ความเป็นมางานส่งเสริมความประพฤตินักเรียน


งานสารวัตรนักเรียน
ความเป็นมาของการดำเนินการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา (งานสารวัตรนักเรียนเดิม) โดยสังเขป
รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูประบบราชการ โดยได้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ซึ่งความในมาตรา 25 และมาตรา 26 ได้โอนทรัพย์สินงบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้างและอัตรากำลังของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมพลศึกษา เฉพาะกองสารวัตรนักเรียนบางส่วนไป เป็นของสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนากีฬาและนันทนาการ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยกเว้นภารกิจบทบาทอำนาจหน้าที่ของสารวัตรนักเรียนเท่านั้นที่โอนมา เป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
พรบ.ระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ได้มีการปรับโครงสร้างส่วนราชการภายในกระทรวงศึกษาธิการ และได้กำหนดให้กองลูกเสือ กองยุวกาชาด และ กองสารวัตรนักเรียน เป็นสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน อยู่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้รับโอนข้าราชการพลเรือนและข้าราชการครู โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย และนโยบายกำลังคนภาครัฐ สำนักงาน ก.พ. มีมติอนุมัติจัดสรรอัตราเงินเดือนของ ตำแหน่งที่ยุบ เลิกจากผลการเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2545 จากส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการมากำหนดเป็นอัตราเงินเดือนสำหรับข้าราชการตำแหน่งสารวัตรนักเรียนเดิมที่โอนจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 340/2546 เรื่องรับโอนข้าราชการ พลเรือน ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2546 รับโอนข้าราชการพลเรือน จำนวน 7 ราย และ คำสั่งสำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 341/2546 เรื่องรับโอนข้าราชการครู ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 รับโอนข้าราชการครู จำนวน 58 ราย รวมจำนวน 65 ราย โดยข้าราชการดังกล่าวปฏิบัติงานในสังกัดกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ นักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีอยู่ทั้งส่วนกลางและจังหวัด โดยมี
  1. ภารกิจหน้าที่ ดำเนินงานตาม พรบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หมวด 7 การส่งเสริมความประพฤติ นักเรียนและนักศึกษา ในฐานะเป็นหน่วยงานกลางในการส่งเสริมสนับสนุนการบังคับใช้ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้ คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง ตลอดจนเฝ้าระวังปัญหาความประพฤติ ของนักเรียนและนักศึกษาร่วมกับสถานศึกษา โดยมีพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน และนักศึกษาเป็นกลไกในการปฏิบัติงาน
  2. ต่อมา พ.ศ. 2549 ได้มีการหลอมรวมภารกิจงาน 2 หน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมแลพัฒนาศักยภาพ นักเรียน สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน กับกลุ่มกิจการพิเศษ สำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ตั้งเป็นสำนักเป็นการภายในสำนักพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา และกิจการพิเศษ เมื่อ 1 เมษายน 2549 โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียนเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มส่งเสริม ความประพฤตินักเรียน นักศึกษา
-2-
ส่งเสริมสนับสนุนการบังคับใช้
  1. กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวงและประกาศกระทรวงเชื่อมโยงไปสู่องค์กรหลักที่มีสถานศึกษา
  2. สนับสนุนให้สถานศึกษาดำเนินมาตรการเชิงบวก มีหน้าที่ตามกฎกระทรวงจัดระบบงานและกิจกรรม แนะแนวในการอบรมให้คำปรึกษานักเรียน นักศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง
  3. สนับสนุนให้สถานศึกษาดำเนินการเฝ้าระวังตามกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและ นักศึกษา
ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานระบบเครือข่าย
  1. กำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาร่วมมือกับสถานศึกษาและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังปัญหาความประพฤติร่วมกันในเขตพื้นที่
  2. กำหนดให้มีศูนย์การประสานงานการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาเป็นศูนย์อำนวยการ และปฏิบัติงานประจำเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อรองรับการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัด
  3. ในส่วนกลางโดยสำนักงานปลัดกระทรวงได้จัดตั้งศูนย์เสมารักษ์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติงานพิเศษเร่งด่วนและรับสายด่วนจาก 1579 การส่งต่อ เยียวยา และอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
  4. ดูแลช่วยเหลือนักเรียนและวิเคราะห์กรณีศึกษา
การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาตามแนวทางดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน เด็กและเยาวชนเจริญเติบโตสบายทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม เป็นไปตาม เจตนารมณ์แห่ง พรบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์ สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและสอดคล้องกับ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
การดำเนินงานดังกล่าวต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจและเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การให้บริการ ให้คำปรึกษาแนะนำ แนะแนว เป็นต้น
หมายเลขบันทึก: 99726เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ด้านสืบคั้นในระบบหรือการประสานงานต้องมีจุดเน้นความเป็นจริงที่ฉับไวรวดเร็วทันเหตุการณ์ในทันที่ทีมีปัญหาต่างๆมี่การประสานสื่อสารในทุกรูปแบบ อุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานตรงตามประเด่นและเป้าหมายต่อเนื่องอยู่เป็นปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท