คลังปัญญาชมรมจิตอาสาตำบลหัวรอ


ผลงานของการทำกิจกรรมคลังปัญญาชมรมจิตอาสาตำบลหัวรอ

คลังปัญญา.........ชมรมจิตอาสาตำบลหัวรอ         

 หลังจากที่ได้เรียนรู้ คลังปัญญาตำบลพลายชุมพลกันไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวของตำบลหัวรอกันบ้าง          กิจกรรมของชมรมจิตอาสาของศสช.เครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก นอกจากจะช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านแล้ว กิจกรรมยามว่างของสมาชิกจะมารวมกลุ่มกันในเรื่องของการทำหัตถการ เพื่อผลิตเป็นผลผลิตของชมรมและชุมชน ชมรมจิตอาสาตำบลหัวรอ เช่นเดียวกัน ยามว่างสมาชิกชมรมจะมารวมกลุ่มกัน เดือนละ 1 -2 ครั้ง เพื่อมาพูดคุยสนทนา ปรึกษาหารือ เกี่ยวกับกิจกรรมที่พวกเขาไปปฏิบัติกันมาในชุมชน และการทำกิจกรรมในเรื่องของคลังปัญญาและสิ่งที่ชมรมจิตอาสาตำบลหัวรอคิดทำกันในครั้งนี้ คือ ลูกประคบสมุนไพร เหตุผลที่ชมรมจิตอาสาตำบลหัวรอคิดทำลูกประคบนั้นเกิดจาก เวลาที่สมาชิกของชมรมไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากจะไปช่วยในการทำกายภาพช่วยยืดเหยียดแขน ขาแล้ว  การช่วยนวดประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรก็น่าจะช่วยในการเสริมการเพิ่มการไหลเวียนโลหิต  ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย รักษาการเคล็ด ขัด ยอก และลดปวดได้

          จะว่าไปแล้วจริงๆแล้วที่อื่นๆอาจจะรู้จักและเคยทำลูกประคบกันมาบ้างแล้ว แต่ทางชมรมจิตอาสาฯ เขาภูมิใจที่อยากจะนำเสนอ เผื่อว่า บางที่บางแห่งอาจจะมีส่วนประกอบของสมุนไพรในการใช้ไม่เหมือนของชมรมจิตอาสาหัวรอก็ได้ จะได้นำมาแลกเปลี่ยนกันคะ

           ส่วนประกอบของลูกประคบสมุนไพร ของชมรมจิตอาสาตำบลหัวรอ มีดังนี้

1.         ไพล ( 500 กรัม ) สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยลดการอักเสบ

2.        ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ ( 200 กรัม ) สรรพคุณ มีน้ำมันหอมระเหย        แก้วิงเวียน

3.        ตะไคร้บ้าน ( 100 กรัม )

4.       ใบมะขาม ( 300 กรัม ) สรรพคุณ แก้คันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว

5.  ขมิ้นชัน ( 100 กรัม ) สรรพคุณ ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง

6.             เกลือ ( 1 ช้อนโต๊ะ ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น

7.             การบูร ( 2 ช้อนโต๊ะ ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ

8.             ใบส้มป่อย ( 100 กรัม ) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง

9.             ว่านน้ำ

10.        ใบหนาด 

วิธีการทำลูกประคบ

  1. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำพอหยาบๆ ( เวลาประคบจะทำให้ระคายผิว )
  2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย ( เฉพาะใบ ) ผสมกับสมุนไพร ข้อ 1 เสร็จแล้วให้ใส่เกลือ การบูรคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียว แต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ
  3. แบ่งตัวยาที่คลุกเคล้าเรียบร้อยแล้วใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น เหลือผ้าไว้ให้มัดเพื่อให้เป็นด้ามจับให้ถนัดมือ
  4. การนำไปใช้ให้นำลูกประคบไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15 -20 นาที แล้วจึงนำมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ ( ทดสอบความร้อนของลูกประคบ คือแตะที่ท้องแขนก่อน )

       นี่..คือขั้นตอนการนำใบสมุนไพรต่างๆมาขย้ำ ขยี้     และนำมาหั่น มาซอย มาชั่งน้ำหนักให้ได้ตามสัดส่วน 

 ขั้นตอนนำมารวบห่อ...ทำเป็นด้ามจับให้กระชับมือ

วิธีการประคบ <ol style="margin-top: 0cm">

  • จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม ( ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบ )
  • นำลูกประคบที่ได้รับความร้อนได้แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการ
  • ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนความร้อนมากไม่ได้
  • เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทนได้ ( นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ ) ตามข้อ2,3,4
  • </ol><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal" align="center">สาธิตวิธีการประคบกันในกลุ่ม..สนุกสนาน</p>

    คำสำคัญ (Tags): #คลังปัญญาหัวรอ
    หมายเลขบันทึก: 99673เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (7)
         น่าสนใจนะอุ๋ย เราก็เพิ่งรู้ว่าลูกประคบมีส่วนประกอบมากจริงๆ แล้ววิธีการทำก็ไม่ใช่ง่ายเลย เรื่องแบบนี้แหละ นำมาถ่ายทอดเป็นคลังปัญญาชุมชน กำลังจะไปได้ดีแล้วนะ ดีมากๆจ้ะ
    • เป็นความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ดีจริงๆแต่พี่นู๋รัตน์ไม่มีเวลาหาสมุนไพร ขอลูกประคบที่ทำสำเร็จแล้วสักลูกดีกว่า ส่วนคนนวดประคบจะไปหาเอาข้างหน้าละกัน 
    • ขอให้จิตอาสาตำบลหัวรอ จงเจริญ ๆ(อย่าลืม ลูกประคบ 1 ลูกนะ)
    • ดูจากส่วนประกอบของลูกประคบแล้วล้วนแต่เป็นสมุนไพรทั้งสิ้น จิตอาสาของหัวรอได้ร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นคลังปัญญาให้ลูกหลานได้ศึกษา และนำไปใช้ต่อไป ซึ่งเหล่านี้มักจะมีสิ่งที่ดีๆซ่อนเร้นอยู่เสมอ ขอเป็นกำลังใจให้
    • ไม่ทราบว่าถ้า หัวใจตึงเครียด ลูกประคบจะช่วยได้มั๊ยนะ...555

    ต้องขอบอกว่าผู้ที่ริเริ่มให้พวกเราได้ค้นพบของดีๆมีคุณค่าในชุมชนคือ อ.นิพัธ กิตติมานนท์ คะ ท่านมีความดิดที่ดีจริงๆ..ให้ชุมชนทำเพื่อชุมชน และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนจริงๆคะ

    ได้เห็นบรรยากาศของความสุขและไมตรีชัดเจนเลยครับ  ขยายกิจการต่อนะครับ กิจการความสุขและความเป็นสังคมที่ดี
    • ได้อ่านเรื่องราว และพิจารณาองค์ประกอบอื่น ของบล็อกนี้แล้วรู้สึกว่า คนทำงาน ของทีมนี้ดูช่างทำเรื่องยากๆให้ดูง่ายๆ และดูสนุก มีความสุขกับการทำงานกันจังเลย ขอชื่นชมค่ะ

    กำลังจะฝึกหัดทำ CAI  (บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) เกี่ยวกับการทำลูกประคบค่ะ

    ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากจากblog  แต่ไม่ทราบว่าจะติดต่อกับชมรมจิตอาสาตำบลหัวรอได้ที่ไหนคะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ ....

    หวังว่าคงจำกันได้นะคะ .. นุ่นเองค่ะ...

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท