การจัดอันดับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้ของประเทศไทย


การจัดอันดับ การวัดประสิทธิภาพ วิธีการ Data Envelopment Analysis

การจัดอันดับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้ของประเทศไทย*

อาฟีฟี  ลาเต๊ะ

ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

ประสพชัย  พสุนนท์

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยศิลปากร            วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

สุดา  ตระการเถลิงศักดิ์  ปราณี  นิลกรณ์

ภาควิชาสถิติ  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์  

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอันดับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้จำนวน 13 แห่ง โดยใช้คะแนนประสิทธิภาพจากวิธีการ Data Envelopment Analysis (DEA) ตามตัวแบบ CCR ของ Charnes Cooper and Rhodes (1978)   การเลือกปัจจัยนำเข้าและปัจจัยผลผลิตใช้วิธีการแบบขั้นตอนของ Wagner and Shimshak (2007) และจัดอันดับห้องสมุดด้วยวิธีการของ Jahanshahloo et al. (2007) ผลการวิจัยพบว่ามีปัจจัยนำเข้า 2 ปัจจัยและปัจจัยผลผลิต 2 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อคะแนนประสิทธิภาพของห้องสมุด 13 แห่งนี้ และสามารถจัดอันดับห้องสมุดเหล่านี้ตามคะแนนประสิทธิภาพได้ 

 คำสำคัญ     การจัดอันดับ      การวัดประสิทธิภาพ      วิธีการ Data Envelopment Analysis    

 *การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ประจำปี 2550

 

หมายเลขบันทึก: 99172เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2007 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากทราบว่าการจัดอันดับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้ของประเทศไทย นั้น  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ  อยู่ในอันดับเท่าไหร่ค่ะ

พอดี งานวิจัยนี้ ไม่ได้แสดงชื่อมหาวิทยาลัยน่ะครับ กลัวจะเกิดผลกระทบตามมาได้ เป็นงานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการประเมิน และ จัดอันดับ อย่างไรก็ตาม จะอีเมล์บอกหลังไมค์น่ะครับ ขอบพระคุณมากครับ
นางสาวโนรียะห์ มะมิง

ไม่ทราบว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท