (style) และจุดมุ่งหมาย (function) ของการสวมใส่ เขาได้เรียกสิ่งนั้นว่า “อัลเมซาร” (ALMAYZARS) อัลเมซารนี้เป็นคำภาษาอาหรับ (المئزر) ที่แปลว่า “ผ้าที่ใช้ห่อหุ้ม หรือพันรอบ (wrapper), ผ้าครอบ หรือปิดคลุม (cover), ผ้าคลุมภายนอก (apron), และ/หรือกระโปรงยาว (skirting)” อันเป็นเสื้อผ้าที่ชาวแขกมัวร์ (Moor) (ชาวมุสลิมสเปนหรือแอฟริกาเหนือ) สวมใส่ ซึ่งได้นำเข้ามาจากแอฟริกาตะวันตก คีเนีย (Guinea) และส่งไปยังโมร็อกโค สเปน และโปรตุเกส

ค. ศิลาจารึกและโบราณวัตถุอาหรับ (อิสลาม) (ARABIC -ISLAMIC- INSCRIPTIONS)

1. นักมานุษยวิทยา (Anthropologists) ได้ค้นพบว่าชาวมันดินกา (Mandinkos) ที่อาศัยอยู่ภายใต้การศึกษาของสุลต่านมันซา มูซา (Mansa Musa) นั้น จากการสำรวจปรากฏว่า บริเวณทางตอนเหนือของอเมริกาตามเส้นทางมิสซิสซิปปี (Mississippi), ตามเส้นทางแม่น้ำอื่นๆ และบริเวณโฟรคอร์เนอร์ (Four Corners) อริโซนา (Arizona) มีงานเขียนที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้นำช้างจากแอฟริกามายังเขตดังกล่าว (WILKINS,H.T.: Mysteries of Ancient South America, New York 1974, WINTERS, CLYDE AHMAD: Islam in Early North and South America, Al-Ittihad, July 1977,P.60)

2. โคลัมบัสได้สารภาพในหนังสือของเขาว่า “ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1492 ในขณะที่เรือใบของเขาได้ล่องไปยังเขตที่ใกล้กับกีบารา (Gibara) –อาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า (جبل) ที่แปลว่าภูเขา - ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของคิวบา เขาได้พบเห็นมัสยิดตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขาที่สวยงาม

ซากปรักหักพังของมัสยิดต่างๆ และหออาซาน รวมทั้งข้อความจารึกของอัลกุรอานได้ถูกค้นพบที่คิวบา (Cuba) แม็กซิโก (Mexico) เทกซัส (Texas) และเนวาดา (Nevada) (OBREGON , MAURICIO: The Columbus Papers, The Barcelona Letter of 1493, The Landfall)

3. ในช่วงการเดินทางไกลครั้งที่ 2 ของโคลัมบัส ชาวอินเดียนแดงแห่งเมืองอิสปาโนลา (ESPANOLA -Haiti) ได้แจ้งให้เขาทราบว่า “ชนผิวดำได้เดินทางมาถึงมาถึงเกาะก่อนการเดินทางมาถึงของเขาเสียอีก” และเพื่อเป็นการยืนยันและพิสูจน์ในสิ่งดังกล่าว พวกเขาได้นำหอกหรือทวนของชาวมุสลิมแอฟริกามาแสดงต่อหน้าโคลัมบัส ที่ปลายหรือยอดของอาวุธเหล่านั้นถูกห่อหุ้มด้วยโลหะสีเหลือง ชาวอินเดียนแดงเรียกมันว่า “กัวนิน” (GUANIN) ซึ่งเป็นรากศัพท์ที่มาจากแอฟริกาตะวันตก ที่หมายถึง “ทองผสมโลหะ” (gold alloy) ไม่เพียงเท่านั้น คำว่า “กัวนิน” นี้ยังมีความเกี่ยวพันธ์กับคำในภาษาอาหรับ นั่นคือ “ฆีนาอ์” غناء (GHINAA) ที่หมายถึง “มั่งคั่งและร่ำรวย” (WEALTH)

โคลัมบัสได้นำเอาชิ้นส่วนของวัตถุ “กัวนิน” จำนวนหนึ่งกลับไปยังสเปน และทำการตรวจสอบพิสูจน์ เขาได้พบว่า วัตถุกัวนินดังกล่าวประกอบด้วย ทองคำ (gold) 18 ส่วน (56.25%), เงิน (silver) 6 ส่วน (18.75%) และทองแดง (copper) 8 ส่วน (25%) ซึ่งเป็นอัตราส่วนเดียวกันกับโลหะวัตถุที่ผลิตในแอฟริกาและวางขายตามร้านค้าโลหะวัตถุในคีเนีย (Guinea) (THACHER, JOHN BOYD: Christopher Columbus, New York 1950, P.380)

4. ในปี ค.ศ.1498 ในช่วงการเดินทางไกลครั้งที่ 3 ของโคลัมบัส สู่แผ่นดินแห่งใหม่ (new world) เขาได้ลงทอดเทียบยังเขตทรินิเดด (Trinidad) หลังจากนั้นเขาได้สังเกตเห็นพื้นแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ ดังนั้น ลูกเรือติดอาวุธของเขากลุ่มหนึ่งจึงได้เดินทางข้ามฝั่งไปยัง ณ ที่นั้น และพบว่าสตรีพื้นเมืองที่นั่นแต่งกายด้วยผ้าพันศีรษะที่มีสีสรรและมีเสน่ห์ ซึ่งเป็นผ้าที่ถักทอมาจากผ้าฝ้าย

โคลัมบัสได้ให้ข้อสังเกตว่า ผ้าคลุมหัวดังกล่าว สีสรรของมันมีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับผ้าคลุมและผ้านุ่งที่ชาวคีเนีย (Guinea) สวมใส่อยู่ เช่นเดียวกับรูปแบบ (style) และจุดมุ่งหมาย (function) ของการสวมใส่ เขาได้เรียกสิ่งนั้นว่า “อัลเมซาร” (ALMAYZARS) อัลเมซารนี้เป็นคำภาษาอาหรับ (المئزر) ที่แปลว่า “ผ้าที่ใช้ห่อหุ้ม หรือพันรอบ (wrapper), ผ้าครอบ หรือปิดคลุม (cover), ผ้าคลุมภายนอก (apron), และ/หรือกระโปรงยาว (skirting)” อันเป็นเสื้อผ้าที่ชาวแขกมัวร์ (Moor) (ชาวมุสลิมสเปนหรือแอฟริกาเหนือ) สวมใส่ ซึ่งได้นำเข้ามาจากแอฟริกาตะวันตก คีเนีย (Guinea) และส่งไปยังโมร็อกโค สเปน และโปรตุเกส

ในช่วงการเดินทางไกลในครั้งนี้ โคลัมบัสต้องประหลาดใจ (surprise) กับการสวมใส่กางเกงขาสั้น (ชั้นในสตรี) ที่ทำมาจากผ้าฝ้าย (bragas) ของบรรดาสตรีพื้นเมืองที่แต่งงานแล้ว และเกิดความฉงนสนเท่ห์ว่าบรรดาสตรีชนพื้นเมืองเหล่านั้นได้เรียนรู้วิธีการสวมใส่ที่เรียบง่ายดังกล่าวมาจากไหน

เฮอร์นาน คอร์เตส์ (Hernan Cortes) ผู้พิชิตแห่งสเปน ได้พรรณนาถึงเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สตรีชาวอินเดียนแดงสวมใส่ว่า “คล้ายกับผ้าคลุมหน้า (หิญาบ) ที่ยาวทอดลงมา (long veils) ส่วนเสื้อผ้าอาภรณ์ของบุรุษชาวอินเดียนแดงก็คล้ายกับผ้านุ่งที่พับคาดเอวสีเทาตามสไตล์หรือรูปแบบการสวมใส่ของแขกมัวร์ (Moorish draperies)”

เฟอร์ดินันด์ โคลัมบัส (Ferdinand Columbus) เรียกเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ชนพื้นเมืองว่า “ผ้านุ่งหรือผ้าคาดเอวแบบเดียวกัน ส่วนเสื้อผ้าที่สวมใส่คล้ายกับเสื้อขนสัตว์หรือเสื้อหนาสำหรับคลุมไหล่และหัว (shawls worn) ที่สตรีแขกมัวร์แห่งฆ็อรนาเฏาะฮฺ (Granada) สวมใส่ แม้กระทั่งลักษณะความแตกต่างของเปลญวนเด็กที่พบในแอฟริกาเหนือก็มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง (COLUMBUS, FERDINAND: The Life of Admiral Christopher Columbus, Rutgers Univ. Press, 1959, P.232)

5. ดร.แบร์รี เฟ็ล (Barry Fell) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ได้เกริ่นนำในหนังสือของเขา “นิยายของอเมริกา” (Saga America) ที่พิมพ์ในปี 1980 ว่า “มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดแจ้งที่ยืนยันถึงการไปถึงทวีปอเมริกาของชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือและตะวันตกก่อนการไปถึงของโคลัมบัส

จากการสำรวจของ ดร.เฟ็ล พบว่า มีโรงเรียนของชาวมุสลิมตั้งอยู่ที่เมืองวัลเล่ย์ ออฟ ไฟร์ (Valley of Fire), อัลลาน สปริง (Allan Springs), โลโกมัรซีโน (Logomarsino), คีโฮล (Keyhole), แคนยอน (Canyon), เวโช่ว์ (Washoe) และฮิกกิสันซัมมิตพาส (Hickison Summit Pass) ในรัฐเนวาดา (Nevada), มีซา เวรเด (Mesa Verde) ในรัฐโคโลราโด (Colorado), มิมเบรสวัลเล่ย์ (Mimbres Valley) ในรัฐนิวแม็กซิโก (New Mexico) และทิปเปอร์เคโน (Tipper Canoe) ในรัฐอินเดียนา (Indiana) ซึ่งมีประวัติย้อนหลังไปยังปี ค.ศ.700-800

มีการค้นพบแบบตัวหนังสือที่แกะสลักบนหินในเขตร้อนแห้งทางฝั่งตะวันตกของอเมริกา, ภาพแสดงการอธิบายบทเรียน และแผนภูมิต่างๆ อันเป็นหลักฐานที่คงเหลืออยู่ในรูปของเศษปรักหักพังที่ไม่สมบูรณ์อันเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ครั้งหนึ่งในอดีตที่ผ่านมาเขตดังกล่าวเคยมีระบบโรงเรียนหรือการเรียนการสอนที่คล้ายกับระบบการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานหรือชั้นประถม (elementary) และในระดับสูงหรือชั้นมัธยม (higher level) ภาษาที่ใช้ในการศึกษาเป็นภาษาอาหรับแถบแอฟริกาเหนือซึ่งแกะสลักด้วยแบบตัวเขียนกูฟีเก่า (old Kufic Arabic scripts)

สาขาวิชาที่มีการแกะสลักดังกล่าวประกอบด้วย วิชาการเขียน (writing), วิชาการอ่าน (reading), วิชาเลขคณิต (arithmetic), วิชาการศาสนา (religion), วิชาประวัติศาสตร์ (history), วิชาภูมิศาสตร์ (geography), วิชาคณิตศาสตร์ (mathematics), วิชาดาราศาสตร์ (astronomy), และวิชาการเดินทะเล (sea navigation)

ทายาทผู้สืบสกุลของบรรดานักท่องเที่ยวชาวมุสลิมในอเมริกาเหนือที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันได้แก่ตระกูลอีโรกุยส์ (Iroquois), อัลกอนควีน (Algonquin), อนาซาซี (Anasazi), โฮโฮกัม (Hohokam) และชนพื้นเมืองโอลเม็ก (Olmec)…(FELL, BARRY: Saga America, New York 1980, GORDON,CYRUS: Before Columbus, New York 1971)

คำสำคัญ (Tags): #อบูอัชบาล
หมายเลขบันทึก: 99959เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท