การจัดกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้ตามคะแนนประสิทธิภาพ DEA


ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ประสิทธิภาพ Data Envelopment Analysis

การจัดกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้ตามคะแนนประสิทธิภาพ DEA*

The Grouping of Southern University Libraries Using DEA Efficiency Score

อาฟีฟี   ลาเต๊ะ

Afifi  Lateh

ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา   คณะศึกษาศาสตร์  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

 ผศ.ประสพชัย   พสุนนท์

Asst. Prof. Prasopchai Pasunon

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป   คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร   วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี  

รศ.ดร.สุดา   ตระการเถลิงศักดิ์   ผศ.ดร.ปราณี   นิลกรณ์  

Assoc. Prof. Suda Trakarnthalerngsak, Ph.D.   Asst. Prof. Pranee Nilkon, Ph.D.

ภาควิชาสถิติ         คณะวิทยาศาสตร์     มหาวิทยาลัยศิลปากร                      วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์  

บทคัดย่อ               

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อจัดกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้จำนวน 13 แห่ง  โดยใช้คะแนนประสิทธิภาพจากวิธีการ Data Envelopment Analysis (DEA) ตามตัวแบบ CCR ของ Charnes Cooper and Rhodes (1978)   การเลือกปัจจัยนำเข้าและปัจจัยผลผลิตใช้วิธีการแบบขั้นตอนของ Wagner and Shimshak (2006) และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและการวิเคราะห์กลุ่มเป็นเครื่องมือในการจัดกลุ่มห้องสมุด

            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำเข้า 2 ด้าน คือ 1) จำนวนหนังสือและวารสาร  และ 2) จำนวนโสตทัศนวัสดุ ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และปัจจัยผลผลิต 2 ด้าน คือ 1) จำนวนผู้ใช้บริการเฉลี่ยต่อเดือน 2) จำนวนหนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุที่นักศึกษายืมเฉลี่ยต่อเดือนต่อคน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนประสิทธิภาพของห้องสมุดทั้ง 13 แห่งที่ทำการประเมิน และสามารถแบ่งกลุ่มห้องสมุดออกเป็น4 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ 3 กลุ่มและกลุ่มที่ไม่มีประสิทธิภาพ 1 กลุ่ม

Abstract            The objective of this research is to group the 13 Thai southern university libraries using Data Envelopment Analysis (DEA) efficiency score from CCR model (Charnes Cooper and Rhodes: 1978). Wagner and Shimshak (2006)’s stepwise method is used for selection inputs and outputs. The grouping were done via principal component and cluster analysis.            The results shows that there are 2 input factors and 2 output factors that affect the efficient  score of  the  13 libraries. The input factors are 1) book and journal collections and 2)audio-visual, database,  computer and electronic equipment resources, and the outputs factors are 1) the number of  library visits per month and 2) the number of books and journals borrowed  per month per student. The 13 libraries can be grouped  into 4 groups,  3 groups of efficiency libraries and 1 group of inefficiency libraries.

* อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

 

หมายเลขบันทึก: 99171เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2007 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท